น้ำท่วมเชียงใหม่ แต่น้ำมาเร็วและพัดช้างของปาง ENP จนตายไป 2 เชือก สรุปเกิดอะไรขึ้น ด้านคนตั้งคำถามถึงวิธีการเลี้ยงช้างไม่ล่ามโซ่ แบบนี้ดีต่อมนุษยธรรม แต่วิกฤติมาทำลำบากจนช้างตาย สมควรหรือไม่ ?
ภาพจาก ควาญแดง พลายภูพิงค์
จากกรณีที่เกิดเหตุน้ำท่วมเชียงใหม่ และดินโคลนถล่มในหลายพื้นที่
หลายอำเภอ แม้กระทั่งโรงพยาบาลลานนา และ โรงพยาบาลค่ายกาวิละ
ก็ถูกน้ำท่วมเช่นกัน โดยเฉพาะในพื้นที่แม่แตงที่มีฝนตกหนัก
และทำให้ลำน้ำแม่แตงไหลทะลักตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา
ต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้
อย่างไรก็ตาม หนึ่งในเหตุการณ์น่าเจ็บปวดมากที่สุด คือการที่มีช้างจากปางช้าง ENP - Elephant nature park ที่ดูแลโดย มูลนิธิช้างและสิ่งแวดล้อม ที่ตั้งอยู่ที่ตำบาลกึ๊ดช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ที่ถูกกระแสน้ำพัดจนช้างล้มไปทั้งหมด 2 เชือก ได้แก่ ช้างฟ้าใส และ พลอยทอง ซึ่งก่อนหน้านี้ ก็มีภาพของช้างพลอยทอง ซึ่งเป็นช้างตาบอด ได้พยายามฝ่าน้ำท่วมออกมายังที่สูงแล้ว แต่สุดท้ายน้ำมาไวและหนีไม่พ้น ช้างพลอยทองถูกน้ำป่าซัดและตายในที่สุด
อ่านเพิ่มเติม น้ำท่วมเชียงใหม่หนัก ช้างลอยไหลตามน้ำจนคนถามเลี้ยงแบบปล่อย แจงเป็นเรื่องจริงไหม
ภาพจาก ควาญแดง พลายภูพิงค์
ภาพจาก ควาญแดง พลายภูพิงค์
ENP - Elephant nature park ดูแลโดน มูลนิธิช้างและสิ่งแวดล้อม คืออะไร
ENP - Elephant nature park ที่ดูแลโดยมูลนิธิช้างและสิ่งแวดล้อม เป็นปางช้างที่เน้นการเลี้ยงช้างโดยอิสระ ไม่ล่ามโซ่ มีคอกให้นอนตอนกลางคืน โดยส่วนใหญ่ช้างจากปางนี้จะเป็นช้างพิการ ช้างป่วย ช้างที่เคยถูกทารุณกรรม ที่นี่มีโรงพยาบาลสัตว์เป็นของตัวเอง มีสัตวแพทย์ 24 ชั่วโมง และมีรายได้จากนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมและซื้อสินค้า และเงินสนับสนุนจากองค์กรต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
ภาพจาก แสงเดือน ชัยเลิศ-Saengduean Chailert
การช่วยช้างปาง ENP เป็นไปอย่างลำบาก ต้องนำควาญจากปางอื่นพาออกมา บางส่วนโดนน้ำป่าพัด
การช้วยเหลือช้าง เป็นไปอย่างยากลำบาก ได้มีการประสานปางช้างในพื้นที่ใกล้เคียง ควาญช้างใกล้เคียง ให้มาช่วยเหลือช้าง อย่างอย่างพังแม่บุญ ช้างตาบอด 2 ข้างที่ติดอยู่ในคอกช้าง ได้พยายามใช้เท้ายืนเหนือคอกเพื่อให้หัวพ้น น้ำสูงกว่า 2 เมตรเกือบมิดหัวช้าง ทำให้ควาญต้องขึ้นไปบนหลังช้าง และอีกคนนั่งบนคอช้าง และเอาเชือกคล้องคอเพื่อจูงพังแม่บุญออกมา ควาญใช้เวลาหลายชั่วโมงจนสามารถพาช้างขึ้นฝั่งปลอดภัย
ในขณะที่มีช้างบางส่วน โดนน้ำป่าพัด จนช้างลอยคอไหลไปตามแม่น้ำปิง บางช่วงช้างจะชูงวงขึ้นมาเพื่อหายใจแบบผลุบ ๆ โผล่ ๆ ซึ่งควาญได้พยายามตะโกนเรียกให้ได้ยินและให้ว่ายน้ำเข้ามาใกล้ฝั่ง แต่เมื่อช้างเข้ามาใกล้ฝั่ง น้ำก็ยังไหลแรงอยู่ ช้างก็เริ่มอ่อนแรง ทำให้เจ้าหน้าที่ท่านหนึ่งให้ใช้เรือคายัคว่ายไปใกล้ ๆ ช้างเพื่อนำทาง เพื่อให้ช้างตามมา และช้างก็เดินตามมาจนถึงพื้น
อย่างไรก็ตาม ช้างที่ปาง ENP มีจำนวน 127 เชือก และก่อนเกิดเหตุ
เจ้าหน้าที่ก็ได้ระดมขนช้างรวมทั้งสัตว์อื่น ๆ ไปไว้ที่สูงแล้ว
แต่น้ำกลับท่วมภูเขาจนจมหมู่บ้านกึ้ดช้างแทบทั้งหมู่บ้าน น้ำท่วมสูงกว่า 3
เมตรจนเกินรั้วโรงนอน และพัดเอาแม่พลอยทอง (ต่อมาพบว่าตาย) แม่มีบุญ
(ช่วยเหลือไว้ได้) ออกไปจากต่อหน้าต่อตา และเหลือช้างอยู่ในคอกอีก 20
เชือก แต่เนื่องจากน้ำไหลบ่าแรงมาก ทำให้ช้างที่เหลือออกมาไม่ได้
ต้องอยู่ในสภาวะจมน้ำนานกว่า 30 ชั่วโมง และมีภาพที่ทำให้เห็นว่า
น้ำท่วมจนมิดงวงช้าง การเข้าไปช่วยเหลือนั้น
ทีมงานต้องดำน้ำเพื่อไปเปิดกลอน และทีมงานไม่มีผังว่ากลอนอยู้ไหน
สภาพคอกเป็นอย่างไร จะเปิดประตูอย่างไร ต่อให้ดำลงไปเจอกลอนประตู
ก็ไม่มีแรงดัน เพราะกลอนประตูจมโคลน
ภาพจาก ควาญแดง พลายภูพิงค์
ที่เชียงใหม่มีปางช้าง 80 แห่ง และ 38 แห่งอยู่ใน อ.แม่แตง และทุกแห่งประสบปัญหาน้ำท่วม แต่ทุกปางมีแผนอพยพข้างและย้ายช้างไปอยู่ในที่ปลอดภัยแล้ว แต่ที่ ENP กลับเป็นแหล่งเดียวที่มีปัญหา เพราะการเลี้ยงช้างแบบไม่ล่ามโซ แต่ใช้ระบบขังคอก ปางช้างอื่นสามารถมัดรวมช้างและย้ายไปพร้อมกันได้ แต่ปางช้างที่นี่จะมีช้างบางส่วนที่ทำไม่ได้ เพราะช้างไม่คุ้นเคยกับมนุษย์
ทั้งนี้พบว่า ที่ปางแห่งนี้มีข้างทั้งหมด 127 เชือก โดนน้ำป่าพัดไป 4 เชือก 2 เชือกจมน้ำตาย, 1 เชือกช่วยไว้ได้ 1 เชือกยังสูญหาย เข้าใจว่าเตลิดเข้าป่า
คนถกหนัก วิธีเลี้ยงช้างไม่ล่ามโซ่ วิกฤติมาช้างไม่เชื่อคน จนพาออกมาไม่ได้ เลี้ยงยังไงช้างไม่คุ้นควาญ
เรื่องนี้ได้เกิดข้อถกเถียงกันเรื่องการเลี้ยงช้างของทางปาง ที่ไม่เน้นการฝึกช้าง ไม่ล่ามโซ่ แต่ปล่อยให้อยู่ตามธรรมชาติ และมีคอกให้อยู่ตอนกลางคืน แต่พอเกิดวิกฤติกลายเป็นว่าช้างไม่คุ้นกับคน คนคุมช้างไม่ได้ และช้างบางส่วนต้องถูกปล่อยให้แช่น้ำหรือลอยพัดไปกับน้ำ ช้างที่ดุร้ายก็คุมไม่ได้ ควาญไม่กล้าไปเอาช้างออกมาจากคอก และต้องให้ควาญช้างจากปางอื่นเสี่ยงชีวิตเข้าไปช่วยเอาช้างออกมา เสี่ยงทั้งน้ำท่วม เสี่ยงทั้งโดนช้างทำร้าย บ้างก็พูดถึงว่า ลูกน้องของที่ปางช้างแห่งนี้มีเยอะมาก แต่ไม่มีใครกล้าเข้าไปช่วยช้าง เพราะไม่คุ้นเคยและกลัวช้าง จนเกิดคำถามถึงระบบข้างในว่าที่ปางเลี้ยงช้างแบบใด ถึงไม่วางระบบให้คนสนิทกับช้าง
ในขณะที่ปางช้างอื่นน้ำท่วมเหมือนกัน และต้องการความช่วยเหลือเหมือนกัน แต่ปางช้างอื่นสามารถจัดการได้ดีกว่า ไม่ใช่ว่าไม่ต้องการความช่วยเหลือ แต่ปางช้างแห่งนี้เป็นปางใหญ่ แต่ไร้ระบบการจัดการในช่วงวิกฤติ ซึ่งหากช้างจะอยู่กับสังคมมนุษย์ ช้างก็ต้องถูกฝึกและควบคุม เพื่อที่เวลาวิกฤติจะได้ฟังมนุษย์ คุ้นโซ่ และออกมาได้เป็นโขลง ช่วยกันได้ทันที
อีกฝั่งชี้ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การเลี้ยง แต่อยู่ที่การจัดการวิกฤติ-ยืนยัน จะเลี้ยงช้างไม่ล่ามโซ่เหมือนเดิม
ในขณะที่อีกฝั่งก็บอกว่า ช้างที่ ENP คือช้างแก่ พิการ ตาบอด ช้างที่ถูกทารุณกรรมาาก่อน จึงไม่มีกาล่ามโซ่ แต่ละตัวมีโรงนอนและรั้ว มีประตูกั้นให้เดินออกได้ แต่ครั้งนี้น้ำมาไวจนมิดโรงนอน ช้างตัวผู้ที่มีปัญหาเป็นช้างดุร้าย ยอมรับว่าจุดนี้มีปัญหา เพราะดุและคุมยาก ไม่เคยถูกฝึกล่ามโซ่ ไม่เคยใช้ตะขอคุม ยอมรับว่ามีปัญหาในการที่ช้างเตลิดจนหนีการควยคุม ซึ่งต้องบอกว่า จะเลี้ยงช้างแบบใช้หรือไม่ใช้ตะขอ ไม่ใช่ปัญหา แต่ปัญหาคือภัยธรรมชาติที่เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า ปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่สร้างปัญหา PM2.5 ให้ภาคเหนือ
ด้านนางแสดงเดือน เลิศขัย ได้ยืนยันว่าปัญหาของเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ที่วิธีการเลี้ยง สำหรับช้างพลอยทองที่ตายนั้น เป็นช้างตาบอดทั้ง 2 ข้าง เวลาไปไหนก็จะตามรอยเท้าเพื่อนในโขลง และส่งเสียงเรียกกัน แต่วันเกิดเหตุนั้น ทางปางได้ย้ายช้างพลอยทองไปไว้ในที่สูงที่หนึ่งแล้ว และคิดว่าตรงนั้นไม่น่าจะถูกน้ำท่วม เพราะตรงนั้นน้ำไม่เคยท่วม แต่กลายเป็นว่าน้ำมาเร็วและแรง และน้ำกกระแทกพลอยทองหายไปกับน้ำ ช้างมีบุญซึ่งเป็นช้างตาบอดก็โดนน้ำกระแทกเช่นกัน แต่มีบุญไปเกาะข้างบ้านควาญ ทว่าช้างพลอยทองโดนน้ำพัดไป
อย่างไรก็ตาม ตนจะไม่เปลี่ยนแปลงวิธีการเลี้ยงช้าง หากมีการติดโซ่ช้าง ช้างก็จะโดนรั้งเอาไว้ ทำให้ไม่มีโอกาสรอด แต่เพราะช้างไม่มีโซ่ ช้างจึงสามารถใช้ขาพะยุงไว้กับรั้ว และช้างบางตัวต้องใช้เลื่อยตัดรั้วออกมา
อย่างช้างฟ้าใสที่ตาย ก็เป็นช้างตาบอดที่พยายามหาช้างตัวอื่น แต่กลับไปเจอโซนน้ำเชี่ยว และช้างฟ้าใสก็หายไปกับน้ำ อีกทั้งควาญช้างของตนก็หายไป ไม่ทราบชะตากรรมด้วย
ภาพจาก นารากร ติยายน
ภาพจาก นารากร ติยายน
ภาพจาก นารากร ติยายน
ภาพจาก ควาญแดง พลายภูพิงค์
ภาพจาก ควาญแดง พลายภูพิงค์
ภาพจาก ควาญแดง พลายภูพิงค์