ประวัติ ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ ลูกชายคนโต ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตเลขาธิการอาเซียน หลัง พิธา
ประกาศเป็นหนึ่งคีย์แมนคนสำคัญ เขาคือหนึ่งในผู้คิดนโยบายต่างประเทศ
ภายหลังจาก พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ว่าที่นายกรัฐมนตรี
ได้เปิดเผยกลางเวทีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ หรือเอ็มโอยู (MOU)
เพื่อการจัดตั้งรัฐบาลว่า ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ
จะมาเป็นหนึ่งผู้ประสานงานหลักด้านต่างประเทศของพรรคก้าวไกล ก็ทำให้ชื่อของ
ฟูอาดี้ ได้รับความสนใจและสงสัยว่า ผู้ชายคนนี้เป็นใครมาจากไหน
วันนี้เราจะมาทำความรู้จัก ประวัติฟูอาดี้ พิศสุวรรณ ซึ่งหลายคนถึงขั้นยกให้เขาเป็นหนึ่งในคนรุ่นใหม่ที่สังคมไทยได้ฝากความหวังไว้
วันนี้เราจะมาทำความรู้จัก ประวัติฟูอาดี้ พิศสุวรรณ ซึ่งหลายคนถึงขั้นยกให้เขาเป็นหนึ่งในคนรุ่นใหม่ที่สังคมไทยได้ฝากความหวังไว้
ประวัติ ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ
- ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ ชื่อภาษาอังกฤษ คือ Fuadi Pitsuwan มีชื่อเต็มเป็นภาษาอาหรับว่า ฟูอาดี้ บิน อับดุล ฮาลีม พิศสุวรรณ ชื่อเล่น "ดี้"
- ฟูอาดี้ เติบโตในครอบครัวมุสลิม เกิดที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ฟูอาดี้ เป็นลูกชายคนโตของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (สมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย) ขณะที่มารดา คือ อลิสา พิศสุวรรณ
- ฟูอาดี้ จบมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และโรงเรียนนานาชาติร่วมฤดี ระดับปริญญาตรี สาขาการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ วอชิงตัน ดี.ซี. (Georgetown University in Washington DC) ระดับปริญญาโท ด้านนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) และปัจจุบันกำลังศึกษาในระดับปริญญาเอก ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (Oxford University)
- ฟูอาดี้ มีประสบการณ์การทำงานที่ Cohen Group บริษัทที่ปรึกษาด้านการทหารของอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาล บิล คลินตัน เป็นเวลา 3 ปี และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง Teach For Thailand องค์กรไม่แสวงผลกำไรด้านการศึกษาในไทย
ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น
ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ แกนนำกลุ่ม Re-solution
หลังจากนั้น ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ เริ่มต้นบทบาททางการเมืองอีกครั้ง โดยร่วมกับ ไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ เพื่อผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2560 ในนามของกลุ่ม Re-solution ภายใต้แคมเปญ "ขอคนละชื่อ รื้อระบอบประยุทธ์" รัฐธรรมนูญที่เป็นผลพวงจาก คสช. โดยมีเป้าหมาย คือ โละศาลรัฐธรรมนูญ, เลิกยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี, ล้ม ส.ว. และล้างมรดกรัฐประหาร แต่ถึงแม้ว่าร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวจะถูกตีตกไป รัฐสภาไม่เห็นชอบรับหลักการในวาระแรก แต่ชื่อของแกนนำกลุ่ม Re-solution ก็ได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวาง
ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ สู่การร่วมทีมต่างประเทศ พรรคก้าวไกล
เนื่องจาก ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ มีประสบการณ์การทำงานและศึกษาด้านต่างประเทศมาหลายปี มีความสนใจด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ ด้านการทหาร รวมถึงทำวิจัยระดับปริญญาเอก เรื่องอัตลักษณ์กับความสัมพันธ์ทางการทหาร ในเบื้องต้นจึงมอบหมายให้ฟูอาดี้ ศึกษารายงานจากองค์การสหประชาชาติ (UN) ว่าด้วยเรื่องเครือข่ายอาวุธระหว่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเมียนมา เพื่อนำไปเปิดโต๊ะเจรจาและนำประชาธิปไตยกลับสู่เมียนมาและอาเซียน
นอกจากนี้ ฟูอาดี้ ยังเป็นผู้ร่วมคิดนโยบาย 3R ของพรรคก้าวไกล ว่าด้วยเรื่อง Revive ฟื้นฟูสถานะประเทศไทยในเวทีอาเซียน, Rebalance สร้างสมดุลของไทยบนเวทีการเมืองโลก และ Recalibrate สร้างจุดยืนของไทยต่อปัญหาในระดับนานาชาติ
สำหรับ ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ เป็นรุ่นน้องของพิธาที่ Harvard Kennedy School of Management ซึ่งเป็นวิทยาลัยภายใต้มหาวิทยาลัย Harvard โดยพิธาเรียนรุ่นปี 2011 ส่วนฟูอาดี้เรียนรุ่นปี 2013 ซึ่งทั้งสองมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนกันเรื่องการต่างประเทศ และได้หารือกันมากขึ้นเมื่อไปร่วมประชุม Shangrila Dialouge ที่สิงคโปร์ เมื่อปี 65
ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ กับบทบาทนักพัฒนากาแฟ
อีกหนึ่งบทบาทสำคัญที่สะท้อนตัวตนของ ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ นอกเหนือจากแนวคิดทางการเมืองแล้ว เขายังได้ก่อตั้ง Beanspire Coffee โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและส่งออกเมล็ดกาแฟ เริ่มพัฒนาตั้งแต่การปรับปรุงสายพันธุ์กาแฟอาราบิก้าให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมที่สูงของไทย การทดลองทำโพรเซสกาแฟ หรือกระบวนการเพิ่มกลิ่นรสอันซับซ้อนของกาแฟ ด้วยการนำเมล็ดกาแฟสดมาผ่านกรรมวิธีต่าง ๆ ไม่ว่าจะล้าง หมักบ่ม และตาก จนได้เมล็ดกาแฟแห้งพร้อมคั่ว รวมถึงการให้ข้อมูลชาวสวนกาแฟถึงความต้องการผู้บริโภคในเวลานั้น เพื่อการผลิตกาแฟที่ตอบโจทย์ตรงกับตลาด
ทั้งนี้ จากการที่ ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ ขึ้นไปทำงานกับชาวสวนบนดอยในพื้นที่จังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่นั้น ทำให้เขาได้เรียนรู้สังคมไทยในหลายแง่มุม จึงยิ่งทำให้เห็นสภาพความเหลื่อมล้ำในบ้านเรา โดยเขามองว่าการเรียกร้องให้ชาวสวนหันมาทำเกษตรอินทรีย์ในนามความยั่งยืนนั้น ไม่ควรแลกมาด้วยผลประโยชน์ของคนต้นน้ำเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น
ข่าวที่เกี่ยวข้องฟูอาดี้ พิศสุวรรณ
ขอบคุณข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ, ไทยพีบีเอส