
ภัยพิบัติทางธรรมชาติ สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดคิด แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินของเรา ไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม ไฟไหม้ แผ่นดินไหว หรือสึนามิ การมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเอาตัวรอด และเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะเมื่อภัยมา เราจะสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ลดความเสี่ยง และเพิ่มโอกาสรอดชีวิตทั้งของตัวเองและคนรอบข้าง รวมถึงช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย
ในบทความนี้เราได้รวบรวมแนวทางเตรียมความพร้อมก่อนเกิดเหตุ และวิธีเอาตัวรอดเมื่ออยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พร้อมทั้งวิธีเตรียมอุปกรณ์จำเป็น การตัดสินใจในช่วงวิกฤต และขั้นตอนปฏิบัติหลังเหตุการณ์ผ่านพ้นไป เพราะเมื่อถึงเวลาคับขัน การมีสติและความรู้คือกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้รอดพ้นจากอันตราย เพื่อรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้อย่างมั่นใจคู่มือเอาตัวรอด
จาก 7 ภัยพิบัติธรรมชาติ
1. แผ่นดินไหว

แผ่นดินไหว เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน ไม่สามารถแจ้งเตือนล่วงหน้าได้ เราจึงควรเตรียมพร้อมรับมือโดยดูแลจัดการบ้านให้เรียบร้อย ปลอดภัย เพื่อป้องกันความเสียหายก่อนเกิดแผ่นดินไหว ดังนี้
นอกจากนี้เราก็ควรศึกษาวิธีเอาตัวรอดจากแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยเตรียมตัวให้พร้อมทั้งก่อนเกิดแผ่นดินไหว เช่น จัดเตรียมกระเป๋าฉุกเฉิน วางแผนเรื่องจุดนัดหมาย รวมถึงเรียนรู้ว่าขณะเกิดแผ่นดินไหวควรปฏิบัติตัวอย่างไร และหลังแผ่นดินไหวสงบลงแล้วต้องทำอย่างไร ลองมาศึกษาวิธีเอาตัวรอดจากแผ่นดินไหวได้จากเนื้อหาด้านล่างนี้กันค่ะ
2. ไฟไหม้

ไฟไหม้ เป็นอุบัติเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นในบ้าน ที่ทำงาน หรืออาคารสาธารณะ อีกทั้งความร้อน เปลวไฟ และควันพิษ ยังสามารถแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ทำให้การตัดสินใจในเสี้ยววินาทีมีผลต่อการเอาชีวิตรอด เราจึงควรเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิต ดังนี้
วิธีเอาตัวรอดจากไฟไหม้ เตรียมตัวไว อพยพทัน ปลอดภัยจากเหตุร้าย
แต่ถ้าใครติดอยู่ในไฟไหม้อาคารสูง การอพยพออกจากอาคารอาจทำได้ยากกว่าปกติ เพราะเส้นทางหนีไฟอาจถูกปิดกั้น ลิฟต์ใช้งานไม่ได้ หรืออาคารอาจเกิดความเสียหายพังถล่ม การรู้วิธีเอาตัวรอดจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เช่น แผนหนีไฟเป็นอย่างไร ? ทำไมจึงไม่ควรใช้ลิฟต์ ? ลองอ่านวิธีป้องกันและเอาตัวรอดเมื่อเกิดไฟไหม้ในตึกสูง พร้อมทั้งแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิตจากเนื้อหาด้านล่างได้เลยค่ะ
หรือในกรณีเกิดไฟไหม้รถยนต์ ไม่ว่าจะมาจากระบบไฟฟ้าลัดวงจร การรั่วไหลของน้ำมันเชื้อเพลิง หรืออุบัติเหตุบนท้องถนน เมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้ว เปลวไฟและควันพิษสามารถลุกลามได้อย่างรวดเร็ว สิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องรีบออกจากรถให้เร็วที่สุด จากนั้นให้รีบโทรศัพท์แจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายโดยเร็ว ตามคำแนะนำต่อไปนี้
3. น้ำท่วม

น้ำท่วม เป็นปัญหาที่ประเทศไทยต้องเผชิญแทบทุกปี ส่งผลให้คนจำนวนมากประสบกับความยากลำบาก ทั้งการอพยพออกจากพื้นที่ อันตรายจากกระแสน้ำที่เชี่ยวกราก โรคภัยที่มากับน้ำ รวมถึงผลกระทบต่อการดำรงชีวิตในระยะยาว เมื่อภัยธรรมชาติเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่เราทำได้คือ การเตรียมพร้อมและรู้วิธีเอาตัวรอดจากอุทกภัย ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันตัวล่วงหน้า การตัดสินใจขณะเกิดเหตุ และการฟื้นฟูหลังน้ำลด โดยคนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง หรือเมื่อมีข่าวว่า น้ำกำลังมา ควรเตรียมตัว เตรียมของใช้จำเป็นในยามฉุกเฉิน ดังนี้
เมื่อน้ำเริ่มท่วมบ้านและพื้นที่โดยรอบ เราควรทำอย่างไร ? หลายครั้งน้ำท่วมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้มีเวลาตัดสินใจและเตรียมตัวเพียงเล็กน้อย หากไม่มีแผนรับมือที่ดี อาจเสี่ยงต่อการสูญเสียทั้งชีวิต ทรัพย์สิน และความปลอดภัยของครอบครัว เนื้อหาด้านล่างจะเป็นแนวทางในการรับมือน้ำท่วม ไม่ว่าจะเป็นการดูแลความปลอดภัยของตัวเองและคนรอบข้าง การปกป้องบ้านและทรัพย์สิน รวมถึงการเตรียมความพร้อมเมื่อต้องอพยพออกจากพื้นที่เสี่ยง เพราะเมื่อภัยมา สิ่งสำคัญที่สุดคือการตัดสินใจที่ถูกต้องและรวดเร็ว เพื่อความปลอดภัยของทุกคน
กรณีที่เกิดน้ำท่วมรถ เราควรขับรถลุยน้ำไหม มีสิ่งไหนที่ควรทำหรือไม่ควรทำบ้าง ลองศึกษาข้อมูลจากบทความต่อไปนี้
4. ดินถล่ม

ดินถล่ม เป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและรุนแรง โดยเฉพาะในพื้นที่ภูเขา ที่ลาดเชิงเขาที่มีทางน้ำไหลผ่าน หรือบริเวณที่มีฝนตกหนักต่อเนื่อง เพราะดินที่อุ้มน้ำมากเกินไปอาจสูญเสียความมั่นคงและพังถล่มลงมา ส่งผลให้บ้านเรือน ถนน และพื้นที่การเกษตร ได้รับความเสียหายอย่างหนัก อันตรายจากดินถล่มจึงไม่ใช่แค่แรงกระแทกของดินที่เคลื่อนตัวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงน้ำป่า โคลนถล่ม และเศษซากที่พัดพามาด้วย
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้แนะนำวิธีเอาตัวรอดจากดินถล่มไว้เป็นแนวทาง ดังนี้
-
รีบอพยพออกจากพื้นที่ทันที แล้วไปยังสถานที่ปลอดภัยพ้นจากแนวทางไหลของดิน
-
หลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีกระแสน้ำไหลเชี่ยว หรือในกรณีจำเป็นควรใช้เชือกผูกลำตัวยึดติดกับหลักที่มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกระแสน้ำเชี่ยวพัดจมน้ำ
-
ไม่กลับเข้าไปในบริเวณที่เกิดดินถล่ม หลีกเลี่ยงอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่อาจพังทับลงมาได้
-
ในกรณีพลัดตกน้ำให้หาที่ยึดเกาะและปีนให้พ้นน้ำ ห้ามว่ายน้ำหนี เพราะอาจถูกต้นไม้หรือหินกระแทกใส่ได้
สำหรับคนที่ต้องขับรถไปในเส้นทางที่มีความเสี่ยงจะเกิดดินถล่ม ควรปฏิบัติตัวดังนี้
-
ติดตามพยากรณ์อากาศอย่างใกล้ชิด รวมถึงตรวจสอบสภาพเส้นทาง และเพิ่มความระมัดระวังในการขับรถให้มากขึ้น
-
สังเกตความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า เช่น ระดับน้ำในร่องน้ำ ร่องรอยดินสไลด์ตามไหล่ทาง ต้นไม้ เสาไฟ หรือก้อนหินเอียงผิดปกติ หรือเสียงดินเคลื่อนตัวหรือเสียงแตกของพื้นดิน
-
หากพบเส้นทางที่ดินถล่มให้หยุดรถในบริเวณที่ปลอดภัย และโทรศัพท์แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความช่วยเหลือทันที
5. พายุฤดูร้อน

พายุฤดูร้อน เป็นภัยธรรมชาติที่มาพร้อมกับลมกระโชกแรง ฝนตกหนัก ฟ้าผ่า และลูกเห็บ ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายต่อบ้านเรือน ต้นไม้ สายไฟ และยานพาหนะได้อย่างรุนแรง แม้ว่าพายุจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ผลกระทบอาจกินเวลานานและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
คุณพร้อมรับมือกับพายุฤดูร้อนหรือยัง ? หากพายุพัดมาในขณะที่อยู่กลางแจ้ง หรืออยู่ในบ้านที่ไม่มั่นคง คุณรู้วิธีป้องกันตัวเองอย่างถูกต้องหรือไม่ ? ลองดูวิธีเตรียมตัวก่อนพายุมา วิธีเอาตัวรอดระหว่างเกิดพายุ และแนวทางปฏิบัติหลังพายุสงบ เพื่อสามารถรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างปลอดภัย จากบทความด้านล่างได้เลยค่ะ
6. ฟ้าผ่า

ฟ้าผ่า มักมาพร้อมกับพลังงานมหาศาลที่สามารถสร้างความเสียหายร้ายแรงให้กับสิ่งปลูกสร้าง และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้หากถูกฟ้าผ่าโดยตรงหรืออยู่ใกล้บริเวณที่เกิดฟ้าผ่า ดังนั้น การรู้วิธีป้องกันและวิธีเอาตัวรอดจากฟ้าผ่าจึงเป็นสิ่งสำคัญ ดังนี้
7. สึนามิ

สึนามิ เป็นหนึ่งในภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงและสร้างความเสียหายอย่างมหาศาล โดยเกิดจากแผ่นดินไหวใต้ทะเล ภูเขาไฟระเบิด หรือดินถล่มใต้มหาสมุทร ทำให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าฝั่งด้วยความเร็วสูง การเกิดสึนามิอาจใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีหลังจากแผ่นดินไหว ผู้คนจึงมีเวลาหลบหนีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แม้สึนามิจะเป็นอุบัติภัยที่เกิดขึ้นไม่บ่อย แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะนำมาซึ่งความรุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิต อย่างไรก็ตาม การเตรียมตัวที่ดีเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการเพิ่มโอกาสรอดชีวิตจากคลื่นยักษ์สึนามิ
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้แนะนำวิธีเอาตัวรอดจากสึนามิอย่างปลอดภัย ไว้ดังนี้
การเตรียมพร้อมก่อนเกิดสึนามิ
-
ศึกษาเกี่ยวกับพื้นที่นั้น ๆ ว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงหรือไม่ ? พื้นที่ปลอดภัยอยู่ตรงไหน ? รวมถึงเส้นทางหนีภัยสึนามิในชุมชน
-
จัดเตรียมกระเป๋าฉุกเฉินเท่าที่จำเป็น เช่น อาหาร น้ำ ยา ไฟฉาย เอกสารสำคัญต่าง ๆ
-
นัดแนะจุดอพยพหนีภัยตามแผนที่กำหนดไว้
-
ร่วมฝึกซ้อมแผนหนีภัยสึนามิกับชุมชน รวมถึงสร้างความคุ้นเคยกับป้ายสัญญาณเตือนภัยสึนามิ
-
หมั่นสังเกตการเตือนภัยล่วงหน้าจากธรรมชาติ เช่น การลดระดับของน้ำที่ลงมากผิดปกติ ให้สันนิษฐานว่าอาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ ควรรีบอพยพขึ้นที่สูงทันที
วิธีปฏิบัติตัวเมื่อเกิดสึนามิ
-
เมื่อรู้สึกว่ามีการสั่นไหวเกิดขึ้นขณะอยู่ในทะเลหรือบริเวณชายฝั่ง ให้ตั้งสติ ไม่ตื่นตระหนก และรีบออกจากบริเวณชายฝั่งไปยังบริเวณที่สูงหรือที่ดอนทันที เช่น อาคารสูงที่มั่นคงแข็งแรง ชั้น 4 ขึ้นไป
-
ในกรณีที่หนีไม่ทันให้ปีนขึ้นต้นไม้ให้สูงที่สุด หรือหากกำลังจะจมน้ำให้หาสิ่งที่ลอยน้ำได้และเกาะไว้ให้แน่น
-
ถ้าอยู่บนเรือที่ห่างจากชายฝั่งให้รีบนำเรือออกไปกลางทะเล เพราะคลื่นสึนามิที่อยู่ไกลชายฝั่งมาก ๆ จะมีขนาดเล็ก และอย่าเพิ่งรีบนำเรือกลับเข้าฝั่ง ให้รอจนสถานการณ์ปลอดภัยก่อน
-
สำหรับเรือขนาดเล็กให้รีบจอดเทียบท่าบริเวณชายฝั่ง แล้วรีบขึ้นฝั่งไปยังที่สูงโดยเร็ว
-
ถ้าอยู่ในอาคาร ที่พัก เช่น โรงเรียน โรงแรม หรือตึกสูง ให้ฟังคำเตือนและประกาศของชุมชน และปฏิบัติตามแผนอพยพหนีภัย
หลังเกิดสึนามิควรทำอย่างไร
-
ติดตามการเสนอข่าวของทางราชการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง และสังเกตสัญญาณเตือนภัยจากธรรมชาติ
-
คอยอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย เนื่องจากคลื่นสึนามิอาจเกิดขึ้นได้หลายระลอก แม้เวลาห่างกันหลายชั่วโมงจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งเดียว เนื่องจากมีการแกว่งไป-มาของน้ำทะเล จึงควรอยู่ห่างจากชายฝั่งและแม่น้ำ
-
อยู่ห่างจากอาคารที่ได้รับความเสียหาย เพราะแรงกระแทกของคลื่นสึนามิสามารถทำให้โครงสร้างอาคารบิดเบี้ยว มีโอกาสที่เศษวัสดุจะหล่นทับ หรืออาคารพังถล่มลงมาได้ทุกเมื่อ
-
ระวังเสาไฟฟ้า ต้นไม้ สิ่งกีดขวางต่าง ๆ ที่ถูกคลื่นซัดจนไม่มั่นคงอาจล้มครืนลงมา
-
ปฏิบัติตามคำแนะนำของหน่วยกู้ภัย ตำรวจ ทหาร และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้องกับวิธีเอาตัวรอด
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (1), (2), (3), กรมอุตุนิยมวิทยา