ผบ.ตร. เคลียร์ชัด สาเหตุโอนคดียิงสารวัตรแบงค์ ที่บ้านกำนันนก ให้กองปราบ ด้าน บิ๊กก้อง ลั่นไม่ว่าจะยศใดก็ไม่มีละเว้น ไม่มีช่วยเหลือ พร้อมทำงานร่วม บิ๊กโจ๊ก แต่ขอยึดหลักข้อเท็จจริงตรงไปตรงมา
ภาพจาก โหนกระแส
วันที่ 18 กันยายน 2566 เดลินิวส์ รายงานว่า พล.ต.อ. ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. เปิดเผยกรณีการโอนคดี พ.ต.ต. ศิวกร สายบัว หรือ สารวัตรแบงค์ ไปให้กองปราบปรามเป็นผู้ทำคดีว่า ในคดีนี้จุดเริ่มต้นคือการที่นายธนัญชัย หมั่นมาก หรือ หน่อง เป็นคนยิงสารวัตรแบงค์ จากนั้นทางกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 ได้มีการรวบรวมพยานหลักฐานจนออกหมายจับ ทั้งนายประวีณ จันทร์คล้าย หรือ กำนันนก และนายหน่อง มือปืน จนต่อมาก็มีการวิสามัญมือปืน ซึ่งกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางได้มีการเสนอมายังตนว่า คดีดังกล่าวเป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกับผู้มีอิทธิพลและเป็นคดีสำคัญ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและรอบคอบในการทำคดี เพราะเมื่อใดที่ในพื้นที่นั้นมีคดีเกี่ยวกับผู้มีอิทธิพล ก็จะไม่ได้รับความไว้ใจในกระบวนการยุติธรรม ตนก็เห็นชอบที่จะให้มีการโอนคดีมาที่กองปราบปราม
ต่อมาสำนวนที่ บช.ภ.7 มีการสอบสวนพบว่า มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับคดี 6 คน ในข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา 157 ในคดีนี้เจ้าหน้าที่ยังไม่ได้รับการประกันตัว ทาง บช.ภ.7 เห็นว่าในคดีนี้เป็นคดีเดียวกัน จึงได้มีการเสนอมาทาง ผบ.ตร. เพื่อขอโอนสำนวนคดีมาให้ทางกองปราบปรามทำคดี เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 ซึ่งตนก็ได้อนุมัติการโอนสำนวนไปให้กองปราบปรามทำคดีเมื่อวันที่ 14 กันยายน ที่ผ่านมา การโอนคดีกำนันนกนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในการทำคดีนี้ โดยตนจะดูในภาพรวมทั้งหมด และให้ทาง บช.ก. และ บช.ภ.7 ลงไปทำหน้าที่ในส่วนของตัวเองให้เร็วที่สุด
ภาพจาก โหนกระแส
ด้าน พล.ต.ท. จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. กล่าวตอนหนึ่งภายหลังประชุมร่วมกับหน่วยงาน 11 หน่วยงาน ภายใต้สังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เพื่อเร่งดำเนินคดีนี้ว่า แนวทางการดำเนินการต่อจากนี้ วางกรอบการทำงานออกเป็น 3 สเตป คือ 1. การขยายผลแก๊งคนร้าย เส้นทางการเงิน ข้อมูลออนไลน์ และสิ่งผิดกฎหมาย 2. ดูเรื่องการฮั้วประมูล เพื่อพิสูจน์ทราบให้ได้ว่าเพราะเหตุใดทำไมกำนันนก ถึงชนะการประมูลได้รับงานโครงการต่าง ๆ จำนวนมาก ซึ่งในส่วนนี้พบความผิดปกติหลายอย่าง อาทิ ชนะการประมูลงานมากกว่าร้อยละ 80 อื่น ๆ และ 3. เร่งปราบปรามผู้มีอิทธิพล ซึ่งเราจะไม่ใช่แค่ระดมกำลังเข้าตรวจค้นเป้าหมายแล้วเลิก แต่จะต้องตัดวงจรทั้งเครือข่าย ยึดทรัพย์ ซึ่งเป็นแนวทางที่กองปราบทำมาโดยตลอด
พล.ต.ท. จิรภพ กล่าวว่า ยินดี และพร้อมที่จะประสานงานร่วมกันกับ พล.ต.อ. สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในคดีนี้ พร้อมร่วมมือกับทุกหน่วยงาน ขอให้ยึดข้อเท็จจริงตรงไปตรงมาเป็นหลัก และดำเนินการเป็นไปในสิ่งที่ควรจะเป็นก็พอ และยังกล่าวด้วยว่า อย่างกรณีของ ผกก. รายหนึ่ง ซึ่งจังหวะแรกไม่มีการช่วย ก่อนที่จังหวะ 2 จะมาโผล่ที่โรงพยาบาล แต่การจะตัดสินว่าเป็นความผิดมาตรา 157 หรือไม่ ต้องขอดูละเอียดให้แน่ชัด
ภาพจาก โหนกระแส
ส่วนกรณีของ ร.ต.อ. จตุรวิทย์ ชวาลเกียรติธนา รอง สวป.สภ.เมืองนครปฐม ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่ช่วยประคองคนเจ็บ ก่อนต่อมาจะปรากฏภาพว่าหลังเกิดเหตุได้ไปขับรถนำขบวนคุ้มกันให้กับกำนันนกนั้น ต้องแยกเป็น 2 ส่วน ในส่วนช่วยก็ถือว่าดี แต่ส่วนที่ไปช่วยผู้ต้องหาก็ต้องถือว่าผิด ทั้งนี้ยืนยันไม่มีช่วยเหลือใคร ไม่ว่าจะยศใด หากผิดดำเนินการเต็มที่ไม่มีละเว้น แต่ต้องบอกก่อนว่าการทำงานของเราอาจไม่ทันใจผู้ชม เพราะอยากตรวจสอบให้ครบทุกด้านทุกมิติ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก เดลินิวส์
ภาพจาก โหนกระแส
วันที่ 18 กันยายน 2566 เดลินิวส์ รายงานว่า พล.ต.อ. ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. เปิดเผยกรณีการโอนคดี พ.ต.ต. ศิวกร สายบัว หรือ สารวัตรแบงค์ ไปให้กองปราบปรามเป็นผู้ทำคดีว่า ในคดีนี้จุดเริ่มต้นคือการที่นายธนัญชัย หมั่นมาก หรือ หน่อง เป็นคนยิงสารวัตรแบงค์ จากนั้นทางกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 ได้มีการรวบรวมพยานหลักฐานจนออกหมายจับ ทั้งนายประวีณ จันทร์คล้าย หรือ กำนันนก และนายหน่อง มือปืน จนต่อมาก็มีการวิสามัญมือปืน ซึ่งกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางได้มีการเสนอมายังตนว่า คดีดังกล่าวเป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกับผู้มีอิทธิพลและเป็นคดีสำคัญ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและรอบคอบในการทำคดี เพราะเมื่อใดที่ในพื้นที่นั้นมีคดีเกี่ยวกับผู้มีอิทธิพล ก็จะไม่ได้รับความไว้ใจในกระบวนการยุติธรรม ตนก็เห็นชอบที่จะให้มีการโอนคดีมาที่กองปราบปราม
ต่อมาสำนวนที่ บช.ภ.7 มีการสอบสวนพบว่า มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับคดี 6 คน ในข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา 157 ในคดีนี้เจ้าหน้าที่ยังไม่ได้รับการประกันตัว ทาง บช.ภ.7 เห็นว่าในคดีนี้เป็นคดีเดียวกัน จึงได้มีการเสนอมาทาง ผบ.ตร. เพื่อขอโอนสำนวนคดีมาให้ทางกองปราบปรามทำคดี เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 ซึ่งตนก็ได้อนุมัติการโอนสำนวนไปให้กองปราบปรามทำคดีเมื่อวันที่ 14 กันยายน ที่ผ่านมา การโอนคดีกำนันนกนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในการทำคดีนี้ โดยตนจะดูในภาพรวมทั้งหมด และให้ทาง บช.ก. และ บช.ภ.7 ลงไปทำหน้าที่ในส่วนของตัวเองให้เร็วที่สุด
ภาพจาก โหนกระแส
ด้าน พล.ต.ท. จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. กล่าวตอนหนึ่งภายหลังประชุมร่วมกับหน่วยงาน 11 หน่วยงาน ภายใต้สังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เพื่อเร่งดำเนินคดีนี้ว่า แนวทางการดำเนินการต่อจากนี้ วางกรอบการทำงานออกเป็น 3 สเตป คือ 1. การขยายผลแก๊งคนร้าย เส้นทางการเงิน ข้อมูลออนไลน์ และสิ่งผิดกฎหมาย 2. ดูเรื่องการฮั้วประมูล เพื่อพิสูจน์ทราบให้ได้ว่าเพราะเหตุใดทำไมกำนันนก ถึงชนะการประมูลได้รับงานโครงการต่าง ๆ จำนวนมาก ซึ่งในส่วนนี้พบความผิดปกติหลายอย่าง อาทิ ชนะการประมูลงานมากกว่าร้อยละ 80 อื่น ๆ และ 3. เร่งปราบปรามผู้มีอิทธิพล ซึ่งเราจะไม่ใช่แค่ระดมกำลังเข้าตรวจค้นเป้าหมายแล้วเลิก แต่จะต้องตัดวงจรทั้งเครือข่าย ยึดทรัพย์ ซึ่งเป็นแนวทางที่กองปราบทำมาโดยตลอด
พล.ต.ท. จิรภพ กล่าวว่า ยินดี และพร้อมที่จะประสานงานร่วมกันกับ พล.ต.อ. สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในคดีนี้ พร้อมร่วมมือกับทุกหน่วยงาน ขอให้ยึดข้อเท็จจริงตรงไปตรงมาเป็นหลัก และดำเนินการเป็นไปในสิ่งที่ควรจะเป็นก็พอ และยังกล่าวด้วยว่า อย่างกรณีของ ผกก. รายหนึ่ง ซึ่งจังหวะแรกไม่มีการช่วย ก่อนที่จังหวะ 2 จะมาโผล่ที่โรงพยาบาล แต่การจะตัดสินว่าเป็นความผิดมาตรา 157 หรือไม่ ต้องขอดูละเอียดให้แน่ชัด
ภาพจาก โหนกระแส
ส่วนกรณีของ ร.ต.อ. จตุรวิทย์ ชวาลเกียรติธนา รอง สวป.สภ.เมืองนครปฐม ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่ช่วยประคองคนเจ็บ ก่อนต่อมาจะปรากฏภาพว่าหลังเกิดเหตุได้ไปขับรถนำขบวนคุ้มกันให้กับกำนันนกนั้น ต้องแยกเป็น 2 ส่วน ในส่วนช่วยก็ถือว่าดี แต่ส่วนที่ไปช่วยผู้ต้องหาก็ต้องถือว่าผิด ทั้งนี้ยืนยันไม่มีช่วยเหลือใคร ไม่ว่าจะยศใด หากผิดดำเนินการเต็มที่ไม่มีละเว้น แต่ต้องบอกก่อนว่าการทำงานของเราอาจไม่ทันใจผู้ชม เพราะอยากตรวจสอบให้ครบทุกด้านทุกมิติ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก เดลินิวส์