วันผู้สูงอายุแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้บรรดาลูกหลานทั้งหลายหันมองและเอาใจใส่บุคคลสำคัญเหล่านี้ที่เป็นคนใกล้ตัว สำหรับประวัติ ความเป็นมา และดอกไม้สัญลักษณ์ผู้สูงอายุคือดอกอะไร เรามีข้อมูลมาฝาก
แม้จะเป็นวัยที่หลายคนนิยามว่าเป็น "ไม้ใกล้ฝั่ง" แต่ "ผู้สูงอายุ" ทั้งหลายคือผู้สร้างประโยชน์ให้แก่ชาติบ้านเมืองมาแล้วนับไม่ถ้วน หรืออย่างน้อย ๆ ก็เป็นหนึ่งในผู้มีพระคุณของครอบครัวที่เราจะละเลยเสียไม่ได้ อีกทั้งผู้สูงอายุยังนับเป็นประชากรที่มีสัดส่วนมากถึง 3 ใน 5 ของประชากรโลก ด้วยเหตุนี้ทั่วโลกจึงพากันรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ ด้วยการกำหนด "วันผู้สูงอายุ" ขึ้น ประหนึ่งเป็นเครื่องเตือนใจให้บรรดาลูกหลานทั้งหลายหันมองและเอาใจใส่บุคคลสำคัญเหล่านี้ที่เป็นคนใกล้ตัว
สำหรับประเทศไทย วันผู้สูงอายุ ถูกผูกรวมไว้กับวันขึ้นปีใหม่ไทย หรือ วันสงกรานต์ ตรงกับวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่านอกจากจะทำบุญตักบาตรในช่วงเช้าตามวิถีชาวพุทธแล้ว กิจกรรมสำคัญอันดับต้น ๆ ของวันก็คือการรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้หลักผู้ใหญ่ที่นับถือนั่นเอง
สำหรับประเทศไทย วันผู้สูงอายุ ถูกผูกรวมไว้กับวันขึ้นปีใหม่ไทย หรือ วันสงกรานต์ ตรงกับวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่านอกจากจะทำบุญตักบาตรในช่วงเช้าตามวิถีชาวพุทธแล้ว กิจกรรมสำคัญอันดับต้น ๆ ของวันก็คือการรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้หลักผู้ใหญ่ที่นับถือนั่นเอง
ความเป็นมาของวันผู้สูงอายุ
ในประเทศไทยเริ่มจุดประกายเรื่องนี้ในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีการกำหนดนโยบายที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีคุณภาพ และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข โดยได้มอบให้กรมประชาสงเคราะห์จัดตั้งสถานสงเคราะห์คนชรา บ้านบางแค เป็นแห่งแรก ในปี พ.ศ. 2496 โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
2. เพื่อให้บริการแก่คนชราที่อยู่กับครอบครัวของตน แต่มีความต้องการบริการสงเคราะห์คนชราบางอย่าง เช่น การรักษาพยาบาล กายภาพบำบัด นันทนาการ
3. เพื่อแบ่งเบาภาระของครอบครัวผู้มีรายได้น้อย หรือยากจน ที่ไม่สามารถจะอุปการะเลี้ยงดูคนชราไว้ในครอบครัวได้
4. เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมอันเกี่ยวกับคนชรา ไม่ให้เร่ร่อน ทำความเดือดร้อนรำคาญแก่สังคม และให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างผาสุกตามสมควรแก่อัตภาพ
5. เพื่อเป็นการตอบแทนคุณความดีที่คนชราได้ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ
6. เพื่อผู้สูงอายุจะได้คลายวิตกกังวล เมื่อชราภาพ ไม่สามารถประกอบอาชีพต่อไปได้แล้ว ทางรัฐบาลมีหน้าที่จะเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูต่อไป
ในส่วนของรัฐบาลไทยสมัยนั้น ซึ่งตรงกับรัฐบาลของ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ก็ได้เห็นความสำคัญต่อนโยบายดังกล่าว โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2525 อนุมัติให้วันที่ 13 เมษายน ของทุกปี เป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานวันผู้สูงอายุแห่งชาติ มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน และจัดให้มีกิจกรรมต่าง ๆ สำหรับผู้สูงอายุทุกปี
วันผู้สูงอายุสากล
องค์การสหประชาชาติกำหนดให้ทุกวันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี เป็น "วันผู้สูงอายุสากล" เริ่มมาตั้งแต่ปี 1999 หรือ พ.ศ. 2542 ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2525 องค์การสหประชาชาติได้จัดประชุมสมัชชาโลกเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย และได้ให้ความหมายของคำว่า ...
"ผู้สูงอายุ" หมายถึง บุคคลทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้สูงอายุตอนต้น คือ บุคคลที่มีอายุ 60-69 ปี ทั้งชายและหญิง และผู้สูงอายุตอนปลาย คือ บุคคลที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป ทั้งชายและหญิง
ดอกไม้สัญลักษณ์ผู้สูงอายุ
รัฐบาลในสมัย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นอกจากจะอนุมัติให้วันที่ 13 เมษายน ของทุกปี เป็นวันผู้สูงอายุ แล้ว ยังกำหนดให้ "ดอกลำดวน" เป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุด้วย
กิจกรรมวันผู้สูงอายุ
โดยทั่วไปจะมีการจัดกิจกรรมรดน้ำดำหัว มอบของขวัญ และขอพรจากผู้สูงอายุตามหมู่บ้านและชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ รวมถึงหน่วยงานต่าง ๆ จะมีการให้สิทธิพิเศษในการใช้บริการ
13 เมษายน นี้ อย่าลืมมาร่วมให้ความสำคัญกับ "ผู้สูงอายุ" กันด้วยนะคะ