โอตี่ นักร้องดัง เงินไหลออกรัว ๆ 40,000 เหลือ 150 ทั้งที่เป็นเงินลูกค้าโอนเข้ามาหมาด ๆ พอคุยกับธนาคารพอรู้สาเหตุ แก้ปัญหาตามที่บอกโดยด่วน หลังจากนี้ขอให้เป็นไปตามกระบวนการ ถ้าได้เงินคืนถือว่าดี
ล่าสุด วันที่ 1 มีนาคม 2567 เฟซบุ๊ก Intaradakorn Suraphan ของโอตี่ อินทรดากร สุระภันต์ นักร้องชื่อดัง มีการโพสต์เล่าประสบการณ์การถูกดูดเงินจากบัญชีรัว ๆ จาก 40,000 บาทเหลือเพียง 150 บาทว่า ลูกค้าโอนเงินค่าเสื้อมา จะให้สั่งเสื้อให้จำนวน 40,000 บาท แต่โอนมาไม่ถึงชั่วโมง เสียง SMS ในมือถือเด้งรัว พอไปเช็กดูพบว่า เงินในบัญชีถูกโอนออกไปโดยไม่มีสาเหตุจนเกลี้ยงบัญชี
แบบนี้ผมต้องทำยังไงดี มันมาแบบรวดเร็วและทำอะไรไม่ทันมาก ทั้งที่ก่อนหน้าก็ไม่ได้ทำอะไร ไม่ได้รับสายใคร เงินทั้งหมดเป็นของลูกค้า ของที่ต้องสั่งก็ยังไม่ได้สั่ง ช่วยด้วย
ชาวเน็ตเห็นดังนั้นตกใจมาก ไม่คิดว่าจะมีเคสทำนองนี้เกิดขึ้นกับคนดัง ยิ่งดู SMS ยิ่งสลดใจ เงินที่เพิ่งเข้าใหม่ 40,000 บาทเหลือเพียง 150 บาท ซึ่งเงินนั้นถูกหักออกไปครั้งละ 5,000-10,000 ในระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง แต่ละรายการจะทำห่างกันประมาณ 10 นาที โดยเฉพาะยอดหลังเที่ยงคืนที่เงินออกทุก 2-3 นาทีก็มี ดังนั้นจึงมีคนแนะนำว่า ให้โอตี่ติดต่อธนาคารเร็วที่สุด
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่พอเป็นสิ่งที่ผิดปกติในวันนี้ก่อนเงินไหลออกก็พอมี คือ ช่วงสาย ๆ บ่าย ๆ ก่อนเกิดเหตุ โทรศัพท์มีอาการกระตุก ค้าง ๆ แต่ไม่ได้เอะใจอะไรจึงปิดเครื่องแล้วเปิดใหม่
หลังจากนั้นก็เริ่มมีการวิเคราะห์กันว่า เงินไหลออกไปได้ยังไง ซึ่งก็มีการถามเจ้าตัวว่า ไม่ได้กดลิงก์อะไรไปใช่ไหม ทางโอตี่ยืนยันว่า ไม่ได้กด บางคนก็ตั้งธงเรื่องการรีโมตการโอนเงินจากข้างนอก แต่ก็มีคอมเมนต์สวนมาว่า ไม่น่าเป็นไปได้ เพราะว่า ระบบธนาคารน่าจะป้องกันการรีโมตเป็นอย่างดี
พร้อมอธิบายกระบวนการของมิจฉาชีพนั้น คือ โจรใช้เครื่องโจรสร้างเซิร์ฟเวอร์เพื่อใช้เครื่องเหยื่อในการเป็นตัวกลาง โดยไม่ต้องรีโมตหรือใช้แอปฯ ธนาคารเครื่องเหยื่อเลย การป้องกันของธนาคารจึงเปล่าประโยชน์โดยสิ้นเชิง วิธีนี้จะทำให้โอนเงินจากเครื่องโจรได้โดยผ่านระบบล็อกเบอร์โทรธนาคาร คือสั่งการผ่านเครื่องโจร แต่ส่งสัญญาณต่อไปที่เครื่องเหยื่อก่อนออกเฉย ๆ ถ้าเผลอไปลงแอปฯ โจรเข้า
