สื่อนอกแฉ กาแฟแบรนด์ดัง ไม่จ่ายเงินให้กับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ 3 ปี รวมเป็นเงินราว 7 ล้านบาท ทำเกษตรกรต้องไปกู้เงินจนหนี้ท่วมหัว ด้านผู้บริหารยอมรับผิด ยืนยันจะทยอยจ่ายคืนให้ครบ
ภาพจาก doichaangcoffee
โดยล่าสุด (23 กุมภาพันธ์ 2563) บริษัท ดอยช้าง คอฟฟี่ ออริจินอล จำกัด (กาแฟดอยช้าง) ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงเรื่องดังกล่าว ยืนยันว่า มีการช่วยเหลือเกษตรกรมาโดยตลอด เพื่อไม่ให้ถูกกดราคากาแฟเหมือนเมื่อสิบกว่าปีก่อนอีกครั้ง
อ่านเพิ่มเติม : กาแฟดอยช้าง แถลงการณ์ชี้แจง หลังถูกตีข่าวไม่จ่ายเงินให้ผู้ปลูกกาแฟ 7 ล้าน
ภาพจาก doichaangcoffee
เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 เว็บไซต์นิวทรัสต์ รายงานว่า มูลนิธิธอมสัน รอยเตอร์ส (Thomson Reuters Foundation) สืบสวนพบว่า บริษัท ดอยช้าง คอฟฟี่ ออริจินอล จำกัด (Doi Chaang Coffee Original Co., Ltd.) แบรนด์กาแฟชื่อดังของไทย ไม่จ่ายเงินให้ผู้ปลูกกาแฟกว่า 200 คน เป็นระยะเวลาเกือบ 3 ปี ส่งผลให้พวกเขาขาดรายได้และจำเป็นต้องไปกู้หนี้ยืมสิน โดยทางกาแฟดอยช้างได้ออกมายอมรับว่ากระทำการดังกล่าวจริง และยืนยันว่าจะชดเชยเงินคืนให้กับทุกคน
ดอยช้าง ก่อตั้งขึ้นในปี 2546 ปัจจุบันมีร้านกาแฟมากกว่า 50 สาขา ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กาแฟดอยช้าง ระบุว่า บริษัทมีนโยบายให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ควบคู่ไปกับการแสวงหาผลกำไร รวมทั้งให้ราคาที่เป็นธรรมกับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ แต่กลับมีปัญหาเกิดขึ้น
ทีมงาน Thomson Reuters Foundation ได้เดินทางลงพื้นที่พูดคุยกับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ 20 คน จาก 3 หมู่บ้าน ในพื้นที่ จ.เชียงราย เกษตรกรเหล่านี้ปลูกกาแฟให้กับดอยช้าง แต่กลับไม่ได้รับผลตอบแทน โดยตั้งแต่ปี 2560 ทางบริษัทไม่ได้จ่ายเงินค่าปลูกกาแฟให้เกษตรกร ซึ่งเงินที่ค้างจ่ายให้กับเกษตรกรแต่ละราย มีตั้งแต่ 2,000 บาท ไปจนถึง 230,000 บาท
ดอยช้าง ก่อตั้งขึ้นในปี 2546 ปัจจุบันมีร้านกาแฟมากกว่า 50 สาขา ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กาแฟดอยช้าง ระบุว่า บริษัทมีนโยบายให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ควบคู่ไปกับการแสวงหาผลกำไร รวมทั้งให้ราคาที่เป็นธรรมกับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ แต่กลับมีปัญหาเกิดขึ้น
ทีมงาน Thomson Reuters Foundation ได้เดินทางลงพื้นที่พูดคุยกับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ 20 คน จาก 3 หมู่บ้าน ในพื้นที่ จ.เชียงราย เกษตรกรเหล่านี้ปลูกกาแฟให้กับดอยช้าง แต่กลับไม่ได้รับผลตอบแทน โดยตั้งแต่ปี 2560 ทางบริษัทไม่ได้จ่ายเงินค่าปลูกกาแฟให้เกษตรกร ซึ่งเงินที่ค้างจ่ายให้กับเกษตรกรแต่ละราย มีตั้งแต่ 2,000 บาท ไปจนถึง 230,000 บาท
ผู้ปลูกกาแฟรายหนึ่งเล่าว่า ดอยช้างไม่ได้จ่ายเงิน 50,000 บาท ให้กับเขา ส่งผลให้เขาจำต้องไปกู้ยืมเงินจากธนาคารและกองทุนเงินหมู่บ้าน เพื่อซื้อปุ๋ยกับยาฆ่าแมลง จนปัจจุบันเขาเป็นหนี้มากกว่า 300,000 บาท นอกจากนี้แล้ว ผู้ปลูกกาแฟอีกหลายคนที่ไม่ได้รับเงิน ต่างก็เครียดไปตาม ๆ กัน กลัวว่าจะไม่มีเงินมาใช้หนี้ธนาคาร กองทุนหมู่บ้าน รวมทั้งหนี้นอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงมาก
เบ็ตตี้ โยลันดา ผู้อำนวยการศูนย์ธุรกิจและสิทธิมนุษยชนประจำทวีปเอเชีย ให้ความเห็นว่า เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟที่ไม่มีรายได้ จะไม่มีเงินหมุนเวียนในการใช้จ่าย ซึ่งนำไปสู่การเป็นหนี้ก้อนโต ผู้ซื้อกาแฟรายอื่นอาจแสวงหาผลประโยชน์จากเกษตรกรเหล่านี้ และควบคุมไม่ให้พวกเขาขยับตัวไปไหนได้ เพราะติดอยู่กับกับดักหนี้ ที่วนเวียนไม่ไปไหน
ขณะที่ นายสมบูรณ์ ตรัยศิลานันท์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการและรองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า การตรวจสอบภาคการเกษตรเป็นเรื่องยากมากกว่าการตรวจสอบภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากเป็นภาคการผลิตที่มีขนาดใหญ่ ดังนั้น การให้เจ้าหน้าที่ลงไปตรวจสอบในทุกไร่ทุกแปลงจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้
แต่อย่างไรก็ตาม ทางหน่วยงานมีตัวชี้วัดที่สำคัญในเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์ รวมทั้งแรงงานทุกคนมีสิทธิและได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานอยู่แล้ว
ด้าน นายปณชัย พิสัยเลิศ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดอยช้าง คอฟฟี่ ออริจินอล จำกัด ยอมรับว่า ไม่ได้จ่ายเงินให้เกษตรกรจริง โดยก่อนหน้านี้ทางบริษัทเคยจ่ายเงินให้กับผู้ปลูกกาแฟภายในระยะเวลา 4 วัน ทว่าในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา เศรษฐกิจย่ำแย่ลงมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อยอดขายของกาแฟดอยช้าง
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทางดอยช้างยืนยันว่าจะจ่ายเงินที่ค้างชำระ รวมประมาณ 7 ล้านบาท ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟทุกราย และคาดว่าน่าจะทยอยจ่ายได้ครบทุกคน ภายในเดือนมิถุนายน 2563
เบ็ตตี้ โยลันดา ผู้อำนวยการศูนย์ธุรกิจและสิทธิมนุษยชนประจำทวีปเอเชีย ให้ความเห็นว่า เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟที่ไม่มีรายได้ จะไม่มีเงินหมุนเวียนในการใช้จ่าย ซึ่งนำไปสู่การเป็นหนี้ก้อนโต ผู้ซื้อกาแฟรายอื่นอาจแสวงหาผลประโยชน์จากเกษตรกรเหล่านี้ และควบคุมไม่ให้พวกเขาขยับตัวไปไหนได้ เพราะติดอยู่กับกับดักหนี้ ที่วนเวียนไม่ไปไหน
ขณะที่ นายสมบูรณ์ ตรัยศิลานันท์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการและรองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า การตรวจสอบภาคการเกษตรเป็นเรื่องยากมากกว่าการตรวจสอบภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากเป็นภาคการผลิตที่มีขนาดใหญ่ ดังนั้น การให้เจ้าหน้าที่ลงไปตรวจสอบในทุกไร่ทุกแปลงจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
แต่อย่างไรก็ตาม ทางหน่วยงานมีตัวชี้วัดที่สำคัญในเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์ รวมทั้งแรงงานทุกคนมีสิทธิและได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานอยู่แล้ว
ด้าน นายปณชัย พิสัยเลิศ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดอยช้าง คอฟฟี่ ออริจินอล จำกัด ยอมรับว่า ไม่ได้จ่ายเงินให้เกษตรกรจริง โดยก่อนหน้านี้ทางบริษัทเคยจ่ายเงินให้กับผู้ปลูกกาแฟภายในระยะเวลา 4 วัน ทว่าในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา เศรษฐกิจย่ำแย่ลงมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อยอดขายของกาแฟดอยช้าง
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทางดอยช้างยืนยันว่าจะจ่ายเงินที่ค้างชำระ รวมประมาณ 7 ล้านบาท ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟทุกราย และคาดว่าน่าจะทยอยจ่ายได้ครบทุกคน ภายในเดือนมิถุนายน 2563
โดยล่าสุด (23 กุมภาพันธ์ 2563) บริษัท ดอยช้าง คอฟฟี่ ออริจินอล จำกัด (กาแฟดอยช้าง) ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงเรื่องดังกล่าว ยืนยันว่า มีการช่วยเหลือเกษตรกรมาโดยตลอด เพื่อไม่ให้ถูกกดราคากาแฟเหมือนเมื่อสิบกว่าปีก่อนอีกครั้ง
อ่านเพิ่มเติม : กาแฟดอยช้าง แถลงการณ์ชี้แจง หลังถูกตีข่าวไม่จ่ายเงินให้ผู้ปลูกกาแฟ 7 ล้าน