คณะกรรมการวัตถุอันตราย มีมติเอกฉันท์เลื่อนการแบน 2 สารเคมี พาราควอต และ คลอร์ไพริฟอส 6 เดือน มีผล 1 มิ.ย. 2563 ส่วน ไกลโฟเซต ให้จำกัดการใช้ เพราะมีผลกระทบต่อการนำเข้าวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์
อ่านข่าว : สั่งแบนแล้ว ยาฆ่าหญ้า พาราควอต และ 3 สารพิษ ต้องเก็บออกจากตลาด 1 ธ.ค. นี้
ดังนั้น
มติของคณะกรรมการในวันนี้
จึงลงมติเป็นเอกฉันท์ให้เลื่อนการปรับระดับการควบคุมสารพาราควอตและคลอร์ไพริฟอส เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 จากวันที่ 1
ธันวาคม เป็นวันที่ 1 มิถุนายน 2563 ส่วนไกลโฟเซตให้จำกัดการใช้
ทั้งนี้ เหตุผลที่ต้องแยกไกลโฟเซตออกมาเป็นเพียงจำกัดการใช้นั้น เนื่องจากจะกระทบต่อการนำเข้าถั่วเหลือง และข้าวสาลี ซึ่งมีผลต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่อง ตามที่นายกสมาคมอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ร้องเรียนมา หากไม่สามารถนำเข้าถั่วเหลืองได้ ก็จะไม่สามารถผลิตอาหารสัตว์ได้ ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายเป็นหมื่นล้านบาท
ภาพจาก OhLanlaa / Shutterstock.com
จากกรณีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เตรียมยกเลิกใช้ 3 สารเคมีอันตราย ได้แก่
คลอร์ไพริฟอส พาราควอต และไกลโฟเซต พร้อมยกระดับให้เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4
จากเดิมประเภท 3 โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ธันวาคม 2562 นั้น
อ่านข่าว : สั่งแบนแล้ว ยาฆ่าหญ้า พาราควอต และ 3 สารพิษ ต้องเก็บออกจากตลาด 1 ธ.ค. นี้
ภาพจาก INN
ล่าสุด
(27 พฤศจิกายน 2562) สปริงนิวส์ รายงานว่า นายสุริยะ
จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย ว่า จากการหารือแล้ว
แนวทางในการบริหารจัดการวัตถุอันตรายที่ยังคงเหลืออยู่
รวมถึงผลกระทบด้านอื่น ๆ พบว่ามีข้อจำกัดในการปฏิบัติ
หากยกเลิกใช้วัตถุอันตรายทั้ง 3 รายการ ในวันที่ 1 ธันวาคม นี้
มีผู้ไม่เห็นด้วยและมีข้อเสนอแนะจำนวนมาก อาทิ
การจัดการสารพิษตกค้างซึ่งมีประมาณ 23,000 ตัน
หากต้องทำลายจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก และบางส่วนไม่สามารถผลักดันส่งกลับไปได้
อีกทั้งผลกระทบที่เกิดต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมอาหารสัตว์
ที่ไม่สามารถนำเข้าวัตถุดิบที่เป็นผลผลิตทางการเกษตร
เนื่องจากมีสารตกค้างอยู่ในผลผลิตดังกล่าว
ซึ่งประเด็นนี้ยังไม่มีมาตรการในการจัดการ
และยังมีข้อกังวลเรื่องผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ
ภาพจาก INN
ทั้งนี้ เหตุผลที่ต้องแยกไกลโฟเซตออกมาเป็นเพียงจำกัดการใช้นั้น เนื่องจากจะกระทบต่อการนำเข้าถั่วเหลือง และข้าวสาลี ซึ่งมีผลต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่อง ตามที่นายกสมาคมอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ร้องเรียนมา หากไม่สามารถนำเข้าถั่วเหลืองได้ ก็จะไม่สามารถผลิตอาหารสัตว์ได้ ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายเป็นหมื่นล้านบาท
ด้าน นายอนันต์ สุวรรณรัตน์
ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า สำหรับ พาราควอต เป็นสารเคมีกำจัดวัชพืช ที่เสมือนเป็นยาสามัญประจำบ้าน ทุกครัวเรือนใช้มาเป็นเวลานาน
เมื่อมีการแบนจะต้องมีการหาสารทดแทน และการจัดการแบบผสมผสาน แต่ยอมรับว่าการหาสารทดแทนนั้นค่อนข้างยาก ทุกหน่วยงานราชการจึงต้องช่วยกันหาแนวทางก่อนถึงวันที่ 1 มิถุนายน ปีหน้า หลังจากนี้ก็จะประกาศลงราชกิจจานุเบกษา
มีผลให้ พาราควอต และ คลอร์ไพริฟอส เป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 4
มีผลในทางกฎหมาย วันที่ 1 มิถุนายน 2563
แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีสารทดแทนคลอร์ไพลิฟอส ในการกำจัดหนอนทุเรียนได้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก