สาวแชร์ประสบการณ์ ยอมจ่ายเงินกว่า 7 แสน โคลนนิ่งสุนัขตาย จนได้ตัวใหม่กลับมาเหมือนเดิม คนฟังเสียงแตก รักสัตว์หรือรักตัวเอง
![โคลนนิ่งสัตว์ โคลนนิ่งสัตว์]()
ภาพจาก WeChat @iiirenwu
หลายคนรักสัตว์เลี้ยงเปรียบเหมือนลูก เลี้ยงดูเอาใจใส่เป็นอย่างดีทุกอย่าง แต่ไม่ว่าจะเป็นสัตว์หรือมนุษย์ย่อมต้องมีวันจากลาเช่นเดียวกัน ดังนั้นในวันใดวันหนึ่งย่อมต้องมีความเศร้าเสียใจเกิดขึ้นเป็นเรื่องธรรมดา ทว่าเมื่อเร็ว ๆ นี้มีเรื่องราวของสาวเจ้าของสุนัขรายหนึ่ง เธอตัดสินใจจ่ายเงินเกือบล้าน เพื่อที่จะได้ "สุนัขตัวใหม่" ที่เหมือนกับตัวเดิมที่ตายจากไป
วันที่ 11 มีนาคม 2568 เว็บไซต์เซาธ์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ เผยว่า หญิงรายหนึ่งชื่อสกุลสวี่ อาศัยในเมืองหางโจว มณฑลเจ้อเจียง ทางตะวันออกของประเทศจีน ได้แชร์เรื่องราวผ่านทางแพลตฟอร์มโซเชียล เกี่ยวกับประสบการณ์เหนือจินตนาการ นั่นคือการโคลนนิ่งสัตว์เลี้ยงที่ตายไปของเธอ จนกลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจกว้างขวางและเกิดการถกเถียงร้อนแรงบนสังคมออนไลน์
สวี่เผยว่า เมื่อปี 2554 เธอได้ซื้อสุนัขสายพันธุ์โดเบอร์แมน (Doberman) มาเลี้ยง 1 ตัว ตั้งชื่อให้ว่า โจ๊กเกอร์ สวี่บอกว่าโจ๊กเกอร์คือเพื่อนที่ซื่อสัตย์และกล้าหาญของเธอ มันทำให้เธอมีความรู้สึกปลอดภัยในช่วงเวลาที่เธออาศัยอยู่คนเดียว และก็ไม่มีอะไรที่จะมาทดแทนมันได้ จนกระทั่งมันอายุ 9 ขวบ ได้ตรวจพบว่า มันมีมะเร็งเกี่ยวกับเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่บริเวณคอ
![โคลนนิ่งสัตว์ โคลนนิ่งสัตว์]()
ภาพจาก WeChat @iiirenwu
สวี่ตัดสินใจให้เจ้าโจ๊กเกอร์เข้ารับการผ่าตัดโดยไม่ใช้ยาสลบ เนื่องจากมีความเสี่ยง แต่มันก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี มันเชื่อใจและอดทนต่อความเจ็บปวดอย่างแข็งแกร่ง จนผ่านวิกฤตครั้งนั้นมาได้ แต่เมื่ออายุ 10 ปี เจ้าโจ๊กเกอร์เริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ มีอาการไอ หายใจมีเสียงหวีด และอาการกระตุก เธอพยายามช่วยเหลือมันอย่างสุดความสามารถ โดยพามันไปรักษาที่โรงพยาบาลสัตว์ในเซี่ยงไฮ้ทุก 2 สัปดาห์
อย่างไรก็ดี ในเดือนพฤศจิกายน 2565 เจ้าโจ๊กเกอร์ได้จากเธอไปด้วยอาการหัวใจวาย ขณะที่อายุได้ 11 ปี สวี่รู้สึกเศร้าและใจสลายมาก "โจ๊กเกอร์คือเพื่อนที่ดีที่ที่สุดของฉัน มันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตฉันมาตลอดกว่าสิบปี ตั้งแต่เรียนจนถึงตอนทำงาน" การจากไปของเจ้าโจ๊กเกอร์ทำให้เธอเกิดความเจ็บปวดทรมรมานเกินกว่าที่คาดไว้ เธอเกิดอาการนอนไม่หลับจนระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และเจ็บป่วยบ่อยครั้ง
สวี่เผยว่า เธอมีประสบการณ์เกี่ยวกับสาขาการแพทย์ เธอจึงได้มีโอกาสติดตามและทราบข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการโคลนสัตว์เลี้ยงของจีนมาเป็นเวลาหลายปี เมื่อปี 2560 เธอได้รู้จักบริษัทโคลนนิ่งแห่งหนึ่ง (สงวนชื่อเป็นความลับ) หลังจากได้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญหลายคน ในตอนนั้นเธอจึงตกลงที่จะโคลนเจ้าโจ๊กเกอร์ โดยชำระเงินล่วงหน้าไป 160,000 หยวน (ราว 746,000 บาท)
![โคลนนิ่งสัตว์ โคลนนิ่งสัตว์]()
ภาพจาก WeChat @iiirenwu
ผู้เชี่ยวชาญอธิบายว่า การโคลนจะต้องเก็บตัวอย่างผิวหนังจากสัตว์ตัวจริง ไปผสมกับเซลล์ไข่จากสัตว์ตัวอื่นเพื่อสร้างตัวอ่อน จากนั้นจึงนำไปฝังในสัตว์ตัวแทน เพื่อให้กำเนิดตัวโคลน ซึ่งจะมีลักษณะ บุคลิกภาพ และนิสัยที่ใกล้เคียงกับตัวจริงมาก คล้ายกับฝาแฝด อีกทั้งยังไม่มีปัญหาสุขภาพ และมีอายุขัยปกติ
จนเมื่อเจ้าโจ๊กเกอร์ตาย ทางเจ้าหน้าที่ของบริษัทโคลนนิ่งดังกล่าวจึงได้เก็บชิ้นส่วนผิวหนังเล็ก ๆ จากส่วนท้องและปลายหูของมันไปเข้ากระบวนการ หลังจากรอเวลาประมาณ 1 ปี สวี่ก็ได้รับข่าวดี เมื่อการโคลนนิ่งประสบความสำเร็จ เธอได้รับรายงานอัลตราซาวนด์ยืนยันผล พร้อมด้วยคลิปวิดีโอการแสดงเจริญเติบโตทุก ๆ 15 วัน
กระทั่งเมื่อช่วงก่อนวันตรุษจีน ปีที่ผ่านมา สวี่ได้ไปรับสุนัขตัวใหม่ของเธอจากที่บริษัทโคลนนิ่ง โดยตั้งชื่อให้มันว่า ลิตเติลโจ๊กเกอร์ หรือเจ้าโจ๊กเกอร์ตัวน้อย หลังจากได้เจ้าโจ๊กเกอร์ตัวน้อยมาเลี้ยง เธอสังเกตเห็นความคล้ายคลึงของมันกับเจ้าโจ๊กเกอร์หลายอย่าง รูปลักษณ์ของทั้งคู่แทบจะเหมือนกันทุกประการ แม้กระทั่งจุดสีดำใกล้จมูก
![โคลนนิ่งสัตว์ โคลนนิ่งสัตว์]()
ภาพจาก WeChat @iiirenwu
"เจ้าโจ๊กเกอร์ตัวน้อยก็ชอบขโมยถุงเท้า และดื่มน้ำในท่าเดียวกับเจ้าโจ๊กเกอร์ มันยังเชื่อฟังและอ่อนโยนแบบเดียวกับโจ๊กเกอร์อีกด้วย แถมมันยังชอบคาบเอาสายจูงของโจ๊กเกอร์ที่ใช้มาหลายปีเดินไปเดินมาด้วย" สวี่ กล่าว
อย่างไรก็ดี แม้ว่าเธอจะได้สุนัขตัวใหม่ที่เหมือนกับตัวเก่า แต่มันก็ไม่สามารถมาแทนที่ได้ เธอยังคงรักคิดถึงเจ้าโจ๊กเกอร์อยู่เสมอ และคอยคงพกสมุดบันทึกที่เต็มไปด้วยภาพถ่ายของมัน "แต่การได้ดูแลชีวิตใหม่นี้ สามารถช่วยให้ลืมความเจ็บปวดจากการสูญเสียไปได้ในช่วงเวลาหนึ่ง" และเธอตั้งใจจะใช้ "โอกาสที่สอง" นี้ ชดเชยดูแลเจ้าโจ๊กเกอร์ตัวน้อยอย่างเต็มที่เพื่อที่จะได้ไม่เสียใจในภายหลัง
เรื่องราวนี้ก่อให้เกิดประเด็นที่ถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องการโคลนนิ่งสัตว์เลี้ยง แม้ว่าการโคลนนิ่งสัตว์จะไม่ผิดกฎหมายในประเทศจีน แต่บางมุมมองก็ยังมีข้อโต้แย้งเรื่องจริยธรรม กล่าวว่า "ทุกคนมีวิธีรับมือกับการสูญเสียและความเศร้าโศกของตัวเอง แต่การโคลนสัตว์ที่ตายจากไปแล้ว อาจไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาในทางที่ดี" และ "มีเส้นบาง ๆ ระหว่างการรักสัตว์กับรักตัวเอง"
อย่างไรก็ดีบางรายก็เข้าใจ กล่าวว่า "การโคลนนิ่งไม่ใช่การนำสัตว์ที่ตายกลับมา เพราะวิญญาณของมันไม่สามารถโคลนได้ แต่เป็นหนทางหนึ่งในการสืบสานความรักต่อไป"
ขอบคุณข้อมูลจาก South China Morning Post

ภาพจาก WeChat @iiirenwu
วันที่ 11 มีนาคม 2568 เว็บไซต์เซาธ์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ เผยว่า หญิงรายหนึ่งชื่อสกุลสวี่ อาศัยในเมืองหางโจว มณฑลเจ้อเจียง ทางตะวันออกของประเทศจีน ได้แชร์เรื่องราวผ่านทางแพลตฟอร์มโซเชียล เกี่ยวกับประสบการณ์เหนือจินตนาการ นั่นคือการโคลนนิ่งสัตว์เลี้ยงที่ตายไปของเธอ จนกลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจกว้างขวางและเกิดการถกเถียงร้อนแรงบนสังคมออนไลน์
สวี่เผยว่า เมื่อปี 2554 เธอได้ซื้อสุนัขสายพันธุ์โดเบอร์แมน (Doberman) มาเลี้ยง 1 ตัว ตั้งชื่อให้ว่า โจ๊กเกอร์ สวี่บอกว่าโจ๊กเกอร์คือเพื่อนที่ซื่อสัตย์และกล้าหาญของเธอ มันทำให้เธอมีความรู้สึกปลอดภัยในช่วงเวลาที่เธออาศัยอยู่คนเดียว และก็ไม่มีอะไรที่จะมาทดแทนมันได้ จนกระทั่งมันอายุ 9 ขวบ ได้ตรวจพบว่า มันมีมะเร็งเกี่ยวกับเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่บริเวณคอ

ภาพจาก WeChat @iiirenwu
สวี่ตัดสินใจให้เจ้าโจ๊กเกอร์เข้ารับการผ่าตัดโดยไม่ใช้ยาสลบ เนื่องจากมีความเสี่ยง แต่มันก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี มันเชื่อใจและอดทนต่อความเจ็บปวดอย่างแข็งแกร่ง จนผ่านวิกฤตครั้งนั้นมาได้ แต่เมื่ออายุ 10 ปี เจ้าโจ๊กเกอร์เริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ มีอาการไอ หายใจมีเสียงหวีด และอาการกระตุก เธอพยายามช่วยเหลือมันอย่างสุดความสามารถ โดยพามันไปรักษาที่โรงพยาบาลสัตว์ในเซี่ยงไฮ้ทุก 2 สัปดาห์
อย่างไรก็ดี ในเดือนพฤศจิกายน 2565 เจ้าโจ๊กเกอร์ได้จากเธอไปด้วยอาการหัวใจวาย ขณะที่อายุได้ 11 ปี สวี่รู้สึกเศร้าและใจสลายมาก "โจ๊กเกอร์คือเพื่อนที่ดีที่ที่สุดของฉัน มันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตฉันมาตลอดกว่าสิบปี ตั้งแต่เรียนจนถึงตอนทำงาน" การจากไปของเจ้าโจ๊กเกอร์ทำให้เธอเกิดความเจ็บปวดทรมรมานเกินกว่าที่คาดไว้ เธอเกิดอาการนอนไม่หลับจนระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และเจ็บป่วยบ่อยครั้ง
สวี่เผยว่า เธอมีประสบการณ์เกี่ยวกับสาขาการแพทย์ เธอจึงได้มีโอกาสติดตามและทราบข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการโคลนสัตว์เลี้ยงของจีนมาเป็นเวลาหลายปี เมื่อปี 2560 เธอได้รู้จักบริษัทโคลนนิ่งแห่งหนึ่ง (สงวนชื่อเป็นความลับ) หลังจากได้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญหลายคน ในตอนนั้นเธอจึงตกลงที่จะโคลนเจ้าโจ๊กเกอร์ โดยชำระเงินล่วงหน้าไป 160,000 หยวน (ราว 746,000 บาท)

ภาพจาก WeChat @iiirenwu
ผู้เชี่ยวชาญอธิบายว่า การโคลนจะต้องเก็บตัวอย่างผิวหนังจากสัตว์ตัวจริง ไปผสมกับเซลล์ไข่จากสัตว์ตัวอื่นเพื่อสร้างตัวอ่อน จากนั้นจึงนำไปฝังในสัตว์ตัวแทน เพื่อให้กำเนิดตัวโคลน ซึ่งจะมีลักษณะ บุคลิกภาพ และนิสัยที่ใกล้เคียงกับตัวจริงมาก คล้ายกับฝาแฝด อีกทั้งยังไม่มีปัญหาสุขภาพ และมีอายุขัยปกติ
จนเมื่อเจ้าโจ๊กเกอร์ตาย ทางเจ้าหน้าที่ของบริษัทโคลนนิ่งดังกล่าวจึงได้เก็บชิ้นส่วนผิวหนังเล็ก ๆ จากส่วนท้องและปลายหูของมันไปเข้ากระบวนการ หลังจากรอเวลาประมาณ 1 ปี สวี่ก็ได้รับข่าวดี เมื่อการโคลนนิ่งประสบความสำเร็จ เธอได้รับรายงานอัลตราซาวนด์ยืนยันผล พร้อมด้วยคลิปวิดีโอการแสดงเจริญเติบโตทุก ๆ 15 วัน
กระทั่งเมื่อช่วงก่อนวันตรุษจีน ปีที่ผ่านมา สวี่ได้ไปรับสุนัขตัวใหม่ของเธอจากที่บริษัทโคลนนิ่ง โดยตั้งชื่อให้มันว่า ลิตเติลโจ๊กเกอร์ หรือเจ้าโจ๊กเกอร์ตัวน้อย หลังจากได้เจ้าโจ๊กเกอร์ตัวน้อยมาเลี้ยง เธอสังเกตเห็นความคล้ายคลึงของมันกับเจ้าโจ๊กเกอร์หลายอย่าง รูปลักษณ์ของทั้งคู่แทบจะเหมือนกันทุกประการ แม้กระทั่งจุดสีดำใกล้จมูก

ภาพจาก WeChat @iiirenwu
"เจ้าโจ๊กเกอร์ตัวน้อยก็ชอบขโมยถุงเท้า และดื่มน้ำในท่าเดียวกับเจ้าโจ๊กเกอร์ มันยังเชื่อฟังและอ่อนโยนแบบเดียวกับโจ๊กเกอร์อีกด้วย แถมมันยังชอบคาบเอาสายจูงของโจ๊กเกอร์ที่ใช้มาหลายปีเดินไปเดินมาด้วย" สวี่ กล่าว
อย่างไรก็ดี แม้ว่าเธอจะได้สุนัขตัวใหม่ที่เหมือนกับตัวเก่า แต่มันก็ไม่สามารถมาแทนที่ได้ เธอยังคงรักคิดถึงเจ้าโจ๊กเกอร์อยู่เสมอ และคอยคงพกสมุดบันทึกที่เต็มไปด้วยภาพถ่ายของมัน "แต่การได้ดูแลชีวิตใหม่นี้ สามารถช่วยให้ลืมความเจ็บปวดจากการสูญเสียไปได้ในช่วงเวลาหนึ่ง" และเธอตั้งใจจะใช้ "โอกาสที่สอง" นี้ ชดเชยดูแลเจ้าโจ๊กเกอร์ตัวน้อยอย่างเต็มที่เพื่อที่จะได้ไม่เสียใจในภายหลัง
เรื่องราวนี้ก่อให้เกิดประเด็นที่ถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องการโคลนนิ่งสัตว์เลี้ยง แม้ว่าการโคลนนิ่งสัตว์จะไม่ผิดกฎหมายในประเทศจีน แต่บางมุมมองก็ยังมีข้อโต้แย้งเรื่องจริยธรรม กล่าวว่า "ทุกคนมีวิธีรับมือกับการสูญเสียและความเศร้าโศกของตัวเอง แต่การโคลนสัตว์ที่ตายจากไปแล้ว อาจไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาในทางที่ดี" และ "มีเส้นบาง ๆ ระหว่างการรักสัตว์กับรักตัวเอง"
อย่างไรก็ดีบางรายก็เข้าใจ กล่าวว่า "การโคลนนิ่งไม่ใช่การนำสัตว์ที่ตายกลับมา เพราะวิญญาณของมันไม่สามารถโคลนได้ แต่เป็นหนทางหนึ่งในการสืบสานความรักต่อไป"
ขอบคุณข้อมูลจาก South China Morning Post