วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ 1 กรกฎาคม ของทุกปี วันสำคัญของไทย มาอ่านประวัติ ความสำคัญ และการกำหนดวันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติกันเลย
ประวัติวันลูกเสือโลก ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด
S : Sincerity หมายถึง ความจริงใจ มีน้ำใสใจจริงต่อกัน
C : Courtesy หมายถึง ความสุภาพอ่อนโยน เป็นผู้มีมารยาทดี
O : Obedience หมายถึง การเชื่อฟัง อ่อนน้อมถ่อมตน อยู่ในโอวาท
U : Unity หมายถึง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน รู้รักสามัคคี
T : Thrifty หมายถึง ความมัธยัสถ์ ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด
ลอร์ดบาเดน เพาเวลล์ บิดาแห่งลูกเสือโลก
ภาพจาก : Olga Popova/shutterstock.com
จุดเริ่มต้นของกิจการลูกเสือในประเทศไทย
กระทั่งอีก 2 เดือนถัดมา เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่ากิจการเสือป่าเจริญก้าวหน้ามั่นคงดีแล้ว พระองค์จึงมีพระบรมราชโองการจัดตั้งกองลูกเสือขึ้นในวันที่ 1 กรกฎาคม ซึ่งถือเป็นประเทศที่ 3 ของโลกที่จัดตั้งกองลูกเสือขึ้นต่อจากประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา โดยผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นลูกเสือไทยคนแรกคือ "นายชัพน์ บุนนาค"
จากนั้นนานาชาติในยุโรปจึงจัดตั้งกองลูกเสือของตนเองขึ้นบ้าง ทำให้ลูกเสือกลายเป็นองค์การสากล และมีความสัมพันธ์กันทั่วโลก โดยถือว่าลูกเสือทั่วโลกเป็นพี่น้องกันหมด
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งการลูกเสือไทย
ภาพจาก : vajirafoundation
ลูกเสือกองแรกของไทย
ลูกเสือกองแรกของไทยก่อตั้งขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง เรียกว่า "ลูกเสือกรุงเทพฯ ที่ 1" ก่อนที่จะขยายตัวไปจัดตั้งตามโรงเรียนและสถานที่ต่าง ๆ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานคติพจน์ เพื่อให้เด็กที่จะเข้าประจำการในกองลูกเสือได้ปฏิญาณตนว่า "เสียชีพอย่าเสียสัตย์"
ในสมัยนั้นกิจการลูกเสือไทยเลื่องลือไปยังนานาชาติว่า "พระเจ้าแผ่นดินสยามทรงใฝ่พระราชหฤทัยในกิจการลูกเสือเป็นอย่างยิ่ง" ถึงกับทำให้กองลูกเสือที่ 8 ของประเทศอังกฤษ ได้มีหนังสือขอพระราชทานนามลูกเสือกองนี้ว่า "กองลูกเสือในพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยาม" ซึ่งพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ตามความประสงค์ และลูกเสือกองนี้ได้ติดเครื่องหมายช้างเผือกที่แขนเสื้อทั้งสองข้าง ซึ่งยังปรากฏอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้
หลังจากทรงสถาปนากิจการลูกเสือขึ้นมาแล้ว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตราข้อบังคับลักษณะการปกครองลูกเสือ และตั้งสภากรรมการจัดการลูกเสือแห่งชาติขึ้น โดยพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งสภานายก ต่อมาทุกครั้งที่พระองค์เสด็จฯ ไปยังจังหวัดใดก็ตามก็จะโปรดเกล้าฯ ให้กระทำพิธีเข้าประจำกองลูกเสือประจำจังหวัดนั้น ๆ ให้ด้วย
ภาพจาก : Sunti / shutterstock.com
หลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้ทรงฟื้นฟูกิจการลูกเสืออีกครั้ง โดยในปี พ.ศ. 2470 พระองค์โปรดเกล้าฯ
ให้มีการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรกในบริเวณพระราชอุทยานสราญรมย์ และจัดให้อบรมลูกเสือหลายรุ่น กระทั่งรุ่นสุดท้ายในปี พ.ศ. 2475
ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้น
กิจการลูกเสือจึงได้รับการปรับปรุงใหม่ โดยรัฐบาลได้จัดตั้งหน่วยยุวชนทหาร
และรับเด็กที่เคยเป็นลูกเสือมาแล้วมาฝึกวิชาทหาร
ส่วนกิจการลูกเสือก็ขยายให้กว้างขวางขึ้น
โดยมีการจัดตั้งกองลูกเสือเหล่าเสนาและลูกเสือเหล่าสมุทรเสนาขึ้นเพื่อฝึกร่วมกับยุวชนทหาร ทำให้กิจการลูกเสือซบเซาลงบ้างในยุคนี้
ในปี พ.ศ. 2490 กิจการลูกเสือกลับมาฟื้นฟูอีกครั้ง
หลังจากทางราชการได้จัดชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ
และส่งเจ้าหน้าที่ในกองลูกเสือไปรับการฝึกอบรมวิชาลูกเสือตามมาตรฐานสากลและตามแบบนานาประเทศ กระทั่งมีพระราชบัญญัติลูกเสือบังคับใช้ โดยคณะกรรมการลูกเสือแห่งชาติเป็นผู้บริหาร
วัตถุประสงค์ของขบวนการลูกเสือได้รับการปรับปรุงและเน้นให้เห็นชัดเจนรัดกุมยิ่งขึ้น มีความว่า "คณะลูกเสือแห่งชาติมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย สติปัญญา
จิตใจ และศีลธรรม ให้เป็นพลเมืองดี
มีความรับผิดชอบ สร้างสรรค์สังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า
เพื่อความสุขและความมั่นคงของประเทศชาติ"
การกำหนดวันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ
โดยในวันนี้บรรดาลูกเสือไทยจะจัดกิจกรรมที่เป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน รวมทั้งนำพวงมาลาไปถวายบังคมที่พระบรมรูป สถานพระบรมราชานุสรณ์ และจัดให้มีการสวนสนามในโรงเรียน หรือสถานที่ต่าง ๆ เช่น สนามศุภชลาศัย หรือสนามกีฬาแห่งชาติ ที่ทุก ๆ ปีจะมีเหล่าลูกเสือจำนวนกว่าหมื่นคนมาร่วมเดินสวนสนาม เพื่อแสดงความเคารพและกล่าวทบทวนคำปฏิญาณต่อองค์พระประมุขคณะลูกเสือแห่งชาติ เพื่อประกาศความเป็นลูกเสืออย่างแท้จริง
ประเภทของลูกเสือไทย
- ลูกเสือสำรอง : อายุ 8-11 ขวบ เทียบชั้นเรียน ป.1-4 มีคติพจน์คือ ทำดีที่สุด (DO YOUR BEST)
- ลูกเสือสามัญ : อายุ 12-13 ปี เทียบชั้นเรียน ป.5-6 มีคติพจน์คือ จงเตรียมพร้อม (BE PREPARED)
- ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ : อายุ 15-17 ปี เทียบชั้นเรียน ม.1-3 มีคติพจน์คือ มองไกล (LOOK WIDE)
- ลูกเสือวิสามัญ : อายุ 17-23 ปี เทียบชั้นเรียน ม.4-6 มีคติพจน์คือ บริการ (SERVICE)
- ลูกเสือชาวบ้าน : อายุ 15-18 ปี มีคติพจน์คือ เสียชีพอย่าเสียสัตย์
- ส่วนผู้หญิงให้เรียกว่า "เนตรนารี" และแบ่งประเภทเหมือนลูกเสือ
คำปฏิญาณของลูกเสือ
"ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า
- ข้อ 1 ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
- ข้อ 2 ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
- ข้อ 3 ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ
ภาพจาก : chatgunner / shutterstock.com
กฎของลูกเสือ มีทั้งหมด 10 ข้อคือ
- ข้อ 1 ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้
- ข้อ 2 ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
- ข้อ 3 ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
- ข้อ 4 ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสือทั่วโลก
- ข้อ 5 ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย
- ข้อ 6 ลูกเสือมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์
- ข้อ 7 ลูกเสือเชื่อฟังคำสั่งของบิดามารดาและผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ
- ข้อ 8 ลูกเสือมีใจร่าเริงและไม่ย่อท้อต่อความลำบาก
- ข้อ 9 ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์
- ข้อ 10 ลูกเสือประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ
ราชสดุดีเพลงลูกเสือ
ข้าลูกเสือ เชื้อไทย ใจเคารพ
ขอน้อมนบ บาทบงสุ์ พระทรงศรี
พระบาท มงกุฎเกล้าฯ จอมเมาลี
ทรงปรานี ก่อเกื้อ ลูกเสือมา
ทรงอุตส่าห์ อบรม บ่มนิสัย
ให้มีใจ รักชาติ ศาสนา
ทรงสั่งสอน สรรพกิจ วิทยา
เป็นอาภา ผ่องพุทธ วุฒิไกร
ดังดวงจัน ทราทิตย์ ประสิทธิ์แสง
กระจ่างแจ้ง แจ่มภพ สบสมัย
พระคุณนี้ จะสถิต สนิทใน
ดวงหทัย ทวยราษฎร์ ไม่คลาดเอย