x close

ทีมวิจัยนาซาประกาศ พบเพิ่ม 11 ระบบสุริยะ







ทีมวิจัยนาซาประกาศ พบเพิ่ม11ระบบสุริยะ (ไทยโพสท์)
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล


          ทีมวิจัยกล้องสำรวจเคปเลอร์รายงานว่า ค้นพบระบบสุริยะอื่นเพิ่มอีก 11 ระบบ รวมดาวเคราะห์ทั้งหมด 26 ดวง

          การค้นพบครั้งนี้ส่งผลให้จำนวนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะของเราเพิ่มขึ้นเป็น 729 ดวง โดย 60 ดวงจากทั้งหมดเป็นการค้นพบโดยทีมนักวิจัยเคปเลอร์ ที่ส่งกล้องเคปเลอร์ขึ้นสู่อวกาศในเดือนมีนาคมปี 2552 เพื่อตรวจหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะของเรา ผ่านการตรวจการเปลี่ยนแปลงของแสงของดาวฤกษ์กว่า 150,000 ดวง ในกลุ่มดาวหงส์และกลุ่มดาวพิณ

          นักวิทยาศาสตร์ทีมเคปเลอร์รายงานว่า ขณะนี้มีดาวเคราะห์ถึง 2,300 ดวงที่กำลังรอการยืนยันสถานะเพิ่มเติมอยู่

          อย่างไรก็ตาม ระบบสุริยะอื่นที่ถูกค้นพบทั้งหมด ไม่มีระบบใดที่มีความคล้ายคลึงกับระบบสุริยะของเราสักระบบเดียว แม้ระบบสุริยะเคปเลอร์-33 จะมีจำนวนดาวเคราะห์ใกล้เคียงกับเรา แต่ดวงอาทิตย์มีอายุมากกว่า และมีขนาดใหญ่กว่าของเรา และดาวบริวารทั้ง 5 ดวงก็โคจรใกล้กับดวงอาทิตย์มากกว่าดาวพุธเสียอีก

          ดาวเคราะห์ทั้ง 5 ดวงมีขนาดตั้งแต่ 1.5 เท่าของโลก ไปจนถึง 5 เท่าของโลก และนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นดาวเคราะห์ที่ประกอบไปด้วยพื้นแผ่นดินเหมือนโลก หรือประกอบไปด้วยกลุ่มก๊าซแบบดาวพฤหัสบดี

          ก่อนหน้านี้กล้องเคปเลอร์ตรวจพบดาวฤกษ์ที่มีดาวเคราะห์โคจรรอบทั้งหมด 6 ดวง และระบบสุริยะอื่นที่มีดาวเคราะห์ 5 ดวงอีก 1 ระบบ รวมถึงระบบสุริยะอื่นอีก 9 ระบบที่มีดาวบริวารระบบละ 2-3 ดวง รวมจำนวนดาวเคราะห์ที่มีการค้นพบครั้งทั้งหมด 26 ดวงด้วยกัน

          นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ แจ็ก ลิสเซอร์ กล่าวว่า การค้นพบครั้งนี้ทำให้เกิดคำถามใหม่ เช่น เริ่มมีคำถามเกี่ยวกับระบบสุริยะอื่น มากกว่าวิเคราะห์แค่ดาวเคราะห์ อาทิ ระบบสุริยะอื่นมีความคล้ายคลึงกันในแง่ของขนาดหรือไม่ มีความห่างของวงโคจรเท่าใด และต่างจากระบบสุริยะเราในแง่ใดบ้าง.


ขอขอบคุณข้อมูลจาก








[27 มกราคม] ฮือฮา! หลายประเทศขั้วโลกเหนือเห็นแสงเหนือจากพายุสุริยะ







คลิปแสงเหนือสุดงดงามในประเทศขั้วโลกเหนือ


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก Jonathan Ranson, Maurice Henderson, Tom Lowe, Brian Horisk

          เว็บไซต์เดลิเมลของอังกฤษ รายงานเมื่อวันที่ 24 มกราคมที่ผ่านมาว่า ประชาชน ในแถบประเทศขั้วโลกเหนือ ต่างตระการตากับแสงเหนือสุดงดงาม หลังเกิดพายุสุริยะครั้งใหญ่บนดวงอาทิตย์เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

          โดยปรากฎการณ์แสงเหนือ หรือออโรร่านี้ ได้เริ่มปรากฎขึ้นบนท้องฟ้าแถบประเทศขั้วโลกเหนือตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม ก่อนจะชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นแสงรูปร่างประหลาด แต่สวยงามตระการตา ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในแถบตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ ไอร์แลนด์เหนือ สก๊อตแลนด์ อเมริกาเหนือ และประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ได้ยลความงดงามนี้ ก่อนเก็บภาพไว้เป็นที่ระลึก









          ทั้งนี้ ปรากฎการณ์แสงเหนือที่ชัดเจนสวยงามครั้งนี้ เกิดขึ้นจากพายุสุริยะระลอกใหญ่ที่รุนแรงที่สุดใน 6 ปี ที่เกิดขึ้นเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งช่างภาพหลายคนได้ให้ความเห็นว่า แสงเหนือครั้งนี้นั้นชัดเจนและงดงามกว่าที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 6 ปีก่อนเสียอีก ขณะที่ทางด้านสำนักงานพยากรณ์อากาศและอวกาศแห่งสหรัฐฯ ได้ระบุว่า แสงเหนือนี้อาจปรากฎให้เห็นบนท้องฟ้าแถบขั้วโลกเหนือได้อีกราว ๆ 2 วันเลยทีเดียว


[29 ธันวาคม 2553] ฮือฮา! พายุสุริยะ ทะลุเกราะแม่เหล็กโลก

พายุสุริยะ

ภาพถ่ายพายุสุริยะทะลุเกราะแม่เหล็กโลกแถบสแกนดินีเวีย วันที่ 29 ธันวาคม 2553



คลิป ความรู้เรื่อง พายุสุริยะ

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก สมาคมดาราศาสตร์ไทยSunflower Cosmosวิชาการ.คอมWikipedia , Mr.Vop's Blog 


          เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม  Mr.Vop's Blog  ได้แสดงภาพถ่ายการลุกสว่างของแถบออโรร่า ที่กล้องบนดาวเทียม F17 ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ สามารถจับภาพไว้ได้ โดยเหตุการณ์การลุกสว่างของแถบออโรร่านี้ เกิดขึ้นบนน่านฟ้าทางเหนือของประเทศแถบแสกนดิเนเวีย หลังเกิดปรากฎการณ์กลุ่มพายุสุริยะขนาด G1 เพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน ในจังหวะที่กระแสแม่เหล็กจากดวงอาทิตย์หันขั้วใต้เข้าหาโลก ทำให้เกิดรูทะลุบนเกราะแม่เหล็กของโลก

          ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ Paul McCrone ได้นำปรากฎการณ์พายุสุริยะทะลุเกราะแม่เหล็กของโลกครั้งนี้ ไปวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลทั้งจากระดับแสงที่ตามองเห็นได้ และจากระดับแสงในช่วงคลื่นอินฟาเรด มาประมวลผล เพื่อศึกษาและใช้ประโยชน์ต่อไป เนื่องจากการทะลุเข้ามาของพายุสุริยะที่มีระดับ 60 โปรตรอนต่อตารางเซนติเมตรเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ไม่บ่อยนัก

          แล้ว พายุสุริยะ คืออะไร จะทำอันตรายอย่างไรต่อโลกของเรา กระปุกดอทคอม จะมาอธิบายให้ฟังกันค่ะ


พายุสุริยะ

พายุสุริยะ ลักษณะเป็นเปลวไฟขนาดใหญ่พัดปะทะโลกอย่างรุนแรง แล้วผ่านไปถึงดาวพฤหัสได้ 

พายุสุริยะ

พายุสุริยะ

พายุสุริยะ

สนามแม่เหล็กโลกปกป้องเรา ขณะพายุสุริยะพัดเข้ามา

พายุสุริยะ

อุณหภูมิพื้นผิวมหาสมุทร (สีส้ม สีเหลือง) มีความร้อนสูงในพื้นที่วงกว้างมาก


          พายุสุริยะ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ชาวไทยอาจจะไม่ค่อยคุ้นหูนัก แต่สำหรับที่ประเทศอังกฤษ มีรายงานข่าวว่า นักวิทยาศาสตร์กำลังหวาดวิตกถึงปรากฏการณ์ พายุสุริยะ เป็นอย่างมาก และถึงขั้นที่ทำให้ ดร.เลียม ฟ็อกซ์ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมอังกฤษ สั่งประชุมฉุกเฉิน เพื่อหาทางรับมือหากเกิด พายุสุริยะ ขึ้นเลยทีเดียว

          นั่นเพราะเคยมีการคาดการณ์กันว่า ปรากฏการณ์ พายุสุริยะ จะพุ่งเข้าสู่โลกครั้งต่อไปในช่วงปี ค.ศ 2012 และจะนำมาซึ่งความเสียหายครั้งยิ่งใหญ่ ไม่ว่าจะทำให้ระบบการสื่อสารและคมนาคม รวมทั้งระบบอินเทอร์เน็ตล่มไปทั่วโลก ส่งผลต่อระบบไฟฟ้า การบิน เหมือนเช่นที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในปี ค.ศ.1859 ที่ พายุสุริยะ ได้เข้าถล่มประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งอาจจะทำให้เกิดพายุหมอกควันปกคลุมไปทั่วเมืองใหญ่ ๆ ของยุโรปด้วย


แล้ว พายุสุริยะ คืออะไร?

          สำหรับ พายุสุริยะ (Solar Wind) ที่คนเริ่มให้ความสนใจนั้นก็คือ เปลวไฟขนาดใหญ่ที่พุ่งออกจากดวงอาทิตย์ เกิดจากการสะสมพลังงานแม่เหล็กในดวงอาทิตย์ไว้เป็นจำนวนมาก เมื่อมีการต่อใหม่ของสนามเหล็ก จะเกิดการปะทุออกมาเป็นพลังงานความร้อน และปล่อยก้อนมวลขนาดใหญ่จากโคโรนา (Coronal Mass Ejection : CME) หรือเส้นรัศมีรอบวงกลมสีดำที่อยู่ชั้นนอกสุดของดวงอาทิตย์ ออกมาเป็น พายุสุริยะ ได้

จักรวาล อวกาศ


พายุสุริยะ เกิดบ่อยแค่ไหน?

          ตามปกติพายุสุริยะจะเกิดขึ้นบ่อยเมื่อมีจุดมืดมากในดวงอาทิตย์ บางครั้งอาจเกิดทุกวัน วันละหลายครั้งก็เป็นได้ แต่หากเป็นพายุสุริยะที่รุนแรงมาก จะเกิดในรอบวัฏจักรเฉลี่ยทุก ๆ 11 ปี (Solar Cycle) ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นก่อนหน้านั้น หรือหลังจากนั้นเล็กน้อยก็ได้

          ทั้งนี้ การเกิด พายุสุริยะ จะเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน เป็นครั้งเป็นคราว และไม่สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ แต่สามารถคาดการณ์ได้ว่า พายุสุริยะ จะเกิดขึ้น โดยสังเกตว่า เริ่มมีจุดมืดจำนวนมากบนดวงอาทิตย์

พายุสุริยะ ส่งผลกระทบต่อโลกแค่ไหน?

          หลายคนฟังคำว่า พายุสุริยะ แล้วคงจะรู้สึกกลัวถึงอานุภาพของมัน แต่จริง ๆ แล้ว พายุสุริยะ ไม่ได้มีอิทธิฤทธิ์ทำลายสิ่งปลูกสร้าง หรือทำให้มนุษย์บาดเจ็บล้มตายได้ แต่สิ่งที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด เมื่อเกิด พายุสุริยะ ขึ้นก็คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับสนามแม่เหล็กของโลก ซึ่งเป็นตัวคอยกั้นโลกจากรังสีของดวงอาทิตย์อยู่ เช่น ระบบการสื่อสารคมนาคมทางวิทยุ ระบบการบิน ดาวเทียม ระบบไฟฟ้า ฯลฯ

          ทั้งนี้หากสิ่งที่กล่าวมาเหล่านี้ได้รับผลกระทบ แน่นอนว่า ย่อมมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไปทั่วโลก เช่น เครื่องบินต้องหยุดบินชั่วคราว ดาวเทียมใช้งานไม่ได้ การติดต่อสื่อสารระหว่างกันเกิดปัญหา หรืออาจทำให้หม้อแปลงที่โรงปั่นไฟฟ้าเสียหายได้ เป็นต้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ระบบต่าง ๆ ที่จะได้รับผลกระทบจาก พายุสุริยะ ก็สามารถเตรียมการป้องกันล่วงหน้า เพื่อให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดได้ อย่างเช่น หากมีการบินในช่วงเกิดพายุสุริยะ นักบินก็ต้องหลีกเลี่ยงการบินผ่านบริเวณขั้วโลก แต่ให้บินอ้อมไปทางอื่น ที่จะปลอดภัยจากกัมมันตภาพรังสีมากกว่า


          ส่วนนักบินอวกาศ หากนักบินอวกาศออกไปจากสนามแม่เหล็กโลก แล้วเกิดพายุสุริยะขึ้นในช่วงนั้น นักบินอวกาศก็ยังเสี่ยงต่อการได้รับสารกัมมันตภาพรังสี ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ด้วย เช่นเดียวกับโลก ที่เมื่อรังสีต่าง ๆ สะสมอยู่ในโลกมากขึ้น จะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหาร ร่างกายของมนุษย์ยังจะได้รับรังสีผ่านทางน้ำ อาหาร นำไปสู่โรคชนิดใหม่ขึ้นได้


พายุสุริยะ

แสงออรอร่าเกิดจากอนุภาคมากับ พายุสุริยะ


          ขณะเดียวกัน เมื่อเกิด พายุสุริยะ ขึ้น จะมีการปล่อยมวลจากโคโรนาเข้าปะทะกับสนามแม่เหล็กของโลก และบีบสนามแม่เหล็กให้เข้ามาใกล้ เกิดเป็นอนุภาคที่เรียกว่า "แถบรังสี" เมื่อสนามแม่เหล็กบีบตัวเข้ามา อนุภาคเหล่านี้จะชนกับบรรยากาศของโลก เกิดเป็นแสงเหนือแสงใต้ หรือที่เรียกว่า "ออโรรา" (Aurora) ซึ่งเราสามารถมองเห็นได้ในประเทศแคนาดา แต่หาก พายุสุริยะ แรงมาก แสงออโรราจะส่องลงมาให้เห็นถึงที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้เลย


พายุสุริยะ ครั้งต่อไป จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่?

          พายุสุริยะ ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1989 เป็นพายุสุริยะระดับธรรมดา เกิดขึ้นที่เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ทำให้ระบบไฟฟ้าทั้งหมดของเมืองดับนานกว่า 9 ชั่วโมง และยังส่งผลกระทบไปถึงทางตอนเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกา และสวีเดนด้วย ดังนั้น จึงมีการทำนายกันว่า พายุสุริยะครั้งใหญ่ที่จะพุ่งเข้าสู่โลก จะเกิดอีกครั้งในช่วงปี ค.ศ.2011-2014 ซึ่งเป็นช่วงครบรอบ 11 ปีของวัฏจักรพอดี แต่ยังไม่สามารถระบุช่วงเวลาที่แน่นอน และความรุนแรงได้


พายุสุริยะ


          และแม้ว่า พายุสุริยะ จะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อมนุษย์โดยตรง แต่หากในอนาคต ปัญหาโลกร้อน และปฏิกิริยาเรือนกระจกยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุก ๆ วัน โอกาสที่ พายุสุริยะ จะเกิดแบบถาวรและมีอานุภาพรุนแรงมากขึ้นก็เป็นไปได้มาก นั่นก็เพราะเมื่อเกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก จะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก คือโลกจะหมุนรอบตัวเองช้าลง และส่งผลต่อระบบสนามแม่เหล็กที่คอยกั้นโลกจากพายุสุริยะอยู่ ซึ่งหากในอนาคตสนามแม่เหล็กของโลกอ่อนแอลง พายุสุริยะ ก็อาจมีอานุภาพเข้าถึงโลกได้มากขึ้น และมนุษย์จะได้รับผลกระทบมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้









อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
สมาคมดาราศาสตร์ไทย, Sunflower Cosmos, วิชาการ.คอม

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ทีมวิจัยนาซาประกาศ พบเพิ่ม 11 ระบบสุริยะ อัปเดตล่าสุด 28 มกราคม 2555 เวลา 10:15:33 288,807 อ่าน
TOP