เพจดัง iLaw ตั้งข้อสังเกตคดี คสช. แจ้งความ ธนาธร ผิดท้องที่ ชี้ สน.ปทุมวัน ไม่มีอำนาจทำคดีนี้ เมื่อคดีขึ้นสู่ศาล ศาลต้องสั่งยกฟ้อง
จากกรณีที่เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2562 นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ได้เดินทางไปรายงานตัวที่ สน.ปทุมวัน เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาที่ฝ่ายกฎหมาย คสช. แจ้งความฐานยุยงปลุกปั่น จากการมีส่วนช่วยเหลือพานักกิจกรรมที่จัดการชุมนุมครบรอบ 1 ปี รัฐประหาร ตั้งแต่ปี 2558 หลบหนี
เกี่ยวกับเรื่องนี้ทาง iLaw ได้มีการกล่าวถึงคดีดังกล่าวว่า
กลุ่มนักกิจกรรมได้นัดทำกิจกรรมกันในหลายพื้นที่
ถูกหมายเรียกในข้อหาชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป
ขัดต่อคำสั่งหัวหน้า คสช. ซึ่งต่อมานายธนาธรได้มาช่วยพานักกิจกรรมขึ้นรถไปเข้าที่พัก
แต่ต่อมาเมื่อคำสั่งห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปถูกยกเลิก
คดีที่เกี่ยวข้องจึงถูกยกเลิกทั้งหมด
กรณีของนายธนาธร หากจะถูกกล่าวหาและดำเนินคดีในฐานะเป็น "ตัวการร่วม" หรือผู้ร่วมก่อการกับกลุ่มนักกิจกรรมที่ชุมนุมต่อต้าน คสช. ก็เหลือคดีที่ยังไม่จบที่สามารถโยงเข้าไปได้อยู่คดีเดียว คือ คดีจากการชุมนุมที่ถนนราชดำเนิน เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2558 และเป็นคดีเดียวที่มีข้อหา มาตรา 116 อยู่ก่อนแล้วด้วย ส่วนคดีอื่น ๆ นั้นยุติไปหมดก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งคดีความที่เกิดขึ้น โดยตำรวจจาก สน. อื่น นอกเหนือจาก สน. ที่เกี่ยวข้อง ถือว่า ดำเนินการไปโดยไม่มีอำนาจทำได้ตามกฎหมาย เมื่อคดีขึ้นสู่ศาล ศาลต้องสั่งยกฟ้อง
กรณีของนายธนาธรที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดฐานยุยงปลุกปั่น พนักงานสอบสวนที่มีอำนาจรับผิดชอบคดีนี้ คือ สน.สำราญราษฎร์ และ สน.ประเวศ ซึ่งเป็นที่อยู่ของนายธนาธร ส่วนตำรวจที่ สน.ปทุมวัน ไม่มีอำนาจเกี่ยวข้องในคดีนี้ และไม่มีอำนาจในการออกหมายเรียก แจ้งข้อกล่าวหา หรือดำเนินการสอบสวนคดี แม้ว่าการกระทำของนายธนาธร คือ การรับนักกิจกรรมจากหน้า สน.ปทุมวัน ไปส่งที่พัก แต่การรับคนไปส่งที่พักไม่ใช่การกระทำที่ถูกกล่าวหาตามมาตรา 116 การรับนักกิจกรรมจากหน้า สน.ปทุมวัน ในวันที่ 24 มิถุนายน 2558 เกิดขึ้นก่อนการชุมนุมที่ตามมาในวันที่ 25 มิถุนายน เท่ากับขณะที่นายธนาธรไปรับนักกิจกรรม ยังไม่มีการชุมนุมเกิดขึ้นเลย จึงไม่อาจนับพื้นที่ของ สน.ปทุมวัน เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ที่การกระทำความผิดเกิดขึ้นได้
หากจะกล่าวหาว่า นายธนาธรร่วมเป็นตัวการหรือสนับสนุนการชุมนุมในวันที่ 25 มิถุนายน 2558 ต้องให้ตำรวจจาก สน.สำราญราษฎร์ เป็นผู้ดำเนินการ ไม่อาจให้ สน.ปทุมวัน เป็นผู้ดำเนินการได้ การที่ พ.อ. บุรินทร์ ทองประไพ เข้าแจ้งความต่อ สน.ปทุมวัน จึงเป็นไปได้ว่า จำเหตุการณ์สับสนกับคดีก่อนหน้านี้ที่เกิดขึ้นและจบไปแล้ว ซึ่งตัวเองก็เป็นผู้แจ้งความดำเนินคดีอีกเช่นกัน โดยลืมไปว่าคดีที่ยังเหลืออยู่ให้ยกมากล่าวหาได้ เหลือเพียงคดีที่อยู่ในอำนาจของ สน.สำราญราษฎร์ เท่านั้น
ดังนั้น หากคดีนี้มีการแจ้งข้อกล่าวหา สอบสวน และดำเนินคดีไปโดยตำรวจ สน.ปทุมวัน ทั้งหมด เมื่อคดีขึ้นสู่ศาล ศาลก็ต้องยกฟ้อง เนื่องจากไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหา การสอบสวน และการดำเนินคดีโดยตำรวจที่มีอำนาจตามกฎหมาย
โดยมีรายละเอียดทั้งหมด ดังนี้
ย้อนรอยเหตุการณ์ชุมนุมต้าน คสช. ตั้งแต่ปี 2558
อันนำมาสู่การดำเนินคดีเป็นชุด ๆ
หลายคดีที่แม้แต่ทหารผู้แจ้งความเอาผิดเองก็จำสับสน กรณีของธนาธร
ที่ถูกข้อหามาตรา 116 เป็นคดีของ สน.สำราญราษฎร์ แต่กลับไปแจ้งที่
สน.ปทุมวัน เมื่อพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจ คดีก็ต้องยกฟ้อง
จากกรณีที่เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2562 นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ได้เดินทางไปรายงานตัวที่ สน.ปทุมวัน เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาที่ฝ่ายกฎหมาย คสช. แจ้งความฐานยุยงปลุกปั่น จากการมีส่วนช่วยเหลือพานักกิจกรรมที่จัดการชุมนุมครบรอบ 1 ปี รัฐประหาร ตั้งแต่ปี 2558 หลบหนี
กรณีของนายธนาธร หากจะถูกกล่าวหาและดำเนินคดีในฐานะเป็น "ตัวการร่วม" หรือผู้ร่วมก่อการกับกลุ่มนักกิจกรรมที่ชุมนุมต่อต้าน คสช. ก็เหลือคดีที่ยังไม่จบที่สามารถโยงเข้าไปได้อยู่คดีเดียว คือ คดีจากการชุมนุมที่ถนนราชดำเนิน เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2558 และเป็นคดีเดียวที่มีข้อหา มาตรา 116 อยู่ก่อนแล้วด้วย ส่วนคดีอื่น ๆ นั้นยุติไปหมดก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งคดีความที่เกิดขึ้น โดยตำรวจจาก สน. อื่น นอกเหนือจาก สน. ที่เกี่ยวข้อง ถือว่า ดำเนินการไปโดยไม่มีอำนาจทำได้ตามกฎหมาย เมื่อคดีขึ้นสู่ศาล ศาลต้องสั่งยกฟ้อง
กรณีของนายธนาธรที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดฐานยุยงปลุกปั่น พนักงานสอบสวนที่มีอำนาจรับผิดชอบคดีนี้ คือ สน.สำราญราษฎร์ และ สน.ประเวศ ซึ่งเป็นที่อยู่ของนายธนาธร ส่วนตำรวจที่ สน.ปทุมวัน ไม่มีอำนาจเกี่ยวข้องในคดีนี้ และไม่มีอำนาจในการออกหมายเรียก แจ้งข้อกล่าวหา หรือดำเนินการสอบสวนคดี แม้ว่าการกระทำของนายธนาธร คือ การรับนักกิจกรรมจากหน้า สน.ปทุมวัน ไปส่งที่พัก แต่การรับคนไปส่งที่พักไม่ใช่การกระทำที่ถูกกล่าวหาตามมาตรา 116 การรับนักกิจกรรมจากหน้า สน.ปทุมวัน ในวันที่ 24 มิถุนายน 2558 เกิดขึ้นก่อนการชุมนุมที่ตามมาในวันที่ 25 มิถุนายน เท่ากับขณะที่นายธนาธรไปรับนักกิจกรรม ยังไม่มีการชุมนุมเกิดขึ้นเลย จึงไม่อาจนับพื้นที่ของ สน.ปทุมวัน เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ที่การกระทำความผิดเกิดขึ้นได้
หากจะกล่าวหาว่า นายธนาธรร่วมเป็นตัวการหรือสนับสนุนการชุมนุมในวันที่ 25 มิถุนายน 2558 ต้องให้ตำรวจจาก สน.สำราญราษฎร์ เป็นผู้ดำเนินการ ไม่อาจให้ สน.ปทุมวัน เป็นผู้ดำเนินการได้ การที่ พ.อ. บุรินทร์ ทองประไพ เข้าแจ้งความต่อ สน.ปทุมวัน จึงเป็นไปได้ว่า จำเหตุการณ์สับสนกับคดีก่อนหน้านี้ที่เกิดขึ้นและจบไปแล้ว ซึ่งตัวเองก็เป็นผู้แจ้งความดำเนินคดีอีกเช่นกัน โดยลืมไปว่าคดีที่ยังเหลืออยู่ให้ยกมากล่าวหาได้ เหลือเพียงคดีที่อยู่ในอำนาจของ สน.สำราญราษฎร์ เท่านั้น
ดังนั้น หากคดีนี้มีการแจ้งข้อกล่าวหา สอบสวน และดำเนินคดีไปโดยตำรวจ สน.ปทุมวัน ทั้งหมด เมื่อคดีขึ้นสู่ศาล ศาลก็ต้องยกฟ้อง เนื่องจากไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหา การสอบสวน และการดำเนินคดีโดยตำรวจที่มีอำนาจตามกฎหมาย
โดยมีรายละเอียดทั้งหมด ดังนี้
ภาพจาก iLaw