สาวต้นเรื่อง และนายจ้าง ปัดให้สัมภาษณ์ ไม่พร้อมแจงรายละเอียดปมดราม่าร้อน หัวหน้าใจดำ ไม่ให้ลาไปดูใจแม่ ทนายดังแนะมีสิทธิลาได้ตามกฎหมาย แต่ควรฟังความทั้งสองฝ่ายก่อน ด้านรมว.กระทรวงแรงงาน สั่งตรวจสอบข้อเท็จจริง
จากกรณีประเด็นร้อนที่หลายคนกำลังให้ความสนใจ และวิพากษ์วิจารณ์กันไปเป็นจำนวนมาก ภายหลังมีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง โพสต์ภาพแชตกับหัวหน้างาน ที่ชื่อว่า "พี่กบ" โดยเธอขอลางานไปดูใจแม่ที่กำลังจะเสียชีวิตที่โรงพยาบาล พร้อมภาพแม่ที่นอนป่วยอยู่ และเอกสารทางการแพทย์ ยืนยันว่าไม่ได้โกหก แต่หัวหน้าคนนี้ตอบกลับมาสั้น ๆ ว่า "ไม่ได้ค่ะ" พร้อมพูดทำนองว่าหากไม่กลับมาทำงานก็ให้มาลาออกนั้น
อ่านข่าว : หัวหน้าปีศาจ ขอลางานดูใจแม่ใกล้ตาย ยังไม่ให้ลา อีก 10 นาทีแม่ตาย บอกให้เขียนใบลาออก !
ล่าสุดวันที่ 17 สิงหาคม 2566 ช่อง 3 รายงานว่า ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปที่งานศพแม่ของหญิงสาวเจ้าของโพสต์ พบว่า งานจัดอยู่ที่วัดไตรภูมิวนาราม ในอำเภอเมือง จ.บุรีรัมย์ เพื่อพบกับคุณพลอย เจ้าของผู้โพสต์ ซึ่งเป็นลูกสาวผู้เสียชีวิต เธอปฏิเสธไม่ขอให้ข้อมูลใดๆ กับสื่อ พร้อมกับขู่ไม่ให้นำภาพถ่ายในงานศพไปเผยแพร่ ไม่เช่นนั้นจะฟ้อง ซึ่งจากคำกล่าวของเธอ ทำให้เราไม่ทราบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นระหว่างเธอกับหัวหน้างาน
จากนั้น ผู้สื่อข่าว ได้สอบถามไปยังรีสอร์ตที่เธอทำงาน พบตั้งอยู่ที่ เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา และหัวงานงานชื่อว่า กบ ซึ่งทางรีสอร์ต บอกว่า ยังไม่ขอให้ข้อมูลใด ๆ เช่นกัน
ด้านนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงกรณีที่เกิดขึ้น ว่า ได้สั่งการให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานตรวจสอบข้อเท็จจริงและดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ พร้อมให้ความเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย เบื้องต้น พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 34 ได้กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ปีละไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน และให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลากิจเพื่อกิจธุระอันจำเป็น
ส่วนนายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่า ได้สั่งการให้พนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นท้องที่ที่เกิดเหตุ เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และดำเนินการตามอำนาจหน้าที่อย่างเคร่งครัดเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย
2 ทนายแสดงความเห็นปมหัวหน้า
ขณะที่ เพจ ทนายตัวแสบ ได้โพสต์เกี่ยวกับประเด็นที่เกิดขึ้นว่า ตามกฎหมายแรงงาน สิทธิในการลากิจกรณีฉุกเฉิน เพราะคนในครอบครัวเสียชีวิตสามารถทำได้ และได้รับค่าจ้างด้วย การที่หัวหน้าในแชทปฏิเสธการลาจึงดูใจร้าย บวกกับเป็นสิทธิที่ลาได้ด้วย แต่กลับบอกให้มาลาออกเลยดูใจร้ายซ้ำสอง แต่บางคนเดาว่าต้นเรื่องอาจลาบ่อยเพราะสาเหตุส่วนตัวหรือเปล่า เพราะก่อนหน้าก็เพิ่งลาป่วยไป หัวหน้าเลยปฏิเสธการลา แต่เรื่องนี้ที่จริงก็เป็นคนละส่วนครับ ลาป่วย ลากิจ มันก็คนละอย่าง แต่เคสนี้อาจมีมุมที่ยังไม่รู้ว่าก่อนนี้สองคนนั้นเคยมีประเด็นอะไรมาก่อนไหม
นอกจากนี้ทาง ทนายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ ประธานเครือข่ายรณรงค์ทวงคืนความยุติธรรมในสังคม ได้แสดงความเห็นถึงกรณีดังกล่าว ผ่านทางแฟนเพจ ทนายคู่ใจ ระบุว่า ตอนนี้สังคมมองว่าทำไม HR ไม่มีความเมตตา พ่อแม่จะเป็นจะตาย คนเป็นลูกต้องมีสิทธิไปดูแลรักษาก่อนตาย ไม่มีใครบ้าทำงาน ไม่สนใจคนในครอบครัว คนที่เป็น HR หรือหัวหน้างาน ที่บอกว่าลาไม่ได้ ถ้าเจอเหตุการณ์เดียวกันจะเป็นแบบไหน
แต่อย่างไรก็ตาม ก็จะต้องดูกติกา สังคมอาจจะเห็นใจลูกจ้าง แต่จะต้องตรวจสอบว่าการลากิจ ลาได้ไม่น้อยกว่า 3 วันต่อปี นายจ้างต้องให้ลูกจ้างสามารถลากิจได้ แต่การลากิจไม่ได้หมายความว่า ไลน์ไปบอกว่าลาแล้วจะหยุดได้ทันที คำว่าลาต้องรอให้นายจ้างอนุมัติด้วย ถึงจะลากิจได้ เพราะว่าการลากิจได้เงินเดือน
ส่วนประเด็นที่ลูกจ้างลากิจ แล้วให้ไปลาออกเลย ในทางข้อกฎหมายหากลูกจ้างหยุดงานติดต่อกัน 3 วัน โดยไม่ติดต่อนายจ้างเลย นายจ้างถึงจะมีสิทธิไล่ออกได้ แต่ในกรณีของเคสดังที่ลา 1 วัน พาแม่ไปหาหมอ แล้วแม่เสียชีวิต ก็เท่ากับขาดงานแค่ 1 วัน จะไล่ออกไม่ได้ การให้เขียนใบลาออก เป็นการบีบบังคับลูกจ้าง ซึ่งลูกจ้างไม่ได้สมัครใจจะลาออก ก็เรียกว่าเป็นการไล่ออก
แต่สุดท้าย ก็คงต้องรอฟังคำอธิบายจากทางโรงแรม และหัวหน้าก่อน เพราะอาจจะมีเหตุผลบางอย่างที่ยังไม่รู้ ต้องดูเรื่องนี้กันต่อไป แต่เรื่องนี้ขาดงานแค่ 1 วัน นั้นทางบริษัทยังไล่ออกเลยไม่ได้
ขอบคุณข้อมูลจาก ช่อง 3, เพจเฟซบุ๊ก ทนายตัวแสบ, เพจเฟซบุ๊ก ทนายคู่ใจ
จากกรณีประเด็นร้อนที่หลายคนกำลังให้ความสนใจ และวิพากษ์วิจารณ์กันไปเป็นจำนวนมาก ภายหลังมีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง โพสต์ภาพแชตกับหัวหน้างาน ที่ชื่อว่า "พี่กบ" โดยเธอขอลางานไปดูใจแม่ที่กำลังจะเสียชีวิตที่โรงพยาบาล พร้อมภาพแม่ที่นอนป่วยอยู่ และเอกสารทางการแพทย์ ยืนยันว่าไม่ได้โกหก แต่หัวหน้าคนนี้ตอบกลับมาสั้น ๆ ว่า "ไม่ได้ค่ะ" พร้อมพูดทำนองว่าหากไม่กลับมาทำงานก็ให้มาลาออกนั้น
อ่านข่าว : หัวหน้าปีศาจ ขอลางานดูใจแม่ใกล้ตาย ยังไม่ให้ลา อีก 10 นาทีแม่ตาย บอกให้เขียนใบลาออก !
ล่าสุดวันที่ 17 สิงหาคม 2566 ช่อง 3 รายงานว่า ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปที่งานศพแม่ของหญิงสาวเจ้าของโพสต์ พบว่า งานจัดอยู่ที่วัดไตรภูมิวนาราม ในอำเภอเมือง จ.บุรีรัมย์ เพื่อพบกับคุณพลอย เจ้าของผู้โพสต์ ซึ่งเป็นลูกสาวผู้เสียชีวิต เธอปฏิเสธไม่ขอให้ข้อมูลใดๆ กับสื่อ พร้อมกับขู่ไม่ให้นำภาพถ่ายในงานศพไปเผยแพร่ ไม่เช่นนั้นจะฟ้อง ซึ่งจากคำกล่าวของเธอ ทำให้เราไม่ทราบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นระหว่างเธอกับหัวหน้างาน
จากนั้น ผู้สื่อข่าว ได้สอบถามไปยังรีสอร์ตที่เธอทำงาน พบตั้งอยู่ที่ เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา และหัวงานงานชื่อว่า กบ ซึ่งทางรีสอร์ต บอกว่า ยังไม่ขอให้ข้อมูลใด ๆ เช่นกัน
ด้านนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงกรณีที่เกิดขึ้น ว่า ได้สั่งการให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานตรวจสอบข้อเท็จจริงและดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ พร้อมให้ความเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย เบื้องต้น พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 34 ได้กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ปีละไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน และให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลากิจเพื่อกิจธุระอันจำเป็น
ส่วนนายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่า ได้สั่งการให้พนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นท้องที่ที่เกิดเหตุ เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และดำเนินการตามอำนาจหน้าที่อย่างเคร่งครัดเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย
2 ทนายแสดงความเห็นปมหัวหน้า
ขณะที่ เพจ ทนายตัวแสบ ได้โพสต์เกี่ยวกับประเด็นที่เกิดขึ้นว่า ตามกฎหมายแรงงาน สิทธิในการลากิจกรณีฉุกเฉิน เพราะคนในครอบครัวเสียชีวิตสามารถทำได้ และได้รับค่าจ้างด้วย การที่หัวหน้าในแชทปฏิเสธการลาจึงดูใจร้าย บวกกับเป็นสิทธิที่ลาได้ด้วย แต่กลับบอกให้มาลาออกเลยดูใจร้ายซ้ำสอง แต่บางคนเดาว่าต้นเรื่องอาจลาบ่อยเพราะสาเหตุส่วนตัวหรือเปล่า เพราะก่อนหน้าก็เพิ่งลาป่วยไป หัวหน้าเลยปฏิเสธการลา แต่เรื่องนี้ที่จริงก็เป็นคนละส่วนครับ ลาป่วย ลากิจ มันก็คนละอย่าง แต่เคสนี้อาจมีมุมที่ยังไม่รู้ว่าก่อนนี้สองคนนั้นเคยมีประเด็นอะไรมาก่อนไหม
นอกจากนี้ทาง ทนายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ ประธานเครือข่ายรณรงค์ทวงคืนความยุติธรรมในสังคม ได้แสดงความเห็นถึงกรณีดังกล่าว ผ่านทางแฟนเพจ ทนายคู่ใจ ระบุว่า ตอนนี้สังคมมองว่าทำไม HR ไม่มีความเมตตา พ่อแม่จะเป็นจะตาย คนเป็นลูกต้องมีสิทธิไปดูแลรักษาก่อนตาย ไม่มีใครบ้าทำงาน ไม่สนใจคนในครอบครัว คนที่เป็น HR หรือหัวหน้างาน ที่บอกว่าลาไม่ได้ ถ้าเจอเหตุการณ์เดียวกันจะเป็นแบบไหน
แต่อย่างไรก็ตาม ก็จะต้องดูกติกา สังคมอาจจะเห็นใจลูกจ้าง แต่จะต้องตรวจสอบว่าการลากิจ ลาได้ไม่น้อยกว่า 3 วันต่อปี นายจ้างต้องให้ลูกจ้างสามารถลากิจได้ แต่การลากิจไม่ได้หมายความว่า ไลน์ไปบอกว่าลาแล้วจะหยุดได้ทันที คำว่าลาต้องรอให้นายจ้างอนุมัติด้วย ถึงจะลากิจได้ เพราะว่าการลากิจได้เงินเดือน
ส่วนประเด็นที่ลูกจ้างลากิจ แล้วให้ไปลาออกเลย ในทางข้อกฎหมายหากลูกจ้างหยุดงานติดต่อกัน 3 วัน โดยไม่ติดต่อนายจ้างเลย นายจ้างถึงจะมีสิทธิไล่ออกได้ แต่ในกรณีของเคสดังที่ลา 1 วัน พาแม่ไปหาหมอ แล้วแม่เสียชีวิต ก็เท่ากับขาดงานแค่ 1 วัน จะไล่ออกไม่ได้ การให้เขียนใบลาออก เป็นการบีบบังคับลูกจ้าง ซึ่งลูกจ้างไม่ได้สมัครใจจะลาออก ก็เรียกว่าเป็นการไล่ออก
แต่สุดท้าย ก็คงต้องรอฟังคำอธิบายจากทางโรงแรม และหัวหน้าก่อน เพราะอาจจะมีเหตุผลบางอย่างที่ยังไม่รู้ ต้องดูเรื่องนี้กันต่อไป แต่เรื่องนี้ขาดงานแค่ 1 วัน นั้นทางบริษัทยังไล่ออกเลยไม่ได้
ขอบคุณข้อมูลจาก ช่อง 3, เพจเฟซบุ๊ก ทนายตัวแสบ, เพจเฟซบุ๊ก ทนายคู่ใจ