หมอออกมาเล่า รพ. รัฐ กำลังจะเจ๊ง เรื่องนี้จริงไหม หลังขาดทุนยับ คนไข้กระทบอะไรบ้าง

          หมอโอมออกมาเล่า โรงพยาบาลรัฐกำลังจะเจ๊ง เรื่องนี้จริงไหม หลังขาดทุนย่อยยับ แล้วมันจะส่งผลกระทบต่อคนไข้ยังไงบ้าง เรื่องนี้น่าห่วง
รพ.รัฐ กำลังจะเจ๊ง
ภาพจาก Chaikom / Shutterstock.com

          ข่าวเด่นเกี่ยวกับวงการโรงพยาบาลรัฐในช่วงนี้คงหนีไม่พ้นเรื่อง การที่โรงพยาบาลต่าง ๆ ออกมาแสดงตัวเลขการขาดทุนจากนโยบายบัตรทองและประกันสังคม เช่น โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น ที่ขาดทุนปีละประมาณ 500 ล้านบาท อยากให้รัฐมาช่วยหนุนงบ มิเช่นนั้นจะแย่ทั้งวงการ

          อ่านข่าว : ผอ.รพ.ศรีนครินทร์ เผยยอดขาดทุนจากผู้ป่วยบัตรทอง ประกันสังคม แทบจะแบกไม่ไหวแล้ว

          วันที่ 5 กันยายน 2567 TikTok @penraiclub ของหมอโอม มีการเล่าถึงที่มาที่ไปของเรื่องดังกล่าว และผลกระทบที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นหลังจากนี้เกี่ยวกับการรักษาที่ส่งผลต่อคนไข้โดยตรง

รพ.รัฐ กำลังจะเจ๊ง
ภาพจาก TikTok @penraiclub

          หมอโอมเล่าว่า จุดเริ่มต้นเรื่องนี้มาจาก สปสช. ลดเงินดูแลคนไข้ที่นอนโรงพยาบาล จากเดิมหน่วยละ 7,000 เหลือ 5,000 บาท และที่ผ่านมาโรงพยาบาลรัฐก็ประสบภาวะขาดทุนมาตลอด ต้องรับเงินบริจาคช่วยเหลือจากหน่วยงานข้างเคียง ฉะนั้นการลดเงินตรงส่วนนี้จะทำให้หมอทำงานลำบากกว่าเดิม

          หลังจากนี้ สิ่งที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นคือ ต้องลดค่าใช้จ่ายในการรักษาให้ได้ ซึ่งเกี่ยวโยงถึงคุณภาพในการรักษา เช่น ซื้อยาฆ่าเชื้อตัวแรงตัวอื่นที่มีราคาถูกลง ลดปริมาณการนอนโรงพยาบาลของคนไข้ แล้วพอเราเป็นหมอหน้างาน เราต้องรักษาตามนโยบายของผู้ใหญ่ แม้ว่าตำราการรักษาจะเขียนไว้แบบหนึ่ง รักษาจริงตามข้อจำกัดต้องรักษาอีกแบบ ทำให้หมอรู้สึกลำบากใจมาก หมอทั่วประเทศหมดหวังแล้ว

รพ.รัฐ กำลังจะเจ๊ง
ภาพจาก TikTok @penraiclub

          ส่วนการที่โรงพยาบาลรัฐจะเจ๊ง ยืนยันว่า โรงพยาบาลรัฐไม่มีวันเจ๊งแน่นอน เพราะเขาทำเพื่อดูแลประชาชน

รพ.รัฐ กำลังจะเจ๊ง
ภาพจาก TikTok @penraiclub

          อย่างไรก็ตาม ความเห็นชาวเน็ตที่มองถึงเรื่องนี้ กลับมีบางส่วนไม่เห็นด้วย มองว่า อยากให้การรักษาผู้ป่วยเป็นสิ่งที่ต้องทำให้ดีที่สุด ไม่อยากให้คิดถึงเรื่องขาดทุนกำไร เรื่องนี้หมอโอมมองว่า หมอไม่เถียง หมออยากรักษาให้ดีที่สุด แต่เรื่องการขาดทุน ไม่ได้หมายความว่า โรงพยาบาลรัฐอยากมีกำไร แต่มันเป็นการขาดทุนจากเงินที่ใช้รักษาจริงกับเงินที่รัฐบาลให้ ไม่เท่ากัน ส่งผลให้การพัฒนาทรัพยากรด้านอื่น ๆ ของโรงพยาบาลเป็นไปด้วยความล่าช้า เช่น ห้องผ่าตัดใหม่ อุปกรณ์ใหม่ เป็นต้น โรงพยาบาลจึงย่ำอยู่กับที่

          ขณะที่รายการตรงประเด็น ทางช่องไทยพีบีเอส ก็ระบุเหตุผลถึงสาเหตุที่ผู้ป่วยในเพิ่มมากขึ้นว่า ช่วงการระบาดของโควิด 19 ทำให้การผ่าตัด การรักษาผู้ป่วยต้องดีเลย์ออกไป มารักษาหลังการหยุดการระบาดแทน อีกทั้งไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จึงทำให้กลุ่มแพทย์คัดค้านนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ เนื่องจากใช้งบประมาณเยอะ อยากให้เป็นการร่วมจ่ายเฉพาะบางโรคมากกว่า

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
หมอออกมาเล่า รพ. รัฐ กำลังจะเจ๊ง เรื่องนี้จริงไหม หลังขาดทุนยับ คนไข้กระทบอะไรบ้าง อัปเดตล่าสุด 5 กันยายน 2567 เวลา 11:17:34 17,854 อ่าน
TOP
x close