สอนใช้ Google Flood Hub เช็กบ้านเราเสี่ยงเจอน้ำท่วมแค่ไหน ตรงไหนน้ำท่วมบ้าง ด้านกรมอุตุฯ เผย ภาคเหนือฝนลดลง อีสานเตรียมเจอฝนหนัก
ภาพจาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สถานการณ์น้ำท่วมเชียงราย ยังคงอยู่ในภาวะที่ยังไม่ปกติ เจ้าหน้าที่ต้องกระจายไปช่วยคนที่ติดอยู่ในบ้านออกมา ซึ่งการค้นหาค่อนข้างยาก เนื่องจากไม่มีการระบุข้อมูล พิกัด หรือมีตัวช่วยในการค้นหาที่ชัดเจน
วันที่ 12 กันยายน 2567 เฟซบุ๊ก Kanyachan มีการโพสต์แนะนำสำหรับคนที่ต้องการติดตามดูสถานการณ์น้ำท่วมว่าบ้านตัวเองมีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน สามารถใช้ Google Flood Hub ได้ มันเป็นเครื่องมือ AI ในการพยากรณ์และเตือนภัยน้ำท่วมล่วงหน้า มีจุดเด่นดังนี้
ภาพจาก Google Flood Hub
1. พยากรณ์น้ำท่วมล่วงหน้าได้ถึง 7 วัน โดยใช้ข้อมูลจากหลายแหล่ง เช่น พยากรณ์อากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม
2. ครอบคลุมพื้นที่ 80% ทั่วโลก และให้บริการประชากรกว่า 460 ล้านคนทั่วโลก
3. แสดงข้อมูลผ่าน Google Search, Google Maps และการแจ้งเตือนบน Android ที่ง่ายต่อการใช้งาน
จะใช้แบบจำลอง AI 2 แบบร่วมกัน พร้อมด้วยประมวลผลจากข้อมูลสาธารณะหลายแหล่ง เช่น พยากรณ์อากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม
1. แบบจำลองอุทกวิทยา - คาดการณ์ปริมาณน้ำในแม่น้ำ
2. แบบจำลองน้ำท่วม - คาดการณ์พื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบและระดับความลึกของน้ำ
ทั้งนี้ เมื่อดูแผนที่ Flood Hub พบว่า จังหวัดเชียงรายมีการปักหมุดสีแดงเข้ม สีแดง สีเหลืองเอาไว้ หมายถึงค่อนข้างอันตราย อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ก็มีคนแย้งว่า ข้อมูลตรงนี้ไม่ค่อยอัปเดตและหยาบมาก จุดแก้ไขคือ ต้องมีการนำเข้าข้อมูลที่ทันเหตุการณ์กว่านี้ ระบบยังไม่เสถียร แต่ถึงอย่างไรก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี
ภาพจาก กรมอุตุนิยมวิทยา
กรมอุตุนิยมวิทยา มีการประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ฉบับที่ 1 มีผลตั้งแต่ 13-17 กันยายน 2567 มีรายละเอียดดังนี้
วันที่ 13-17 กันยายน 2567 ประเทศไทยจะมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบางแห่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก
ทั้งนี้ ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเวียดนามตอนกลาง ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ กำลังปานกลางที่พัดคลุมทะเลอันดามันตอนบน และอ่าวไทยตอนบน จะมีกำลังแรงขึ้น เป็นกำลังค่อนข้างแรง
ภาพจาก กรมอุตุนิยมวิทยา
ภาพจาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สถานการณ์น้ำท่วมเชียงราย ยังคงอยู่ในภาวะที่ยังไม่ปกติ เจ้าหน้าที่ต้องกระจายไปช่วยคนที่ติดอยู่ในบ้านออกมา ซึ่งการค้นหาค่อนข้างยาก เนื่องจากไม่มีการระบุข้อมูล พิกัด หรือมีตัวช่วยในการค้นหาที่ชัดเจน
วันที่ 12 กันยายน 2567 เฟซบุ๊ก Kanyachan มีการโพสต์แนะนำสำหรับคนที่ต้องการติดตามดูสถานการณ์น้ำท่วมว่าบ้านตัวเองมีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน สามารถใช้ Google Flood Hub ได้ มันเป็นเครื่องมือ AI ในการพยากรณ์และเตือนภัยน้ำท่วมล่วงหน้า มีจุดเด่นดังนี้
ภาพจาก Google Flood Hub
1. พยากรณ์น้ำท่วมล่วงหน้าได้ถึง 7 วัน โดยใช้ข้อมูลจากหลายแหล่ง เช่น พยากรณ์อากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม
2. ครอบคลุมพื้นที่ 80% ทั่วโลก และให้บริการประชากรกว่า 460 ล้านคนทั่วโลก
3. แสดงข้อมูลผ่าน Google Search, Google Maps และการแจ้งเตือนบน Android ที่ง่ายต่อการใช้งาน
กระบวนการทำงานของ Google Flood Hub
จะใช้แบบจำลอง AI 2 แบบร่วมกัน พร้อมด้วยประมวลผลจากข้อมูลสาธารณะหลายแหล่ง เช่น พยากรณ์อากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม
1. แบบจำลองอุทกวิทยา - คาดการณ์ปริมาณน้ำในแม่น้ำ
2. แบบจำลองน้ำท่วม - คาดการณ์พื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบและระดับความลึกของน้ำ
สำหรับการใช้ข้อมูล Flood Hub คลิก
เมื่อส่องแผนที่เกิดอะไรขึ้น
ทั้งนี้ เมื่อดูแผนที่ Flood Hub พบว่า จังหวัดเชียงรายมีการปักหมุดสีแดงเข้ม สีแดง สีเหลืองเอาไว้ หมายถึงค่อนข้างอันตราย อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ก็มีคนแย้งว่า ข้อมูลตรงนี้ไม่ค่อยอัปเดตและหยาบมาก จุดแก้ไขคือ ต้องมีการนำเข้าข้อมูลที่ทันเหตุการณ์กว่านี้ ระบบยังไม่เสถียร แต่ถึงอย่างไรก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี
ภาพจาก กรมอุตุนิยมวิทยา
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศฝนตกหนักมาก
กรมอุตุนิยมวิทยา มีการประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ฉบับที่ 1 มีผลตั้งแต่ 13-17 กันยายน 2567 มีรายละเอียดดังนี้
วันที่ 13-17 กันยายน 2567 ประเทศไทยจะมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบางแห่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก
ทั้งนี้ ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเวียดนามตอนกลาง ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ กำลังปานกลางที่พัดคลุมทะเลอันดามันตอนบน และอ่าวไทยตอนบน จะมีกำลังแรงขึ้น เป็นกำลังค่อนข้างแรง
ภาพจาก กรมอุตุนิยมวิทยา