วังระแงะ
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ครอบครัวข่าว 3
ประวัติวังระแงะ เรือนเจ้าเมืองนราธิวาสอันทรงคุณค่า พังถล่ม หลังถูกทิ้งร้างมากว่า 30 ปี
กลายเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงอย่างมากในขณะนี้ สำหรับ "วังระแงะ" หรือ เรือนเจ้าเมืองระแงะ อาคารโบราณอันทรงคุณค่าของ จ.นราธิวาส ซึ่งเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2557 ที่ผ่านมา ก็เกิดเหตุไม่คาดฝัน เมื่อบริเวณหลังคาและตัวบ้านพังถล่มลงมา เนื่องจากสภาพทรุดโทรมอย่างหนักและถูกปล่อยทิ้งให้ร้างเป็นเวลานานหลายปี
อย่างไรก็ดี ล่าสุด (4 กันยายน 2557) รายการข่าว 3 มิติ ทางช่อง 3 ก็ได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบวังระแงะ โดยพบว่า วังระแงะสภาพทรุดโทรมมาก ไม้ที่เคยสวยงามกลับผุพังวางระเกะระกะเต็มไปหมด ซึ่งแทบจะไม่เหลือเค้าเลยว่าเคยเป็นวังของเจ้าเมืองระแงะมาก่อน ส่วนภายในนั้นยังคงเหลือร่องรอยประวัติศาสตร์ให้เห็นอยู่บ้าง
ทั้งนี้ทางจังหวัดนราธิวาสได้เข้าตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว พร้อมหารือเบื้องต้นโดยได้กำหนดแนวทางการดำเนินการไว้ 2 ทาง คือ
ทำการเคลียร์พื้นที่วัสดุหลังคาโครงสร้างไม้ต่าง ๆ ที่ถล่มพังลงมาไม่ให้เกิดอันตราย พร้อมแจ้งให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ได้รับรู้และอนุญาตด้วย
รวบรวมข้อมูลเพื่อเสนอให้กรมศิลปากรเข้ามาตรวจสอบอย่างละเอียด เพื่อประเมินสภาพและเชิญผู้มีความรู้ความสามารถ และผู้เชี่ยวชาญโดยตรงมาเข้าจัดการซ่อมแซม
โดยล่าสุดเจ้าของกรรมสิทธิ์และเจ้าของที่ดินรอบ ๆ รับทราบเรื่องและยินดีที่จะให้หน่วยงานเข้าไปบูรณะซ่อมแซมแล้ว ส่วนในเรื่องขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานนั้น หากผู้ครอบครองยินยอมก็จะทำเรื่องดำเนินการต่อไป แต่ทั้งนี้กรรมสิทธิ์ก็ยังคงเป็นเจ้าของที่ดินอยู่ เพียงแค่ต้องดูแลตามระเบียบของโบราณสถานเท่านั้น
สำหรับ ประวัติวังระแงะ นั้น เป็นอาคารเรือนไม้โบราณ ในอดีตเป็นวังของ ต่วนตือเงาะห์ ซำซุดดีน หรือ พระยาภูผาภักดี ศรีสุวรรณประเทศวิเศษวังสา เจ้าเมืองนราธิวาส คนสุดท้าย สมัยเป็นมณฑลรัฐปัตตานีถูกใช้เป็นที่ว่าราชการของเจ้าเมืองตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 อายุตอนนี้ก็ร่วม 100 กว่าปีแล้ว
สถาปัตยกรรมเรือนไม้โบราณ "วังระแงะ" เป็นสิ่งที่ทรงคุณค่าและเต็มไปด้วยข้อมูลที่ควรค่าแก่การศึกษาอย่างยิ่ง ทั้งการวางแผนผังตัวเรือนศิลปลวดลายประดับตกแต่งต่าง ๆ ที่ติดอยู่โดยรอบตัวเรือน ไม่ว่าจะเป็นชายคาช่องลมกรอบประตูระเบียง ล้วนสวยงามแปลกตา มีคุณค่าให้ควรรักษาอย่างยิ่ง หลังจากถูกทิ้งไว้ ไม่ได้รับการสนใจ มาเป็นเวลากว่า 30 ปี เนื่องจากเจ้าของที่เป็นลูกหลานต่างย้ายกันออกไป ไม่ได้พักอาศัย อีกทั้งลูกหลานรุ่นต่อ ๆ มา ไม่สามารถหางบประมาณเพียงพอที่จะบูรณะได้ จนเวลาผ่านไปเนิ่นนานกระทั่งพังถล่มลงมาดังกล่าว
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก