x close

วงจรชีวิตหิ่งห้อย แมลงน้อยเรืองแสง









 
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


          หากพูดถึงแมลงที่สามารถเปล่งแสงสร้างความสวยงามในยามค่ำคืนแล้ว หลาย ๆ คนคงจะนึกถึงเจ้าแมลงตัวเล็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ตามต้นลำพูแน่นอน ....ใช่แล้ว นั่นคือ หิ่งห้อย แมลงตัวเล็กที่อาศัยอยู่ตามเเหล่งน้ำ คอยบ่งชี้ความสมบูรณ์ของระบบนิเวศในบริเวณที่มันอาศัยอยู่นั่นเอง

          โดยปกติแล้ว หิ่งห้อยจะเหมือนมีนาฬิกาอยู่ในตัว โดยหิ่งห้อยจะเรืองแสงทุก ๆ 24 ชั่วโมง หมายความว่า แม้เราจะจับหิ่งห้อยไปขังไว้ในที่มืด หากยังไม่ถึงเวลาเรืองแสง มันก็จะไม่เปล่งแสงออกมา ส่วนการที่หิ่งห้อยสามารถเรืองแสงได้นั้น ก็เป็นเพราะต้องการสืบพันธุ์ และใช้หลอกล่อเหยื่อให้มาติดกับดัก หิ่งห้อยตัวผู้จะบินได้ ส่วนตัวเมียจะอยู่บนต้นไม้ บินไม่ได้ เราจะเรียกหิ่งห้อยตัวเมียว่า หนอนผีเสื้อ นอกจากนี้ การเรืองแสงของหิ่งห้อย มีต่างกันถึง 200 รูปแบบเลยทีเดียว






          อย่างไรก็ตาม หิ่งห้อย เป็นเพียงแมลงตัวเล็ก ๆ ที่มีวงจรชีวิตแสนสั้น แบ่งออกเป็น 4 ระยะดังนี้

          1. เมื่อผสมพันธุ์กันแล้ว หิ่งห้อยตัวเมียจะวางไข่บนพื้นดิน กิ่งไม้ หรือใบหญ้า เป็นจำนวนหลายร้อยฟอง ตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุายนถึงกรกฎาคม ใช้ระยะเวลาประมาณ 1-4 สัปดาห์จึง ฟักเป็นตัวหนอน หลังจากนั้น หิ่งห้อยตัวเมียจะไม่ย้อนกลับมาดูไข่ของมันอีกเลย

          2. หนอนหิ่งห้อยจะอยู่ในร่างหนอน ประมาณ 6-12 เดือน นับเป็นช่วงเวลาที่นานที่สุดในชีวิตหิ่งห้อย

          3. หนอนหิ่งห้อยจึงเปลี่ยนเป็นดักแด้และฝังตัวอยู่ใต้ดิน รอจนกว่าจะมีปีกงอกออกมา ใช้ระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์

          4. หิ่งห้อยโตเต็มวัย จะไม่กินอาหารใด ๆ เลยนอกจากน้ำค้างบนใบหญ้า ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือนก่อนจะตายไป

          ปัจจุบัน หิ่งห้อยได้ลดจำนวนลงไปมาก เนื่องจากระบบนิเวศที่ไม่สมบูรณ์และแหล่งน้ำที่เป็นพิษ ดังนั้น เราน่าจะหันมาใส่ใจกับสิ่งเเวดล้อมกันมากขึ้น เพื่อที่เจ้าแมลงเล็ก ๆ ตัวนี้จะได้ฉายแสงในความมืดให้เราได้เห็นต่อไปนะคะ











เรื่องที่คุณอาจสนใจ
วงจรชีวิตหิ่งห้อย แมลงน้อยเรืองแสง อัปเดตล่าสุด 4 ธันวาคม 2554 เวลา 13:26:45 61,055 อ่าน
TOP