x close

ไขคำตอบ ทำไมค่าไฟเมษายนแพงผิดปกติ ทั้งที่ใช้ไฟเท่าเดิม ?


           ค่าไฟแพงผิดปกติ 2563 เดือนเมษายนพุ่งทะยานทะลุเพดานขึ้นเท่าตัว ทั้งที่ใช้ไฟฟ้าเท่าเดิม ว่าแต่ทำไมค่าไฟขึ้นผิดปกติ สาเหตุเป็นเพราะอะไร ไปไขคำตอบกัน 

ค่าไฟแพงผิดปกติ 2563

           ทั้งนี้ เฟซบุ๊ก หมอแล็บแพนด้า ได้ชักชวนทุกคนมาแชร์ค่าไฟในเดือนเมษายน 2563 ซึ่งปรากฏว่าทุกคนบ่นเป็นเสียงเดียวกันเรื่องค่าไฟแพง ค่าไฟขึ้นผิดปกติ หลายคนค่าไฟเพิ่มเท่าตัว จาก 3,600 บาท เป็น 6,800 บาท บางคนจาก 1,200 มาเป็น 1,800 บาท จนเหมือนกับเป็นการซ้ำเติมในภาวะที่โควิด 19 ระบาด

           ด้าน เฟซบุ๊ก น้องปอสาม ได้มาอธิบายถึงสาเหตุที่ค่าไฟแพงในหน้าร้อน และมักจะสูงกว่าปกติว่า

           - ค่าไฟคิดในอัตราก้าวหน้า ยิ่งใช้ไฟเยอะ ราคาต่อหน่วยยิ่งสูง และยิ่งทำให้ค่าไฟยิ่งสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ และจะสูงแบบก้าวกระโดด เช่น
 
           หากใช้ 23 หน่วย ราคาต่อหน่วยจะคิดที่หน่วยละ 3.01 บาท ทำให้ค่าไฟอยู่ที่เพียง 69.18 บาท แต่หากใช้ไฟถึง 106 หน่วย จะถูกคิดที่หน่วยละ 3.74 บาท ทำให้ค่าไฟอยู่ที่ 396.17 บาท และหากใช้ไฟถึง 370 หน่วย จะถูกคิดที่หน่วยละ 3.74 บาท 4.08 บาท ทำให้ค่าไฟอยู่ที่ 1,510 บาท

ค่าไฟแพงผิดปกติ 2563

           ทั้งนี้ การไฟฟ้าฯ การันตีวิธีคิดหน่วยค่าไฟ ตามนี้

           - ใช้ไฟหน่วยที่ 0-150 หน่วย จ่ายราคาหน่วยละ 3.2484 บาท
           - ใช้ไฟหน่วยที่ 151-400 หน่วย จ่ายราคาหน่วยละ 4.2218 บาท
           - ใช้ไฟหน่วยที่ 400 ขึ้นไป จ่ายราคาหน่วยนะ 4.4217 บาท

ค่าไฟแพง

           - ตัวที่กินไฟในบ้านมากที่สุดคือ แอร์ หากเปิดแอร์ทุกวัน อุณหภูมิเดิม เย็นเท่าเดิม ท่านอาจจะคิดว่าแบบนี้ค่าไฟไม่ขึ้น แต่ตัวแปรที่ทำให้ค่าไฟขึ้น ไม่ได้อยู่ที่แอร์อย่างเดียว แต่อยู่ที่คอมเพรสเซอร์แอร์ที่อยู่ข้างนอก

           แอร์ไม่ได้มีหน้าที่ทำความเย็นอย่างเดียว แต่ยังทำหน้าที่ดูดความร้อนออกไปด้วย สมมุติว่าปกติคุณเปิดแอร์ที่ 25 องศาเซลเซียส ในหน้าหนาว อุณหภูมินอกบ้านอยู่ที่ 28 องศาเซลเซียส แต่ในหน้าร้อน อุณหภูมินอกบ้านอยู่ที่ 35 องศาเซลเซียส นั่นหมายความว่า แอร์จะทำงานหนักขึ้นในหน้าร้อน เพื่อดูดความร้อนที่เล็ดลอดเข้ามาในบ้าน  และทำให้อุณหภูมิในบ้านอยู่ที่ 25 องศาตลอดเวลา

           - เครื่องฟอกอากาศ อีกหนึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟ หากยิ่งเปิดเครื่องฟอกอากาศพร้อมแอร์ ค่าไฟยิ่งเพิ่ม

           - ตู้เย็น หน้าที่ของตู้เย็นคือ ทำความเย็นในช่องใส่อาหาร คอมเพรสเซอร์หลังตู้เย็นคือตัวที่ทำงานตลอด การเปิด-ปิดตู้เย็นบ่อย ๆ ก็ทำให้เสียอุณหภูมิ คอมเพรสเซอร์ทำงานหนัก หรือการแช่ของในตู้เย็นแบบไม่คิดอะไร ยัดแน่นจนเบียด ก็ทำให้ตู้เย็นทำงานหนักเพื่อรักษาอุณหภูมิให้คงที่เช่นกัน การที่จะทำให้ตู้เย็นไม่กินไฟเหมือนในโฆษณาคือ แช่เครื่องดื่มแค่ไม่เกิน 5 ขวดเท่านั้น

ค่าไฟแพง
ภาพจาก Mooh Ae Juujub

           ส่วนวิธีคำนวณค่าไฟ ทางเพจยกตัวอย่างมา ดังนี้

           ตัวอย่างที่ 1
           ใช้ไฟฟ้าไป 200 หน่วย เราจะคิดค่าไฟแบบนี้
           150 หน่วยแรก ? 3.2484 = 487.26 บาท
           50 หน่วยที่เหลือ ? 4.2218 = 211.09 บาท
           รวมเป็นเงิน = 698.35 บาท
           (ราคายังไม่รวม VAT 7%, ค่าบริการ, หักส่วนลดค่า FT)

           ตัวอย่างที่ 2
           ใช้ไฟฟ้าไป 400 หน่วย เราจะคิดค่าไฟแบบนี้
           150 หน่วยแรก ? 3.2484 = 487.26 บาท
           250 หน่วยที่เหลือ ? 4.2218 = 1,055.45 บาท
           รวมเป็นเงิน = 1,542.41 บาท
           (ราคายังไม่รวม VAT 7%, ค่าบริการ, หักส่วนลดค่า FT)

           ตัวอย่างที่ 3
           ใช้ไฟฟ้าไป 600 หน่วย เราจะคิดค่าไฟแบบนี้
           150 หน่วยแรก ? 3.2484 = 487.26 บาท
           250 หน่วยถัดมา ? 4.2218 = 1,055.45 บาท
           หน่วยที่เหลือ ? 4.4217 = 884.34 บาท
           รวมเป็นเงิน = 2,427.05 บาท
           (ราคายังไม่รวม VAT 7%, ค่าบริการ, หักส่วนลดค่า FT)

           ตัวอย่างที่ 4
           ใช้ไฟฟ้าไป 1,000 หน่วย เราจะคิดค่าไฟแบบนี้
           150 หน่วยแรก ? 3.2484 = 487.26 บาท
           250 หน่วยถัดมา ? 4.2218 = 1,055.45 บาท
           600 หน่วยที่เหลือ ? 4.4217 = 2,653.02 บาท
           รวมเป็นเงิน = 4,195.73 บาท
           (ราคายังไม่รวม VAT 7%, ค่าบริการ, หักส่วนลดค่า FT)

ค่าไฟแพง
ภาพจาก Mooh Ae Juujub

ค่าไฟแพง
ภาพจาก Mooh Ae Juujub

ค่าไฟแพง

ค่าไฟแพง

ค่าไฟแพง

>> อ่านข้อมูลและติดตามสถานการณ์ COVID-19 <<  ได้ที่นี่


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ไขคำตอบ ทำไมค่าไฟเมษายนแพงผิดปกติ ทั้งที่ใช้ไฟเท่าเดิม ? อัปเดตล่าสุด 21 เมษายน 2563 เวลา 15:28:53 108,712 อ่าน
TOP