x close

ย้อนรอยคดีดังในญี่ปุ่น ใช้แสงซินโครตรอนหาหลักฐาน มัดตัวคนร้าย คล้ายคดีลุงพล

          เพจดัง ย้อนคดีสะเทือนขวัญในญี่ปุ่น คนร้ายวางยาฆ่าคนในหมู่บ้านตายเพียบ ไร้หลักฐานเอาผิด สุดท้ายตำรวจใช้แสงซินโครตรอนหาหลักฐานมัดตัวสำเร็จ ก่อนวันนี้เป็นที่รู้จักจากคดีลุงพล ชี้ในอาเซียนมีแค่ไทยกับสิงคโปร์

ย้อนรอยคดีดังในญี่ปุ่น ใช้แสงซินโครตรอนหาหลักฐาน มัดตัวคนร้าย คล้ายคดีลุงพล
ภาพจาก INN

          จากกรณีการเสียชีวิตปริศนาของ น้องชมพู่ เด็กหญิงวัย 3 ขวบ ที่หายตัวไปจากบ้านพักในหมู่บ้านกกกอก ต.กกตูม อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร ก่อนถูกพบเสียชีวิตอยู่บริเวณเขาภูเหล็กไฟ บ้านกกกอก ห่างจากบ้านพักประมาณ 5 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2563 โดยหลังจากตำรวจใช้เวลานานกว่า 1 ปี สุดท้ายสามารถรวบรวมพยานหลักฐานขออนุมัติหมายจับนายไชย์พล วิภา หรือ ลุงพล โดยหลักฐานสำคัญที่ใช้ในการออกหมายจับในครั้งนี้ คือเส้นผมและเส้นขนในที่เกิดเหตุ ซึ่งเป็นเส้นขนไร้ราก แต่ใช้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในเอเชีย มาสืบเสาะจนได้หลักฐานที่ทำให้คดีนี้ กระจ่างในที่สุด


ย้อนรอยคดีดังในญี่ปุ่น ใช้แสงซินโครตรอนหาหลักฐาน มัดตัวคนร้าย คล้ายคดีลุงพล

          ล่าสุดวันที่ 4 มิถุนายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊ก Drama-addict ได้แชร์ข้อมูลที่สนใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอนในการคลี่คลายคดีต่าง ๆ ในอดีต ว่า ในอดีตเคยมีการใช้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอน มาประยุกต์ใช้ร่วมกับการทำคดีในเชิงนิติวิทยาศาสตร์มาแล้วหลายคดี อย่างเช่นคดีดังในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2541 เกิดเหตุคนกินแกงกะหรี่ในงานเทศกาลอาหารพื้นเมือง แล้วเสียชีวิต 4 ราย เกิดอาการเจ็บป่วยหลายสิบราย เจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่า มีคนใส่สารหนูลงไปในอาหาร โดยมีผู้ต้องสงสัยคือแม่บ้านวัย 47 ชื่อ มาซูมิ ฮายาชิ

          อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตำรวจจะค่อนข้างมั่นใจว่าคนร้ายน่าจะเป็นผู้ต้องสงสัยคนนี้ แต่พยานหลักฐานที่จะมัดตัว ยังไม่มี เพราะสามีของนางมาซูมิ เป็นช่างทาสี เธอจึงรู้วิธีล้างคราบสารเคมี และคราบสารหนูออกจากเครื่องครัวที่ใช้ทำแกงกะหรี่แจกในงาน จนไม่สามารถตรวจหาหลักฐานด้วยวิธีปกติ

ย้อนรอยคดีดังในญี่ปุ่น ใช้แสงซินโครตรอนหาหลักฐาน มัดตัวคนร้าย คล้ายคดีลุงพล
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Drama-addict

          สุดท้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงต้องปรึกษานักวิชาการผู้เชี่ยวชาญในเทคโนโลนีแสงซินโครตรอน และนำมาใช้ในการตรวจสอบหาสารหนูที่อยู่ในภาชนะ เนื่องจากเมื่อสารหนูสัมผัสโลหะ จะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในระดับโมเลกุล ซึ่งแสงซินโครตรอนสามารถตรวจสอบถึงระดับนี้ได้ และพบว่าที่เครื่องครัวของนางมาซูมิ มีร่องรอยของสารหนูอยู่เป็นจำนานมาก จนตำรวจมีหลักฐานเพียงพอจนนำไปสู่การดำเนินคดี และศาลตัดสินประหารชีวิต

          ส่วนแรงจูงใจในการก่อเหตุสังหารหมู่ในครั้งนี้คือ นางมาซูมิ ไม่ชอบหน้าเพื่อนบ้าน จึงอาศัยช่วงงานเทศกาลอาหารวางยา เพื่อฆ่าชาวบ้านในชุมชนทั้งหมด

ย้อนรอยคดีดังในญี่ปุ่น ใช้แสงซินโครตรอนหาหลักฐาน มัดตัวคนร้าย คล้ายคดีลุงพล
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Drama-addict
 
          แต่ส่วนในของคดีน้องชมพู่ ก็มีการใช้แสงซินโครตรอนด้วยเช่นกัน แต่ใช้ในแง่ไหนนั้นต้องรอรายละเอียดจากทางตำรวจอีกครั้ง โดยในตอนนี้ในภูมิภาคอาเซียนมีห้องแล็บที่สามารถตรวจสอบโดยใช้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอนเพียง 2 แห่งเท่านั้นคือที่ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ของประเทศไทย และอีกแห่งที่ประเทศสิงคโปร์

ย้อนรอยคดีดังในญี่ปุ่น ใช้แสงซินโครตรอนหาหลักฐาน มัดตัวคนร้าย คล้ายคดีลุงพล
ภาพจาก synchrotron-Siam Photon PR

ย้อนรอยคดีดังในญี่ปุ่น ใช้แสงซินโครตรอนหาหลักฐาน มัดตัวคนร้าย คล้ายคดีลุงพล
ภาพจาก synchrotron-Siam Photon PR

ขอบคุณข้อมูลจาก Drama-addict
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ย้อนรอยคดีดังในญี่ปุ่น ใช้แสงซินโครตรอนหาหลักฐาน มัดตัวคนร้าย คล้ายคดีลุงพล อัปเดตล่าสุด 4 มิถุนายน 2564 เวลา 17:10:50 34,756 อ่าน
TOP