x close

เจาะลึกประวัติ คณะรัฐมนตรี สมัคร 1 ทั้ง 36 คน

สมัคร สุนทรเวช

เรียบเรียงโดยกระปุกดอทคอม

นายกรัฐมนตรี

  1. นายสมัคร สุนทรเวช
นายกรัฐมนตรี

ประวัติ...

          นายสมัคร สุนทรเวช เป็นบุตรของ เสวกเอก พระยาบำรุงราชบริพาร (เสมียน สุนทรเวช) กับ คุณหญิงบำรุงราชบริพาร (อำพัน จิตรกร) เป็นหลานลุงของ มหาเสวกตรี พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) นายแพทย์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและเป็นหลานตาของ มหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) จิตรกรประจำสำนัก

          นายสมัคร สมรสกับ คุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช ที่ปรึกษาด้านการเงิน ของบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ มีบุตรสาวฝาแฝด คือ กานดาภา และกาญจนากร ปัจจุบันสมรสแล้วทั้งคู่

ประวัติการศึกษา

          • ก่อนประถม โรงเรียนสตรีบางขุนพรหม
          • ประถม โรงเรียนเทเวศน์ศึกษา
          • มัธยม โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
          • อาชีวะ โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์
          • อุดมศึกษา นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศึกษาเพิ่มเติม
 
          • ประกาศนียบัตรวิชามัคคุเทศก์ (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
          • Dip. in Accounting and Business Administration จาก Bryant & Stratton College สหรัฐอเมริกา

          ตลอดเวลาที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายสมัครได้รับการแต่งตั้งในคณะรัฐมนตรีหลายตำแหน่ง ได้แก่

          • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช 2 (15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 – 13 มีนาคม พ.ศ. 2518)
          • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช 3 (20 เมษายน พ.ศ. 2519 - 23 กันยายน พ.ศ. 2519)
          • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร (8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 - 19 ตุลาคม พ.ศ. 2520)
          • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 2 (30 เมษายน พ.ศ. 2526 - 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529)
          • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ (9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 - 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534)
          • รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.สุจินดา คราประยูร (7 เมษายน พ.ศ. 2535 - 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535)
          • รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล นายบรรหาร ศิลปอาชา (13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539)
          • รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540)
นายกรัฐมนตรี (29 มกราคม พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน)

รองนายกรัฐมนตรี

 
มิ่งขวัญ  แสงสุวรรณ

  2. นายมิ่งขวัญ  แสงสุวรรณ
รองนายกรัฐมนตรี ควบรัฐมนตรีกระทรวงพานิชย์

ประวัติ...

          เกิดวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2495 จบการศึกษาจากนิติศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

ผลงาน

          • บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย (จำกัด) เป็นพนักงานโตโยต้าคนเดียวท่ามกลาง 7 หมื่นคนของเครือโตโยต้า ทั้งหมดที่สามารถข้ามขั้น จากผู้จัดการฝ่ายไปเป็น associate director แทนที่จะไล่เรียงตามลำดับ อาวุโสและชั้นงานหลายต่อ หลายชั้นอันเป็นจารีต การบริหารแบบญี่ปุ่น

          • ผอ.อสมท.รับเปลี่ยน ช่อง9อสมท.จากแดนสนธยา ให้กลายเป็นโมเดิร์น 9 ที่สามรถทำกำไรได้อย่างมหาศาล และเมื่อเกิดเหตุปฏิวัติขึ้นในวันที่ 19 กันยายน2549 อสมท.ปล่อยสัญญาณภาพให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จากต่างประเทศตอบโต้คณะปฏิวัติ ทำให้ "มิ่งขวัญ" ตัดสินลาออกจากอสมท.จากนั้น มีการทาบทามให้ "มิ่งขวัญ" มาเป็นหัวหน้าคณะทำงานด้านเศรษฐกิจของพรรคพลังประชาชน

สมชาย วงศ์สวัสด

  3. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
รองนายกรัฐมนตรี ควบรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ

          เกิดวันที่ 31 สิงหาคม 2490 จบนิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิตไทย (นบท.) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ทำงานรับราชการเรื่อยมา ตั้งแต่ผู้พิพากษาจนถึงรองปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงยุติธรรม และปลัดกระทรวงแรงงาน ภรรยาชื่อ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ น้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยนางเยาวภาเป็นอดีตแกนนำพรรคไทย เมื่อพ.ต.ท.ทักษิณและนางเยาวภา ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง ทำให้นายสมชายจำเป็นต้องเดินเข้าสู่เส้นทางทางการเมือง โดยเป็นแกนนำสำคัญของพรรคพลังประชาชน และจะขึ้นเป็นรองนายกรัฐมนตรี

การศึกษา  

          • นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2513
          • เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา พ.ศ.2516
          • หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ.2539

ประวัติการรับราชการ
 
          • ผู้ช่วยผู้พิพากษา กระทรวงยุติธรรม     พ.ศ. 2517          
          • ผู้ช่วยผู้พิพากษาประจำกระทรวง        พ.ศ. 2518
          • ผู้พิพากษาศาลแขวงเชียงใหม่           พ.ศ. 2519
          • ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงใหม่          พ.ศ. 2520
          • ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงราย           พ.ศ. 2526
          • ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพังงา       พ.ศ. 2529
          • ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดระยอง     พ.ศ. 2530
          • ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดชลบุรี       พ.ศ. 2531
          • ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนนทบรี     พ.ศ. 2532
          • ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญาธนบุรี                   พ.ศ. 2533
          • ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3              พ.ศ. 2536
          • ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 2                พ.ศ. 2540
          • รองปลัดกระทรวงยุติธรรม  ฝ่ายวิชาการ   พ.ศ. 2541
          • รองปลัดกระทรวงยุติธรรม  ฝ่ายบริหาร    พ.ศ. 2542
          • ปลัดกระทรวงยุติธรรม      11 พฤศจิกายน 2542
          • ปลัดกระทรวงแรงงาน       8 มีนาคม 2549 - ปัจจุบัน

สุรพงษ์  สืบวงศ์ลี

  4. นายแพทย์สุรพงษ์  สืบวงศ์ลี 
รองนายกรัฐมนตรี ควบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

          เกิดวันที่ 2 พฤษภาคม 2500 จบสาขา แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหนึ่งในกลุ่มคนเดือนตุลา ก่อนหน้าที่จะเข้าสู่วงการเมืองเคยทำหน้าที่ผู้อำนวยการโรงเรียนการบริหารโรงพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งนี้ ภายหลังพรรคไทยรักไทยถูกยุบ นพ.สุรพงษ์ ถือเป็นผู้บริหาร คนสำคัญของพรรคพลังประชาชนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีให้ความไว้ใจอย่างมาก

ประวัติการศึกษา

          • แพทยศาสตร์บันฑิต คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
          • M.B.A.  สถาบันบันฑิตบริหารธรุกิจศดินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
          • อนุปัต์เวชศาสตร์ป้องกัน แพทย์สภา

ประวัติการทำงาน (รวมประสบการณ์การทำงานทางการเมือง)

          • ผู้ช่วยคณะบดี คณะแพทยศาสตร์ โรงยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
          • กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย
          • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
          • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
          • โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

เครื่องราชย์อิสริยาภรณ์
 
          • มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
          • มหาวชิรมงกุฎไทย (ม.ว.ม.)

สหัส บัณฑิตกุล

  5. นายสหัส บัณฑิตกุล
รองนายกรัฐมนตรี ดูแลด้านคมนาคม

          เกิดวันที่ 1 สิงหาคม 2493 จบปริญญาตรีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2510 (รุ่น 10) ก่อนเป็น รองผู้ว่ากรุงเทพมหานคร สมัยนายสมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เคยเป็นผู้บริหารบริษัทโอเลฟินส์ ในเครือปตท.มาก่อน เมื่อเข้าทีมเป็นรองผู้ว่ากทม.ของนายสมัตรแล้ว นายสมัครได้มอบหมายให้ดูแลหน่วยงานต่างๆ ของกทม.อาทิ สำนักการโยธา สำนักการระบายน้ำ สำนักการจราจรและขนส่ง จนนายสมัครไว้วางใจมาก

          และถือเป็นคนใกล้ชิดที่นายสมัครต้องดึงตัวมานั่งในตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ให้ดูแลงานด้านคมนาคม นอกจากนี้ ยังเป็นเพื่อนสนิทร่วมรุ่นวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กับนาย ธีรพล นพรัมภา เต็งหนึ่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรีของนายสมัครอีกด้วย

ส่วนประวัติการทำงานล่าสุด คือ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์


  6. พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์
รองนายกรัฐมนตรี

          เกิดวันที่ 7กันยายน 2478 เป็นชาวพิจิตร เคยรับราชการเหล่าทหารม้า มียศทางทหารสุดท้ายเป็น พันโท ก่อนจะถูกให้ออกจากราชการ เมื่อ พ.ศ.2520 เมื่อร่วมก่อการกบฏ 26 มีนาคม 2520 ซึ่งมี พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ เป็นหัวหน้า

          พ.ท.สนั่น ถูกจำคุกที่เรือนจำลาดยาว จากข้อหากบฏทำให้สนิทสนมกับ พ.อ.มนูญ รูปขจร (ปัจจุบันคือ พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร) ต่อมาในภายหลังเมื่อ พ.ท.สนั่น ได้เข้าทำงานการเมือง และดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พ.ท.สนั่นได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศเป็น "พลตรี"

          อดีตเป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ 10 สิงหาคม 43 มีความผิดฐานจงใจแสดงบัญชีทรัพย์สินเป็นเท็จ ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี หลังจากนั้นได้ก่อตั้งและเป็นหัวหน้าพรรคมหาชน ต่อมาหอบหิ้วลูกพรรค 15 คนเข้าผนึกกับพรรคชาติไทย เพื่อรับหน้าที่เป็นมือประสานสิบทิศกับพรรคการเมืองต่าง และรับตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยด้วย

เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในรัฐบาล
 
          • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
          • กระทรวงอุตสาหกรรม
          • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

สุวิทย์ คุณกิตติ


  7. นายสุวิทย์ คุณกิตติ
รองนายกรัฐมนตรี ควบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

          เกิดวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2500 ที่ อ.เขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น สมรสกับนางลาวัณย์ คุณกิตติ มีบุตรด้วยกัน 3 คน เข้าสู่วงการเมืองครั้งแรกในสังกัดพรรคกิจสังคม ได้เป็น ส.ส.ขอนแก่น ตั้งแต่อายุเพียง 26 ปี หลังจากนั้นบางช่วงย้ายไปสังกัดพรรคเอกภาพ และกลับไปสังกัดพรรคกิจสังคม ต่อมาดำรงตำแหน่ง หัวหน้าพรรค ภายหลังการเสียชีวิตของ นายมนตรี พงษ์พานิช ก่อนจะย้ายไปสังกัดพรรคไทยรักไทย

          เมื่อปี 48 ป่วยเป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบตัน ยุติงานการเมืองทำให้รอดพ้นจากบ่วง 111 ต่อมาตั้งพรรคเพื่อแผ่นดิน เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก แต่สอบตกในพื้นที่แจ้งเกิดของตน

การศึกษา

          • ระดับประถมศึกษา โรงเรียนมหาไถ่ศึกษา จ.ขอนแก่น
          • ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนเทพศิรินทร์
          • วิทยาลัยการทหารเคมเปอร์ สหรัฐอเมริกา
          • ปริญญาตรีและปริญญาโท ด้านเคมี จากสหรัฐอเมริกา
          • ปริญญาดุษฎีบัญฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนาชุมชน

การเมือง
 
          • สมาชิกสภาจังหวัดขอนแก่น
          • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ พ.ศ.2526 (อายุ 26 ปี) รวมทั้งสิ้น 8 สมัย
          • ประธานคณะกรรมาธิการกิจการสตรีและเยาวชน เมื่ออายุ 29 ปี
          • ประธานคณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร จัดตั้งสถานีวิทยุรัฐสภา

บริหาร
 
          • เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
          • เลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
          • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
          • เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
          • รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
          • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (อายุ 35 ปี) 2 ครั้ง
          • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
          • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
          • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
          • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
          • รองนายกรัฐมนตรี (อายุ 40 ปี) 5 ครั้ง

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

 
รศ.ชูศักดิ์  ศิรินิล

  8. รศ.ชูศักดิ์  ศิรินิล
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี(ด้านกฏหมาย)

          เกิดวันที่ 25 กรกฎาคม 2491 มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสันติราษฎร์บำรุง นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดี) สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิตไทย MASTER OF COMPARATIVE LAW สาขานิติศาสตร์ Southern Methodist University ประเทศสหรัฐอเมริกา
 
วุฒิการศึกษาสูงสุด
 
          • มัธยมศึกษาตอนปลาย : โรงเรียนสันติราษฎร์บำรุง
          • ปริญญาตรี : นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดี) สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิตไทย
          • ปริญญาโท : เนติบัญฑิตไทย ทางกฎหมายเปรียบเทียบ Southern Methodist University Dallas,Texas ประเทศสหรัฐอเมริกา

ประวัติการทำงาน

          • อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
          • อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง 2 สมัย
          • สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
          • ที่ปรึกษาประธานรัฐสภา
          • อดีตส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคไทยรักไทย

จักรภพ เพ็ญแข

  9. นายจักรภพ เพ็ญแข 
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ด้านสื่อสารมวลชน)

          นายจักรภพ เพ็ญแข เกิดปี พ.ศ. 2510 มีชื่อเล่นว่า "เอก" เรียนที่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากนั้นสอบเข้าเรียนได้ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เมื่อจบปริญญาตรีแล้ว ได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ สหรัฐอเมริกา เริ่มทำงานครั้งแรกกับเครือเจริญโภคภัณฑ์อยู่ระยะหนึ่ง แล้วลาออกไปเข้ารับราชการเป็นเจ้าหน้าที่ทูต กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ต่อมาได้ลาออกมาทำงานสื่อมวลชนแบบเต็มตัว โดยทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์

          เกิดเมื่อ พ.ศ. 2510 จบการศึกษาจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ปริญญาโทมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ สหรัฐอเมริกา และระดับปริญญาเอกจนจบ ทำงานครั้งแรกกับเครือเจริญโภคภัณฑ์(ซีพี) แล้วลาออกเป็นเจ้าหน้าที่ทูต กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ต่อมาทำงานสื่อมวลชนแบบเต็มตัว โดยทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ จากนั้นเป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ 1 ลงสมัครรับเลือกตั้งส.ส.กทม.ปี 2548 และ 2549 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

          ได้รับการแต่งตั้งเป็นโฆษกรัฐบาลสมัย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ไม่นานก็ลงสมัคร ส.ส.พรรคไทยรักไทย แต่ไม่ได้รับเลือกถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรก การเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 นายจักรภพลงเลือกตั้งที่กรุงเทพฯ เขต 30 ผลการเลือกตั้ง นายจักรภพ แพ้ผู้สมัครจาก พรรคประชาธิปัตย์ คือ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ต่อมาครั้งที่สองใน การเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 นายจักรภพ เป็นผู้สมัครเพียงคนเดียวใน เขต 5 กรุงเทพมหานคร แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากได้คะแนนเพียง 22,231 คะแนน คิดเป็น 17.27% ในขณะที่มีผู้กาคะแนนไม่เลือกใคร ถึง 55,141 คะแนน [1][2]

          อย่างไรก็ตามต่อมา นายจักรภพ ได้รับแต่งตั้งเป็น รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลทักษิณ 2 และหลังจาก คดียุบพรรคไทยรักไทย นายจักรภพพร้อมกับกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและกลุ่มผู้บริหารพีทีวี เป็นแกนนำจัดเวทีปราศรัยโจมตีรัฐบาลและคมช.ขึ้นที่ท้องสนามหลวง ใช้ชื่อว่า "กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ" (นปก.) เรียกร้องความเป็นธรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณ จนถูกจำคุกจากการบุก "บ้านสี่เสาเทเวศ"

ประวัติการศึกษา
 
          • มัธยมโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
          • ปริญาตรีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
          • ปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ สหรัฐอเมริกา และศึกษาระดับปริญญาเอกจนจบ

ประวัติการทำงาน
 
          • เครือเจริญโภคภัณฑ์อ
          • เจ้าหน้าที่ทูต กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
          • สื่อมวลชนแบบเต็มตัว โดยทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์

กระทรวงการคลัง

 
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์

  10. นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ 
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง

          เกิดวันที่ 25 ธันวาคม 2498 จบการศึกษาปริญญาตรีบริหารเศรษฐศาสตร์ Franklin Pierce College, New Hampshire, USA ปริญญาโทการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รุ่นที่ 8) เล่นการเมืองในนามพรรคประชาธิปัตย์ โดยการชักชวนของ "พล.ต.สนั่น" ปี 2538 เป็นส.ส.สมัยแรกพิจิตร เป็นปธ.กมธ.การกีฬา รมช.คมนาคมรัฐบาลประชาธิปัตย์

          เมื่อพล.ต.สนั่นเว้นวรรคทางการเมือง 5 ปี เสธ.หนั่นพยายามผลักดันเป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์แทน แต่ถูกนายอนันต์ อนันตกูล เสียบแทน จึงแค่รักษาการเลขาธิการพรรคไม่กี่เดือน จึงตัดสินใจอำลาพรรคประชาธิปัตย์และหายจากการเมืองไปช่วงหนึ่ง

          เมื่อเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน ร่วมก่อตั้งพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา (รช.) ซึ่งรวมกับพรรคชาติพัฒนาของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ โดยมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้ประสานงานกับนายทุนกลุ่มต่างๆให้กับพรรค จนได้ตำแหน่งเลขาธิการพรรครช. ตอนนี้จึงกลับมาผงาดอีกครั้ง

การศึกษา

          • ปริญญาตรี สาขาวิชาบริหารเศรษฐศาสตร์
Franklin Pierce College, New Hampshire, USA (1979)
          • ปริญญาโท สาขาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รุ่นที่ 8) ได้รับอนุมัติปริญญา ระดับบัญฑิตศึกษาปีการศึกษา 2547

อาชีพก่อนได้รับเลือกตั้ง

          • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพิจิตร เขต 1 

ประสบการณ

          • พ.ค.2546 - 8 ก.พ. 2548 เลขาธิการพรรค พรรคประชาธิปัตย์
          • ม.ค.2544 - 5 ม.ค. 2548 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพิจิตร เขต 1(สมัยที่ 3)
          • พ.ย.2540 - ธ.ค. 2543 รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงคมนาคม
          • ธ.ค.2539 - พ.ย. 2540 ประธานคณะกรรมาธิการ การกีฬา
          • ธ.ค.2539 - ธ.ค. 2543 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพิจิตร เขต 1(สมัยที่ 2) 
          • กค. 2538 - ตค. 2539 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพิจิตร เขต 1 (สมัยที่ 1) 

เครื่องราชย์อิสริยาภรณ์

          • มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (มปช.)

ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี


  11. ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง

          อายุ 51 ปี ภรรยาว่าที่ ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี แกนนำกลุ่มโคราช ในพรรคเพื่อแผ่นดิน เป็นนักการเมืองหน้าใหม่ เพิ่งได้รับเลือกให้เป็นส.ส.นครราชสีมาเป็นสมัยแรก เคยเป็นผู้อำนวยการสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ก่อนจะลาออกมาลงสมัครส.ว.นครราชสีมา เมื่อปี 2549 แต่เนื่องจากเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จึงไม่ได้ทำหน้าที่ส.ว.และได้เป็นนักการเมืองสมใจ จากนั้นเมื่อสามีประสบปัญหา 111 ที่ถูกเว้นวรรคทางการเมืองจึงลงสมัคร ส.ส. แทนสามี

          ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ เป็นสตรีที่มีพื้นหลังไม่ธรรมดา นอกจากเป็นศรีภริยา ว่าที่ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี แล้ว ยังเป็นบุตรสาวของ "เลิศ หงส์ภักดี" อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดโคราช, อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย และอดีตส.ส.เมืองย่าโม

การศึกษา

          • ปริญญาตรี : มหาวิทยาลับกริก
          • ปริญญาตรี : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


กระทรวงพานิชย์ 

วิรุฬ เตชะไพบูลย์

  12. นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพานิชย์     

          เกิดเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2486 เคยเป็นอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (วราเทพ รัตนากร) ปี 2546 – 2548 อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการคลัง ปี 2548 และกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการคลัง (วราเทพ ปี 2548 และ 2549) อยู่ในฐานะทุนทางการเมือง ตั้งแต่สมัยเป็นรองหัวหน้าพรรคความหวังใหม่ และเมื่อเข้ามาร่วมพรรคไทยรักไทยก็ยังเป็นทุนที่อยู่เบื้องหลังมายาวนาน และคุ้นเคยกับ นายวราเทพ อดีตแกนนำไทยรักไทย ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างกำแพงเพชรและนครสวรรค์ เป็นอย่างดี ซึ่งถือได้ว่าเป็นโควตาจากภาคเหนือ

ประวัติการศึกษา
 
          • โรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชา
          • โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
          • โรงเรียนเซนต์สตีเว่น ฮ่องกง
          • ปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ สาขาบริหารงานทั่วไป มหาวิทยาลัย HAWTHONE รัฐนิวแฮมเชอร์ สหรัฐอเมริกา
          • ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติศักดิ์ (สาขาการตลาด) มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ประวัติการทำงาน
 
          • อดีตรองหัวหน้าพรรค พรรคความหวังใหม่
          • อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นพ.ดร.กระแส ชนะวงศ์) (กุมภาพันธ์ 2544 - มีนาคม 2545)
          • อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (ฯพณฯ วราเทพ รัตนากร) (เมษายน 2546 - กุมภาพันธ์ 2548)
          • ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการคลัง (11 มีนาคม 2548 - ปัจจุบัน)
          • 16 สิงหาคม พ.ศ. 2548 กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร)
          • 29 มิถุนายน พ.ศ. 2549 กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร
          • คณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย สังกัดกระทรวงคมนาคม (มี.ค.45 - เม.ย.46 )
          • คณะกรรมการการรถไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สังกัดกระทรวงมหาดไทย (ธ.ค.45 - เม.ย.46)
          • พ.ศ. 2543 คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังรวมหรือยุบเลิกทุนหมุนเวียน
          • พ.ศ. 2542 คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติความลับทางการค้า
          • พ.ศ. 2542 คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเครื่องหมายทางการค้า
          • พ.ศ. 2542 คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการทำงานของสถาบันประกันการลงทุนพหุภาคี
          • พ.ศ. 2540 กรรมการที่ปรึกษา คณะอนุกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นองค์กรเอกชน สภาร่างรัฐธรรนูญ
          • พ.ศ. 2538 คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อการพัฒนาการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาจังหวัดภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ
          • สมาชิกวุฒิสภา (22 มี.ค. 35 - 21 มี.ค.39)
          • พ.ศ. 2535 คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยวและการกีฬา วุฒิสภา
          • 15 มี.ค.34 - 21 มี.ค.35 สมาชิกสภานิติบัญญัต

เครื่องราชย์อิสริยาภรณ์

          • มหาวชิรงกุฎ
          • ประถมาภรณ์ช้างเผือก
          • ประถมาภรณ์มงกุฎไทย ชั้น 1

พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์

  13. พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพานิชย์

          เกิดวันที่ 26 กรกฎาคม 2506 รับราชการตำรวจ เป็นสวป.สภ.อ.เมืองกำแพงเพชร สวป.สภ.อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ปี พ.ศ.2544 เป็นส.ส.นครสวรรค์ เขต 6 พ.ศ.2548 เป็นส.ส.นครสวรรค์ เขต 6 กลุ่มวังน้ำยม พรรคไทยรักไทย

          ประสบการณ์ทำงาน รองประธานกรรมาธิการการเงินการคลังการธนาคาร กรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค กรรมาธิการสาธารณสุข กรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

          ในการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 ลงสมัคร ส.ส.แบบสัดส่วน กลุ่มที่ 2 ซึ่งพ.ต.ท.บรรยิน เป็นสมาชิกคนสำคัญของพรรคมัชฌิมาธิปไตย โดยอยู่ในสายของ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน

การศึกษา
 
          - มัธยมศึกษา โรงเรียนนครสวรรค์
          - ปริญญาตรี รัฐประศาสนศาสตร์ นายร้อยตำรวจ
          - ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร 

อาชีพก่อนได้รับเลือกตั้ง
 
          • รับราชการตำรวจ
 
ประสบการณ์
 
          • สมาชิกวุฒิสภา 2544
          • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2544
 
เครื่องราชย์อิสริยาภรณ์
 
          • ปม.ปช.

กระทรวงคมนาคม

สันติ พร้อมพัฒน์

  14. นายสันติ พร้อมพัฒน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

          เกิดวันที่ 20 กันยายน 2495 เคยเป็นทุนใหญ่ในภาคเหนือตอนล่างให้พรรคความหวังใหม่ เมื่อมาอยู่ร่วมกับพรรคไทยรักไทย ก็มีบทบาทในพื้นที่ เพชรบูรณ์ พิจิตร นครสวรรค์ ลพบุรี พิษณุโลก ร่วมกับ พงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล (เฮียเพ้ง) อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย และเมื่อไทยรักไทยถูกยุบ ก็มีบทบาทแทนเฮียเพ้งในภาคเหนือตอนล่างอย่างเต็มตัว ถือเป็นสายตรงคุณหญิงพจมาน ชินวัตร

          สันติ พร้อมพัฒน์ เป็นนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ โดยนั่งเป็นประธานกรรมการ บริษัท นวพัฒนาธานี จำกัด ประกอบธุรกิจประเภทพัฒนาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งประกอบอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรและชิ้นส่วนรถยนต์

ประวัติการศึกษา

          • ปริญญาตรี เทคโนโลยีการเกษตร วิทยาลัยบัณฑิตสกลนคร (ได้ถูกวิทยาลัยบัณฑิตสกลนครแจ้งเพิกถอนใบรับรองคุณวุฒิการศึกษาปริญญาตรี คณะเกษตรศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการผลิตพืช)
          • คณะศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2547

ประสบการณ์ทางการเมือง
 
          • ที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2535 - 2538
          • ส.ส. พรรคความหวังใหม่ จังหวัดเพชรบูรณ์ เขต 2 พ.ศ. 2539

ทรงศักดิ์ ทองศรี

  15. นายทรงศักดิ์ ทองศรี
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

          เกิดวันที่ 20 เมษายน 2501 เป็นส.ส.บุรีรัมย์ ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2535 พรรคสามัคคีธรรม ต่อมาย้ายมาพรรคชาติไทย ได้เป็นส.ส.อีกเมื่อปี 2535 - 2538 และปี 2539 ย้ายมาพรรคความหวังใหม่ เคยเป็นผู้ช่วยเลขาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้ช่วยเลขาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  และประธานกรรมการธิการการท่องเที่ยว

          จนเมื่อพรรคไทยรักไทยถูกยุบ "ทรงศักดิ์" ในฐานะที่เป็นคนใกล้ชิด นายเนวิน ชิดชอบ อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย ได้รับการผลักดันให้เป็นประธานคณะกรรมการประสานงานภาคอีสาน

ประวัติการศึกษา
 
          • โรงเรียนอนุบาลประโคนชัย (อำนวยกิจ) บุรีรัมย์
          • มัธยมศึกษา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาคม
          • ปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
          • ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสเทินเอเซีย

ประวัติการทำงาน
(รวมประสบการณ์การทำงานทางการเมือง)

          • ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
          • ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา
          • ประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร

เครื่องราชย์อิสริยาภรณ์
 
          • มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

อนุรักษ์ จุรีมาศ

  16. นายอนุรักษ์ จุรีมาศ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

          เกิดวันที่ 4สิงหาคม 2503 จบนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ.2526 จบเนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตสภา เป็นส.ส.ร้อยเอ็ดตั้งแต่ปี 2529 - 2539 มีตำแหน่งสำคัญในหลายครั้ง เป็น รมช.อุตสาหกรรม รมช.เกษตร 

          ปี 2545 เป็นรมว.พัฒนาสังคมฯ และปี 2546 รมว.วัฒนธรรมเป็นคนที่นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยให้ความไว้วางใจมาก และได้โควต้าของพรรคเป็นรมต.ถึง 4 ครั้ง การเลือกตั้งที่ผ่านมา มีหน้าที่รับผิดชอบพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพรรคชาติไทย และหลายครั้ง สามารถช่วยกู้สถานการณ์ของพรรคชาติไทยได้ ในครั้งนี้ จึงได้ไว้วางใจให้เป็นรมช.คมนาคม

การศึกษา
 
          • พ.ศ. 2524 นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
          • พ.ศ. 2526 เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตสภา
 
ตำแหน่งสำคัญทางการเมือง
 
          • พ.ศ. 2529 - 2539 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดรัอยเอ็ด
          • พ.ศ. 2531 - 2532 เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร
          • พ.ศ. 2535 - 2535 ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
          • พ.ศ. 2538 - 2539 เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
          • พ.ศ. 2540 - 2541 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
          • พ.ศ. 2541 - 2544 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
          • พ.ศ. 2545 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
          • 3 ตุลาคม 2545 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคง ของมนุษย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ 

          • มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล

  18. นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

          เกิดวันที่ 27 เมษายน 2494 รัฐศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีประสบการณ์ทางการเมืองอย่างโชกโชน เป็นส.ส.อ่างทอง พรรคชาติไทยมาถึง 9 สมัย ตำแหน่งสำคัญ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 2538, รมช.ศึกษาธิการ 2540, รมว.ศึกษาธิการ 2542, รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1

          พ.ศ.2544 เป็นคนเดือนตุลาที่แปลงสภาพเป็น "สายพิราบ" ให้พรรค เป็นมือโต้ทางการเมืองให้พรรคมายาวนานมากประสบการณ์ รับงานหนักเป็นมือประสานหาทางลงร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชน คว้าเก้าอี้ไปนั่งตามความคาดหมาย เพราะเป็นคนที่นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคไว้วางใจที่สุด

การศึกษา
 
          • รัฐศาสตร์ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อาชีพก่อนได้รับเลือกตั้ง
 
          • นักการเมือง
 
ประสบการณ์
 
          • ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
          • โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
          • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
          • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
          • รองประธานสภาผู้แทนราษฎร 
          • เครื่องราชย์อิสริยาภรณ์
          • มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช )

กมล จิรพันธุ์วนิช

  19. นายกมล จิรพันธุ์วนิช
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

           เกิด 14 มิถุนายน 2475

ประวัติการศึกษา
 
          • ปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ ไต้หวัน

ประวัติการทำงาน
 
          • สมาชิกสภาจังหวัด พ.ศ. 2518-2523
          • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2526, 2529, 2531, 2535/1, 2535/2, 2539,2544
          • ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2529, 2531, 2535
          • ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2529,2531
          • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2531
          • ประธานกรรมาธิการศึกษาสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2535
          • รองประธานกรรมาธิการทหารสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 253

ธีระชัย แสนแก้ว

  20. นายธีระชัย แสนแก้ว
รัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตรและสหกรณ์

          เกิดวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2500 อายุ 51 ปี ศึกษาที่โรงเรียนบ้านโคกสูง โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์บัณฑิต สถาบันราชภัฎอุดรธานี ปริญญาโทสังคมสงเคราะห์ ขบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมาชิกสภาจังหวัดอุดรธานี ปีพ.ศ.2538 - 2542 ส.ส.อุดรธานี เขต 7 ปี 2544-2548 เคยเป็นอดีตเลขานุการประจำนายกรัฐมนตรี

          ที่สำคัญเป็นอดีตเลขาธิการสมาคมชาวไร้อ้อยอีสานเหนือ และรองประธานสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน มีบทบาทในการปกป้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีมาโดยตลอด โดยเฉพาะเหตุการณ์หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน เป็นแกนนำใน "กลุ่มคนรักทักษิณไม่เอาเผด็จการ" ประสานงานยู่กับนายเนวิน ชิดชอบ ตลอดเวลา

ประวัติการศึกษา

          • ประถมศึกษา - โรงเรียนบ้านโคกสูง
          • มัธยมศึกษา - โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม
          • อุดมศึกษา - วิทยาศาสตร์บัณฑิต สถาบันราชภัฎอุดรธานี
          • ปริญญาโท - สังคมสงเคราะห์ ขบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 
ประสบการณ์ทางการเมือง

          • สมาชิกสภาจังหวัดอุดรธานี พ.ศ.2538 - 2542

ประสบการณ์การทำงาน
 
          • หัวหน้าควบคุมการผลิตอ้อย น้ำตาลทรายสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม
          • ทำไร่อ้อย

ประสบการณ์ทางสังคม
 
          • รองประธานปฏิรูปการศึกษาโรงเรียนไชยานวิทยาคม
          • ที่ปรึกษาสหกรณ์การเกษตรอำเภอไชยาน
          • เลขาธิการชาวไร่อ้อยอีสานเหนือ
          • เลขาธิการชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน
          • กรรมการประถมศึกษาจังหวัดอุดรธานี
          • รองเลขาธิการสหสมาคมชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย
          • วิทยากรลูกเสือชาวบ้านอำเภอไชยาน

กระทรวงพลังงาน

พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ

  21. นางพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

          "มาดามติ้ง" ภริยาสุดที่รักของ "สุวัจน์ ลิปตพัลลภ" หัวหอกอยู่เบื้องหลังความสำเร็จ 9 ที่นั่งส.ส.ของพรรค ว่ากันว่า เป็นนอมินีตัวจริงของ "สุวัจน์" เพราะตัวเองติดโทษแบน 5 ปี มีดีกรีการ ศึกษา วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเคมี ม.เกษตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาชีวเคมี ม.จุฬาฯ หลักสูตรนายทหารชั้นนายพัน หลักสูตรวิทยาลัยการทัพบก เป็นอาจารย์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎฯ

          ปี 2537-2544 ผู้ช่วยนายทหารคนสนิทรองปลัดกห. นายทหารคนสนิทรองปลัด กห. หัวหน้านายทหารประสานการกิจทางทหารกับกอ.รมน. ช่วยปฏิบัติราชการสำนักงานปลัด กห.(อัตราพลตรี) ที่ปรึกษาศูนย์อำนวยการร่วม 108(ด้านยาเสพติด)บก.สส. ที่ปรึกษาผอ.องค์การทหารผ่านศึก ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกห. และปี 2549 เป็นส.ว. แฟ้มประวัติยาวยืด ดรีกรีแน่น จึงได้เก้าอี้พลังงานไปฉลุย

ประวัติการศึกษา

          • หลักสูตรนายทหารชั้นนายพัน
          • หลักสูตรวิทยาลัยการทัพบก สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง
          • หลักสูตรประจำ ชุดที่ 43
          • หลักสูตร มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มินิ เอ็มบีเอ
          • หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน (วปรอ.) รุ่นที่ 4313
          • หลักสูตรการปฐมนิเทศ นายทหารชั้นนายพลของกองทัพไทย รุ่นที่ 15 บก.สส.

ประวัติการทำงาน

          • 2524-2534 อาจารย์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ พระมงกุฎเกล้า กรมแพทย์ทหารบก กระทรวงกลาโหม (กห.)
          • 2537-2544 ผู้ช่วยนายทหารคนสนิทรองปลัด กห.,นายทหารคนสนิท,รองปลัด กห.,
          • ช่วยราชการ ศอร.บก.สส.เพื่อปฏิบัติราชการใน สน.ผบ.ส.ส./ผอ.ศอร.บก.ทหารสูงสุด
          • หัวหน้านายทหารประสานการกิจทางทหารกับ กอ.รมน. ช่วยปฏิบัติราชการ สำนักงานปลัด กห. อัตราพลตรี
          • ที่ปรึกษาศูนย์อำนวยการร่วม 108 (ด้านยาเสพติด) บก.สส.
          • ที่ปรึกษาผู้อำนวยการองค์การทหารผ่านศึก ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัด กห.
          • อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยาลัย วปรอ. สถาบันการป้องกันประเทศ กห.
          • ปี 2549 สมาชิกวุฒิสภา

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

วีระศักดิ์ โควสุรัตน์

  22. นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

          เกิดวันที่ 23 ตุลาคม 2508 เกิดที่จังหวัด อุบลราชธานี เป็นเสมียนรัฐมนตรี ผ่านงานเลขานุการมานับไม่ถ้วน ทั้งเลขาฯประธานวุฒิสภาประธานตุลาการรัฐธรรมนูญ ประธานรัฐสภา ประธานคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ฯลฯ ถนัดงานกฎหมายและการวางหมากกลยุทธ์ ประยุกต์ตำราการเมือง มีดีกรีนิติศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย LLM. นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา

          • ตำแหน่งล่าสุด เคยเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม ไต่บันไดความไว้วางใจจนคว้าตำแหน่ง คนรู้ใจหัวหน้าบรรหาร ศิลปอาชา จนได้เป็นรัฐมนตรี "ตามสั่ง" ในที่สุด

ประวัติการศึกษา

          - พ.ศ. 2532 ปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
          - พ.ศ. 2535 ปริญญาโท LL.m (นิติศาสตร์มหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัย Harvard Law School ประเทศสหรัฐอเมริกา

ตำแหน่งสำคัญต่างๆ
 
          • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
          • พ.ศ. 2532 - 2534 เลขานุการประธานรัฐสภา
          • พ.ศ. 2538 - 2539 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
          • พ.ศ. 2544 - 2545 ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี
          • พ.ศ. 2545 - 2546 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

 

มั่น พัธโนทัย

  23. นายมั่น พัธโนทัย
รัฐมนตรีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ

          มีชื่อติดทำเนียบสภาล่างตั้งแต่ปี 2531 ในฐานะ ส.ส.สมุทรปราการ ด้วยเพราะเป็น "เด็กสร้าง" ของ "เจ้าพ่อปากน้ำ" ที่ชื่อ "วัฒนา อัศวเหม" ประธานพรรคเพื่อแผ่นดิน อดีตหัวหน้าพรรคราษฎร แต่ต่อมาได้รับการพิสูจน์ฝีมือและความไว้วางใจ จนขยับชั้นขึ้นเป็น "มือขวาเจ้าพ่อ" ได้รับการผลักดันให้เป็นเลขาธิการพรรคราษฎร นอกจากนี้ไม่ว่า "วัฒนา" จะย้ายไปนั่งเก้าอี้รัฐมนตรีในกระทรวงใด "มั่น" ก็จะตามไปเป็นเลขานุการรัฐมนตรีทุกครั้งทั้งในกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย รมต. ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ฯลฯ

          กระทั่งปี 2544 ชีวิตการเมืองของเขาเข้าสู่ยุคตกอับ เมื่อ "วัฒนา" ตัดสินใจเซ้งพรรคราษฎรให้ "พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์" ก่อนเปลี่ยนหัวใหม่เป็นพรรคมหาชน ซึ่งปรากฏว่า "วัฒนา" และลูกหลานสอบตกยกครัวเพราะพ่ายคู่แข่งขันจากพรรคไทยรักไทย ทำให้ชื่อของ "มั่น" พลอยหายไปจากสาระบบการเมืองด้วย

          ก่อนโผล่ขึ้นมาใหม่ในนาม ส.ว.สมุทรปราการ ปี 2549 แต่เมื่อ "วัฒนา" กลับมาลงทุน ลงแรง ลุยทำพรรคการเมืองอีกครั้ง ก็ปรากฏชื่อ "มั่น" เป็นรองหัวหน้าพรรคน้องใหม่ทันที

การศึกษา
 
          • ปริญญาตรี สาขา นิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ สำเร็จการศึกษา 2507
          • ปริญญาโท สาขา สัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐศาสตร์ สถานที่ศึกษา AMERICAN U,WASH D.C.USA.สำเร็จ
          • ปริญญาเอก สาขา เศรษฐศาสตร์ สถานที่ศึกษา KENSINGFON U,CALIFANIA USA.

ประวัติการทำงาน
 
          • สมาชิกวุฒิสภา จังหวัดสมุทรปราการ ปี 2549
          • รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ
          • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสมุทรปราการ 4 สมัยติดต่อกัน
          • เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
          • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 
วุฒิพงศ์ ฉายแสง

  24. นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          น้องชายนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เกิดเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2502 ระดับการศึกษาจบปริญญาตรี สาขา นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง เริ่มมีตำแหน่งทางการเมือง เมื่อปี 2528 ในตำแหน่ง เลขานุการส่วนตัวรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

          ในปี 2540 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จากนั้นในปี 2544 ได้รับเลือกให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 4 จังหวัดฉะเชิงเทรา

วุฒิการศึกษาและเกียรติประวัติ
 
          • ปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ประวัติการทำงาน
 
          • ประกอบธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ปี 2529  
          • ประกอบธุรกิจด้านเกษตร ปี 2535
          • เลขานุการส่วนตัวรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ปี 2528   
          • ผู้ช่วยดำเนินงานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดฉะเชิงเทรา ปี 2535-2539
          • คณะทำงาน โครงการแผนกลยุทธ์การวิจัยด้านเกษตรและอุตสาหกรรม
          • สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จังหวัดฉะเชิงเทรา


กระทรวงมหาดไทย

เฉลิม อยู่บำรุง

  25. ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.1)

          นักการเมืองฝีปากกล้า เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2491 การศึกษานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง เคยรับราชการตำรวจมีตำแหน่งเป็นสารวัตรกองปราบฯ ร.ต.อ.เฉลิม จากนั้นเริ่มต้นชีวิตทางการเมืองด้วยการเป็น ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และในปี พ.ศ. 2529 ได้ก่อตั้งพรรคมวลชน โดยรับตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรค มีฐานเสียงสำคัญในพื้นที่ฝั่งธนบุรี 

          ในการทำงานการเมืองเคยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กำกับดูแล องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย จนได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า "เหลิมดาวเทียม" ภายหลังบทบาททางการเมืองของร.ต.อ.เฉลิม เงียบหายไปนาน จนพรรคไทยรักไทยถูกยุบ ร.ต.อ.เฉลิม จึงถูก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะคนคุ้นเคยในอดีตให้มาช่วยงานพรรคพลังประชาชนในยามที่พรรคคาดแคลนบุคลากร โดยบุคคลที่มีความสามารถอภิปรายในสภาอย่างดุเดือด

ประวัติการศึกษา

          • นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ประวัติการทำงาน

          • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี 2526, 2529, 2531, 2535/2, 2538, 2539, 2544

สุพล ฟองงาม

  26. นายสุพล ฟองงาม
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2)

          เกิดเมื่อวันที่  5 กรกฎาคม 2505 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เมื่อปี 2528 จากนั้นเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท พัฒนาสังคม ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร ประสบการณ์ทางการเมือง เป็นสมาชิกสภาจังหวัดอุบลราชธานีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่ปี 2539 - 2543 

          นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในอดีตแกนนำแนวร่วมเผด็จการเพื่อประชาธิปไตยในภาค อีสานด้วย สุพล ยังถือเป็นคนในสังกัดของ นายเนวิน ชิดชอบ อดีตแกนนำคนสำคัญของพรรคไทยรักไทย

การศึกษา

          • ปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
          • ปริญญาโท สาขาพัฒนสังคม นีด้า 

อาชีพก่อนได้รับเลือกตั้ง

          • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุบลราชธานี
 
ประสบการณ์

          • รองประธานคณะกรรมธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบสภาผู้แทนราษฎร 

เครื่องราชย์อิสริยาภรณ์
 
          • ป.ช.

สิทธิชัย โควสุรัตน์

  27. นายสิทธิชัย โควสุรัตน์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.3)

          เกิดวันที่ 27พฤศจิกายน 2503 เป็นนักการเมืองพันธุ์แท้ที่ไต่ระดับจากการเป็นนักการเมืองท้องถิ่นเมื่อปี 2523 ในฐานะสมาชิกสภาจังหวัดอุบลราชธานี จากนั้นก็ยึดครองพื้นที่อุบลราชธานีมาโดยตลอด กลายเป็นผู้แทนฯ เมืองอุบลฯ ตั้งแต่ปี 2538 เรื่อยมาโดยไม่เคยสอบตก เหตุเพราะได้ "ปรีชา เลาหพงศ์ชนะ" อดีตรมช. พาณิชย์ และรมช. ต่างประเทศ เป็น "แบ็คใหญ่" ทำให้เขากลายเป็นสมาชิกถาวรของกลุ่มวังพญานาค และล่าสุด "แบ็คเดิม" นั่นเองที่ผลักดันให้เขา ขึ้นแท่นเสนาบดีเป็นหนแรกของชีวิต

          • อย่างไรก็ตาม ชื่อ "สิทธิชัย" ไม่ค่อยติดหูสื่อเพราะเจ้าตัวไม่ถนัดสร้างภาพ เพิ่งมาโด่งดังในช่วงเลือกตั้งที่ผ่านมา หลังปรากฏข่าวเรื่อง พปช.ปลอมแปลงลายเซ็นของเขา จึงส่อว่าจะขัดคุณสมบัติในการลงสมัคร ส.ส.เพราะเป็นสมาชิก 2 พรรคการเมือง แต่ท้ายที่สุดศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งได้สั่งคืนสิทธิผู้สมัคร ส.ส.ระบบสัดส่วนกลุ่ม 4 เบอร์ 10 ให้เขา ทำให้ "สิทธิชัย" ถูกจับตามองว่าอาจกลายเป็นแจ๊คผู้ฆ่ายักษ์ เพราะอาจทำให้ พปช.ถูกสั่งยุบพรรค

ประวัติการศึกษา

          • ประถมศึกษา โรงเรียนเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
          • มัธยมศึกษา โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี
          • ปริญญาตรี  มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพมหานคร

ประสบการณ์การทำงาน
 
          • ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (รัฐมนตรีปรีชา เลาหพงศ์ชนะ)
          • ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
          • คณะกรรมาธิการนโยบายและติดตามงบประมาณรายจ่ายประจำปี

ประสบการณ์ทางสังคม

          • ประธานลูกเสือชาวบ้าน อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
          • กรรมการสโมสรโรตารี่อุบลราชธานี

ประสบการณ์ทางการเมือง
 
          • สมาชิกสภาจังหวัด อุบลราชธานี ปี 2533-2538
          • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 6 จังหวัดอุบลราชธานี 2 สมัย (ปี 2538,2539)

กระทรวงสาธารณสุข

 
ไชยา สะสมทรัพย์

  28. นายไชยา สะสมทรัพย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

          เกิดวันที่ 18 กันยายน 2495 ปี 2523-2533 เป็นสมาชิกสภาจังหวัดนครปฐม ปี 2538 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม ปี 2539 เป็นรองเลขาธิการพรรคเอกภาพ ปี 2541 เป็นประธานกรรมาธิการการศึกษา ปี 2542 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

          เข้าสู่เส้นทางการเมือง พร้อมกับคนในตระกูลสะสมทรัพย์ อย่างไชยยศ สะสมทรัพย์ อดีตแกนนำไทยรักไทย และอยู่ในฐานะของ "ทุนไทยรักไทย" อีกกลุ่มหนึ่ง ที่ดูแลส.ส.พื้นที่ภาคกลางและภาคอีสานหลายจังหวัด โดยเฉพาะกระแสข่าวว่า ทุนสะสมทรัพย์ สนิทสนมกับ เนวิน ชิดชอบ อดีตแกนนำไทยรักไทยที่ยังมีอิทธิพลอยู่ในภาคอีสาน 
การศึกษา
 
          • ปริญญาตรี
 
อาชีพก่อนได้รับเลือกตั้ง
 
          • นักการเมือง
 
ประสบการณ์
 
          • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2538 , 2539, 2544
          • รมช.กระทรวงคมนาคม 2543 - 2544
          • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2548
 
เครื่องราชย์อิสริยาภรณ์

          • มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก

ชวรัตน์ ชาญวีรกูล

  29. นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

          เกิดเมื่อ พ.ศ. 2479 ขณะนี้อายุปาเข้าไปอายุ 72 จบการศึกษาปริญญาตรีเศรษฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยเป็น รมช.คลัง สมัยรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายชวรัตน์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และเป็นนายทุนใหญ่ให้พรรคการเมืองหลายพรรคมาโดยตลอด

          ครั้งนี้ นายชวรัตน์ ได้โควต้า รมต.ตามโควตาของลูกชาย นายอนุทิน ชาญวีรกูล อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย ซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มาก เพราะเคยได้รับแต่งตั้งเป็น รมช.สาธารณสุข และรมช.พาณิชย์

การศึกษา

          • ปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
          • ปริญญาบัตร วิทยาลัยป้องกันราชอณาจักร ภาครัฐร่วมเอกชน
          • อบรมหลักสูตร Chairman 2000 รุ่นที่ 3/2001 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
          • อบรมหลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP) รุ่นที่ 17/2004 สมาคมส่งเสริมกรรมการบริษัทไทย (IOD) - - ปัจจุบัน

ประวัติการทำงาน
 
          • กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบบริษัท วีนิไทย จำกัด (มหาชน)
          • กรรมการและประธานที่ปรึกษาบริษัท ชิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
          • ประธานกรรมการสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย

ประวัติทางการเมือง

          • ที่ปรึกษาประธานวุฒิสภา พฤศจิกายน 2543 – พฤษภาคม 2544
          • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง พ.ศ.2539 - 2540


กระทรวงแรงงาน

อุไรวรรณ เทียนทอง

  30. นางอุไรวรรณ เทียนทอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

          "ป้าอุ" ภริยา "เสนาะ เทียนทอง" หัวหน้าพรรค นั่งตำแหน่งแทนสามีเพราะกระทรวงนี้เล็กเกินกว่าที่ "เสนาะ" จะรับได้และเป็นภรรยาสุดที่รักไว้วางใจมาทั้งชี้วิต "ป้าอุ" เกิดวันที่ 9 กรกฏาคม 2485 จบการศึกษาจาก พาณิชยศาสตรบัณฑิต และบัญชีบัณฑิต ม.ธรรมศาสตร์

          ดำรงตำแหน่งผอ.สำนักบริหารการศึกษาท้องถิ่น ระดับ 9 กรมการปกครอง เป็นรมว.แรงงานปี 2545-2546 และรมว.วัฒนธรรม ปี 2546-2548 ยุครัฐบาลทักษิณ แต่เกิดปัญหา สามีน้อยใจหัวหน้าพรรค จึงต้องรับอานิสงค์จนต้องขอไขก๊อกออกไปก่อน
 
การศึกษา

          • ปริญญาตรี พาณิชยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์
          • ปริญญาตรี บัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์
 
เกียรติประวัติการทำงาน
 
          • พ.ศ.2516 – 2537 ดำรงตำแหน่งเสมียนตราจังหวัดปราจีนบุรี, จังหวัดนครนายก, จังหวัดนนทบุรี
          • พ.ศ.2538 ได้รับการอบรมหลักสูตรนักปกครองระดับสูง (นปส.) รุ่นที่ 32
          • พ.ศ.2540 – 2541 ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการส่วนการคลังท้องถิ่น ระดับ 8 สำนักบริหารราชการส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง
          • พ.ศ.2542 - 2545 ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยสำนักบริหารการศึกษาท้องถิ่น ระดับ 9 กรมการปกครอง
 
ประวัติการทำงาน 
 
          • ที่ปรึกษาสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนสตรีวิทยา
          • เลขานุการมูลนิธิช่วยการศึกษาท้องถิ่น
          • อดีตกรรมการมูลนิธิอาสารักษาดินแดน
          • อดีตอนุกรรมการว่าด้วยจรรยามารยาทและวินัยของสมาชิกคุรุสภา
          • อดีตอนุกรรมการปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา

เครื่องราชย์อิสริยาภรณ์

          • มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช)


กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 
อนงค์วรรณ เทพสุทิน

  31. นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          "เจ๊เป้า" เลขาธิการพรรค ภริยา "สมศักดิ์ เทพสุทิน" อดีตแกนนำผู้อยู่เบื้องหลัง แต่ติดโทษแบน 5 ปี ดังนั้นภรรยาสุดที่รักจึงเหมาะเป็นนอมินี จบการศึกษาปริญญาตรี ม.ศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก และปริญญาโท ม.เกษตรศาสตร์

          เดิมรับราชการครูตั้งแต่ปี 2524 แต่พลิกผันชีวิตมาเป็นนักการเมือง ด้วยการผลักดันของผู้เป็นสามี ทำให้ชนะเลือกตั้งเป็นส.ส.สังกัดพรรคไทยรักไทยครั้งแรก เขต 1 จ.สุโขทัย ในปี 2544 และได้รับเลือกเข้ามาเป็นส.ส.อีกครั้งในปี 2548

การศึกษา

          • ปริญญาตรี ม.ศรีนครินทรวิโรฒ จ.พิษณุโลก
          • ปริญญาโท ม.เกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 

อาชีพก่อนได้รับเลือกตั้ง

          • นักการเมือง
 
ประสบการณ์
 
          • ส.ส.2544,2548,รองประธานและโฆษกคณะกรรมาธิการการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม
          • คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2548
          • ประธาน ส.ส.หญิงพรรคไทยรักไทย
 
เครื่องราชย์อิสริยาภรณ์
 
          • ม.ป.ช.


ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

- ประวัติ คณะรัฐมนตรี สมัคร 1 ทั้ง 36 คน



ข้อมูลจาก
 


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เจาะลึกประวัติ คณะรัฐมนตรี สมัคร 1 ทั้ง 36 คน อัปเดตล่าสุด 24 ธันวาคม 2551 เวลา 12:07:20 20,339 อ่าน
TOP