ปภ. แนะ 8 วิธีป้องกันอุบัติภัย ในวันลอยกระทง


ป้องกันอุบัติภัย ในวันลอยกระทง
 


            ปภ. แนะ 8 วิธีป้องกันอุบัติภัยในวันลอยกระทง ให้ประชาชนปฏิบัติตามเพื่อความปลอดภัย

            เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555 นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า วันลอยกระทง (28 พฤศจิกายน) เป็นช่วงที่เกิดอุบัติภัยสูง ทั้งการจมน้ำ อันตรายจากพลุ ดอกไม้ไฟ และโคมลอย ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย ปภ. ขอแนะวิธีป้องกันอุบัติภัยในวันลอยกระทง ดังนี้

            1. เลือกลอยกระทงบริเวณท่าน้ำหรือโป๊ะเรือที่มั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย หากนั่งเรือไปลอยกระทงกลางลำน้ำควรสวมใส่เสื้อชูชีพ รวมถึงรอให้เรือจอดเทียบท่าแล้วจึงขึ้นลงเรืออย่างเป็นระเบียบ

            2. กรณีพาเด็กไปลอยกระทงควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด และมิให้เด็กลงไปในน้ำเพื่อเก็บเงินในกระทง เพราะเด็กอาจจมน้ำเสียชีวิต

            3. ให้สัญญาณก่อนจุดพลุทุกครั้งและออกให้ห่างจากบริเวณที่จุดพลุในระยะ 10 เมตรขึ้นไป เพื่อป้องกันอันตรายจากพลุระเบิด

            4. ห้ามจุดพลุ ดอกไม้ไฟ บริเวณใกล้แนวสายไฟ สถานีบริการน้ำมัน วัตถุไวไฟ แหล่งชุมชน และบ้านเรือน เพราะสะเก็ดไฟอาจกระเด็นตกใส่วัตถุไวไฟ ทำให้เกิดระเบิดและเพลิงไหม้

            5. ห้ามนำดอกไม้ไฟที่จุดไฟไม่ติดมาจุดซ้ำ หรือใช้ปากเป่าให้ไฟติด และไม่ยื่นหน้าหรืออวัยวะต่าง ๆ เข้าใกล้ดอกไม้ไฟที่จุดไฟแล้ว

            6. ไม่ดัดแปลงพลุ ดอกไม้ไฟ ให้มีแรงอัดหรือแรงระเบิดสูง เพราะจะทำให้ได้รับอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต

ลอยกระทง

            7. หลีกเลี่ยงการปล่อยโคมลอยใกล้แหล่งชุมชนเพราะอาจหล่นใส่บ้านเรือนทำให้เกิดเพลิงไหม้

            8. ห้ามปล่อยโคมลอยบริเวณโดยรอบสนามบินหรือช่วงที่เครื่องบินขึ้น-ลง เพราะจะรบกวนทัศนวิสัยในการบินและส่งผลกระทบต่ออากาศยาน  

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก




เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ปภ. แนะ 8 วิธีป้องกันอุบัติภัย ในวันลอยกระทง โพสต์เมื่อ 23 พฤศจิกายน 2555 เวลา 10:28:47 2,374 อ่าน
TOP
x close