กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดภาพเรดาร์มรสุมเข้าไทย ถึงวันที่ 6 มิถุนายน 2566 แจ้งเตือน 10 จังหวัด ระวังฝนตกหนักถึงหนักมาก พื้นที่ไหนอ่วมเช็กด่วน
วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานพยากรณ์อากาศ วันที่ 31 พฤษภาคม - 5 มิถุนายน 2566 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังปานกลาง ทำให้ประเทศไทยมีเมฆมาก มีฝน/ฝนฟ้าคะนองตกต่อเนื่อง และตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะด้านรับมรสุม (ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ จันทบุรี ตราด) ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวมะตะบัน ประเทศเมียนมา ภาคใต้ฝั่งอันดามันยังต้องระวัง ฝนตกหนัก
ส่วนการกระจายและปริมาณของฝนบริเวณประเทศไทยตอนบนลดลงบ้างในระยะนี้ และฝนจะกลับมาเพิ่มขึ้นปลายช่วง (6 - 9 มิถุนายน 2566) คาดว่าจะมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบน สำหรับภาคใต้จะยังมีฝนตกต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านรับมรสุม มีฝนตกหนักบางแห่ง คลื่นลมมีกำลังปานกลาง ห่างฝั่งคลื่นสูง ชาวเรือชาวประมงต้องเพิ่มความระมัดระวัง
ประกาศ เรื่อง คลื่นลมแรงและฝนตกหนักถึงหนักมาก ฉบับที่ 2
(มีผลกระทบถึงวันที่ 6 มิถุนายน 2566) มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
ส่วนบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 6 มิถุนายน 2566
สำหรับภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตกยังคงมีฝนฟ้าคะนองต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในบริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา
วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานพยากรณ์อากาศ วันที่ 31 พฤษภาคม - 5 มิถุนายน 2566 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังปานกลาง ทำให้ประเทศไทยมีเมฆมาก มีฝน/ฝนฟ้าคะนองตกต่อเนื่อง และตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะด้านรับมรสุม (ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ จันทบุรี ตราด) ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวมะตะบัน ประเทศเมียนมา ภาคใต้ฝั่งอันดามันยังต้องระวัง ฝนตกหนัก
ส่วนการกระจายและปริมาณของฝนบริเวณประเทศไทยตอนบนลดลงบ้างในระยะนี้ และฝนจะกลับมาเพิ่มขึ้นปลายช่วง (6 - 9 มิถุนายน 2566) คาดว่าจะมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบน สำหรับภาคใต้จะยังมีฝนตกต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านรับมรสุม มีฝนตกหนักบางแห่ง คลื่นลมมีกำลังปานกลาง ห่างฝั่งคลื่นสูง ชาวเรือชาวประมงต้องเพิ่มความระมัดระวัง
ประกาศ เรื่อง คลื่นลมแรงและฝนตกหนักถึงหนักมาก ฉบับที่ 2
(มีผลกระทบถึงวันที่ 6 มิถุนายน 2566) มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
ส่วนบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 6 มิถุนายน 2566
สำหรับภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตกยังคงมีฝนฟ้าคะนองต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในบริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา