กรมอุทยานฯ มีมติ ปิดอ่าวมาหยาไปอีก 2 ปี เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศ วางแผนจำกัดนักท่องเที่ยว ไม่ให้เรือเข้าหน้าอ่าวแบบถาวร
วันที่ 8 พฤษภาคม 2562 ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะกรมประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติ ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat เผยความคืบหน้าเรื่องการปิดอ่าวมาหยา เขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ต.อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่ ซึ่งล่าสุดมีมติแล้วว่าจะ ปิดอ่าวมาหยาไปอีก 2 ปี เพื่อรอให้สภาพระบบนิเวศฟื้นฟู โดยวางแผนจะจำกัดนักท่องเที่ยวบนฝั่ง ไม่ให้เรือเข้าไปในอ่าวมาหยาเหมือนสมัยก่อน
สำหรับรายละเอียดที่ กรมอุทยานฯ มีกำหนดปิดหาดมาหยาเป็นเวลา 2 ปี มีข้อมูลสำคัญ ดังนี้
1. การศึกษาความสามารถในการรองรับเสร็จแล้ว มีตัวเลขพร้อม แต่ตัวเลขดังกล่าวคำนึงถึงการดูแลรักษาธรรมชาติเต็มระบบ
2. กรมอุทยานกำลังจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกและระบบป้องกันผลกระทบ เช่น เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ท่าเรือ บ้านพักเจ้าหน้าที่ ฯลฯ การจัดทำทั้งหมดจะเสร็จภายใน 1 ปีนิด ๆ (เผื่อเวลาตามระบบราชการ)
3. ในขณะเดียวกัน กรมอุทยานฯ กำลังจัดทำระบบ e-ticket และระบบติดตามเรือ ซึ่งถ้าสมบูรณ์ จะมีประโยชน์
อย่างยิ่งต่อการดูแลจัดการท่องเที่ยว
4. เมื่อระบบพร้อม อาจเปิดให้มีการทดลอง ในขณะเดียวกัน จะมีการประเมินการสภาพระบบนิเวศที่เกิดขึ้นจากการฟื้นฟู ทั้งแนวปะการัง ป่าชายหาด ฯลฯ
5. เมื่อการประเมินเสร็จ และผลเป็นตามคาดหวัง จะมีการตัดสินใจอีกครั้งในการเปิดให้ท่องเที่ยว
6. การเปิดให้ท่องเที่ยว ต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างเคร่งครัด ทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวต่อรอบ จำนวนเรือ ฯลฯ
7. ที่สำคัญ จะไม่เปิดให้เรือเข้าทางหน้าอ่าวอีกแล้ว เพราะฉะนั้น จะไม่มีผลกระทบต่อแนวปะการังที่กำลังฟื้นฟู / ฝูงฉลามหูดำ ฯลฯ
8. ต้องมีการติดตามระบบนิเวศ รวมถึงผลกระทบอื่น ๆ เช่น ปะการังฟอกขาว ฯลฯ ที่อาจเกิดขึ้น
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก เฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat
สำหรับรายละเอียดที่ กรมอุทยานฯ มีกำหนดปิดหาดมาหยาเป็นเวลา 2 ปี มีข้อมูลสำคัญ ดังนี้
1. การศึกษาความสามารถในการรองรับเสร็จแล้ว มีตัวเลขพร้อม แต่ตัวเลขดังกล่าวคำนึงถึงการดูแลรักษาธรรมชาติเต็มระบบ
2. กรมอุทยานกำลังจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกและระบบป้องกันผลกระทบ เช่น เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ท่าเรือ บ้านพักเจ้าหน้าที่ ฯลฯ การจัดทำทั้งหมดจะเสร็จภายใน 1 ปีนิด ๆ (เผื่อเวลาตามระบบราชการ)
3. ในขณะเดียวกัน กรมอุทยานฯ กำลังจัดทำระบบ e-ticket และระบบติดตามเรือ ซึ่งถ้าสมบูรณ์ จะมีประโยชน์
อย่างยิ่งต่อการดูแลจัดการท่องเที่ยว
4. เมื่อระบบพร้อม อาจเปิดให้มีการทดลอง ในขณะเดียวกัน จะมีการประเมินการสภาพระบบนิเวศที่เกิดขึ้นจากการฟื้นฟู ทั้งแนวปะการัง ป่าชายหาด ฯลฯ
5. เมื่อการประเมินเสร็จ และผลเป็นตามคาดหวัง จะมีการตัดสินใจอีกครั้งในการเปิดให้ท่องเที่ยว
6. การเปิดให้ท่องเที่ยว ต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างเคร่งครัด ทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวต่อรอบ จำนวนเรือ ฯลฯ
7. ที่สำคัญ จะไม่เปิดให้เรือเข้าทางหน้าอ่าวอีกแล้ว เพราะฉะนั้น จะไม่มีผลกระทบต่อแนวปะการังที่กำลังฟื้นฟู / ฝูงฉลามหูดำ ฯลฯ
8. ต้องมีการติดตามระบบนิเวศ รวมถึงผลกระทบอื่น ๆ เช่น ปะการังฟอกขาว ฯลฯ ที่อาจเกิดขึ้น
ภาพจาก ไทยพีบีเอส
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก เฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat