อ.เจษฎา เฉลยปลาปริศนา ตัวคล้ายปลานิลแต่คางดำ ที่แท้มันคือตัวอะไร หรือนี่จะเป็นการกลายพันธุ์สู่ปลานิลคางดำ
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้
วันที่ 31 กรกฎาคม 2567 เรื่องเล่าเช้านี้ รายงานว่า นายอดิศร จันทร์สุขสวัสดิ์ เจ้าของวังกุ้ง จ.สมุทรปราการ มีการทอดแหสุ่มปลาในบ่อเลี้ยง เจอทั้งปลานิลและปลาหมอคางดำ ที่น่าแปลกคือ มีการเจอปลาชนิดหนึ่งที่ผิดปกติจากที่เคยจับได้ ลักษณะตัวเป็นปลานิล แต่คางสีดำ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า นี่คือ ปลานิลคางดำ ที่เกิดจากการกลายพันธุ์ หรือผสมกับปลาหมอคางดำหรือไม่ ?
นายอดิศร กล่าวว่า สิ่งที่กังวลคือ มันจะเป็นการกลายพันธุ์เป็นทั้งสิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่ดี อยากฝากถึงหน่วยงานเข้ามาดูเรื่องนี้ด้วย ว่ามีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่จะมีปลานิลคางดำ จะได้แก้ไขให้ทัน สำหรับความแตกต่างของปลาหมอและปลานิลคือ ปลานิลจะหน้าแหลม ๆ ลำตัวจะกลม ๆ
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant
เกี่ยวกับเรื่องนี้ อาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการโพสต์ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant ระบุว่า ปลานิลคางดำที่เห็น ความจริงคือ เป็นปลาหมอคางดำที่อ้วนจนไม่คุ้นตา เพราะคนทั่วไปมักคิดว่า ปลาหมอคางดำจะต้องตัวผอมเพรียวเรียวยาวเท่านั้น
จากข้อมูลที่แอฟริกา ปลาหมอคางดำถ้าเติบโตดี กินอาหารดี จะยาวเฉลี่ยถึง 8 นิ้ว และสถิติตัวยาวที่สุดที่เจอคือ 11 นิ้ว
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้
นายชวลิต วิทยานนท์ นักวิชาการอิสระ ด้านความหลากหลายของสัตว์น้ำ เคยระบุไว้ดังนี้
- ปลาหมอคางดำ จะมีลักษณะเด่นคือ ใต้คาง มักมีแต้มดำ หางเว้าเล็กน้อย และไม่มีลายใด ๆ
- ปลาหมอเทศ จะมีลักษณะเด่นคือ จะมีแก้ม ในตัวผู้มักมีแต้มขาว หางมน มีขอบแดงเสมอ
- ปลานิล จะมีลักษณะเด่นคือ จะมีแก้มและตัวสีคล้าย ๆ กัน หางมน และมีลายเส้นคล้ำขวางเสมอ
ทั้งนี้ ปลาที่เห็นในข่าว จะไม่มีลายเส้นคล้ำขวางแบบปลานิล แต่มีรูปร่างหน้าตาและสีสันไปทางเดียวกับปลาหมอคางดำ แค่ตัวอ้วนกว่าเท่านั้น จึงมีโอกาสเป็นปลาหมอคางดำเวอร์ชั่นอ้วน
ที่สำคัญคือ ปลานิลกับปลาหมอคางดำเป็นปลาคนละสกุล ฉะนั้นการกลายพันธุ์เป็นไปได้ยาก ส่วนงานวิจัยที่มีการเอาปลานิลกับปลาหมอคางดำมาผสมกัน ผลคือ ทำได้สำเร็จในปริมาณน้อยมาก ๆ และไม่มีรายงานว่า เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้
ขอบคุณข้อมูลจาก เรื่องเล่าเช้านี้
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้
วันที่ 31 กรกฎาคม 2567 เรื่องเล่าเช้านี้ รายงานว่า นายอดิศร จันทร์สุขสวัสดิ์ เจ้าของวังกุ้ง จ.สมุทรปราการ มีการทอดแหสุ่มปลาในบ่อเลี้ยง เจอทั้งปลานิลและปลาหมอคางดำ ที่น่าแปลกคือ มีการเจอปลาชนิดหนึ่งที่ผิดปกติจากที่เคยจับได้ ลักษณะตัวเป็นปลานิล แต่คางสีดำ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า นี่คือ ปลานิลคางดำ ที่เกิดจากการกลายพันธุ์ หรือผสมกับปลาหมอคางดำหรือไม่ ?
นายอดิศร กล่าวว่า สิ่งที่กังวลคือ มันจะเป็นการกลายพันธุ์เป็นทั้งสิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่ดี อยากฝากถึงหน่วยงานเข้ามาดูเรื่องนี้ด้วย ว่ามีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่จะมีปลานิลคางดำ จะได้แก้ไขให้ทัน สำหรับความแตกต่างของปลาหมอและปลานิลคือ ปลานิลจะหน้าแหลม ๆ ลำตัวจะกลม ๆ
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant
เกี่ยวกับเรื่องนี้ อาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการโพสต์ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant ระบุว่า ปลานิลคางดำที่เห็น ความจริงคือ เป็นปลาหมอคางดำที่อ้วนจนไม่คุ้นตา เพราะคนทั่วไปมักคิดว่า ปลาหมอคางดำจะต้องตัวผอมเพรียวเรียวยาวเท่านั้น
จากข้อมูลที่แอฟริกา ปลาหมอคางดำถ้าเติบโตดี กินอาหารดี จะยาวเฉลี่ยถึง 8 นิ้ว และสถิติตัวยาวที่สุดที่เจอคือ 11 นิ้ว
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้
วิธีแยกปลาหมอกับปลานิล
นายชวลิต วิทยานนท์ นักวิชาการอิสระ ด้านความหลากหลายของสัตว์น้ำ เคยระบุไว้ดังนี้
- ปลาหมอคางดำ จะมีลักษณะเด่นคือ ใต้คาง มักมีแต้มดำ หางเว้าเล็กน้อย และไม่มีลายใด ๆ
- ปลาหมอเทศ จะมีลักษณะเด่นคือ จะมีแก้ม ในตัวผู้มักมีแต้มขาว หางมน มีขอบแดงเสมอ
- ปลานิล จะมีลักษณะเด่นคือ จะมีแก้มและตัวสีคล้าย ๆ กัน หางมน และมีลายเส้นคล้ำขวางเสมอ
ทั้งนี้ ปลาที่เห็นในข่าว จะไม่มีลายเส้นคล้ำขวางแบบปลานิล แต่มีรูปร่างหน้าตาและสีสันไปทางเดียวกับปลาหมอคางดำ แค่ตัวอ้วนกว่าเท่านั้น จึงมีโอกาสเป็นปลาหมอคางดำเวอร์ชั่นอ้วน
ที่สำคัญคือ ปลานิลกับปลาหมอคางดำเป็นปลาคนละสกุล ฉะนั้นการกลายพันธุ์เป็นไปได้ยาก ส่วนงานวิจัยที่มีการเอาปลานิลกับปลาหมอคางดำมาผสมกัน ผลคือ ทำได้สำเร็จในปริมาณน้อยมาก ๆ และไม่มีรายงานว่า เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้
ขอบคุณข้อมูลจาก เรื่องเล่าเช้านี้