กรมอุตุฯ เผยวันนี้ ภาคเหนือเริ่มมีอากาศเย็นตอนเช้า ภาคใต้-ตะวันออก-กทม. เจอฝนร้อยละ 60 ชี้ 15-18 ตุลาคม ยังมีฝนต่อเนื่อง ระวังฝนตกหนักหลายพื้นที่
วันที่ 15 ตุลาคม 2567 กรมอุตุนิยมวิทยา เผยรายงาน พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ลมตะวันออก และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทย เข้ามาปกคลุมภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกหนักบางแห่ง ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนยังคงปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย
สำหรับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย สำหรับบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนอ่าวไทยมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 06.00 น. วันที่ 15 ตุลาคม ถึง 06.00 น. วันที่ 16 ตุลาคม
อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง และตาก
อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดราชบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร
อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดสระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ขณะที่ผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 10 วันล่วงหน้า ระหว่างวันที่ 15-24 ตุลาคม จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) พบว่า
ช่วงวันที่ 15-18 ตุลาคม ภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบนเริ่มมีอากาศเย็นในตอนเช้า และยังมีฝนบางแห่ง ส่วนภาคอีสานตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก กรุงเทพและปริมณฑล ยังมีฝน/ฝนฟ้าคะนอง ตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ยังต้องเฝ้าระวังฝนที่ตกสะสม ทิศทางลมแปรปรวน ส่วนใหญ่เป็นลมตะวันออก ลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุม เนื่องจากมวลอากาศเย็นยังแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนเกือบทั้งหมดแล้วเพียงแต่ยังมีกำลังอ่อน
ช่วงวันที่ 19-24 ตุลาคม สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เนื่องจากจะเริ่มมีมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือภาคอีสานตอนบน และมีกระแสลมตะวันออกในระดับกลางพัดปกคลุมบริเวณภาคใต้ มีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นในช่วงแรก ๆ ที่มวลอากาศเย็นแผ่ลงมาปกคลุม ส่วนภาคใต้จะยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีตกหนักบางแห่ง หนักเบาสลับกัน โดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ยังต้องระวังฝนตกหนักและฝนตกสะสม ซึ่งอาจจะทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก คลื่นลมแรงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
ขอบคุณข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา
วันที่ 15 ตุลาคม 2567 กรมอุตุนิยมวิทยา เผยรายงาน พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ลมตะวันออก และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทย เข้ามาปกคลุมภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกหนักบางแห่ง ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนยังคงปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย
สำหรับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย สำหรับบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนอ่าวไทยมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 06.00 น. วันที่ 15 ตุลาคม ถึง 06.00 น. วันที่ 16 ตุลาคม
ภาคเหนือ
อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง และตาก
อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส
ภาคกลาง
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดราชบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร
อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
ภาคตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดสระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
กรุงเทพและปริมณฑล
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ช่วงวันที่ 15-18 ตุลาคม ภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบนเริ่มมีอากาศเย็นในตอนเช้า และยังมีฝนบางแห่ง ส่วนภาคอีสานตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก กรุงเทพและปริมณฑล ยังมีฝน/ฝนฟ้าคะนอง ตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ยังต้องเฝ้าระวังฝนที่ตกสะสม ทิศทางลมแปรปรวน ส่วนใหญ่เป็นลมตะวันออก ลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุม เนื่องจากมวลอากาศเย็นยังแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนเกือบทั้งหมดแล้วเพียงแต่ยังมีกำลังอ่อน
ช่วงวันที่ 19-24 ตุลาคม สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เนื่องจากจะเริ่มมีมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือภาคอีสานตอนบน และมีกระแสลมตะวันออกในระดับกลางพัดปกคลุมบริเวณภาคใต้ มีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นในช่วงแรก ๆ ที่มวลอากาศเย็นแผ่ลงมาปกคลุม ส่วนภาคใต้จะยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีตกหนักบางแห่ง หนักเบาสลับกัน โดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ยังต้องระวังฝนตกหนักและฝนตกสะสม ซึ่งอาจจะทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก คลื่นลมแรงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
ขอบคุณข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา