x close

เทคนิคการถ่ายภาพทีเผลอ CANDID





สรุปข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          การแอบบันทึกภาพบุคคลต่างๆ ..บางท่านอาจเรียกว่าเป็นการถ่ายภาพทีเผลออะไรประมาณนั้น ..แต่โดยทั่วๆ  ไปจะใช้คำทัพศัพท์ว่า "CANDID" อันเป็นที่รับทราบกันดี ภาพแคนคิดมีจุดเด่นหรือข้อดีตรงที่ว่า บุคคลในภาพจะดูเป็นธรรมชาติ ไม่มีการจัดวางหรือเตรียมการใด ๆ เป็นสถานการณ์ที่มักเกิดขึ้นจริงๆ ตรงหน้า อยู่ที่เราจะสามารถหยุดภาพนั้นได้ในจังหวะที่ดีแค่ไหน

          หลายๆ คนชอบภาพลักษณะแบบนี้.. แล้วช่างภาพอาชีพเขามีวิธีการอย่างไรที่จะได้ภาพบุคคลสวย ๆ ดูเป็นธรรมชาติออกมา ..ลองติดตามบทความต่อไปนี้ได้เลยครับ.

          เรามักจะให้คำจำกัดความของการถ่ายภาพแนวแคนดิดว่า เป็นการถ่ายภาพทีเผลอ ซึ่งก็เป็นภาพทีเผลอของผู้ที่ถูกถ่ายภาพ ในอิริยาบถที่ไม่ได้ตั้งใจหรือเป็นการแอบถ่ายภาพ และภาพแคนดิดหลายๆ ภาพในแต่ละครั้ง มักจะได้ภาพที่ดีและน่าพึงพอใจกว่าภาพหลักที่ตั้งใจจะถ่ายภาพเสียอีก

          ภาพแคนดิดมักจะเป็นภาพที่ถ่ายทอดความเป็นธรรมชาติที่สุดของผู้ที่ถูกถ่ายภาพไม่ว่าจะเป็นสีหน้า อารมณ์หรือกริยาท่าทางที่แสดงออกมาโดยไม่รู้ตัว เป็นตัวตนที่แท้จริง ผมมักจะเลือกใช้เลนส์เทเลโฟโต้ที่สามารถดึงขนาดภาพเข้ามาจากระยะที่ห่างออกไป โดยที่ผู้ที่ถูกถ่ายภาพไม่รู้ตัว เป็นระยะซูมในช่วง 80-200 มม. กำลังพอเหมาะครับ ระบบกล้องก็ควรตั้งไว้ในระบบออโต้ที่พร้อมจะถ่ายภาพทันทีที่เกิดขึ้น ทุกระบบของกล้องต้องถูกเซตให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็นไวท์บาลานซ์ การชดเชยแสงที่พอดี เพราะภาพจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและหายไปในพริบตา เราต้องช่วงชิงให้ได้เพราะภาพแคนดิดเราไม่สามารถจะจัดให้เกิดขึ้นอีกครั้งไม่ได้ ถึงจะจัดได้ก็ได้ในด้านขององค์ประกอบภาพ

          ส่วนในด้านของอารมณ์ภาพก็ไม่ได้ครับ การคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะได้ภาพแคนดิด เราต้องคิดว่าน่าจะเกิดอะไรขึ้นในช่วงต่อไป จะทำให้เราบันทึกภาพได้ทันท่วงที บ่อยครั้งที่ผมคาดผิดว่าน่าจะเกิดขึ้นแต่ก็ไม่เกิดขึ้น แต่ก็มีอยู่บ่อยครั้งที่เกิดขึ้นและผมก็ได้ภาพที่น่าพอใจ มีบางครั้งที่ผมเลือกใช้เลนส์ไวด์มุมกว้างในการถ่ายภาพแคนดิด ซึ่งก็เป็นซูมไวด์ ช่วง 12-24 มม. ผมต้องใช้การพูดคุยกับผู้ที่ผมจะถ่ายภาพให้เกิดความคุ้นเคยกันในระดับหนึ่ง ทำให้สามารถ่ายภาพเขาได้โดยที่ถูกเราถ่ายภาพเป็นธรรมชาติ ไม่รู้สึกตัวเคอะเขินหรืออย่างไร การถ่ายภาพแคนดิดควรถ่ายภาพเป็นจำนวนมากเพื่อมาเลือกใช้ในจังหวะที่ดีที่สุด แต่ผู้ถ่ายภาพต้องคำนึงถึงมรรยาทและจรรยาบรรณที่ไม่ทำให้ผู้ที่เราถ่ายภาพเกิดความเสื่อมเสียไม่ทางใดหรือทางหนึ่ง ควรเป็นภาพในทางสร้างสรรเชิงบวกครับ

          ภาพแคนดิด (Candid) หรือที่นักถ่ายภาพชาวไทยเข้าใจตรงกันว่าภาพทีเผลอ ก็คือการถ่ายภาพ โดยไม่ให้แบบที่กำลังตกเป็นเป้าหมายรู้ตัว หรืออาจจะรู้ตัวแต่ก็ไม่ได้ให้ความสนใจ เป็นกังวลหรือตกประหม่ากับกล้องที่หันเข้าหามากนัก ซึ่งแบบที่ว่านี้ส่วนใหญ่ก็คือ บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่ง แต่เราก็สามารถนำคำนิยามนี้ไปใช้กับการถ่ายภาพสัตว์ได้ด้วยเช่นกัน

          เหตุที่ต้องถ่ายภาพบุคคล (หรือสัตว์) แบบแคนดิดนั้น  เพราะช่างภาพต้องการได้ภาพที่ดูเป็นธรรมชาติ ภาพที่มีอารมณ์อยู่ในนั้นมากกว่าภาพบุคคลที่สวยงามอันเกิดจากการจัดถ่ายในแบบพอร์เทรตนั่นเอง ซึ่งจริงๆ แล้วในขณะที่กำลังจัดถ่ายแบบพอร์เทรตอยู่เราก็สามารถแอบเก็บภาพแคนดิดได้ด้วยเช่นกัน ถ้าหากเตรียมความพร้อมไว้แล้ว และตาไว มือไวพอที่จะกดชัตเตอร์ได้ทันเวลา การเตรียมความพร้อมสำหรับการถ่ายภาพแคนดิดแบ่งได้เป็นสองส่วนก็คือ ความพร้อมของอุปกรณ์ และความพร้อมของตัวผู้ถ่ายภาพเอง

          เทคนิคการถ่ายภาพแคนดิด คือ การจับจังหวะดีๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้เพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้น ระบบหรือค่าต่างๆ บนตัวกล้องจึงต้องถูกเตรียมพร้อมไว้แล้ว เพื่อให้เราเหลือเพียงแค่การยกขึ้นมาแล้วสั่นชัดเตอร์ให้ทัน สิ่งสำคัญลำดับแรกก็คือ เรื่องของค่าแสงที่พอดี ก็คือเราต้องวัดแสงด้วยการเลือกช่องรับแสงและความไวชัตเตอร์ที่เหมาสมไว้แล้ว

          ในส่วนนี้นักถ่ายภาพบางท่านอาจแนะนำให้ใช้ระบบบันทึกภาพแบบโปรแกรม (P) เพราะกล้องจะจัดการทุกอย่างให้ แต่บางบท่านก็แนะนำว่าควรใช้ระบบกึ่งอัตโนมัติอย่าง A หรือ Av เพราะสามารถกำหนดช่วงความชัดได้ตามต้องการด้วยช่องรับแสงที่เลือกเองได้

          แต่โดยส่วนตัวระบบที่ผมใช้เสมอ ๆ  ก็คือระบบบันทึกภาพแบบแมนนวล (M) ซึ่งอาจดูว่าชักช้าและเสียเวลากว่าระบบอื่นๆ แต่ถ้าเราวัดแสงล่วงหน้าไว้ก่อน (เพราะรู้อยู่แล้วว่าสิ่งที่จะถ่ายคืออะไร อยู่ตรงไหน) ปัญหานี้ก็จะหมดไปอย่างสิ้นเชิง (ถ้าสภาพแสงไม่เปลี่ยนแปลงไปหรือสิ่งที่จะถ่ายเปลี่ยนไปอยู่ในตำแหน่งอื่นๆ ที่เป็นคนล่ะสภาพแสงกัน) และผมคิดว่าระบบแมนนวลจะเร็วกว่า P หรือ Av ด้วยซ้ำไป

