เรียบเรียงข้อมูลโดย กระปุกดอทคอม
รัฐประหารในประเทศไทย รวมกับเหตุการณ์ รัฐประหาร 2557 เคยเกิดขึ้นกี่ครั้งแล้ว มาดูกันประวัติศาสตร์ในอดีตจนถึง รัฐประหาร 2557
วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นวันที่ประวัติศาสตร์ของประเทศไทยจะต้องจารึกเหตุการณ์สำคัญไว้อีกครั้ง เนื่องจากมีการประกาศควบคุมอำนาจโดยกองทัพ ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. เป็นผู้นำ ดังนั้นในวันนี้กระปุกดอทคอมจึงขอย้อนรอยประวัติศาสตร์พาไปรู้จักกับ ประวัติการทํารัฐประหารในไทย กันค่ะ
ทั้งนี้ รัฐประหาร คือการเข้าใช้กำลังเข้ายึดอำนาจเพื่อเปลี่ยนแปลงผู้นำรัฐบาล โดยที่ระบอบการปกครองยังคงเป็นไปตามเดิม คือความเป็นประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งแตกต่างจากการทำปฏิวัติที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองของประเทศอย่างสิ้นเชิง
ประวัติการทํา รัฐประหารในไทย
รัฐประหารในประเทศไทย วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา
รัฐประหารในประเทศไทย วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
นำโดยพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจรัฐบาล พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
รัฐประหารในประเทศไทย วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
รัฐประหารในประเทศไทย วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491
คณะนายทหารกลุ่มที่ทำการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 จี้บังคับให้ นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมอบตำแหน่งต่อให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
รัฐประหารในประเทศไทย วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
นำโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
รัฐประหารในประเทศไทย วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500
นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม
รัฐประหารในประเทศไทย วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร (ตามที่ตกลงกันไว้)
รัฐประหารในประเทศไทย วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
นำโดย จอมพลถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
รัฐประหารในประเทศไทย วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
รัฐประหารในประเทศไทย วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520
นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
รัฐประหารในประเทศไทย วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
รัฐประหารในประเทศไทย วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
รัฐประหารในประเทศไทย วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
นำโดย พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา เป็นการประกาศรัฐประหารเพื่อให้รัฐมนตรีรักษาการทั้งหมดหมดอำนาจ และเปลี่ยนผ่านสู่การจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
ทั้งนี้ บางตำราระบุว่า การปิดสภาผู้แทนราษฎรและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 เป็นรัฐประหารครั้งแรกของไทย และมิได้แยกเหตุการณ์วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 เป็นรัฐประหารอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม นอกจากการรัฐประหาร 13 ครั้ง ข้างต้นแล้ว ยังมีเหตุการณ์ทางการเมืองอย่างเหตุก่อกบฏ 11 ครั้ง แต่ทำการปฏิวัติ หรือรัฐประหารไม่สำเร็จ และมีการปฏิวัติ 1 ครั้ง คือ ปฏิวัติสยาม เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
blogazine.in.th
ทั้งนี้ บางตำราระบุว่า การปิดสภาผู้แทนราษฎรและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 เป็นรัฐประหารครั้งแรกของไทย และมิได้แยกเหตุการณ์วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 เป็นรัฐประหารอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม นอกจากการรัฐประหาร 13 ครั้ง ข้างต้นแล้ว ยังมีเหตุการณ์ทางการเมืองอย่างเหตุก่อกบฏ 11 ครั้ง แต่ทำการปฏิวัติ หรือรัฐประหารไม่สำเร็จ และมีการปฏิวัติ 1 ครั้ง คือ ปฏิวัติสยาม เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
blogazine.in.th