เวฟ วีรพล วิชุมา นักยกน้ำหนักไทย คว้าเหรียญเงิน โอลิมปิก 2024 ประเภท 73 กก. ชาย กระหึ่มทีมจอมพลังทีมชาติ เก็บ 2 เงิน 1 ทองแดง ยังมีลุ้นเพิ่ม
วันที่ 9 ธันวาคม 2567 การแข่งขันยกน้ำหนัก โอลิมปิกเกมส์ 2024 ในรุ่น 73 กิโลกรัมชาย มีนักกีฬาไทยลงทำการแข่งขันได้แก่ เวฟ วีรพล วิชุมา จอมพลังหนุ่ม เจ้าของเหรียญเงินเอเชียนเกมส์ครั้งล่าสุด
เริ่มต้นที่ท่าสแนทช์ วีรพล เรียกน้ำหนักครั้งแรกที่ 148 กิโลกรัม ก่อนจะยกได้สำเร็จ แต่ทว่าในครั้งที่ 2 เลือกยกที่น้ำหนัก 152 กิโลกรัม แต่ไม่ผ่าน ก่อนจะออกมายกต่อทันทีในครั้งสุดท้าย ก็ยังไม่ผ่านเช่นกัน ทำให้จบท่าสแนทช์ ทำน้ำหนักไว้ที่ 148 กิโลกรัมเท่านั้น เป็นอันดับ 9 จากนักกีฬาทั้งหมด ส่วนผู้นำได้แก่ ฉือ จื้อหยง แชมป์เก่าจากจีน ยกได้ 166 กิโลกรัม
ภาพจาก กองประชาสัมพันธ์ กกท.
จากนั้น ในท่าคลีนแอนด์เจิร์ก ซึ่งเป็นท่าถนัดของวีรพล ออกมายกครั้งแรก 190 กิโลกรัม ผ่านฉลุย ซึ่งก่อนจะยกครั้งที่ 2 ปรากฏว่า ฉือ จื้อหยง กลับยกพลาดทั้ง 3 ครั้ง ทำให้วีรพลเรียก 194 กิโลกรัมยกสำเร็จ ขึ้นมารั้งอันดับ 3 การันตีทองแดงไว้แล้ว ก่อนที่ครั้งสุดท้าย จะเรียกน้ำหนัก 198 กิโลกรัมแล้วยกสำเร็จ ทุบสถิติเยาวชนโลกในท่านี้ พร้อมทำน้ำหนักรวม 346 กิโลกรัม คว้าเหรียญเงินให้กับทัพนักกีฬาไทยได้สำเร็จ
ส่วนเหรียญทองเป็นของ ริคกี้ จูเนียสยาห์ จากอินโดนีเซีย ที่ทำน้ำหนักรวม 354 กิโลกรัม โดยทุบสถิติโอลิมปิกเกมส์ในท่าคลีนแอนด์เจิร์ก หลังยกได้ 199 กิโลกรัมและเหรียญทองแดงเป็นของ โบซิดาห์ ดิมิตรอฟ อันดรีเยฟ จากบัลแกเรีย น้ำหนักรวม 344 กิโลกรัม
ภาพจาก กองประชาสัมพันธ์ กกท.
หลังจบการแข่งขัน วีรพล
เผยว่าการคว้าเหรียญโอลิมปิกนี้เป็นความฝันตั้งแต่ยังเด็ก ดีใจมาก ๆ
ขอบคุณทุกการสนับสนุน
ขอบคุณครอบครัวและแฟนคลับชาวไทยที่ส่งแรงเชียร์ให้ตนมาถึงทุกวันนี้
ขอบคุณพ่อแม่ที่ส่งลูกมาถึงจุดนี้ได้
เหรียญนี้เป็นของขวัญวันเกิดให้ตัวเองในวัย 20 ปี
และตั้งเป้าว่าจะลุยต่อในโอลิมปิก 4 ปีข้างหน้า
จากการคว้าเหรียญเงินของ วีรพล ทำให้ทีมยกน้ำหนักไทย คว้าไปแล้ว 2 เหรียญเงิน 1 เหรียญทองแดง เหลืออีก 1 คน ดวงอักษร ใจดี แข่งขันรุ่น 81 กิโลกรัมหญิง วันที่ 11 สิงหาคม นี้
ภาพจาก กองประชาสัมพันธ์ กกท.
นอกจากนี้ ยังถือว่าเป็นการกลับมาอย่างยอดเยี่ยมของ ทัพนักกีฬายกน้ำหนักไทย หลังจากโอลิมปิก 2020 ที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ยกน้ำหนักไทยโดนแบนจากเรื่องสารกระตุ้น กรณีทีมงานใช้เจลทาตัวนักกีฬาแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ภาพจาก กองประชาสัมพันธ์ กกท
ภาพจาก กองประชาสัมพันธ์ กกท.
ขอบคุณข้อมูลจาก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว
เริ่มต้นที่ท่าสแนทช์ วีรพล เรียกน้ำหนักครั้งแรกที่ 148 กิโลกรัม ก่อนจะยกได้สำเร็จ แต่ทว่าในครั้งที่ 2 เลือกยกที่น้ำหนัก 152 กิโลกรัม แต่ไม่ผ่าน ก่อนจะออกมายกต่อทันทีในครั้งสุดท้าย ก็ยังไม่ผ่านเช่นกัน ทำให้จบท่าสแนทช์ ทำน้ำหนักไว้ที่ 148 กิโลกรัมเท่านั้น เป็นอันดับ 9 จากนักกีฬาทั้งหมด ส่วนผู้นำได้แก่ ฉือ จื้อหยง แชมป์เก่าจากจีน ยกได้ 166 กิโลกรัม
ภาพจาก กองประชาสัมพันธ์ กกท.
จากนั้น ในท่าคลีนแอนด์เจิร์ก ซึ่งเป็นท่าถนัดของวีรพล ออกมายกครั้งแรก 190 กิโลกรัม ผ่านฉลุย ซึ่งก่อนจะยกครั้งที่ 2 ปรากฏว่า ฉือ จื้อหยง กลับยกพลาดทั้ง 3 ครั้ง ทำให้วีรพลเรียก 194 กิโลกรัมยกสำเร็จ ขึ้นมารั้งอันดับ 3 การันตีทองแดงไว้แล้ว ก่อนที่ครั้งสุดท้าย จะเรียกน้ำหนัก 198 กิโลกรัมแล้วยกสำเร็จ ทุบสถิติเยาวชนโลกในท่านี้ พร้อมทำน้ำหนักรวม 346 กิโลกรัม คว้าเหรียญเงินให้กับทัพนักกีฬาไทยได้สำเร็จ
ส่วนเหรียญทองเป็นของ ริคกี้ จูเนียสยาห์ จากอินโดนีเซีย ที่ทำน้ำหนักรวม 354 กิโลกรัม โดยทุบสถิติโอลิมปิกเกมส์ในท่าคลีนแอนด์เจิร์ก หลังยกได้ 199 กิโลกรัมและเหรียญทองแดงเป็นของ โบซิดาห์ ดิมิตรอฟ อันดรีเยฟ จากบัลแกเรีย น้ำหนักรวม 344 กิโลกรัม
ภาพจาก กองประชาสัมพันธ์ กกท.
จากการคว้าเหรียญเงินของ วีรพล ทำให้ทีมยกน้ำหนักไทย คว้าไปแล้ว 2 เหรียญเงิน 1 เหรียญทองแดง เหลืออีก 1 คน ดวงอักษร ใจดี แข่งขันรุ่น 81 กิโลกรัมหญิง วันที่ 11 สิงหาคม นี้
ภาพจาก กองประชาสัมพันธ์ กกท.
นอกจากนี้ ยังถือว่าเป็นการกลับมาอย่างยอดเยี่ยมของ ทัพนักกีฬายกน้ำหนักไทย หลังจากโอลิมปิก 2020 ที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ยกน้ำหนักไทยโดนแบนจากเรื่องสารกระตุ้น กรณีทีมงานใช้เจลทาตัวนักกีฬาแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ภาพจาก กองประชาสัมพันธ์ กกท
ภาพจาก กองประชาสัมพันธ์ กกท.
ขอบคุณข้อมูลจาก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว