x close

ภาพสุริยุปราคา การเกิดปรากฏการณ์ สุริยุปราคาวงแหวน

สุริยุปราคา 2553
สุริยุปราคา 2553



สุริยุปราคา 2553
สุริยุปราคา 2553


สุริยุปราคา 2553
สุริยุปราคา 2553


สุริยุปราคา 2553
สุริยุปราคา 2553



 


สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ, มติชนออนไลน์, เดลินิวส์

          เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 15 มกราคม เกิดปรากฏการณ์ สุริยุปราคาแบบวงแหวน หรือ สุริยุปราคาแบบบางส่วน ซึ่งประเทศไทยสามารถมองเห็นได้ทุกจังหวัด ตั้งแต่เวลาประมาณ 14.00 - 17.00 น. แม้ท้องฟ้าวันนี้จะมีเมฆบ้าง แต่ก็ยังสามารถดูสุริยุปราคาได้ค่อนข้างชัดเจน ทั้งนี้ ต้องระวังอันตราย ไม่ควรดูด้วยตาเปล่า โดยจังหวัดที่จะดูได้นานที่สุด คือ จ.แม่ฮ่องสอน 

          ร.ศ.บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์กรมหาชน) เปิดเผยว่า ปรากฏการณ์สุริยุปราคาแบบบางส่วน หรือแบบวงแหวน ที่เกิดขึ้นในวันที่ 15 มกราคมนี้ จะเป็นครั้งแรก และครั้งเดียวของปี 2553 ชี้ถ้าพลาดต้องรอปี 2555

          "การเกิดสุปริยุปราคาในวันที่ 15 มกราคม จะเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวของปีนี้ ซึ่งถือเป็นการต้อนรับศักราชใหม่ หากประชาชนพลาดการชมปรากฏการณ์ในครั้งนี้จะต้องรอไปอีก 2 ปีจึงจะเกิดขึ้นอีกครั้ง และยังถือเป็นโชคดีของภาคเหนือและจังหวัดเชียงใหม่ ที่จะสามารถสังเกตการบดบังได้ชัดเจนมากที่สุดอีกด้วย" ร.ศ.บุญรักษา กล่าว

          สำหรับการเกิดสุริยุปราคาครั้งนี้ จะเป็นสุริยุปราคาแบบวงแหวน หรือแบบบางส่วน โดยเป็นผลมาจากการที่โลกเข้ามาอยู่ในตำแหน่งใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด (perihelion) ในวันที่ 3 มกราคม ทำให้มองเห็นขนาดปรากฏของดวงอาทิตย์ใหญ่มากกว่าปกติ  ในขณะเดียวกันดวงจันทร์ก็เคลื่อนไปอยู่ที่ตำแหน่งห่างจากโลกมากที่สุด (apogee) ในวันที่ 17 มกราคม ทำให้มองเห็นขนาดปรากฏของดวงจันทร์เล็กกว่าปกติ  แล้วเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลกมาอยู่แนวเดียวกันในวันที่ 15 มกราคม 2553 ดวงจันทร์จึงมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์และบังดวงอาทิตย์ไม่มิดทั้งดวง แต่จะมองเห็นดวงอาทิตย์สว่างเป็นวงแหวนโดยมีดวงจันทร์มืดอยู่ตรงกลาง



สุริยคราส
สุริยุปราคา



          ทั้งนี้ ปรากฏการณ์สุริยุปราคาวงแหวน จะเริ่มต้นที่ทวีปแอฟริกา ผ่านประเทศชาด ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ยูกันดา เคนยา และโซมาเลีย แล้วออกจากทวีปแอฟริกาเข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย และที่ตำแหน่งละติจูด 1 องศา 37 ลิปดาเหนือ ลองจิจูด 69 องศา 17 ลิปดาตะวันออก ในมหาสมุทรอินเดียจะเป็นตำแหน่งที่เกิด สุริยุปราคา นานที่สุด คือ 11 นาที 8 วินาที

          หลังจากนั้นจะผ่านเข้าสู่ทวีปเอเชีย ผ่านบังกลาเทศ  อินเดีย พม่าและเข้าสู่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน  สำหรับปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนสามารถมองเห็นได้เป็นบริเวณกว้างตาม บริเวณที่เงามัวของดวงจันทร์พาดผ่าน เช่น ยุโรปตะวันออก ทวีปแอฟริกา เอเชีย และประเทศอินโดนิเซีย

          สำหรับประเทศไทย สามารถสังเกต สุริยุปราคา ได้ทั่วทุกภูมิภาค แต่จะเกิดขึ้นในเวลาที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ จะเกิดนานที่สุดในภาคเหนือเป็นเวลาประมาณ 3 ชั่วโมง 6 นาที ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ดวงอาทิตย์จะถูกดวงจันทร์บดบังมากที่สุดถึงร้อยละ 77 โดยทาง สดร. จะจัดเตรียมอุปกรณ์ใช้ดูดวงอาทิตย์ ทั้งกล้องโทรทัศน์ติดแผ่นกรองแสงโซลาร์สโคป (Solarscope) กล้องรูเข็ม แผ่นฟิล์มเอ็กซ์เรย์ แผ่นดีวีดี ฯลฯ และยังจะมีการเตรียมแว่นดูดวงอาทิตย์ผลิตจากแผ่นฟิล์มที่ปลอดภัยใช้สำหรับ ดูดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ นอกจากนี้ จะถ่ายทอดผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่ http://www.narit.or.th/ อีกด้วย


การชมปรากฏการณ์สุริยุปราคาอย่างปลอดภัย

          การมองดูดวงอาทิตย์โดยตรงด้วยตาเปล่า หรือมองผ่าน viewfinder ของกล้องถ่ายรูป กล้องส่องทางไกล หรือกล้องดูดาว ต่างทำให้ตาบอดได้ทั้งสิ้น แม้จะเป็นเพียงเสี้ยวบาง ๆ ของดวงอาทิตย์ หรือปรากฏการณ์ลูกปัดของเบลีย์ (Baily’s beads) ในช่วงที่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงก็ตาม โดยร้อยละ 1 ของผิวดวงอาทิตย์ก็ยังมีความสว่างถึง 1 หมื่นเท่าของความสว่างของดวงจันทร์วันเพ็ญ  ดังนั้น การสังเกตการณ์สุริยุปราคาเป็นสิ่งที่ต้องกระทำด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างมาก

          ทั้งนี้ เพราะแสงจากดวงอาทิตย์ที่จ้าเกินไป อาจทำลายระบบการมองเห็นของเราจนกระทั่งตาบอดได้ เราจะสามารถมองดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าได้เฉพาะขณะที่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงแล้วเท่านั้น ส่วนในช่วงระหว่างที่กำลังจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง หรือสุริยุปราคาแบบวงแหวน หรือสุริยุปราคาบางส่วน  เราจะต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยในการสังเกตดวงอาทิตย์ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้อาจเป็นอุปกรณ์ที่เราทำได้เองอย่างง่าย ๆ เช่น การสังเกตสุริยุปราคาผ่านกล้องรูเข็ม หรือกล้องโทรทรรศน์

          ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้สังเกตการณ์โดยตรงจะต้องสร้างหรือใช้ด้วยความระมัดระวัง เช่น แผ่นซีดี ดีวีดี กระจกหรือแก้วรมควัน ต้องรมควันให้สม่ำเสมอจนเป็นสีดำสนิท ฟิล์มกรองแสงรถยนต์ที่ซ้อนกันหลาย ๆ ชั้นจนมืดสนิท หรือฟิล์มถ่ายรูปที่เสียแล้วและมืดสนิทนำมาซ้อนกันหลายชั้น หรืออุปกรณ์มาตรฐานที่มีจำหน่าย เช่น แผ่นกรองแสงอาทิตย์แบบต่าง ๆ  โดยแผ่นกรองแสงแต่ละประเภทจะให้ภาพของดวงอาทิตย์ที่แตกต่างกัน  แต่ไม่ว่าจะใช้อุปกรณ์แบบใด ก็พึงระลึกไว้เสมอว่าการสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ต้องทำด้วยความระมัดระวัง และห้ามดูดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าเป็นอันขาด


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
,  สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ



 



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ภาพสุริยุปราคา การเกิดปรากฏการณ์ สุริยุปราคาวงแหวน อัปเดตล่าสุด 2 เมษายน 2561 เวลา 10:07:45 81,029 อ่าน
TOP