ภูมิธรรม เผย เพื่อไทยงดออกเสียงแก้มาตรา 272 ชี้ ไม่ได้ประโยชน์ ขอโฟกัสจัดตั้งรัฐบาล ยังไม่สรุปส่งชื่อใครโหวตนายกฯ รอบ 2
หลังจากที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ออกมาประกาศว่าจะสู้การโหวตนายกรัฐมนตรีอีก 2 สมรภูมิ ได้แก่ การโหวตนายกรัฐมนตรีวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 และการเสนอยื่นเสนอแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 272 เพื่อตัดอำนาจ ส.ว. ในการเลือกนายกฯ หากไม่สำเร็จ พร้อมส่งไม้ต่อให้พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลภายใต้ MOU ที่ทำกันไว้ 8 พรรค
อ่านข่าว : พิธา ขอสู้ต่อ 2 สมรภูมิ ! ชวน ปชช. ส่งสารนี้ถึง ส.ว. - ถ้าไม่ได้ พร้อมเปิดทางให้ เพื่อไทย
ภาพจาก เฟซบุ๊ก พรรคเพื่อไทย
ล่าสุด วันที่ 16 กรกฎาคม 2566 ไทยโพสต์ รายงานว่า นายภูมิธรรม เวชยชัย รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีดังกล่าวว่า เข้าใจว่าการสื่อสารระหว่าง 2 พรรคอาจมีความคลาดเคลื่อน เพราะผลการหารือวันที่ 14 กรกฎาคม 2 พรรค ยังคงมีความเห็นต่าง และแต่ละพรรคสงวนความคิดเห็นไปหารือกันภายในก่อน แล้วค่อยไปคุยกับ 8 พรรคร่วมที่เหลือในเย็นวันที่ 17 กรกฎาคม ดังนั้น เรายังไม่มีข้อสรุปการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีวันที่ 19 กรกฎาคม ของ 8 พรรคร่วม
เรื่องที่ทั้ง 2 พรรคกลับไปหารือคือ การเสนอญัตติซ้ำในสมัยประชุมเดียวกัน ขัดข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อที่ 41 หรือไม่ ทางออกเรื่องนี้คือ ประธานรัฐสภาเป็นผู้วินิจฉัย หรือให้ผู้ประชุมลงมติหาทางออกร่วมกัน ซึ่งน่าห่วงทั้ง 2 แนวทาง หากสามารถส่งชื่อได้ 141 เสียงของพรรคเพื่อไทยก็พร้อมสนับสนุนนายพิธา แต่นายพิธาต้องตอบให้ชัดว่าสมรภูมินี้จะสิ้นสุดเมื่อไร เพราะการที่คะแนนจะไปถึง 376 เสียงค่อนข้างยากลำบาก รวมถึงมีเรื่องการเสนอชื่อแข่งจากซีกรัฐบาลเดิมที่มีกระแสข่าวเข้ามาอีก เราต้องคุยกันให้ชัดก่อนเข้าไปโหวต
สำหรับประเด็นแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 272 ตนมองว่า พรรคเพื่อไทยเคยยื่นแก้ไขมาตรานี้ไปแล้ว 2 ครั้ง โดยไม่ผ่านการพิจารณา และตอนนั้นพรรคก้าวไกลก็งดออกเสียง หากนับการเสนอทั้งหมด 6-7 ครั้ง ก็ไม่ผ่านทั้งหมด แล้วเหตุใดมาผลักดันช่วงนี้ พรรคมองว่า ไม่ใช่เรื่องด่วนที่จะต้องทำเพราะทราบผลอยู่แล้วว่าไม่ประสบความสำเร็จ เพราะมันต้องมีฝ่ายค้านสนับสนุน 20% แต่ตอนนี้ไม่มีฝ่ายค้าน รวมถึงต้องได้เสียง ส.ว. 1 ใน 3 หรือ 84 เสียง จะหามาากไหน นอกจากเสนอเป็นเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น
อีกข้อหนึ่ง พรรคเคยหาเสียงว่า หากได้เป็นรัฐบาล การประชุม ครม. ครั้งแรกจำนำเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่ที่ประชุมเพื่อทำประชามติ แก้รัฐธรรมนูญทั้งระบบโดยตั้ง ส.ส.ร. เชื่อว่าจะเสร็จสิ้นใน 1-2 ปี ส่วนการแก้รัฐธรรมนูญของพรรคก้าวไกล เราจะงดออกเสียง เพราะอยากโฟกัสการจัดตั้งรัฐบาลเป็นสำคัญที่สุด ปัญหาประชาชน ปัญหาเศรษฐกิจ เป็นเรื่องที่รอไม่ได้
นิด้าโพล ชี้ 40% ต้องการให้โหวตพิธาไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้
เฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว รายงานว่า นิด้าโพล เปิดเผยถึงผลสำรวจประชาชนเรื่องการเลือกนายกรัฐมนตรี 2566 ถ้าหากนายพิธาไม่ผ่านการคัดเลือก จะทำอย่างไรต่อ ผลปรากฏว่า 3 ตัวเลือกที่ได้คะแนนมากสุดคือ
1. ร้อยละ 43.21 ระบุว่า ควรมีการเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์เพื่อให้รัฐสภาพิจารณา ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้
2. ร้อยละ 20.69 ระบุว่า ควรมีการเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เพื่อให้รัฐสภาพิจารณา อีก 1-2 รอบเท่านั้น
3. ร้อยละ 12.98 ระบุว่า พรรคก้าวไกลควรยอมยกเลิกบางนโยบายที่ ส.ว. ไม่เห็นด้วย เพื่อให้ได้คะแนนเสียงเพิ่มขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก ไทยโพสต์, เฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว
หลังจากที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ออกมาประกาศว่าจะสู้การโหวตนายกรัฐมนตรีอีก 2 สมรภูมิ ได้แก่ การโหวตนายกรัฐมนตรีวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 และการเสนอยื่นเสนอแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 272 เพื่อตัดอำนาจ ส.ว. ในการเลือกนายกฯ หากไม่สำเร็จ พร้อมส่งไม้ต่อให้พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลภายใต้ MOU ที่ทำกันไว้ 8 พรรค
อ่านข่าว : พิธา ขอสู้ต่อ 2 สมรภูมิ ! ชวน ปชช. ส่งสารนี้ถึง ส.ว. - ถ้าไม่ได้ พร้อมเปิดทางให้ เพื่อไทย
ภาพจาก เฟซบุ๊ก พรรคเพื่อไทย
ล่าสุด วันที่ 16 กรกฎาคม 2566 ไทยโพสต์ รายงานว่า นายภูมิธรรม เวชยชัย รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีดังกล่าวว่า เข้าใจว่าการสื่อสารระหว่าง 2 พรรคอาจมีความคลาดเคลื่อน เพราะผลการหารือวันที่ 14 กรกฎาคม 2 พรรค ยังคงมีความเห็นต่าง และแต่ละพรรคสงวนความคิดเห็นไปหารือกันภายในก่อน แล้วค่อยไปคุยกับ 8 พรรคร่วมที่เหลือในเย็นวันที่ 17 กรกฎาคม ดังนั้น เรายังไม่มีข้อสรุปการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีวันที่ 19 กรกฎาคม ของ 8 พรรคร่วม
เรื่องที่ทั้ง 2 พรรคกลับไปหารือคือ การเสนอญัตติซ้ำในสมัยประชุมเดียวกัน ขัดข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อที่ 41 หรือไม่ ทางออกเรื่องนี้คือ ประธานรัฐสภาเป็นผู้วินิจฉัย หรือให้ผู้ประชุมลงมติหาทางออกร่วมกัน ซึ่งน่าห่วงทั้ง 2 แนวทาง หากสามารถส่งชื่อได้ 141 เสียงของพรรคเพื่อไทยก็พร้อมสนับสนุนนายพิธา แต่นายพิธาต้องตอบให้ชัดว่าสมรภูมินี้จะสิ้นสุดเมื่อไร เพราะการที่คะแนนจะไปถึง 376 เสียงค่อนข้างยากลำบาก รวมถึงมีเรื่องการเสนอชื่อแข่งจากซีกรัฐบาลเดิมที่มีกระแสข่าวเข้ามาอีก เราต้องคุยกันให้ชัดก่อนเข้าไปโหวต
สำหรับประเด็นแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 272 ตนมองว่า พรรคเพื่อไทยเคยยื่นแก้ไขมาตรานี้ไปแล้ว 2 ครั้ง โดยไม่ผ่านการพิจารณา และตอนนั้นพรรคก้าวไกลก็งดออกเสียง หากนับการเสนอทั้งหมด 6-7 ครั้ง ก็ไม่ผ่านทั้งหมด แล้วเหตุใดมาผลักดันช่วงนี้ พรรคมองว่า ไม่ใช่เรื่องด่วนที่จะต้องทำเพราะทราบผลอยู่แล้วว่าไม่ประสบความสำเร็จ เพราะมันต้องมีฝ่ายค้านสนับสนุน 20% แต่ตอนนี้ไม่มีฝ่ายค้าน รวมถึงต้องได้เสียง ส.ว. 1 ใน 3 หรือ 84 เสียง จะหามาากไหน นอกจากเสนอเป็นเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น
อีกข้อหนึ่ง พรรคเคยหาเสียงว่า หากได้เป็นรัฐบาล การประชุม ครม. ครั้งแรกจำนำเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่ที่ประชุมเพื่อทำประชามติ แก้รัฐธรรมนูญทั้งระบบโดยตั้ง ส.ส.ร. เชื่อว่าจะเสร็จสิ้นใน 1-2 ปี ส่วนการแก้รัฐธรรมนูญของพรรคก้าวไกล เราจะงดออกเสียง เพราะอยากโฟกัสการจัดตั้งรัฐบาลเป็นสำคัญที่สุด ปัญหาประชาชน ปัญหาเศรษฐกิจ เป็นเรื่องที่รอไม่ได้
นิด้าโพล ชี้ 40% ต้องการให้โหวตพิธาไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้
เฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว รายงานว่า นิด้าโพล เปิดเผยถึงผลสำรวจประชาชนเรื่องการเลือกนายกรัฐมนตรี 2566 ถ้าหากนายพิธาไม่ผ่านการคัดเลือก จะทำอย่างไรต่อ ผลปรากฏว่า 3 ตัวเลือกที่ได้คะแนนมากสุดคือ
1. ร้อยละ 43.21 ระบุว่า ควรมีการเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์เพื่อให้รัฐสภาพิจารณา ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้
2. ร้อยละ 20.69 ระบุว่า ควรมีการเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เพื่อให้รัฐสภาพิจารณา อีก 1-2 รอบเท่านั้น
3. ร้อยละ 12.98 ระบุว่า พรรคก้าวไกลควรยอมยกเลิกบางนโยบายที่ ส.ว. ไม่เห็นด้วย เพื่อให้ได้คะแนนเสียงเพิ่มขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก ไทยโพสต์, เฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว