เผยพิษร้ายจากสาร พาราควอต สารพิษที่หลายประเทศทั่วโลกห้ามใช้ แต่ไทยมีมติยืดเวลาแบน 2 ปี พบจิบเดียวถึงชีวิต เพิ่มโอกาสเป็นพาร์กินสัน
จากกรณีเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย มีมติยังไม่มีการยกเลิกการใช้วัตถุอันตรายทั้ง 3 รายการ ได้แก่ พาราควอต, คลอร์ไพริฟอส, และไกลโฟเซต เพราะให้ใช้เฉพาะ 6 พืช ประกอบด้วย ยางพารา ปาล์ม มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด และไม้ผลที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น คาดว่าจะมีความชัดเจนว่าจะเลิกหรือไม่เลิกภายใน 2 ปี
เกี่ยวกับเรื่องนี้ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2562 เฟซบุ๊ก ข่าวใหญ่ 25 เผยว่า จากมติไม่ลงเลิกใช้ พาราควอต ส่งผลให้เครือข่ายที่สนับสนุนการแบนสารพิษกว่า 686 องค์กร แสดงความผิดหวัง เนื่องจากประเทศทั่วโลกกว่า 53 ประเทศได้ยกเลิกการใช้สารตัวนี้แล้ว โดยมีการตีแผ่ถึงความอันตรายอ้างอิงจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมสหรัฐฯ (EPA) ว่า พาราควอต มีพิษสูง แค่กินเพียงจิบเดียวก็ถึงแก่ชีวิตได้ โดยไม่มียาถอนพิษ โดยวิจัยหลายชิ้นอ้างว่า พาราควอต เพิ่มโอกาสการเป็นโรคพาร์กินสัน ส่วนเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (THAI PAN) ก็เผยว่า พบพาราควอตในผักผลไม้ที่ขายในร้านค้าโมเดิร์นเทรดในระดับเกินมาตรฐาน 6 จาก 76 ตัวอย่าง
ขณะที่ สำนักข่าวไทย รายงานว่า พาราควอต (Paraquat) เป็นชื่อการค้าของ N,N′-ไดเมทิลl-4,4′-ไบไพริดิเนียม ไดคลอไรด์ เป็นยากำจัดวัชพืช (ยาฆ่าหญ้า) ชนิดหนึ่งที่นิยมที่สุดในโลก ออกฤทธิ์โดยหยุดยั้งการเติบโตของเซลล์วัชพืช เฉพาะส่วนที่เป็นสีเขียว และทำให้เนื้อเยื่อของเซลล์นั้นแห้งลง โดยไม่แพร่กระจายเข้าสู่เนื้อเยื่อไม้ สามารถใช้ได้กับพืชผลหลายชนิด ทั้งไม้ต้นสูงและพืชพันธุ์เตี้ย ในทางพิษวิทยา พาราควอตจะก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อที่สัมผัส ผิวหนังเป็นแผลพุพอง หากสัมผัสกับตาจะทำให้ตาบวมแดงอักเสบ ประสิทธิภาพในการมองเห็นลดลง หากบริโภคจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองลำคอ ปอด และหายใจไม่ออก และส่งผลต่อสภาวะการทำงานของตับ
ด้าน รศ. ภญ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ นายกสภาเภสัชกรรม ระบุถึงพิษร้ายแรงของ พาราควอต ว่า เป็นสารที่มีพิษเฉียบพลัน ได้รับเพียงเล็กน้อย 1-2 ช้อนชา ก็อาจถึงแก่ชีวิต มีงานวิจัยมากมายแสดงว่า พาราควอตเข้าสู่สมองมนุษย์ได้ และทำลายสมอง จากการศึกษาหาปริมาณพาราควอตในคนไทย พบทั้งเลือดหญิงตั้งครรภ์ เลือดจากสายสะดือ และขี้เทาทารกแรกเกิด และพบปริมาณสารนี้ในสิ่งแวดล้อม น้ำ พืช อาหาร
ที่ผ่านมา ปี 2560
คณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง
ประกอบด้วยกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
และกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งนักวิชาการ ก็ให้ยกเลิกการใช้พาราควอต
และคลอร์ไพริฟอส ต่อมาทาง กระทรวงสาธารณสุข
ก็ยืนยันว่าจะเสนอคณะกรรมการวัตถุอันตรายให้แบนสารทั้ง 2 ชนิดดังกล่าวในปี
2562
ซึ่งในเดือน มิถุนายน 2561 มีการยื่นหนังสือเรียกร้องแบนสารเคมีอันตรายอีกครั้งโดยภาคประชาชน ก่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร จะสั่งตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐและประชาชน เพื่อพิจารณาข้อมูลผลกระทบของสารเคมีแต่ละชนิด ก่อนเสนอให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายพิจารณา
ทั้งนี้ หลังคณะกรรมการวัตถุอันตรายมีมติไม่แบน พาราควอต นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยืนยันว่า กระทรวงไม่เห็นด้วยกับการใช้สารเคมีนี้ แต่อำนาจในการตัดสินใจเป็นของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ซึ่งจากนี้กระทรวงฯ จะผลักดันการดำเนินตามแผนใช้ พาราควอต อย่างจริงจังแล้ว และต้องรายงานประชาชนอย่างต่อเนื่องต่อไป
ส่วน นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงจะพยายามทำสิ่งที่อยู่ในอำนาจที่ทำได้ คือรณรงค์ให้ประชาชนทราบถึงอันตรายของสารเคมี และใช้พืช ผักปลอดสารพิษ รวมถึงทำให้เกษตรกรมั่นใจว่าประชาชนต้องการพืชผักที่ปลอดภัย เราต้องเคารพในกฎกติกาที่เขาตั้ง แม้เราจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ตาม
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
- เฟซบุ๊ก ข่าวใหญ่ 25
เกี่ยวกับเรื่องนี้ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2562 เฟซบุ๊ก ข่าวใหญ่ 25 เผยว่า จากมติไม่ลงเลิกใช้ พาราควอต ส่งผลให้เครือข่ายที่สนับสนุนการแบนสารพิษกว่า 686 องค์กร แสดงความผิดหวัง เนื่องจากประเทศทั่วโลกกว่า 53 ประเทศได้ยกเลิกการใช้สารตัวนี้แล้ว โดยมีการตีแผ่ถึงความอันตรายอ้างอิงจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมสหรัฐฯ (EPA) ว่า พาราควอต มีพิษสูง แค่กินเพียงจิบเดียวก็ถึงแก่ชีวิตได้ โดยไม่มียาถอนพิษ โดยวิจัยหลายชิ้นอ้างว่า พาราควอต เพิ่มโอกาสการเป็นโรคพาร์กินสัน ส่วนเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (THAI PAN) ก็เผยว่า พบพาราควอตในผักผลไม้ที่ขายในร้านค้าโมเดิร์นเทรดในระดับเกินมาตรฐาน 6 จาก 76 ตัวอย่าง
ด้าน รศ. ภญ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ นายกสภาเภสัชกรรม ระบุถึงพิษร้ายแรงของ พาราควอต ว่า เป็นสารที่มีพิษเฉียบพลัน ได้รับเพียงเล็กน้อย 1-2 ช้อนชา ก็อาจถึงแก่ชีวิต มีงานวิจัยมากมายแสดงว่า พาราควอตเข้าสู่สมองมนุษย์ได้ และทำลายสมอง จากการศึกษาหาปริมาณพาราควอตในคนไทย พบทั้งเลือดหญิงตั้งครรภ์ เลือดจากสายสะดือ และขี้เทาทารกแรกเกิด และพบปริมาณสารนี้ในสิ่งแวดล้อม น้ำ พืช อาหาร
ซึ่งในเดือน มิถุนายน 2561 มีการยื่นหนังสือเรียกร้องแบนสารเคมีอันตรายอีกครั้งโดยภาคประชาชน ก่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร จะสั่งตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐและประชาชน เพื่อพิจารณาข้อมูลผลกระทบของสารเคมีแต่ละชนิด ก่อนเสนอให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายพิจารณา
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้
ทั้งนี้ หลังคณะกรรมการวัตถุอันตรายมีมติไม่แบน พาราควอต นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยืนยันว่า กระทรวงไม่เห็นด้วยกับการใช้สารเคมีนี้ แต่อำนาจในการตัดสินใจเป็นของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ซึ่งจากนี้กระทรวงฯ จะผลักดันการดำเนินตามแผนใช้ พาราควอต อย่างจริงจังแล้ว และต้องรายงานประชาชนอย่างต่อเนื่องต่อไป
ส่วน นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงจะพยายามทำสิ่งที่อยู่ในอำนาจที่ทำได้ คือรณรงค์ให้ประชาชนทราบถึงอันตรายของสารเคมี และใช้พืช ผักปลอดสารพิษ รวมถึงทำให้เกษตรกรมั่นใจว่าประชาชนต้องการพืชผักที่ปลอดภัย เราต้องเคารพในกฎกติกาที่เขาตั้ง แม้เราจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ตาม
- เฟซบุ๊ก ข่าวใหญ่ 25