          ต้องไม่ลืมว่า ถ้าเราใช้ระบบบันทึกภาพแบบ P หรือ Av แม้กล้องจะวัดแสงและเลือกค่าต่างๆ ให้แล้ว แต่ยังต้องชดเชยแสงช่วยด้วยเกือบทุกครั้งทุกภาพ เช่นกัน ผิดกับระบบแมนนวลที่ถ้าเราวัดแสงและชดเชยแสงไว้เรียบร้อย ก็จะไม่ต้องมาปรับอะไรอีกเลย

          โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับท่านที่ถ่ายภาพด้วยไฟล์แบบ JPEG เรื่องวัดแสงเป็นสิ่งที่พลาดไม่ได้เลยหรือถึงแม้จะตั้งถ่ายเป็นไฟล์ RAW ก็ตาม ก็ควรจะถ่ายภาพให้มีค่าแสงที่ถูกต้องไว้ก่อน เพราะถ้ามันผิดเพี้ยนไปมาก ถึงจะแก้กลับมาได้ก็อาจได้ภาพที่มีคุณภาพไม่ดีนัก

          แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละคนด้วยนะครับ ลองดูด้วยตัวคุณเองก่อนว่าแต่ละระบบมันเป็นอย่างไร แบบไหนที่เราใช้แล้วคล่องตัวมากที่สุดก็เลือกใช้อันนั้นล่ะครับ

          ย้ำอีกครั้งว่าถ้าลำพังตอนนี้คุณยังสนุกสนานอยู่กับการถ่ายภาพเพียงเพื่อจรรโลงใจยามว่างก็อย่าไปสนอะไรกับกฎเกณฑ์ให้มากมายนัก (ประเดี๋ยวจะหมดสนุก) เพราะไอ้ที่มันควรเป็นธรรมชาติทั้งจากตัวคุณและซับเจกต์มันก็จะไม่เป็นธรรมชาติน่ะซี.. หรือที่เขาเรียกว่า Fake up candid นั่นเอง

          ขออภัยไว้ตรงนี้.. หากบทความชิ้นนี้ไม่ได้ให้ความรู้หรือข้อแนะนำในเชิงเทคนิคใดๆ สำหรับการถ่ายภาพแนวแคนดิดต่อผู้อ่านตามธีม (Theme) ประจำฉบับเลย เข้าใจว่านักเขียน-นักถ่ายภาพสมทบท่านอื่นๆ คงได้สมนาคุณท่านทั้งหลายกันอิ่มหนำสำราญพอสมควรแล้ว

          ทว่าหากสังเกต.. สิ่งที่ผมมักสื่อสารกับกับชาว Fi อยู่เสมอคือ "กระบวนการสร้างแนวคิดในการถ่ายภาพ" ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาตัวเองให้ไปได้ไกลยิ่งขึ้นบนถนนสายที่ท่านทั้งหลายเลือกให้กับตัวเอง ด้วยเชื่อว่าประเด็นความรู้เกี่ยวกับเทคนิค อุปกรณ์ ตลอดจน เทคโนโลยีต่างๆ ทางการถ่ายภาพนั้น ท่านสามารถเสพหาบรรเทาความสงสัยได้อย่างมากมายอยู่แล้ว บนโลกอินเตอร์เนตและนิตยสารเล่มนี้ จึงถือโอกาสนี้ตอกย้ำทำความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับกระบวนการสร้างแนวคิดอีกสักครั้งครับ


  คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อน ๆ ได้ที่นี่ค่ะ


อ่านรายละเอียดทั้งหมดจาก




เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เทคนิคการถ่ายภาพทีเผลอ CANDID อัปเดตล่าสุด 28 เมษายน 2553 เวลา 17:06:55 35,238 อ่าน
TOP