รอยเลื่อนในประเทศไทย
ฉบับปี 2568

รอยเลื่อนคืออะไร

- แรงดึง ส่วนของเปลือกโลกที่อยู่ด้านบนรอยเลื่อนจะเลื่อนลงต่ำกว่าส่วนที่อยู่ด้านล่าง มักพบในพื้นที่ที่มีการแยกตัวของแผ่นเปลือกโลก
- แรงบีบ ส่งผลให้เปลือกโลกส่วนที่อยู่ด้านบนรอยเลื่อนเคลื่อนที่ขึ้นสูงกว่าส่วนที่อยู่ด้านล่าง มักพบในบริเวณที่แผ่นเปลือกโลกชนกัน เช่น บริเวณแนวเทือกเขา
- แรงเฉือน ไม่มีการยกตัวขึ้นหรือลงของหินอย่างรอยเลื่อนซานแอนเดรียส (San Andreas Fault) ในสหรัฐอเมริกา
รอยเลื่อนมีพลังและรอยเลื่อนที่ไม่มีพลัง
- รอยเลื่อนมีพลัง (Active Fault) เป็นรอยเลื่อนที่ยังสามารถเคลื่อนตัวได้ และอาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวในอนาคต
- รอยเลื่อนที่ไม่มีพลัง (Inactive Fault) เป็นรอยเลื่อนที่ไม่มีการเคลื่อนตัวมานานมาก และมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวน้อยมาก
รอยเลื่อนในประเทศไทย
จากข้อมูลเว็บไซต์ dmr.go.th พบว่ามีกลุ่มรอยเลื่อนที่มีพลังจำนวน 16 รอยเลื่อน ได้แก่

ภาพจาก : dmr.go.th
1. รอยเลื่อนแม่จัน พาดผ่านจังหวัดเชียงรายและจังหวัดเชียงใหม่
2. กลุ่มรอยเลื่อนแม่อิง พาดผ่านจังหวัดเชียงราย
3. กลุ่มรอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน พาดผ่านจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดตาก
4. กลุ่มรอยเลื่อนเมย พาดผ่านจังหวัดตากและจังหวัดกำแพงเพชร
5. กลุ่มรอยเลื่อนแม่ทา พาดผ่านจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดเชียงราย
6. กลุ่มรอยเลื่อนเถิน พาดผ่านจังหวัดลำปางและจังหวัดแพร่
7. กลุ่มรอยเลื่อนพะเยา พาดผ่านจังหวัดพะเยา จังหวัดเชียงราย และจังหวัดลำปาง
8. กลุ่มรอยเลื่อนปัว พาดผ่านจังหวัดน่าน
9. กลุ่มรอยเลื่อนอุตรดิตถ์ พาดผ่านจังหวัดอุตรดิตถ์
10. กลุ่มรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ พาดผ่านจังหวัดกาญจนบุรี
11. กลุ่มรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ พาดผ่านจังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดตาก
12. กลุ่มรอยเลื่อนระนอง พาดผ่านจังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดพังงา
13. กลุ่มรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย พาดผ่านจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดกระบี่ จังหวัดพังงา และจังหวัดภูเก็ต
14. กลุ่มรอยเลื่อนเพชรบูรณ์ พาดผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดเลย
15. กลุ่มรอยเลื่อนแม่ลาว พาดผ่านจังหวัดเชียงราย
16. กลุ่มรายเลื่อนเวียงแหง พาดผ่านจังหวัดเชียงใหม่

รอยเลื่อนของประเทศไทยส่วนใหญ่พบอยู่บริเวณภาคใด
จะสังเกตได้ว่ารอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศ มีการศึกษาพบว่า ในอดีตบางรอยเลื่อนเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดปานกลางถึงรุนแรง บางรอยเลื่อนสามารถส่งผลต่อพื้นที่กว้างไกล และรอยเลื่อนบางแนวอาจเชื่อมโยงกับรอยเลื่อนในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมียนมา ลาว และมาเลเซีย
สำหรับภาคใต้ฝั่งอันดามัน หากเกิดแผ่นดินไหวใหญ่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวและสึนามิในทะเลอันดามัน ดังนั้น พื้นที่ที่ปลอดภัยที่สุดในการเกิดแผ่นดินไหวของประเทศไทย หากต้องการพื้นที่ที่เสี่ยงแผ่นดินไหวน้อยจะเป็นภาคอีสาน ซึ่งห่างไกลจากรอยเลื่อนใหญ่ หรือแม้มีรอยเลื่อนย่อยบางแห่ง เช่น รอยเลื่อนเพชรบูรณ์ แต่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนตัวบ่อย รวมถึงภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ไม่มีรอยเลื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ด้วยเช่นกัน
แผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนมีพลังในไทย
ประเทศไทยมี 16 กลุ่มรอยเลื่อนมีพลัง ที่สามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้ โดยกลุ่มรอยเลื่อนเหล่านี้พาดผ่านหลายจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศ เช่น รอยเลื่อนแม่จันในเชียงรายและเชียงใหม่ รอยเลื่อนแม่ทาในเชียงใหม่ ลำพูน และเชียงราย และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ในกาญจนบุรี แผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้นจากรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย เช่น
- แผ่นดินไหวจังหวัดน่าน ปี พ.ศ. 2478 เกิดจากรอยเลื่อนปัว ขนาด 6.5 ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ใกล้เคียง
- แผ่นดินไหวจังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2557 เกิดจากรอยเลื่อนแม่ลาว ขนาด 6.3 ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ รวมถึงความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือน
- แผ่นดินไหวจังหวัดลำปาง ปี พ.ศ. 2562 เกิดจากรอยเลื่อนพะเยา ขนาด 4.9 ประชาชนรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือน
รอยเลื่อนสะกาย

ทั้งนี้ รอยเลื่อนสะกายเป็นต้นเหตุของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในเมียนมาหลายครั้ง เช่น
- แผ่นดินไหว ปี ค.ศ. 1930 (ขนาด 7.3) ส่งผลกระทบต่อเมืองพะโค
- แผ่นดินไหว ปี ค.ศ. 1946 (ขนาด 7.5) เกิดขึ้นในภาคกลางของเมียนมา
- แผ่นดินไหว ปี ค.ศ. 2012 (ขนาด 6.8) เกิดใกล้เมืองมัณฑะเลย์ และมีแรงสั่นสะเทือนถึงไทย
- แผ่นดินไหว ปี ค.ศ. 2016 (ขนาด 6.8) เกิดใกล้พุกาม ทำให้โบราณสถานเสียหาย
สำหรับประเทศไทย แม้จะไม่ได้รับความเสียหายรุนแรง แต่เหตุการณ์นี้เป็นการเตือนให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมรับมือแผ่นดินไหว โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง
การเตรียมความพร้อมรับมือแผ่นดินไหว
รอยเลื่อนในประเทศไทยเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจทำให้เกิดแผ่นดินไหว ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตและโครงสร้างพื้นฐาน การตระหนักถึงความเสี่ยงและเตรียมพร้อมอย่างเหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อลดความสูญเสียและรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างปลอดภัย
หมายเหตุ : ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงกรุณาตรวจสอบอีกครั้ง
บทความ รอยเลื่อนในประเทศ แผ่นดินไหว ข้อปฏิบัติ อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
+++ แผ่นดินไหวทำไงดี ! รวมข้อควรปฏิบัติขณะเกิดแผ่นดินไหว
+++ วิธีรับมือและปกป้องบ้านจากเหตุแผ่นดินไหว
+++ Earthquake Sickness แผ่นดินไหวทำเวียนหัวไม่หาย ปวดหัววิง ๆ หมอแนะต้องทำยังไง
+++ แอปฯ เตือนภัยพิบัติ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ไฟไหม้ ช่วยเตรียมรับมือภัยธรรมชาติ