ส่วนประเด็นเครื่องกระตุก อาจจะเป็นเพราะการอัปเดตระบบของโทรศัพท์เจ้าดังก็เป็นได้ อาจจะไม่เกี่ยวกับมิจฉาชีพ
ขณะเดียวกัน คนที่เคยโดนแบบเดียวกันก็เข้ามาแนะนำว่า หลังจากติดต่อจากธนาคาร ผ่านไประยะหนึ่งก็ได้เงินคืน และขอให้คุณโอตี่ ได้เงินคืนไว ๆ
ต่อมา โอตี่ มีการอัปเดตเพิ่มเติมหลังจากคุยกับธนาคารว่า ประเด็นเงินที่โดนดูดนั้น มันไม่ใช่การดูดเงินออกไปเฉย ๆ เพราะการดูดเงินคือการที่เงินหายโดยไม่มีต้นสายปลายเหตุ แต่เคสของตนเป็นการถูกดูดเงินออกไปยังบัญชีม้าปลายทาง อาจจะด้วยวิธีการอะไรสักอย่าง และตนน่าจะพลาดจากการกดลิงก์ของมิจฉาชีพ ทำให้เงินถูกโอนออกจากบัญชีอย่างง่ายดาย
ระบบธนาคารทุกธนาคาร มีความปลอดภัยสูงอยู่แล้ว เว้นแต่เราพลาดไปกดลิงก์หรือดาวน์โหลดแอปฯ ที่ไม่มีความปลอดภัยค้างไว้ในเครื่องแล้วเราไม่รู้ตัว จึงอยากให้กรณีนี้เป็นกรณีศึกษา สิ่งที่ทำได้ตอนนี้คือ ล้างโทรศัพท์ตั้งค่าโรงงาน แล้วเปิดโหมดล็อกดาวน์
ขณะเดียวกัน ภรรยาของโอตี่ก็ยอมรับว่า ตอนที่เงินเด้งออก ไม่ได้ติดตั้งลิงก์หรือดาวน์โหลดอะไร แต่นิสัยส่วนตัวของสามี ชอบเป็นคนดูหนังออนไลน์ในเว็บต่าง ๆ หาข้อมูลทำเสื้อเป็นปกติ อาจจะพลาดไปกดลิงก์มิจฉาชีพโดยไม่รู้ตัว ก็ถือว่าเป็นความผิดพลาดจากฝั่งเราเอง และให้เป็นไปตามกระบวนการกฎหมายต่อไป ถ้าได้คืนก็ดีใจ ถ้าไม่ได้คืนก็ตามนั้น
ช่วงนี้ปัญหาเรื่องเงินไหลออกจากบัญชีอย่างปริศนา มักตกเป็นข่าวอยู่บ่อย ๆ และเป็นสิ่งที่น่ากังวลสำหรับประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุคมิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์เกลื่อนบ้านเมืองแบบนี้ ไม่ว่าใครก็มีโอกาสโดนไม่ว่าจะเป็นคนดังหรือไม่ดังก็ตาม
ล่าสุด วันที่ 1 มีนาคม 2567 เฟซบุ๊ก Intaradakorn Suraphan ของโอตี่ อินทรดากร สุระภันต์ นักร้องชื่อดัง มีการโพสต์เล่าประสบการณ์การถูกดูดเงินจากบัญชีรัว ๆ จาก 40,000 บาทเหลือเพียง 150 บาทว่า ลูกค้าโอนเงินค่าเสื้อมา จะให้สั่งเสื้อให้จำนวน 40,000 บาท แต่โอนมาไม่ถึงชั่วโมง เสียง SMS ในมือถือเด้งรัว พอไปเช็กดูพบว่า เงินในบัญชีถูกโอนออกไปโดยไม่มีสาเหตุจนเกลี้ยงบัญชี
แบบนี้ผมต้องทำยังไงดี มันมาแบบรวดเร็วและทำอะไรไม่ทันมาก ทั้งที่ก่อนหน้าก็ไม่ได้ทำอะไร ไม่ได้รับสายใคร เงินทั้งหมดเป็นของลูกค้า ของที่ต้องสั่งก็ยังไม่ได้สั่ง ช่วยด้วย
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่พอเป็นสิ่งที่ผิดปกติในวันนี้ก่อนเงินไหลออกก็พอมี คือ ช่วงสาย ๆ บ่าย ๆ ก่อนเกิดเหตุ โทรศัพท์มีอาการกระตุก ค้าง ๆ แต่ไม่ได้เอะใจอะไรจึงปิดเครื่องแล้วเปิดใหม่
ชาวเน็ต วิเคราะห์เกิดจากอะไร เงินไหลออกทุก ๆ 10 นาที ทั้งที่ไม่ได้กดลิงก์
หลังจากนั้นก็เริ่มมีการวิเคราะห์กันว่า เงินไหลออกไปได้ยังไง ซึ่งก็มีการถามเจ้าตัวว่า ไม่ได้กดลิงก์อะไรไปใช่ไหม ทางโอตี่ยืนยันว่า ไม่ได้กด บางคนก็ตั้งธงเรื่องการรีโมตการโอนเงินจากข้างนอก แต่ก็มีคอมเมนต์สวนมาว่า ไม่น่าเป็นไปได้ เพราะว่า ระบบธนาคารน่าจะป้องกันการรีโมตเป็นอย่างดี
พร้อมอธิบายกระบวนการของมิจฉาชีพนั้น คือ โจรใช้เครื่องโจรสร้างเซิร์ฟเวอร์เพื่อใช้เครื่องเหยื่อในการเป็นตัวกลาง โดยไม่ต้องรีโมตหรือใช้แอปฯ ธนาคารเครื่องเหยื่อเลย การป้องกันของธนาคารจึงเปล่าประโยชน์โดยสิ้นเชิง วิธีนี้จะทำให้โอนเงินจากเครื่องโจรได้โดยผ่านระบบล็อกเบอร์โทรธนาคาร คือสั่งการผ่านเครื่องโจร แต่ส่งสัญญาณต่อไปที่เครื่องเหยื่อก่อนออกเฉย ๆ ถ้าเผลอไปลงแอปฯ โจรเข้า
ขณะเดียวกัน คนที่เคยโดนแบบเดียวกันก็เข้ามาแนะนำว่า หลังจากติดต่อจากธนาคาร ผ่านไประยะหนึ่งก็ได้เงินคืน และขอให้คุณโอตี่ ได้เงินคืนไว ๆ
โอตี่ อินทรดากร ปรึกษาธนาคาร เงินไหลออกไปบัญชีม้าได้อย่างไร ได้คำตอบทำอึ้ง
ต่อมา โอตี่ มีการอัปเดตเพิ่มเติมหลังจากคุยกับธนาคารว่า ประเด็นเงินที่โดนดูดนั้น มันไม่ใช่การดูดเงินออกไปเฉย ๆ เพราะการดูดเงินคือการที่เงินหายโดยไม่มีต้นสายปลายเหตุ แต่เคสของตนเป็นการถูกดูดเงินออกไปยังบัญชีม้าปลายทาง อาจจะด้วยวิธีการอะไรสักอย่าง และตนน่าจะพลาดจากการกดลิงก์ของมิจฉาชีพ ทำให้เงินถูกโอนออกจากบัญชีอย่างง่ายดาย
ระบบธนาคารทุกธนาคาร มีความปลอดภัยสูงอยู่แล้ว เว้นแต่เราพลาดไปกดลิงก์หรือดาวน์โหลดแอปฯ ที่ไม่มีความปลอดภัยค้างไว้ในเครื่องแล้วเราไม่รู้ตัว จึงอยากให้กรณีนี้เป็นกรณีศึกษา สิ่งที่ทำได้ตอนนี้คือ ล้างโทรศัพท์ตั้งค่าโรงงาน แล้วเปิดโหมดล็อกดาวน์
ขณะเดียวกัน ภรรยาของโอตี่ก็ยอมรับว่า ตอนที่เงินเด้งออก ไม่ได้ติดตั้งลิงก์หรือดาวน์โหลดอะไร แต่นิสัยส่วนตัวของสามี ชอบเป็นคนดูหนังออนไลน์ในเว็บต่าง ๆ หาข้อมูลทำเสื้อเป็นปกติ อาจจะพลาดไปกดลิงก์มิจฉาชีพโดยไม่รู้ตัว ก็ถือว่าเป็นความผิดพลาดจากฝั่งเราเอง และให้เป็นไปตามกระบวนการกฎหมายต่อไป ถ้าได้คืนก็ดีใจ ถ้าไม่ได้คืนก็ตามนั้น