ปู่ออสซี่มัดตัวเองกับเตียง กันนอนละเมอเตะต่อย-บีบคอเมีย

ปู่ออสซี่มัดตัวเองกับเตียง กันนอนละเมอเตะต่อย-บีบคอเมีย

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

          ปู่ชาวออสเตรเลียนมัดตัวเองติดเตียง กันนอนละเมอเตะต่อย บีบคอเมีย หลังป่วยเป็นโรคนอนละเมอขั้นร้ายแรง อาละวาดระหว่างหลับโดยไม่รู้ตัว

          ตามรายงานจากเว็บไซต์เดลี่เมล เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2557 ระยุว่า คุณปู่วัย 70 ปี ผู้ไม่ได้รับการเปิดเผยนามชาวออสเตรเลียน ตัดสินใจแก้ปัญหานอนละเมอขั้นรุนแรงของตัวเอง ด้วยการใช้เข็มขัดมัดตัวเองที่ช่วงอกและเอวไว้ติดกับเตียง ป้องกันไม่ให้ละเมอขึ้นมาอาละวาดทำร้ายร่างกายภรรยา ซึ่งปู่เคยละเมอเตะต่อย จนถึงขั้นบีบคอคู่ชีวิตวัยชรามาแล้ว

          คุณปู่รายนี้ทรมานด้วยอาการนอนละเมอ (Rapid eye movement behaviour disorder) มายาวนานถึง 8 ปี โดยมักเกิดอาการอาละวาดช่วงกลางดึก ทั้งดิ้นตกเตียง ร้องเสียงดัง ทำร้ายตัวเอง ไปจนถึงทำร้ายร่างกายภรรยา จนในที่สุดเมื่อเดือนธันวาคม 2553 ปู่ก็ตัดสินใจเข้าพบผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดอาการนอนละเมออย่างจริงจัง โดยในเบื้องต้นแพทย์ให้เขาแยกห้องนอนกับภรรยา และให้หาพรมนุ่ม ๆ มาปูพื้นรอบ ๆ เตียง เพื่อช่วยลดโอกาสบาดเจ็บหากคุณลุงละเมออาละวาดจนล้มหรือตกเตียง

          จากการเปิดเผยขอ้มูลของแพทย์ผู้บำบัดระบุว่า ยามนอนหลับเข้าสู่ช่วงหลับฝัน (Rapid eye movement sleep; REM sleep) คุณปู่มักเผชิญกับฝันร้ายว่าถูกทำร้าย และไล่ล่าอยู่เสมอ อาการอาละวาดดิ้นพล่าน ร้องตะโกน รวมถึงเตะต่อยภรรยา จึงถูกแสดงออกมาเพื่อเป็นการป้องกันตัวจากสถานการณ์ที่เผชิญอยู่ในฝันนั่นเอง โดยช่วงหลับฝันนี้กินเวลาราว 25% ของการนอนหลับทั้งหมด และในช่วงนี้กล้ามเนื้อร่างกายหลาย ๆ ส่วนจะอยู่ในสภาพคล้ายเป็นอัมพาตเพื่อภาวะการพักผ่อน แต่ผู้ที่มีอาการนอนละเมอ กล้ามเนื้อเหล่านี้กลับไม่เข้าสู่การพักผ่อน แถมยังอาจทำงานหนักขึ้นเพราะสมองไม่ส่งสัญญาณมาสั่งให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายนั่นเอง

          ด้านคุณปู่หลังได้รับการบำบัดควบคู่กับกรรับประทานยาอยู่ 2 ปี อาการนอนละเมออาละวาดก็ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จนในตอนนี้มีจะมีอาการละเมอบ้างราว 2-3 เดือนต่อหนึ่งครั้ง จากเมื่อก่อนที่นอนละเมอแทบทุกคืน

          อย่างไรก็ดี เคสนอนละเมอขั้นรุนแรงของคุณปู่รายนี้ก็มีส่วนที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะนอกจากความผิดปกติเรื่องดังกล่าว คุณปู่ก็ไม่เคยมีประวัติที่ผิดปกติด้านการนอนหลับมาก่อน คุณปู่ไม่เคยนอนกรน ไม่มีภาวะหยุดหายใจชั่วขณะยามนอนหลับ รวมถึงไม่ได้มีปัญหาด้านระบบประสาท หรือสุขภาพกายแต่อย่างใด ทั้งที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เผชิญอาการนอนละเมอเช่นนี้ มักมีความเจ็บป่วยด้านระบบประสาทร่วมด้วย เช่น โรคพาร์กินสัน ทั้งนี้ อาการนอนละเมอ (Rapid eye movement behaviour disorder) เกิดขึ้นได้กับทุกคนทั้งชายและหญิง แต่พบได้มากที่สุดในชายที่อายุ 50 ปีขึ้นไป






เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ปู่ออสซี่มัดตัวเองกับเตียง กันนอนละเมอเตะต่อย-บีบคอเมีย อัปเดตล่าสุด 8 พฤษภาคม 2557 เวลา 15:06:28 17,539 อ่าน
TOP
x close