ผู้ตรวจการแผ่นดิน เผยผลตรวจร่างกายคนบนเรือ คดีแตงโม นิดา พบมี 1
คนพบยาอัลปราโซแลม หรือ ยาเสียสาว ชี้ยังไม่ได้รับคำชี้แจงจากตำรวจ
ปมไม่ตรวจเลือด 2 คนบนเรือ หลังอ้างไม่ยินยอม
ภาพจาก Instagram melonp.official
วันที่ 10 พฤษภาคม 2565 เพจเฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว รายงานว่า
พ.ต.ท. กีรป กฤตธีรานนท์ เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
เปิดเผยผลการตรวจร่างกายพยานจากสถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ
คดีการเสียชีวิตของ นางสาวภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ หรือ แตงโม นิดา
ตามที่นายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์
ประธานเครือข่ายรณรงค์ทวงคืนความยุติธรรมในสังคม
ยื่นร้องเรียนให้ตรวจสอบเพื่อหาข้อเท็จจริง กรณีพนักงานสอบสวน
สภ.เมืองนนทบุรี
ใช้ดุลพินิจโดยมิชอบด้วยกฎหมายและเลือกปฏิบัติในการตรวจหาสารเสพติดและแอลกอฮอล์กับพยานบนเรือ
โดยผลการตรวจเลือดครั้งแรก ด้วยวิธี Gas Chromatography พยานทั้ง 3 คน ไม่พบแอลกอฮอล์ แต่มี 1 คน พบสารกลุ่มเบนโซไดอาซิปินส์ ชนิด Alprazolam และการตรวจร่างกายครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม มีการเก็บชีววัตถุของพยานบุคคล จำนวน 4 ใน 5 คน โดยทำการเก็บตัวอย่างปัสสาวะจากพยานบุคคล จำนวน 3 คน และปัสสาวะและเลือดจำนวน 1 คน แต่อีก 1 คนไม่ได้ทำการเก็บตัวอย่างใด ๆ เนื่องจากเจ้าตัวไม่ยินยอม
โดยผลการตรวจเลือดครั้งแรก ด้วยวิธี Gas Chromatography พยานทั้ง 3 คน ไม่พบแอลกอฮอล์ แต่มี 1 คน พบสารกลุ่มเบนโซไดอาซิปินส์ ชนิด Alprazolam และการตรวจร่างกายครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม มีการเก็บชีววัตถุของพยานบุคคล จำนวน 4 ใน 5 คน โดยทำการเก็บตัวอย่างปัสสาวะจากพยานบุคคล จำนวน 3 คน และปัสสาวะและเลือดจำนวน 1 คน แต่อีก 1 คนไม่ได้ทำการเก็บตัวอย่างใด ๆ เนื่องจากเจ้าตัวไม่ยินยอม
พ.ต.ท. กีรป กล่าวว่า หากได้รับการชี้แจงข้อเท็จจริงจากตำรวจภูธรภาค 1 แล้ว จะเร่งรัดสรุปผลการวินิจฉัยโดยเร็ว และขอให้สังคมมั่นใจว่าจะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในคดีนี้อย่างเท่าเทียมกัน โดยยึดถือพยานหลักฐานและหลักกฎหมายเป็นสำคัญ
ภาพจาก Instagram melonp.official
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอื่น ๆ ที่พบ เช่น คลายกล้ามเนื้อลาย (Muscle relaxants) ต้านอาการชัก (Antiepileptics) ทำให้สูญเสียความทรงจำชั่วขณะ (Anterograde amnesia) ความสามารถในการเรียนรู้และความจำลดลง สมรรถภาพในการทำงานที่ต้องใช้ความชำนาญหรือการตัดสินใจฉับพลันเสื่อมลง เนื่องจากยานี้มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง จึงมีผู้ที่นำยานี้มาใช้ประโยชน์ในทางที่ผิดเช่นที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ ว่า "ยาเสียตัว"
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว