เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ไทยโพสต์, พรรคเพื่อไทย, เฟซบุ๊ก ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ด้วยความที่ครองใจประชาชนแทบจะทุกพื้นที่ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้ "พรรคเพื่อไทย" ภายใต้การนำของ "นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" น้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กวาด ส.ส.เข้าสภาเป็นว่าเล่น ก่อนจะได้รับการเลือกตั้งด้วยเสียงข้างมากที่เกินครึ่ง ผงาดขึ้นเป็นแกนนำรัฐบาลในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา
แต่กว่าที่ "พรรคเพื่อไทย" จะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งหนนี้ ตลอดวันนี้เราไปติดตามประวัติความเป็นมาของ "พรรคเพื่อไทย" กันค่ะหลายปีที่ผ่านมา ภายใน "พรรคเพื่อไทย" เองมีการเปลี่ยนแปลงมาหลายต่อหลายครั้ง โดยส่วนหนึ่งมาจากพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชนที่ถูกศาลตัดสินยุบพรรคไป
สำหรับ "พรรคเพื่อไทย" นั้น มีตัวย่อว่า พท. ชื่อภาษาอังกฤษ PHEU THAI PARTY ได้จดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2550 โดยมีนายบัณจงศักดิ์ วงศ์รัตนวรรณ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และนายโอฬาร กิจเลิศไพโรจน์ เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก มีสำนักงานสาขาพรรคแห่งแรก ตั้งอยู่ที่จังหวัดพิจิตร
ยุคแรกของ "พรรคเพื่อไทย" ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรคไทยรักไทย หรือพรรคพลังประชาชนโดยตรง กระทั่งต่อมา เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2551 ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคนัดพิเศษ ได้มีมติให้ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช เป็นหัวหน้าพรรค นางสาวสุณีย์ เหลืองวิจิตร เป็นเลขาธิการพรรค นายศักดา นพสิทธิ์ เป็นโฆษกพรรค และนายนิรันดร์ นาเมืองรักษ์ เป็นผู้อำนวยการพรรค แต่หลังจากนั้นเพียง 2 เดือน ดร.สุชาติ ได้ลาออกจากตำแหน่ง โดยให้เห็นเหตุผลว่า ต้องการเปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความเหมาะสมเข้ามาดำรงตำแหน่งแทน เพราะขณะนี้มีผู้ที่มีประสบการณ์ทางการเมืองจำนวนมากเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคแล้ว
ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเอง ศาลรัฐธรรมนูญกำลังพิจารณาตัดสินคดียุบพรรคพลังประชาชน ที่มีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นหัวหน้าพรรค ด้วยความผิดที่สืบเนื่องมาจากกรณีที่นายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ทุจริตการเลือกตั้งที่จังหวัดเชียงราย และด้วยความที่นายยงยุทธเป็นกรรมการบริหารพรรค ผลลัพธ์ที่ออกมาจึงกระเทือนไปถึงการยุบพรรคพลังประชาชนตามกฏหมาย ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2551
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
หลังจากศาลได้พิพากษายุบพรรคพลังประชาชนแล้ว ส.ส.และสมาชิกพรรคพลังประชาชนเกือบทั้งหมดได้เข้ามาสังกัดพรรคเพื่อไทย ยกเว้นกลุ่มเพื่อนเนวินที่ย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย จากนั้น พรรคเพื่อไทยก็ได้ประชุมใหญ่เพื่อคัดเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ สุดท้ายแล้วนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รักษาการรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทยในขณะนั้น ก็ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่โดยไม่มีการเสนอชื่อใครแข่ง ขณะที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งเดิมถูกคาดหมายว่าจะดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ที่ประชุมได้มีมติให้ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรค
ทั้งนี้ ผลจากการยุบพรรคพลังประชาชนเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2551 ทำให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นต้องลงจากตำแหน่ง และต้องมีการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ครั้งนั้น พรรคเพื่อไทยไม่ได้เสนอชื่อคนในพรรคตัวเองชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่กลับเสนอชื่อ "พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก" ว่าที่หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน ขึ้นชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก่อนที่ พล.ต.อ.ประชา จะแพ้นายอภิสิทธิ์ไปด้วยคะแนน 235:198 เสียง ทำให้นายอภิสิทธิ์ ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย
ยงยุทธ วิชัยดิษฐ์
จากนั้น พรรคเพื่อไทยก็ทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านในสภา แต่ก็ยังเกิดปัญหาภายในพรรคที่มีการแบ่งพรรค แบ่งพวก รวมไปถึงการที่นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ประกาศลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรค ท่ามกลางกระแสข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ทาบทาม พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ให้มาดำรงตำแหน่งแทน แต่สุดท้ายกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยก็เลือกนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ กลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้ง ภายหลังประกาศลาออกได้เพียง 5 วัน
อย่างไรก็ตาม ความระส่ำระส่ายภายในพรรคก็ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะพรรคเพื่อไทยยังหาตัวผู้นำที่จะเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีแข่งกับอีกฟากฝั่งไม่ได้ โดยคนกลุ่มหนึ่งแสดงท่าทีสนับสนุนนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ขณะที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง สนับสนุนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก่อนที่สุดท้ายแล้ว นางสาวยิ่งลักษณ์ จะได้รับเลือกให้เป็นผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อหมายเลข 1 ของพรรคเพื่อไทย และถูกวางตัวให้เป็นคู่ชิงนายกรัฐมนตรี
และในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2554 พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งโดยได้ ส.ส.รวม 265 คน เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ 61 คน แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 204 คน ทิ้งห่างคู่แข่งอย่างพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้ ส.ส.รวม 159 คน แบ่งเป็นแบบบัญชีรายชื่อ 44 คน แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 115 คน ก่อนที่พรรคเพื่อไทยจะประกาศตัวจับมือกับพรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน พรรคพลังชล พรรคมหาชน และพรรคประชาธิปไตยใหม่ ตั้งรัฐบาล 300 เสียง พร้อมกับสนับสนุนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย
ปัจจุบัน หัวหน้าพรรคเพื่อไทยยังเป็นนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ มีนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เป็นเลขาธิการพรรค และนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ เป็นโฆษกพรรค
สัญลักษณ์ของพรรคเพื่อไทย
ในยุคแรกสัญลักษณ์ของพรรคเพื่อไทยเป็นตัวอักษร "พ" สีขาว บนพื้นสีน้ำเงินกับสีแดง หมายถึง การรู้รักสามัคคี และรวมพลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ ส่วนพื้นสีน้ำเงินกับสีแดง หมายถึง ความมุ่งมั่น รวมเอาคนไทยจากทุกภาคส่วน มาระดมสติปัญญา เพื่อพัฒนาประเทศชาติ
ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงสัญลักษณ์ใหม่ให้เป็นตัวอักษร "พ" และ "ท" สีน้ำเงินเข้ม มีแถบสีแดง สีขาว และน้ำเงินประกอบกัน หมายความว่า การรู้รักสามัคคีและรวมกันเป็นพลังอันหนึ่งอันเดียวกันของคนชาติไทย โดยตามรอยพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงมีพระราชประสงค์ให้คนไทยรู้รักสามัคคีและรวมกันเป็นพลังอันหนึ่งอันเดียวกัน และหลังจากอักษร "พท" ยังมีตัวอักษร "พรรคเพื่อไทย" สีน้ำเงินต่อท้าย มีความหมายว่า ความมุ่งมั่นรวมเอาคนไทยจากทุกภาคส่วนมาระดมสติปัญญา กำหนดนโยบายทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อร่วมกันพัฒนาชาติไทยให้เจริญรุ่งเรือง มั่นคง ยั่งยืนตลอดไป
คำขวัญของพรรคเพื่อไทย
"ขอคิดใหม่ ทำใหม่ เพื่อไทยทุกคน... อีกครั้ง"
นโยบายพรรคเพื่อไทย
นโยบายพรรคเพื่อไทย
ในการหาเสียงเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา พรรคเพื่อไทยชูนโยบายมากมาย เช่น
สานต่อนโยบายแก้ความยากจน ยาเสพติด ทุจริตคอรัปชั่น
นำ 30 บาทรักษาทุกโรคกลับมาใช้ใหม่
รับจำนำข้าวเปลือก เกวียนละ 15,000 บาท
ออกบัตรเครดิตเกษตรกร เพื่อใช้ซื้อปัจจัยการผลิต
กองทุนตั้งตัวได้ สำหรับนิสิต นักศึกษา อาจารย์ และกองทุนตั้งตัวได้สำหรับประชาชน
พักหนี้ครัวเรือนที่ต่ำกว่า 5 แสนบาทอย่างน้อย 3 ปี
เครดิตการ์ดพลังงาน ให้คนขับแท็กซี่ สามล้อ รถตู้ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ไว้เติมน้ำมันหรือก๊าซ NGV
คืนภาษีบ้านหลังแรก/รถคันแรก
พัฒนาโครงข่ายระบบราง ทำรถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง ขยายแอร์พอร์ตลิงก์ไปฉะเชิงเทรา ชลบุรี พัทยา
สร้างรถไฟฟ้า 10 สายใน กทม. เก็บค่าบริการ 20 บาทตลอดสาย
ปรับเงินเดือนปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท และปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน
ปรับปรุงคุณภาพการศึกษาไทย แจกแท็บเล็ตนักเรียน ให้ใช้อินเทอร์เน็ตฟรีในที่สาธารณะ
เพิ่มกองทุน ICL : 1 อำเภอ 1 ทุนต่างประเทศ
สร้างเมกะโปรเจ็คท์กระตุ้นเศรษฐกิจ
ป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพ/ภาคกลาง ด้วยการทำเขื่อนกั้นน้ำทะเลลึกลงไปในทะเล
พัฒนาระบบน้ำทั้งประเทศ ปรับปรุง 25 ลุ่มน้ำ
ทำสะพานเชื่อมเศรษฐกิจภาคใต้
ฯลฯ
รายชื่อว่าที่ ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย
1. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
2. นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ
3. ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง
4. นายเสนาะ เทียนทอง
5. พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก
6. นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์
7. นายปลอดประสพ สุรัสวดี
8. นายจตุพร พรหมพันธุ์
9. นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
10. นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช
11. พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก
12. นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
13. นายบัญฑูรย์ สุภัควณิช
14. พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย
15. นายสันติ พร้อมพัฒน์
16. พล.ต.อ.วิรุฬห์ ฟื้นแสน
17. พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์
18. นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์
19. นายเหวง โตจิราการ
20. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
21. นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล
22. นายวัฒนา เมืองสุข
23. พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
24. นายนิติภูมิ นวรัตน์
25. น.ส.ภูวนิดา คุณผลิน
26. นายสุนัย จุลพงศธร
27. นางรพิพรรณ พงศ์เรืองรอง
28. นายคณวัฒน์ วศินสังวร
29. นายอัสนี เชิดชัย
30. น.ส.สุณีย์ เหลืองวิจิตร
31. พ.ต.อณันย์ วัชโรทัย
32. นายวิรัช รัตนเศรษฐ
33. นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ
34. นายนภินทร ศรีสรรพางค์
35. นายถาวร ตรีรัตน์ณรงค์
36. นางวราภรณ์ ตั้งภากรณ์
37. น.ส.สุนทรี ชัยวิรัตนะ
38. น.ส.ดวงรัตน์ โล่ห์สุนทร
39. นายสมมพล เกยุราพันธุ์
40. นายพงศกร อรรณนพพร
41. นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์
42. น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล
43. นายธนเทพ ทิมสุวรรณ
44. น.ส.กฤษณา สีหลักษณ์
45. นายเกียรติชัย ติรณศักดิกุล
46. นายวิภูแถลง พัฒนาภูมิไท
47. นางเยาวนิตย์ เพียงเกษ
48. นายพายัพ ปั้นเกตุ
49. นางรังสิมา เจริญศิริ
50. รศ.เชิดชัย ตันติรินทร์
51. นายกานต์ กัลป์ตินันท์
52. นายธนิก มาศรีพิทักษ์
53. นายพิชิต ชื่นบาน
54. นายก่อแก้ว พิกุลทอง
55. นายนิยม วรปัญญา
56. น.ส.จารุพรรณ กุลดิลก
57. นายอรรถกร ศิริลัทธยากร
58. นายเวียง วรเชษฐ์
59. นายอดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์
60. นายวิเชียร ขาวขำ
61. นายประวัฒน์ อุตตะโมต
รายชื่อว่าที่ ส.ส. ระบบแบ่งเขตของพรรคเพื่อไทย
จ.เชียงราย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
พรรคเพื่อไทย