เผยโฉมหน้าผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. มีใครบ้าง ใครได้หมายเลขอะไร และ 4 ตัวเต็งมีนโยบายอย่างไรบ้าง โดยข้อมูลอัปเดตล่าสุดวันที่ 31 มีนาคม 2565
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thai PBS News
วันที่ 31 มีนาคม 2565 หนึ่งในไฮไลต์สำคัญสำหรับวันนี้คือ การเปิดรับสมัครเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นวันแรก ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 เขตดินแดง โดยเรื่องเล่าเช้านี้ รายงานว่า นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ปั่นจักรยานเดินทางมาถึงที่สมัครเป็นคนแรกในเวลา 05.55 น. ก่อนไปสักการะพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เพื่อความเป็นสิริมงคล
ต่อมา นายสกลธี ภัททิยกุล เดินทางมาถึงในเวลา 06.25 น. ยอมรับว่า ชอบหมายเลข 6 เพราะตรงกับนโยบาย ไม่ซีเรียสว่าจะต้องได้หมายเลขอะไรเป็นพิเศษ เพราะสมัยเลือกตั้ง ส.ส. เคยได้หมายเลข 12 ก็ชนะการเลือกตั้งมาแล้ว
ด้านนายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ เดินทางมาถึงในเวลา 06.45 น. เปิดเผยว่า ที่ลงสมัครเพราะทำงานในพื้นที่หลายปี เป็นทีมที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม. เห็นปัญหาทุกอย่าง แม้ไม่มีฐานของคนในพื้นที่มากเท่าผู้สมัครรายอื่น ๆ แต่ก็ขอลองดู ขึ้นอยู่กับคนกรุงเทพฯ อยากได้ผู้ว่าฯ คนเก่าหรือคนใหม่
ส่วน พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. คนปัจจุบัน เดินทางถึงที่สมัครเวลา 07.05 น.
เรื่องเล่าเช้านี้ มีการโทรศัพท์สัมภาษณ์ผู้สมัคร 4 รายแบบสด ๆ ได้แก่ นายชัชชาติ, นายสุชัชวีร์, พล.ต.อ. อัศวิน และนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร โดยมีการถามถึงนโยบายเด็ด ๆ สั้น ๆ ที่ต้องการนำเสนอต่อประชาชนชาวกรุง ดังนี้
ต่อมา นายสกลธี ภัททิยกุล เดินทางมาถึงในเวลา 06.25 น. ยอมรับว่า ชอบหมายเลข 6 เพราะตรงกับนโยบาย ไม่ซีเรียสว่าจะต้องได้หมายเลขอะไรเป็นพิเศษ เพราะสมัยเลือกตั้ง ส.ส. เคยได้หมายเลข 12 ก็ชนะการเลือกตั้งมาแล้ว
ด้านนายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ เดินทางมาถึงในเวลา 06.45 น. เปิดเผยว่า ที่ลงสมัครเพราะทำงานในพื้นที่หลายปี เป็นทีมที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม. เห็นปัญหาทุกอย่าง แม้ไม่มีฐานของคนในพื้นที่มากเท่าผู้สมัครรายอื่น ๆ แต่ก็ขอลองดู ขึ้นอยู่กับคนกรุงเทพฯ อยากได้ผู้ว่าฯ คนเก่าหรือคนใหม่
ส่วน พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. คนปัจจุบัน เดินทางถึงที่สมัครเวลา 07.05 น.
เปิดนโยบายเด็ด ๆ จากการสัมภาษณ์ 4 ตัวเต็ง ก่อนจับสลากหมายเลข
เรื่องเล่าเช้านี้ มีการโทรศัพท์สัมภาษณ์ผู้สมัคร 4 รายแบบสด ๆ ได้แก่ นายชัชชาติ, นายสุชัชวีร์, พล.ต.อ. อัศวิน และนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร โดยมีการถามถึงนโยบายเด็ด ๆ สั้น ๆ ที่ต้องการนำเสนอต่อประชาชนชาวกรุง ดังนี้
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน
นายชัชชาติ ระบุว่า นโยบายคือ กรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน จริง ๆ กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีศักยภาพสูงมาก แค่รอการเจียระไน ชีวิตเราจะดีขึ้นในทุกมิติ และกรุงเทพฯ ไม่ใช่เมืองที่เลวร้าย มีข้อดีเยอะ เราต้องมีความหวังในปรับปรุง
ส่วนประเด็นที่ตนเป็นเต็ง 1 นั่นเป็นเพราะว่า ตนเปิดตัวก่อนคนอื่น หลังจากนี้โพลจะเปลี่ยนไป มีคนเก่ง ๆ มาสมัครเยอะ อย่าไปยึดติดกับมัน เราแค่ทำหน้าที่ของเรา แล้วแต่ประชาชนเลือก
สุดท้าย นายสรยุทธ ถามถึงเรื่องการทำงานร่วมกับรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา แก้ไขปัญหาให้ทันใน 6 เดือน ทำได้หรือไม่ นายชัชชาติ กล่าวว่า สามารถทำได้ เราร่วมงานกันได้ เพราะเรายึดถือประโยชน์เป็นที่ตั้ง ถ้ามีข้อติดขัดเราก็ชี้แจงกับประชาชน
สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ เปลี่ยนกรุงเทพฯ เราทำได้
นายสุชัชวีร์ กล่าวว่า การได้ลงพื้นที่กรุงเทพฯ 50 เขต ทำให้รู้ว่าปัญหากรุงเทพฯ หนักกว่าที่คิด และนโยบายที่เรานำเสนอ ทำได้จริง ๆ ผมจะเปลี่ยนกรุงเทพฯ เป็นเมืองสวัสดิการ เป็นต้นแบบของอาเซียน เพื่อทำให้คนกรุงเทพฯ ลุกขึ้นยืนได้ กรุงเทพฯ ต้องเป็นเมืองทันสมัย ใช้เทคโนโลยีในการทำงานเพื่อความสะดวกรวดเร็ว
ในเรื่องชีวิตคน จะอัดฉีดเงินเป็นกองทุนสร้างงานแก่ชุมชน เศรษฐกิจจะกระโดด และเรื่องอินเทอร์เน็ตฟรี ต้องเป็นสวัสดิการพื้นฐานของกรุงเทพฯ สุดท้ายเรื่องสุขภาพ จะทุ่มทรัพยากรไปดูแลเรื่องโควิด จะต้องมีหมอใกล้บ้าน 3 วันต่อสัปดาห์
อีกด้านที่เป็นเรื่องของเมือง จะจัดการเรื่องปัญหาน้ำ เช่น น้ำเน่า น้ำท่วม, เรื่องรถติด จะต้องใช้ AI เข้ามาช่วย, ต้องการให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองคุณภาพ เช่น แก้ปัญหา PM2.5
ทั้งนี้ เมื่อนายสรยุทธถามว่า แล้วจะเอาเงินมาจากไหน นายสุชัชวีร์ กล่าวว่า กรุงเทพฯ มีงบประมาณเยอะมาก 9,000 ล้านบาท เอามาทำได้ แต่ปกติงบประมาณตรงนี้มักหมดไปกับการซ่อม ถ้าเราปรับแนวคิดการทำงาน ทำให้เสร็จทีเดียว น่าจะประหยัดเงินได้มาก
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร พร้อมชน สร้างเมืองที่ทุกคนเท่ากัน
นายวิโรจน์ เปิดนโยบายพร้อมชนสร้างเมืองที่คนเท่ากัน ปัญหานี้เป็นเรื่องของความไม่เท่าเทียม การเอื้ออภิสิทธิ์ให้นายทุน ถ้ายกตัวอย่างเป็นรูปธรรมก็คือ ปัญหานายทุนก่อสร้างเกินสัญญา เป็นการเอารัดเอาเปรียบงบประมาณคนกรุง ทำให้คนกรุงมีโอกาสประสบอุบัติเหตุ เช่น ขับรถชนบังเกอร์ รถคว่ำจากผิวถนนที่ไม่เรียบ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องโรงขยะแถวอ่อนนุชที่ส่งกลิ่น ทำลายมลภาวะตัวเมืองย่านตะวันออก ที่อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับนายทุนเครือข่ายกับ คสช. ถ้าหากตนจะแก้ปัญหาเรื่องนี้ จะเอาสัญญามาตรวจสอบ เพราะอยู่ในอำนาจของผู้ว่าฯ กทม. อยู่แล้ว ด้านนายสรยุทธ จึงถามว่า ถ้าสมมติรัฐบาลกลางขวาง จะทำยังไง นายวิโรจน์ ตอบว่า ก็จะแจ้งต่อประชาชนให้ทราบว่าติดขัดปัญหาตรงไหน
เรื่องทวงคืนสนามหลวงก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะคืนชีวิตชีวาให้ตัวเมือง เพราะเมืองต้องมีคนเป็นส่วนประกอบ โดยในอดีต สนามหลวงเป็นโบราณสถานที่มีประชาชนมาทำกิจกรรมที่นี่อยู่แล้ว เช่น เล่นว่าว เตะตะกร้อ ไฮด์ปาร์ก ซึ่งทำให้เมืองมีชีวิตชีวา แต่ปัจจุบันเราทำกิจกรรมเหล่านี้ไม่ได้ เพราะมีรั้วเหล็กกั้นเต็มไปหมด
พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง กรุงเทพฯ ต้องไปต่อ
พล.ต.อ. อัศวิน กล่าวว่า ถ้าเลือกผมเป็นผู้ว่าฯ งานเก่าที่คั่งค้างก็จะทำต่อไป โดยยึดหลักการ "คนกรุงเทพฯ ต้องปลอดภัย สงบสุข และมีคุณภาพที่ดีขึ้น"
เมื่อนายสรยุทธ ถามว่า ที่แล้วมางานที่จะทำต่อ ไม่ได้ทำหรือทำไม่เสร็จ พล.ต.อ. อัศวิน บอกว่า จริง ๆ 5 ปีที่ผ่านมาไม่ได้เยอะ เพราะว่าติดเรื่องโควิด แต่ถึงอย่างไรอัศวินคนนี้ก็ทำงานต่าง ๆ ไปเยอะแยะ ต่างจากผู้ว่าฯ กทม. คนเก่า ๆ 30-40 ปีที่ผ่านมา
หมายเลข 6 พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง
หมายเลข 7 นางสาวรสนา โตสิตระกูล
หมายเลข 8 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์
หมายเลข 9 นางสาววัชรี วรรณศรี
หมายเลข 10 นายศุภชัย ตันติคมน์
หมายเลข 11 น.ต. ศิธา ทิวารี
หมายเลข 12 นายประยูร ครองยศ
หมายเลข 13 นายพิศาล กิตติเยาวมาลย์
หมายเลข 14 นายธเนตร วงษา
สำหรับการปิดรับสมัครเลือกตั้ง จะปิดรับในวันที่ 4 เมษายน 2565 ส่วนวันเลือกตั้งคือ วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565
ขอบคุณข้อมูลจาก เรื่องเล่าเช้านี้
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thai PBS News
นายชัชชาติ ระบุว่า นโยบายคือ กรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน จริง ๆ กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีศักยภาพสูงมาก แค่รอการเจียระไน ชีวิตเราจะดีขึ้นในทุกมิติ และกรุงเทพฯ ไม่ใช่เมืองที่เลวร้าย มีข้อดีเยอะ เราต้องมีความหวังในปรับปรุง
ส่วนประเด็นที่ตนเป็นเต็ง 1 นั่นเป็นเพราะว่า ตนเปิดตัวก่อนคนอื่น หลังจากนี้โพลจะเปลี่ยนไป มีคนเก่ง ๆ มาสมัครเยอะ อย่าไปยึดติดกับมัน เราแค่ทำหน้าที่ของเรา แล้วแต่ประชาชนเลือก
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thai PBS News
สุดท้าย นายสรยุทธ ถามถึงเรื่องการทำงานร่วมกับรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา แก้ไขปัญหาให้ทันใน 6 เดือน ทำได้หรือไม่ นายชัชชาติ กล่าวว่า สามารถทำได้ เราร่วมงานกันได้ เพราะเรายึดถือประโยชน์เป็นที่ตั้ง ถ้ามีข้อติดขัดเราก็ชี้แจงกับประชาชน
สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ เปลี่ยนกรุงเทพฯ เราทำได้
นายสุชัชวีร์ กล่าวว่า การได้ลงพื้นที่กรุงเทพฯ 50 เขต ทำให้รู้ว่าปัญหากรุงเทพฯ หนักกว่าที่คิด และนโยบายที่เรานำเสนอ ทำได้จริง ๆ ผมจะเปลี่ยนกรุงเทพฯ เป็นเมืองสวัสดิการ เป็นต้นแบบของอาเซียน เพื่อทำให้คนกรุงเทพฯ ลุกขึ้นยืนได้ กรุงเทพฯ ต้องเป็นเมืองทันสมัย ใช้เทคโนโลยีในการทำงานเพื่อความสะดวกรวดเร็ว
ในเรื่องชีวิตคน จะอัดฉีดเงินเป็นกองทุนสร้างงานแก่ชุมชน เศรษฐกิจจะกระโดด และเรื่องอินเทอร์เน็ตฟรี ต้องเป็นสวัสดิการพื้นฐานของกรุงเทพฯ สุดท้ายเรื่องสุขภาพ จะทุ่มทรัพยากรไปดูแลเรื่องโควิด จะต้องมีหมอใกล้บ้าน 3 วันต่อสัปดาห์
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thai PBS News
อีกด้านที่เป็นเรื่องของเมือง จะจัดการเรื่องปัญหาน้ำ เช่น น้ำเน่า น้ำท่วม, เรื่องรถติด จะต้องใช้ AI เข้ามาช่วย, ต้องการให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองคุณภาพ เช่น แก้ปัญหา PM2.5
ทั้งนี้ เมื่อนายสรยุทธถามว่า แล้วจะเอาเงินมาจากไหน นายสุชัชวีร์ กล่าวว่า กรุงเทพฯ มีงบประมาณเยอะมาก 9,000 ล้านบาท เอามาทำได้ แต่ปกติงบประมาณตรงนี้มักหมดไปกับการซ่อม ถ้าเราปรับแนวคิดการทำงาน ทำให้เสร็จทีเดียว น่าจะประหยัดเงินได้มาก
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร พร้อมชน สร้างเมืองที่ทุกคนเท่ากัน
นายวิโรจน์ เปิดนโยบายพร้อมชนสร้างเมืองที่คนเท่ากัน ปัญหานี้เป็นเรื่องของความไม่เท่าเทียม การเอื้ออภิสิทธิ์ให้นายทุน ถ้ายกตัวอย่างเป็นรูปธรรมก็คือ ปัญหานายทุนก่อสร้างเกินสัญญา เป็นการเอารัดเอาเปรียบงบประมาณคนกรุง ทำให้คนกรุงมีโอกาสประสบอุบัติเหตุ เช่น ขับรถชนบังเกอร์ รถคว่ำจากผิวถนนที่ไม่เรียบ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องโรงขยะแถวอ่อนนุชที่ส่งกลิ่น ทำลายมลภาวะตัวเมืองย่านตะวันออก ที่อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับนายทุนเครือข่ายกับ คสช. ถ้าหากตนจะแก้ปัญหาเรื่องนี้ จะเอาสัญญามาตรวจสอบ เพราะอยู่ในอำนาจของผู้ว่าฯ กทม. อยู่แล้ว ด้านนายสรยุทธ จึงถามว่า ถ้าสมมติรัฐบาลกลางขวาง จะทำยังไง นายวิโรจน์ ตอบว่า ก็จะแจ้งต่อประชาชนให้ทราบว่าติดขัดปัญหาตรงไหน
เรื่องทวงคืนสนามหลวงก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะคืนชีวิตชีวาให้ตัวเมือง เพราะเมืองต้องมีคนเป็นส่วนประกอบ โดยในอดีต สนามหลวงเป็นโบราณสถานที่มีประชาชนมาทำกิจกรรมที่นี่อยู่แล้ว เช่น เล่นว่าว เตะตะกร้อ ไฮด์ปาร์ก ซึ่งทำให้เมืองมีชีวิตชีวา แต่ปัจจุบันเราทำกิจกรรมเหล่านี้ไม่ได้ เพราะมีรั้วเหล็กกั้นเต็มไปหมด
พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง กรุงเทพฯ ต้องไปต่อ
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thai PBS News
พล.ต.อ. อัศวิน กล่าวว่า ถ้าเลือกผมเป็นผู้ว่าฯ งานเก่าที่คั่งค้างก็จะทำต่อไป โดยยึดหลักการ "คนกรุงเทพฯ ต้องปลอดภัย สงบสุข และมีคุณภาพที่ดีขึ้น"
เมื่อนายสรยุทธ ถามว่า ที่แล้วมางานที่จะทำต่อ ไม่ได้ทำหรือทำไม่เสร็จ พล.ต.อ. อัศวิน บอกว่า จริง ๆ 5 ปีที่ผ่านมาไม่ได้เยอะ เพราะว่าติดเรื่องโควิด แต่ถึงอย่างไรอัศวินคนนี้ก็ทำงานต่าง ๆ ไปเยอะแยะ ต่างจากผู้ว่าฯ กทม. คนเก่า ๆ 30-40 ปีที่ผ่านมา
สรุปหมายเลขผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.
หมายเลข 1 นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร
หมายเลข 2 พ.ท.หญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล
หมายเลข 3 นายสกลธี ภัททิยกุล
หมายเลข 4 นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
หมายเลข 5 นายวีรชัย เหล่าเรืองวัฒนะ
หมายเลข 2 พ.ท.หญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล
หมายเลข 3 นายสกลธี ภัททิยกุล
ภาพจาก เฟซบุ๊ก สกลธี ภัททิยกุล
หมายเลข 4 นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
ภาพจาก เฟซบุ๊ก เอ้ สุชัชวีร์
หมายเลข 5 นายวีรชัย เหล่าเรืองวัฒนะ
ภาพจาก ไทยพีบีเอส
หมายเลข 6 พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง
ภาพจาก ผู้ว่าฯ อัศวิน
หมายเลข 7 นางสาวรสนา โตสิตระกูล
ภาพจาก เฟซบุ๊ก รสนา โตสิตระกูล
หมายเลข 8 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์
ภาพจาก เฟซบุ๊ก ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
หมายเลข 9 นางสาววัชรี วรรณศรี
ภาพจาก ไทยพีบีเอส
หมายเลข 10 นายศุภชัย ตันติคมน์
ภาพจาก ไทยพีบีเอส
หมายเลข 11 น.ต. ศิธา ทิวารี
ภาพจาก ไทยพีบีเอส
หมายเลข 12 นายประยูร ครองยศ
ภาพจาก ไทยพีบีเอส
หมายเลข 13 นายพิศาล กิตติเยาวมาลย์
ภาพจาก ไทยพีบีเอส
หมายเลข 14 นายธเนตร วงษา
ขอบคุณข้อมูลจาก เรื่องเล่าเช้านี้