อาจารย์หมอ คณะแพทย์ รพ.รามาฯ ชี้กรณีแพร่ข่าว ชานมไข่มุกตันลำไส้ ไม่ใช่ความจริง ไข่มุกย่อยตั้งแต่ลำไส้เล็กแล้ว ที่เห็นอาจจะเป็นอุจจาระ
ภาพจาก เฟซบุ๊ก รามาแชนแนล Rama Channel
ล่าสุด รามาแชนแนล Rama Channel โดย อ.นพ.นรินทร์ อจละนันท์ สาขาวิชาโรคทางเดินอาหารและตับ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ออกมาเผยถึงเรื่องนี้ว่า จากที่ดูในภาพในหนังสือพิมพ์ และคิดว่า ภาพที่เห็นนั้นอาจจะไม่ใช่ของจริง เนื่องจาก
1. ชานมไข่มุก ตัวไข่มุกคือแป้ง แต่ภาพเอกซเรย์เป็นสีขาว ซึ่งหากภาพเอกซเรย์จะเป็นสีขาว ต้องเป็นสิ่งที่มีความแข็งพอสมควร เช่น กระดูก โลหะ หรืออุจจาระที่อัดแน่น
ภาพจาก เฟซบุ๊ก รามาแชนแนล Rama Channel
ภาพจาก เฟซบุ๊ก รามาแชนแนล Rama Channel
จากกรณีที่มีการนำเสนอข่าว เรื่องเด็กหญิงชาวจีนคนหนึ่ง ที่ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล และเมื่อหมอทำซีทีสแกนแล้วพบว่า มีไข่มุกจากชานมไข่มุก อัดแน่นอยู่เต็มท้อง (อ่านเพิ่มเติม หนูน้อยปวดท้องถูกหามส่ง รพ. หมอผงะ พบไข่มุกอัดแน่นเต็มท้องหลายร้อยเม็ด)
ภาพจาก sinchew.com
1. ชานมไข่มุก ตัวไข่มุกคือแป้ง แต่ภาพเอกซเรย์เป็นสีขาว ซึ่งหากภาพเอกซเรย์จะเป็นสีขาว ต้องเป็นสิ่งที่มีความแข็งพอสมควร เช่น กระดูก โลหะ หรืออุจจาระที่อัดแน่น
2. เม็ดไข่มุกที่ทำจากแป้งมันสำปะหลัง จะทำการย่อยตั้งแต่ลำไส้เล็ก จึงไม่มีเหตุที่จะเห็นไข่มุกในฟิล์มเอกซเรย์ในลำไส้ใหญ่
ดังนั้น ภาพที่เห็นน่าจะเป็นอุจจาระที่อัดแน่น ไข่มุกไม่ทำให้อุดตันในลำไส้ได้ ยกเว้นผู้ที่ทานมีโรคผิดปกติอยู่ เช่น ลำไส้เล็กตีบ จากพังผิด จากแผล มีก้อนที่กดลำไส้ หากเม็ดชานมไข่มุกธรรมดา อุดตันไม่ได้ แต่หากสิ่งที่ใช้ทำไข่มุกไม่ใช่แป้ง เช่น พลาสติก อาจจะทำให้เกิดการอุดตันได้