วันสิ่งแวดล้อมไทย ตรงกับวันที่ 4 ธันวาคม ของทุกปี มาดูประวัติ และความเป็นมาของวันสิ่งแวดล้อมไทย ที่เราควรตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ วันนี้เรามีข้อมูลดี ๆ มาฝากกัน
ประวัติวันสิ่งแวดล้อมไทย
จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่แสดงให้เห็นถึงความห่วงใยต่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ประชาชนชาวไทยต้องพบเจอ จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นในการเคลื่อนไหวของทุกฝ่าย ทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ที่หันมาร่วมมือกันริเริ่มโครงการอนุรักษ์เพื่อพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ในรูปแบบการจัดตั้งองค์กร มูลนิธิ ชมรม และสมาคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินงานการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงเป็นการปลูกจิตสำนึกของประชาชนให้มีจิตสำนึกในการเห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ
จากนั้น เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2534 ในการประชุมของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบ กำหนดให้วันที่ 4 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันสิ่งแวดล้อมไทย ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม เสนอ โดยมุ่งหวังให้วันสิ่งแวดล้อมไทย เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นเตือนให้ประชาชนทุกภาคส่วนตระหนักว่าทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งจะต้องอาศัยความร่วมมือในการปกป้องและรักษาให้ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศคงความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืนตลอดไป
กระทั่งในเวลาต่อมา เมื่อถึงวันที่ 4 ธันวาคม ของทุกปี กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ในฐานะที่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบการส่งเสริม เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ ความสำคัญของวันสิ่งแวดล้อมไทย ก็จะมีการประสานกับหน่วยงาน หรือองค์กรพัฒนาต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรมรณรงค์ เช่น การจัดนิทรรศการ การเสวนาและเปลี่ยนความคิดเห็น การประกวดภาพวาด และโครงการอื่น ๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เป็นเช่นนี้ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
จากนั้น เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2534 ในการประชุมของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบ กำหนดให้วันที่ 4 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันสิ่งแวดล้อมไทย ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม เสนอ โดยมุ่งหวังให้วันสิ่งแวดล้อมไทย เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นเตือนให้ประชาชนทุกภาคส่วนตระหนักว่าทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งจะต้องอาศัยความร่วมมือในการปกป้องและรักษาให้ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศคงความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืนตลอดไป
กระทั่งในเวลาต่อมา เมื่อถึงวันที่ 4 ธันวาคม ของทุกปี กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ในฐานะที่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบการส่งเสริม เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ ความสำคัญของวันสิ่งแวดล้อมไทย ก็จะมีการประสานกับหน่วยงาน หรือองค์กรพัฒนาต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรมรณรงค์ เช่น การจัดนิทรรศการ การเสวนาและเปลี่ยนความคิดเห็น การประกวดภาพวาด และโครงการอื่น ๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เป็นเช่นนี้ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ปัญหาสิ่งแวดล้อม
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมได้เกิดขึ้นแทบทุกพื้นที่ทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศอุตสาหกรรม หรือประเทศที่มีการพัฒนาของเทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง รวมถึงจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แน่นอนว่าหากพื้นที่ใดมีประชากรอยู่อย่างหนาแน่น ย่อมต้องมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดเสื่อมโทรมลง หรือหมดไปอย่างรวดเร็ว
ด้วยสายพระเนตรอันกว้างไกลที่เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2532 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงได้มีพระราชดำรัสพระราชทานแก่บุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพร เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ใจความตอนหนึ่งกล่าวถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการบริหารจัดการน้ำ ดังนี้...
"วันก่อนนี้เราพูดถึงปัญหาว่า เมืองไทยนี้อีกหน่อยจะแห้ง ไม่มีน้ำเหลือ จะต้องไปซื้อน้ำจากต่างประเทศ ซึ่งก็อาจเป็นได้ แต่เชื่อว่าจะไม่เป็นอย่างนั้น เพราะว่าถ้าคำนวณดูน้ำในประเทศไทยที่ไหลเวียนนั้นยังมีอยู่ เพียงแต่ต้องบริหารให้ดี ถ้าบริหารให้ดีแล้วมีเหลือเฟือ มีตัวเลขแล้ว แต่ว่ายังไม่ได้ไปแยกแยะตัวเลข เหมือนที่ได้แยกแยะตัวเลขของคาร์บอน น้ำนั้นน่ะในโลกมีมากแล้ว ที่ใช้จริง ๆ มันเป็นเศษหนึ่งส่วนหมื่นของน้ำที่มีอยู่ อาจไม่ถึง ก็ต้องบริหารให้ดีเท่านั้นเอง เดี๋ยวนี้ก็มีปัญหาเกี่ยวกับน้ำ น้ำนี้จะต้องใช้ให้ดี คือ น้ำนั้นมีคุณอย่างที่เราใช้สำหรับบริโภค น้ำสำหรับการเกษตร น้ำสำหรับอุตสาหกรรม ทั้งหมดนี้ต้องใช้น้ำที่ดี หมายความว่า น้ำที่สะอาด
น้ำมีมากในโลก เป็นน้ำทะเลส่วนใหญ่ ซึ่งจะใช้อย่างนี้ไม่ได้แล้ว นอกจากนั้นเดี๋ยวนี้ที่กำลังมีมากขึ้นก็คือ น้ำเน่า จะต้องป้องกันไม่ให้มีน้ำเน่า น้ำเน่าจะมีอยู่เสมอ แต่อย่าให้น้ำเน่านั้นเป็นโทษมากเกินไป ฉะนั้นนี่เป็นอีกโครงการหนึ่งที่เราจะต้องปฏิบัติ แล้วก็ถ้าไม่จัดการโดยเร็วเราจะนอนอยู่ในน้ำเน่า น้ำดีจะไม่มีใช้ แม้จะไปซื้อน้ำจากต่างประเทศมาก็กลายเป็นน้ำเน่าหมด เพราะว่าเอามาใช้โดยไม่ได้ระมัดระวัง
ถ้าเรามีน้ำแล้วมาใช้อย่างระมัดระวังข้อหนึ่ง และควบคุมน้ำที่เสียอย่างดีอีกข้อหนึ่ง ก็อยู่ได้ เพราะว่าภูมิประเทศของประเทศไทย "ยังให้" ใช้คำว่า "ยังให้" ก็หมายความว่า ยังเหมาะแก่การอยู่กินในประเทศนี้ ไม่ใช่ไม่เหมาะ ประเทศไทยนี้เป็นที่ที่เหมาะมากในการตั้งถิ่นฐาน แต่ว่าต้องรักษาเอาไว้ ไม่ทำให้ประเทศไทยซึ่งเป็นสวนเป็นนากลายเป็นทะเลทราย ก็ป้องกันได้ ทำได้"