สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม
นิคมอุตสาหกรรมเริ่มฟื้นตัว 12 โรงงาน ในแฟคตอรี่แลนด์เปิดแล้ว นิคมฯ บางปะอิน-ไฮเทค คาดปลาย พ.ย.ถึงต้น ธ.ค.จะเริ่มเดินเครื่อง
มหาอุทกภัยที่ส่งผลให้ 7 นิคมอุตสาหกรรมต้องปิดตัวลงไป เริ่มมีข่าวดีแล้ว โดยนายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานที่ปรึกษาฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรมระดับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระบุว่า นิคมอุตสาหกรรมบางปะอินได้ระดมสูบน้ำออกจนเหลือกว่า 1 เมตรแล้ว และคาดว่าภายในวันที่ 15 พ.ย. น้ำจะลดเหลือ 20-30 เซนติเมตร และคาดว่าต้นเดือน ธ.ค.จะมีโรงงาน 50-60 โรงสามารถปิดดำเนินการได้
โดยนายประยูร ติ่งทอง อุตสาหกรรม จ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า นิคมอุตสาหกรรมไฮเทคได้เร่งระดมสูบน้ำออกตลอด 24 ชั่วโมง เชื่อนิคมฯ จะเปิดดำเนินการได้ใกล้เคียงกับนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน
ขณะที่นายวิทยา กล่าวถึงสถานการณ์ของนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จ.ปทุมธานี ว่า ดีขึ้นโดยลำดับ ซึ่งหลายโรงงานเริ่มกลับเข้าไปกู้สถานการณ์ด้วยตนเองแล้ว และคาดว่าจะใช้เวลากู้ได้ทันในช่วงเดือน ธ.ค.นี้เช่นกัน
ส่วนที่ นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม กล่าวในเรื่องเดียวกันว่า มี 4 นิคมฯ ได้เริ่มสูบน้ำออกแล้ว คือ
1.นิคมฯ แฟคตอรี่แลนด์ ซึ่งสูบน้ำเกือบหมดแล้ว เหลือแค่ 20% เท่านั้น และมี 12 โรงงานเปิดแล้วจากทั้งหมด 93 โรงงาน และที่เหลือคาดว่าจะเปิดในเร็ว ๆ นี้
2.นิคมฯ บางปะอิน ในวันที่ 17 พ.ย.จะทำบิ๊กคลีนนิ่งเดย์ และ 18-19 พ.ย.จะซ่อมแซมระบบไฟฟ้า ประปา และเครื่องจักร คาดว่าจะเปิดดำเนินการได้ภายในวันที่ 25 พ.ย.
3.นิคมฯ ไฮเทค วันที่ 30 พ.ย. จะสูบน้ำออกได้ และจะเข้าไปตรวจสอบเพื่อเดินเครื่องไป
4.นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จะสูบน้ำหมดภายในวันที่ 30 พ.ย. และ 1 ธ.ค.จะเริ่มทำความสะอาดและติดตั้งไฟฟ้า
"นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนะ, นิคมอุตสาหกรรมนวนคร และนิคมบางกะดี ปริมาณน้ำยังสูงอยู่ ต้องรอสักระยะให้น้ำลดกว่าคันดินที่กั้นไว้จึงจะสูบออก และเราจะตรวจสอบคุณภาพน้ำตลอดเวลา เพื่อตรวจดูโลหะหนัก สารเคมีต่าง ๆ ซึ่งจากการตรวจสอบมาก่อนหน้านี้ยังไม่พบสารพิษแต่อย่างใด" นพ.วรรณรัตน์กล่าว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
[16 ตุลาคม] น้ำทะลักท่วมที่ชุมชนประตูน้ำพระอินทร์
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ครอบครัวข่าว 3
น้ำล้นออกจากประตูระบายน้ำจากคลองหนึ่งไหลทะลักท่วมบ้านเรือนแล้ว เจ้าหน้าที่เร่งป้องตลาดไทเต็มที่
สถานการณ์น้ำล่าสุดบริเวณชุมชนประตูระบายน้ำพระอินทร์ราชา ต.เชียงรากน้อย อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา วันนี้ (16 ตุลาคม) น้ำได้เริ่มทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนเป็นบริเวณกว้าง ตั้งแต่เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา และเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนในขณะนี้น้ำอยู่ที่ระดับหัวเข่า
ด้าน นางประชิด ท่าสมญา เจ้าของร้านรับฝากรถจักรยานยนต์ในชุมชน กล่าวทั้งน้ำตาว่า เดิมทีอาศัยอยู่ที่บ้าน ซึ่งอยู่ใน ต.พยอม อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา แต่น้ำได้เข้าท่วมถึงบริเวณชั้น 2 ของบ้าน จึงอพยพออกมาอยู่ที่ร้าน ซึ่งในวันนี้น้ำก็ได้ทะลักเข้าท่วมและมีปริมาณสูงขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
ขณะเดียวกัน พนักงานนิคมอุตสาหกรรมนวนคร และชาวบ้านบางส่วนที่พักอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ ก็ได้พากันขนย้ายข้าวของออกจากชุมชน เนื่องจากมีความกังวลว่าน้ำจะเพิ่มสูงขึ้น
อย่างไรก็ตามขณะนี้ เจ้าหน้าที่ทหาร ชาวบ้าน และอาสาสมัคร ได้ช่วยกันเร่งเสริมแนวกระสอบทรายเพื่อไม่ให้น้ำทะลักข้ามฝั่งไปยังตลาดสดประตูน้ำพระอินทร์ราชา ทั้งนี้ ชาวบ้านที่ยังพักอาศัยอยู่ในชุมชน ก็ได้รับความช่วยเหลือจากเทศบาลและหน่วยกู้ชีพ ในการนำรถโฟร์วีลรับส่งออกจากชุมชน
พ.ต.อ.อดุลย์ เม่นบางผึ้ง ผกก.สภ.พระอินทร์ราชา เปิดเผยว่า ใน ขณะนี้ น้ำจาก อ.บางปะอิน ไหลทะลักล้นประตูระบายน้ำคลองหนึ่ง ที่ประตูน้ำพระอินทร์ราชาแล้ว ทำให้น้ำเข้าท่วมบ้านเรือน ชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงเป็นวงกว้าง พร้อมกันนี้น้ำยังได้ไหลทะลักออกมาแนวถนนพลหลโยธินขาเข้า โดยท่วมเส้นทางคู่ขนาด บริเวณรอบนอกของตลาดไท ทำให้รถไม่สามารถสัญจรไปมาได้ ทั้งนี้ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้กั้นน้ำไม่ให้เข้ามายังอีกฝั่งหนึ่ง ที่เป็นที่ตั้งของตลาดไทอย่างเร่งด่วน
ด้าน พ.ต.อ.เพิ่มเกียรติ สุริยวงศ์ ผกก.สภ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี กล่าวเพิ่มเติมว่า น้ำจากคลองหนึ่ง ส่วนหนึ่งได้ไหลทะลักเข้าท่วมชุมชนบางพื้นที่แล้ว แต่ยังไม่เข้าท่วมตลาดไทแต่อย่างใด
[14 ตุลาคมล น้ำท่วมอยุธยาขยายวงกว้างไปถึง อ.วังน้อย
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ครอบครัวข่าว 3
น้ำท่วมอยุธยาขยายวงกว้างไปถึง อ.วังน้อย ส่งผลให้ระบบขนส่งถูกตัดขาดเพิ่ม ด้านนิคมฯ บางปะอิน อุดรูรั่วได้แล้ว ยันไม่น่าห่วง
สถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ล่าสุด วันนี้ (14 ตุลาคม 2554) มีรายงานว่า ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอีกมากกว่า 20 เซนติเมตร หลังจากมีฝนตกลงเมื่อคืนที่ผ่านมา ส่งผลให้ระบบขนส่งของจังหวัดถูกตัดขาดเพิ่มอีกหลายจุด ขณะเดียวกันระดับน้ำยังขยายวงกว้างมาที่ อ.วังน้อย แล้ว
โดยปัญหาสำคัญอีกเรื่องหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก็คือระบบขนส่งที่ถูกตัดขาดเพิ่มเติมแล้วหลายจุด โดยเฉพาะช่วงกิโลเมตรที่ 9 ถึงกิโลเมตรที่ 10 ถูกน้ำท่วมสูง ส่งผลให้การเดินทางไปยังศาลากลางจังหวัด ซึ่งเป็นศูนย์อพยพใหญ่ และเป็นที่ตั้งของศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคกลางของครอบครัวข่าว 3 มีเพียงรถขนาดใหญ่เท่านั้นที่สะพานเข้าไปได้ ทำให้การส่งความช่วยเหลือทำได้ยากขึ้น
ส่วนที่ถนนพหลโยธินช่วงอำเภอวังน้อย ถูกน้ำท่วมขังเพิ่มเติมอีกหลายจุดเช่นกัน แต่ยังพบว่ามีประชาชนไม่ทราบข่าวการปิดเส้นทาง มาใช้เส้นทางนี้อยู่จำนวนมาก เจ้าหน้าที่กรมทางหลวงจึงต้องมาคอยให้คำแนะนำใช้ทางเลี่ยง โดยผู้ที่จะไปยังจังหวัดสระบุรี ให้ใช้เส้นทาง บ้านนา แก่งคอย ออกทางแยกประมาณกิโลเมตรที่ 54 วิ่งผ่านแยกบ้านนา แล้วเลี้ยวซ้าย ตัดสุวรรณศร แล้วเลี้ยวซ้ายอีกครั้ง ก่อนจะเลี้ยวขวาออกแก่งคอยเพื่อไปสายอีสาน หรือหากจะเดินทางไปจังหวัดนครราชสีมา ก็ให้ออกไปทางปราจีนบุรี นาดี แล้วออกเขาใหญ่
นอกจากนี้ยังพบว่าถนนเส้นกาญจนาภิเษก วงแหวนตะวันตก ซึ่งเดิมเป็นเส้นทางเลี่ยงจากถนนสายเอเชียขึ้นภาคเหนือ ตอนนี้ถูกน้ำท่วมช่วงกิโลเมตรที่ 61-64 และกิโลเมตรที่ 79-82 ตำรวจทางหลวงตัดสินใจปิดการจราจรเส้นนี้แล้วเช่นกัน โดยแนะนำให้ไปใช้ทางเลี่ยง คือมุ่งหน้าเข้ากรุงเทพมหานครขึ้นโทลเวย์ แล้วลงหลักสี่-แจ้งวัฒนะ แยกเข้าเส้นบางบัวทอง และเลี้ยวซ้ายเข้าจังหวัดสุพรรณบุรี หรือทางเลี่ยงไปลงเส้นงามวงศ์วาน ผ่านเข้าบางบัวทอง และเลี้ยวเข้าเส้นอู่ทอง-สุพรรณบุรี
ด้าน นายนัทธี บ่อสุวรรณ นายอำเภอบางปะอิน เปิดเผยว่า ได้เกิดรอยรั่วของคันกั้นน้ำ นิคมอุตสาหรรมบางปะอิน 2 จุด แต่เป็นการรั่วซึมเล็กน้อย ซึ่งทางทีมเฝ้าระวัง ได้ทำการซ่อมแซมไปแล้ว โดยการใช้แผ่นชิพพลายอุดรูรั่วดังกล่าว สถานการณ์ไม่น่าหนักใจแต่อย่างใด เนื่องจากคันกั้นน้ำของนิคมอุตสาหรรมบางปะอิน มีความแข็งแรงมากกว่านิคมไฮเทค
นายอำเภอบางปะอิน กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ มีหน่วยทหารนับร้อยนายเฝ้าระวังดูแลนิคมฯ บางปะอิน อยู่ตลอด 24 ชั่วโมง จึงไม่น่าเป็นห่วงแต่อย่างใด
อ่านนรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
[13 ตุลาคม] เจ้าหน้าที่วังช้างอยุธยาแจง ช้างไม่ได้ถูกน้ำท่วมมิดหัว
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
วังช้างอยุธยาแจงช้างไม่ได้ถูกน้ำท่วมมิดหัว เผยเป็นภาพที่ช้างเข้าไปช่วยเหลือคนที่ติดอยู่ ขณะนี้ช้างอยู่ในที่ปลอดภัยแล้ว แต่ยังขาดแคลนอาหารและยารักษาโรค
จากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการนำเสนอข่าวว่า ช้างในวังช้างแลเพนียด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กว่า 70 ตัว ถูกน้ำท่วมสูงจนเกือบมิดศีรษะ ต้องยืนแช่น้ำ และขาดอาหารนานหลายวัน ได้รับความลำบากเป็นอย่างมาก ล่าสุด เจ้าหน้าที่ในวังช้างแลเพนียดได้ชี้แจงว่า ช้างดังกล่าวไม่ได้ถูกน้ำท่วมจนเกือบมิดศีรษะ และปัจจุบันช้างทุกตัวได้รับการช่วยเหลือเรียบร้อยแล้ว
โดยคุณนัน เจ้าหน้าที่ดูแลช้าง ณ วังช้างแลเพนียด กล่าวว่า ตั้งแต่เกิดน้ำท่วมใหม่ ๆ ทางเจ้าหน้าที่ก็ได้เร่งย้ายช้างให้ไปอยู่ที่อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทุ่งมะขามหย่อม เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น ช้างจึงไม่ได้ถูกน้ำท่วมจมมิดศีรษะดังภาพที่ปรากฎเป็นข่าว แต่ภาพดังกล่าวเป็นภาพที่ควาญช้างพาช้างเข้าไปช่วยคนที่ติดอยู่ในพื้นที่น้ำท่วม รวมทั้งเก็บสัมภาระที่จำเป็นกลับมา และไม่ได้ถูกล่ามโซ่ตรวนยืนแช่อยู่ในน้ำอย่างที่ทุกคนเข้าใจกัน
ด้าน นายวรวิทย์ โรจนไพฑูรย์ ผู้อำนวยการสถาบันคชบาลแห่งชาติ พร้อมคณะสัตวแพทย์ โรงพยาบาลช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จ.ลำปาง ซึ่งได้ทราบข่าว ก็ได้มอบอาหารช้าง หญ้าแห้ง และอาหารเม็ด จำนวน 2 คันรถบรรทุกให้กับวังช้างแลเพนียด จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อไปช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนช้างจำนวนกว่า 70 เชือก ที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุการณ์น้ำท่วมทั่วพื้นที่จังหวัดแล้ว
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าช้างทุกเชือกจะปลอดภัยจากน้ำท่วม แต่จุดที่ช้างอยู่ก็เป็นพื้นที่ที่ถูกล้อมรอบไปด้วยน้ำ เจ้าหน้าที่จึงออกไปหาอาหารให้ช้างทานได้ลำบากมาก ทำให้ปัจจุบันช้างขาดอาหารและผอมลงเรื่อย ๆ ดังนั้น สิ่งที่ต้องการมากที่สุดตอนนี้ก็คือ อาหารและยารักษาโรคสำหรับช้าง โดยผู้ใดมีจิตศรัทธาประสงค์จะร่วมบริจาคอาหารและยา สามารถติดต่อได้ที่ คุณนัน วังช้าง ที่เบอร์โทรศัพท์ 086-901-3981 เพื่อให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน หรือบริจาคผ่านธนาคารกรุงไทย สาขาลำปาง ชื่อบัญชี กองทุนศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย เลขที่ 503-1-84611-9 ซึ่งเป็นกองทุนที่จะนำเงินไปช่วยเหลือช้างทั่วประเทศ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
[11 ตุลาคม] อยุธยายังวิกฤต! น้ำท่วมสูง-โรจนะ จม 200 แห่ง
จ.อยุธยา ยังคงวิกฤต ระดับน้ำยังคงท่วมสูง ประชาชนแห่จอดรถหนีน้ำ กว่า 100 คัน บนสะพานปรีดี หวั่นล่ม ด้านนิคมฯ โรจนะ พังยับแล้ว 200 แห่ง สูญกว่า 5 หมื่นล้าน
สำหรับสถานการณ์น้ำท่วม จ.พระนครศรีอยุธยา ล่าสุด เขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา หรือ เกาะเมืองอยุธยา ยังวิกฤตหนัก รพ.พระนครศรีอยุธยา ต้องทยอยขนคนไข้ออกไปรักษายังโรงพยาบาลใกล้เคียง ตลอดทั้งวัน เนื่องจาก ระดับน้ำยังสูงขึ้น และระบบไฟฟ้าถูกตัดและให้เจ้าหน้าที่ช่วยอพยพประชาชน ที่ต้องการออกจากเกาะเมือง และไม่ให้คนภายนอกเข้าไปในเกาะเมืองอีก เกรงว่า จะเกิดอันตราย
และที่น่าเป็นห่วงคือ มีประชาชนนำรถยนต์ไปจอดไว้บนสะพานปรีดี-ธำรง นับ 100 คัน เกรงว่า สะพานจะรับน้ำหนักไม่ไหว และกีดขวางการจราจรอีกด้วย โดยเจ้าหน้าที่เร่งขนย้ายรถออกไปจอดไว้บนถนนสายเอเชียให้หมดก่อนเกิดอันตราย และเกาะติดสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยใช้ศูนย์ราชการประชุมทุก 08.00 น. และสรุปสถานการณ์น้ำท่วมล่าสุด เวลา 19.00 น. ของทุกวัน เพื่อติดตามแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างทันท่วงที
ขณะที่ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ ที่พยายามรักษาพื้นที่เฟส 2 และเฟส 3 ด้วยการเสริม คันกั้นน้ำสูง 4.5 เมตร ภายหลังน้ำท่วม เฟสที่ 1 ไปแล้วนั้น นายพากร วังศิลาบัติ ประธานอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ขณะนี้น้ำไหลเข้าท่วมเฟส 1 และเฟส 2 แล้ว ประมาณ 200 โรงงาน ทางนิคมฯ ได้อพยพคนออกจากพื้นที่แล้ว คงเหลือแต่เพียงเจ้าหน้าที่ รปภ. ที่เฝ้าโรงงาน ทั้งนิคมฯ สหรัตนนคร และสวนอุตสาหกรรมโรจนะ ถูกน้ำท่วม ทำให้มีคนงานตกงานแล้ว ประมาณ 1 แสนคน และค่าความเสียหายทั้ง 2 นิคม ไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท และสถานการณ์น้ำ ยังน่าเป็นห่วง นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค (บ้านหว้า) อ.บางปะอิน น้ำเจ้าพระยา ได้ไหลจ่อด้านหลังนิคม แล้ว ทางนิคม ได้ทำคันป้องกันเสริมเพิ่มขึ้นสูงเป็น 5.5 เมตรแล้ว
[10 ตุลาคม] แจง 10 ศพที่อยุธยา ไม่ได้ตาย ขณะรอหนีน้ำท่วม
สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ครอบครัวข่าว 3
พล.ต.อ.ประชา ผอ. ศปภ. แจง 10 ศพผู้เสียชีวิต ที่อยุธยา ไม่ได้เสียชีวิตขณะรอหนีน้ำท่วม ขณะที่เทศบาลอยุธยาจม 100% แล้ว ขาดเรืออพยพ-กระสอบทราย
จากกรณีที่ น.พ.วีระพล ธีระพันธ์เจริญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา กล่าวยอมรับว่า มีผู้ป่วยที่เข้ามาทำการรักษาตัวกับทางโรงพยาบาลเสียชีวิต 10 ราย ระหว่างรอการอพยพจริง พร้อมกับชี้แจงว่า ตามปกติ หากไม่มีเหตุการณ์น้ำท่วม ทางโรงพยาบาลเองก็จะมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตวันละ 5 - 6 รายอยู่แล้ว แต่ผู้เสียชีวิตทั้ง 10 ราย ที่รอการขนย้ายผู้ป่วยนั้นก็ไม่ได้เสียชีวิตเนื่องจากสาเหตุน้ำท่วม หรือไฟดับ แต่เป็นเพราะมีอาการหนักอยู่แล้ว เพราะก่อนหน้านี้ทางโรงพยาบาลเองก็มีความพร้อมทั้งไฟฟ้า ออกซิเจน และเครื่องช่วยหายใจ
ส่วนผู้ป่วยของทางโรงพยาบาลล่าสุดนั้น ถูกขนย้ายออกจากโรงพยาบาลไปจนหมดแล้ว สำหรับสถานการณ์ที่โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาในขณะนี้ ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอีกเล็กน้อย บริเวณลานจอดรถด้านหน้าโรงพยาบาล ระดับน้ำอยู่ที่ประมาณ 2 เมตร ส่วนด้านหลังโรงพยาบาล ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอีกกว่า 2 เมตรแล้ว
ด้าน พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือ ศปภ. ยืนยันว่า จำนวนผู้เสียชีวิต 7 ศพ จากทั้งหมด 10 ศพ นั้น ไม่ได้เสียชีวิตจากเหตุน้ำท่วม แต่เนื่องจากไม่สามารถเคลื่อนย้ายศพออกมาได้ จึงต้องรอเคลื่อนย้ายพร้อมกัน ทั้ง 10 ศพ
นอกจากนี้ ยังกล่าวอีกว่า ศปภ. ยังขาดกระสอบทรายอีกจำนวน 1,200,000 กระสอบ พร้อมขอรับสิ่งบริจาคเครื่องใช้ จากประชาชน โดยเฉพาะน้ำดื่ม ถุงดำ ส้วมพลาสติก และ อาหารแห้ง เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยอีกด้วย
เทศบาลอยุธยาจม 100 % แล้วขาดเรืออพยพ
เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา วิกฤติ จมบาดาล 100 % สูง 1.80 เมตร ล่าสุด เริ่มขาดแคลนยานพาหนะเข้าพื้นที่เพื่ออพยพผู้ประสบภัย
ว่าที่ ร.ต.สมทรง สรรพโกศลกุล นายกเทศมนตรี เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ล่าสุด ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากเมื่อวานเล็กน้อย เจ้าหน้าที่เร่งอพยพประชาชนอย่างต่อเนื่อง แต่ยังทำได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากยังขาดเเคลนพาหนะในการอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ จนถึงขณะนี้ น้ำทะลักเข้าท่วมเต็มพื้นที่ในเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา 100 % แล้ว ระดับน้ำสูงกว่า 1.80 เมตร
ทั้งนี้ จึงขอสนับสนุนเรือ พาหนะเพื่อเข้าอพยพ ประชาชนที่ยังติดอยู่ในพื้นที่ประสบอุทกภัยโดยด่วน
ผู้ประสบภัยรับของบริจาคที่อยุธยาแน่น
เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา วิกฤติ จมบาดาล 100 % สูง 1.80 เมตร ล่าสุด เริ่มขาดแคลนยานพาหนะเข้าพื้นที่เพื่ออพยพผู้ประสบภัย
ว่าที่ ร.ต.สมทรง สรรพโกศลกุล นายกเทศมนตรี เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ล่าสุด ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากเมื่อวานเล็กน้อย เจ้าหน้าที่เร่งอพยพประชาชนอย่างต่อเนื่อง แต่ยังทำได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากยังขาดเเคลนพาหนะในการอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ จนถึงขณะนี้ น้ำทะลักเข้าท่วมเต็มพื้นที่ในเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา 100 % แล้ว ระดับน้ำสูงกว่า 1.80 เมตร
ทั้งนี้ จึงขอสนับสนุนเรือ พาหนะเพื่อเข้าอพยพ ประชาชนที่ยังติดอยู่ในพื้นที่ประสบอุทกภัยโดยด่วน
ผู้ประสบภัยรับของบริจาคที่อยุธยาแน่น
บรรดาผู้ประสบภัยเข้าคิวรอรับของบริจาคที่ศาลากลาง จ.พระนครศรีอยุธยา อย่างคับคั่งตั้งแต่เช้า ระดับน้ำยังสูงขึ้นต่อเนื่อง
บรรยากาศล่าสุดที่ศูนย์พักพิงชั่วคราว ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในขณะนี้ ผู้ประสบอุทกภัยที่มาพักอาศัยอยู่ในสถานที่แห่งนี้ กำลังเข้าแถวเพื่อขอรับอาหารและเครื่องดื่ม ที่ส่วนราชการและภาคเอกชนเตรียมไว้ให้ได้รับประทานกันในช่วงเช้า และมีบางส่วนยังคงพักผ่อนอยู่ภายในอาคารด้วยความอ่อนเพลีย
ขณะที่ระดับน้ำด้านหน้าศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในช่วงนี้ แม้ว่าจะมีการทำคันกั้นน้ำด้านหน้า แต่ก็ยังมีระดับน้ำเอ่อสูงขึ้นมาท่วมพื้นผิวการจราจรมากขึ้นกว่าเมื่อวาน ส่วนเส้นทางถนนวังน้อย-พระนครศรีอยุธยา ที่จะมุ่งหน้าไปสู่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ รถเล็กไม่สามารถที่จะผ่านไปได้ เนื่องจากมีระดับน้ำท่วมขังสูง แต่ก็ยังมีชาวบ้านเดินออกมารับของบริจาคที่บริเวณศาลากลางจังหวัดกันตั้งแต่ช่วงเช้า
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
[9 ตุลาคม] อ่วมหนัก! ที่ว่าการอำเภอ พระนครศรีอยุธยา จม 2 เมตร
ที่ว่าการอำเภอ พระนครศรีอยุธยา จม 2 เมตร (ไอเอ็นเอ็น)
กรุงเก่าวิกฤติหนักต่อเนื่อง ล่าสุด น้ำทะลักเข้าท่วมพื้นที่บริเวณที่ว่าการอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา เจ้าหน้าที่เร่งเก็บของอลหม่าน
นายเผด็จ แนบเนียน นายอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงสถานการณ์น้ำท่วมล่าสุดในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ว่า ขณะนี้บริเวณที่ว่าการอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำสูงประมาณ 2 เมตร และยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทางเจ้าหน้าที่ราชการที่อาศัยในบ้านพักในบริเวณที่ว่าการอำเภอ ต่างเร่งเข้าพื้นที่เพื่อขนข้าวของออกจากบ้านพักอย่างอลหม่าน
เริ่มแล้ว! ภารกิจอพยพคนไข้ ร.พ.อยุธยา
อพยพผู้ป่วย ร.พ.พระนครศรีอยุธยา ชุดแรกทุลักทุเล เหตุน้ำท่วมสูง เจ้าหน้าที่ส่งเรือเข้ารับ ก่อนนำขึ้นจีเอ็มซี ส่งรักษาต่อโรงพยาบาลอื่น
ภารกิจในการขนย้ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา เริ่มดำเนินการขึ้นแล้ว โดยรถจีเอ็มซีของทหาร และเรือ ได้ทำการขนย้ายผู้ป่วยทยอยออกจากโรงพยาบาล โดยมี นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ควบคุมสั่งการด้วยตนเอง
สำหรับผู้ป่วยชุดแรกจำนวน 100 คน ในกลุ่มผู้ป่วยที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เจ้าหน้าที่ได้ทยอยขนขึ้นรถของทหารที่เตรียมมารับผู้ป่วย หลังจากได้มีการประสานจากทางโรงพยาบาลให้ทางจังหวัด เข้ามาขนย้ายผู้ป่วย จำนวน 250 คน ออกไป เนื่องจากระดับน้ำที่ท่วมสูง 2 เมตร จึงมีความจำเป็นที่ต้องย้ายผู้ป่วยออกไปอยู่ในที่ปลอดภัย ซึ่งภารกิจในการขนย้ายผู้ป่วยครั้งนี้ เป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากระดับน้ำที่ท่วมสูง จึงต้องมีการใช้เรือเข้าไปรับผู้ป่วยที่โรงพยาบาลออกมาขึ้นรถที่จอดรออยู่บริเวณสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แล้วส่งต่อไปยังาลากลางจังหวัด เพื่อส่งต่อไปยังโรงพยาบาลต่างๆ
อยุธยา เร่งอพยพผู้ป่วยมาศลก.แล้ว100 คน
ผู้ว่าฯพระนครศรีอยุธยา เผย เร่งอพยพผู้ป่วยมาศาลากลางจังหวัดแล้ว 100 คน ก่อนเข้าช่วยประชาชนในนิคมโรจนะ ต่อไป
นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า สำหรับการอพยพผู้ป่วยจากโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา โดยรถจีเอ็มซีในพื้นที่น้ำท่วม ช่วงเช้าสามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้มายังศาลากลางจังหวัดจำนวน 100 คน แต่เกิดการล่าช้าเนื่องจากเส้นทางการสัญจรมีประชาชนอพยพมาอาศัยบริเวณไหล่ทางเป็นจำนวนมาก จึงประสานกับกรมทางหลวงชนบทในการจัดการจราจร
อย่างไรก็ตาม สำหรับในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ ได้มอบหมายให้รองผู้ว่าราชการจังหวัด นำอาหารและน้ำดื่มมาแจกจ่ายให้ประชาชน และเมื่อทำการขนย้ายผู้ป่วยเสร็จสิ้น จะดำเนินการเข้าไปรับทันที
ร.พ.อยุธยาอพยพคนป่วย และปชช.นับพัน
พระนครศรีอยุธยาวิกฤติ! สั่งปิด ร.พ.พระนครศรีอยุธยา เร่งอพยพคนป่วยและประชาชนกว่า 1,000 คนออก ขณะระดับน้ำขึ้นต่อเนื่อง ชั้น 1 ท่วมหมด สูงกว่า 1.5 - 2.0 ม. ทางจนท.ขอรัฐนำเรือเข้าช่วยโดยด่วน
แพทย์โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาเปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำท่วมในจ.พระนครศรีอยุธยา ล่าสุด ยังอยู่ในขั้นวิฤกติ โดยในส่วนของโรงพยาบาล ขณะนี้มีน้ำท่วมขังสูงกว่า 1.5 - 2.0 ม. เจ้าหน้าที่ต้องสั่งปิดโรงพยาบาล และทางเจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างการอพยพคนป่วยออกจากโรงพยาบาลไปยังศูนย์อพยพและโรงพยาบาลราชธานี
ทั้งนี้ สำหรับประชาชนที่ติดค้างอยู่ภายในโรงพยาบาลเฉพาะคนไข้มีจำนวนกว่า 600 คน โดยกว่า 300 เป็นคนไข้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และมีอาการป่วยหนัก ขณะที่บุคลากรของทางโรงพยาบาลและประชาชนที่อพยพหนีน้ำเข้าไปอาศัยในโรงพยาบาลมีมากกว่า 1,000 คน ส่งผลให้การอพยพคนออกจากโรงพยาบาลเป็นไปได้ยาก และทางเจ้าหน้าที่ต้องการให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดหาเรือเข้าไปช่วยอพยพโดยเร็วที่สุด เนื่องจากการเดินทางเข้า - ออกโรงพยาบาลนั้น หากไม่นั่งเรือหรือว่ายน้ำออกมาก็ไม่สามารถออกมาได้ เพราะเป็นอันตรายมาก ขณะที่กระแสไฟฟ้าบางอาคารได้ตัดไฟแล้ว ส่งผลสถานการณ์ขณะนี้ค่อนข้างเลวร้ายมากขึ้น
ล่าสุด นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ส่งทีมกู้ชีพเข้าไปช่วยอพยพประชาชนออกจากโรงพยาบาลแล้ว
[8 ตุลาคม] เตือนประชาชนเกาะเมือง อยุธยาเร่งอพยพด่วน
[8 ตุลาคม 2554, 22.35 น.] ศปภ.เตือนปชช.เกาะเมืองกรุงเก่าเร่งอพยพ (ไอเอ็นเอ็น)
ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย แจ้งเตือนประชาชนที่ประสบอุทกภัย บริเวณเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา เร่งอพยพด่วน
พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือ ศปภ. เปิดเผยว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ขอความร่วมมือให้เปิดประตูระบายน้ำพระอินทร์เป็น 50 ซ.ม. เพื่อให้เร่งระบายน้ำให้ทัน เพื่อป้องกันน้ำทะลักเข้าท่วมพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ โดยเบื้องต้นกำลังทหารได้นำแท่งเหล็กไปวางเป็นแนวสะพานกั้นบริเวณด้านหน้าโรงงานฮอนด้า หลังจากแนวคันกั้นน้ำพังลงมา
อย่างไรก็ตามการให้ความช่วยเหลือประชาชนเป็นไปได้ยาก เพราะว่าประชาชนไม่ยอมย้ายออกจากบ้านเรือน ขณะเดียวกันประชาชนก็นำรถยนต์ส่วนตัวไปจอดปิดพื้นผิวจราจร ทำให้การเข้าไปช่วยเหลือเป็นไปได้ยากลำบาก จึงขอให้ประชาชนที่อยู่บริเวณเกาะเมือง เร่งอพยพออกจากพื้นที่ เนื่องจากในคืนนี้ปริมาณน้ำจะสูงขึ้น 4 เมตร หรือ เทียบเท่าตึก 2 ชั้น จึงขอให้ประชาชนอพยพไปที่ศูนย์ราชการใหม่ ที่จะสามารถรองรับประชาชนได้ถึง 10,000 คน และเร่งย้ายออกไปอยู่ในที่ปลอดภัย โดยไม่ต้องเป็นห่วง บ้านเรือน และทรัพย์สิน กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ และทหารเรือ จะลาดตระเวนเข้าไปดูแลในเรื่องดังกล่าวให้
ทั้งนี้ล่าสุด เมิ่อเวลา 20.00 น. ศปภ. ได้ออกประกาศแจ้งเตือนประชาชนที่ประสบอุทกภัย จำนวน 3 ฉบับ ว่าให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยบริเวณเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากระดับน้ำ อยู่ในขั้นวิกฤติ เร่งอพยพออกจากพื้นที่ไปอยู่ในที่ปลอดภัย
+++++++++++++++++++++++++++++++++++
[8 ตุลาคม 2554, 11.30 น.] ผู้ว่าฯอยุธยา เผยน้ำท่วมเกาะเมืองหลายจุด (ไอเอ็นเอ็น)
ผู้ว่าฯอยุธยา เผย สถานการณ์ล่าสุด น้ำเข้าท่วมเกาะเมืองอยุธยาแล้วหลายจุด เร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน อยู่ที่สูงเเล้ว
นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการ จ.พระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ขณะนี้น้ำได้ไหลเข้าท่วมบริเวณเกาะเมือง อ.พระนครศรีอยุธยา แล้ว หลายจุด รวมถึง บริเวณด้านหน้าโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ซึ่งทางโรงพยาบาล ได้ทำคันกั้นน้ำเพิ่มขึ้นอีก 1 จุด และเริ่มขนย้ายอุปกรณ์การแพทย์ต่าง ๆ รวมถึง ผู้ป่วยขึ้นที่สูงแล้ว ซึ่งอยากให้ประชาชนมั่นใจ โดยหากมีผู้ป่วยอาการหนัก ก็สามารถขนย้ายไปยังโรงพยาบาลในกรุงเทพได้ ส่วนประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบเกาะเมืองนั้น เกือบทั้งหมดไม่ยอมย้ายออกมาจากบ้านพัก เนื่องจากเป็นห่วงทรัพย์สินภายในบ้าน จึงได้มีการประชาสัมพันธ์ ให้อยู่บนที่สูง เพื่อความปลอดภัย ทั้งนี้ หากประชาชน ต้องการความช่วยเหลือ หรือ การขนย้ายสิ่งของ ก็สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ทันที
ระดับน้ำที่บางปะอิน-อยุธยา ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2554
ระดับน้ำที่บางปะอิน-อยุธยา ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2554
ระดับน้ำที่บางปะอิน-อยุธยา ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2554
ระดับน้ำที่บางปะอิน-อยุธยา ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2554
ระดับน้ำที่บางปะอิน-อยุธยา ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2554
ระดับน้ำที่บางปะอิน-อยุธยา ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2554
ระดับน้ำที่บางปะอิน-อยุธยา ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2554
ระดับน้ำที่บางปะอิน-อยุธยา ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2554
ระดับน้ำที่บางปะอิน-อยุธยา ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2554
ระดับน้ำที่บางปะอิน-อยุธยา ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2554
ระดับน้ำที่บางปะอิน-อยุธยา ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2554
ระดับน้ำที่บางปะอิน-อยุธยา ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2554
ระดับน้ำที่บางปะอิน-อยุธยา ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2554
ระดับน้ำที่บางปะอิน-อยุธยา ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2554
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ไทยโพสต์, ครอบครัวข่าว 3, เรื่องเล่าเช้านี้, คุณ จิ๊กโก๋สะพายกล้อง
"ยิ่งลักษณ์" รับหนักอกหนักใจอุทกภัย ระทึก! รับพายุอีก 2 ลูกที่พัดเข้า ยังกั๊กประกาศภัยพิบัติทางธรรมชาติ ขอศึกษาก่อน หวั่นกระทบความเชื่อมั่น! "ธีระ" รับวิตกหลังเขื่อนภูมิพลระบายน้ำ ชี้ "นครสวรรค์-ชัยนาท-สิงห์บุรี" เสี่ยง วิทยาเผยอยุธยาจมน้ำแล้ว 80% โรงพยาบาลย้ายผู้ป่วย คุกย้ายนักโทษจ้าละหวั่น ถนนสายเอเชียอัมพาตยาวกว่า 30 กม. นิคมอุตสาหกรรมประกาศปิดพรึ่บ คาดเสียหายหลายหมื่นล้าน ซ่อมยาว 5 เดือน กทม.รู้รสชาติน้ำท่วมบ้าง เขตมีนบุรีอ่วม
ปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ซึ่งยังไม่สามารถแก้ไขได้เริ่มขยายวงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะฝนที่ตกอย่างต่อเนื่องเมื่อช่วงค่ำวันที่ 5 ตุลาคม ก็ส่งผลให้หลายพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครเจอภาวะน้ำท่วมแล้ว ในขณะที่หลายจังหวัดที่น้ำท่วมอยู่ก็ต้องเผชิญกับอุทกภัยที่รุนแรงขึ้น
โดยนายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รองผู้อำนวยการศูนย์สนับสนุนการอำนวยการและการบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.) ระบุถึงสถานการณ์อุทกภัยล่าสุดว่า ยังมีพื้นที่ประสบเหตุ 28 จังหวัด รวม 201 อำเภอ 1,486 ตำบล 11,208 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 826,377 ครัวเรือน 2,604,220 คน ผู้เสียชีวิต 244 ราย สูญหาย 3 ราย
นายวิบูลย์กล่าวต่อว่า สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำ ยังต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เนื่องจากปริมาณน้ำมากและระดับน้ำล้นตลิ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำวัง ลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำมูล ลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำสะแกกรัง และลุ่มน้ำท่าจีน ส่วนลุ่มน้ำเจ้าพระยาปริมาณน้ำไหลผ่าน จ.นครสวรรค์ 4,578 ลบ.ม.ต่อวินาที เขื่อนเจ้าพระยามีปริมาณไหลผ่าน 3,622 ลบ.ม.ต่อวินาที ปริมาณน้ำไหลผ่านที่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา 3,930 ลบ.ม.ต่อวินาที ส่งผลให้พื้นที่ลุ่มต่ำใน 10 จังหวัดที่อยู่ริมแม่น้ำได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำล้นตลิ่งที่มีแนวโน้มเพิ่ม สูงขึ้น เช่นเดียวกับสถานการณ์น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ยังอยู่ในภาวะวิกฤติ โดยเฉพาะเขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำ 98%, เขื่อนสิริกิติ์ 99%, เขื่อนแควน้อย 98% และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 136%
นายวิบูลย์ กล่าวว่า ในระยะ 1-2 วันนี้ยังมีฝนตกกระจายเกือบทั่วไปและมีฝนตกหนักบางแห่งทางด้านภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนระมัดระวังอันตรายจากภาวะฝนตกหนัก โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยที่ลาดเชิงเขา ในขณะที่เขื่อนภูมิพลและป่าสักชลสิทธิ์จะมีการระบายน้ำออกต่อเนื่อง จึงขอเตือนให้จังหวัดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ท้ายเขื่อนทั้งสองแห่งเตรียมรับ มือด้วย โดยเฉพาะช่วงวันที่ 13-16 ต.ค. ซึ่งน้ำทะเลหนุนสูงขึ้นด้วย
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะได้เดินทางไปที่กรมชลประทาน เพื่อรับฟังรายงานสถานการณ์น้ำท่วมภาพรวมทั่วประเทศ ซึ่งนายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทานได้รายงานว่า สถานการณ์น้ำในภาพรวมอยู่ในภาวะวิกฤติ ปริมาณน้ำมากกว่าปีที่แล้วเฉลี่ยถึง 48% และในระหว่างการหารือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้กำชับให้นายพระนาย สุวรรณรัฐ ปลัดกระทรวงมหาดไทยสั่งการผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดเตรียมรับมือพายุ ลูกใหม่ที่จะเข้ามาในอีกไม่กี่วัน โดยให้เพิ่มแนวคันกั้นน้ำและเคลื่อนย้ายประชาชนไปที่ปลอดภัย
"ขณะนี้อยู่ในขั้นวิกฤติและรู้สึกหนักใจกับสถานการณ์ เนื่องจากจะมีพายุลูกใหม่เข้ามาอีก แต่หากสามารถระบายน้ำได้ก็เชื่อว่าจะควบคุมสถานการณ์ได้ เพราะทุกฝ่ายทำงานอย่างเต็มที่" น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวยอมรับก่อนขึ้นเฮลิคอปเตอร์แบล็กฮอว์กจากกองพลทหารม้า ที่ 2 รักษาพระองค์ เพื่อตรวจสถานการณ์น้ำที่ อ.พระนครศรีอยุธยา และ อ.บางประหัน จ.พระนครศรีอยุธยา
และภายหลังลงพื้นที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ได้กำชับให้ทุกฝ่ายดูแลเต็มที่ทั้งเรื่องการอพยพประชาชน ส่วนเรื่องโรงงานอุตสาหกรรมก็มอบให้ รมว.อุตสาหกรรมดูแล ส่วนการจะประกาศภัยพิบัติทางธรรมชาติหรือไม่นั้น หลักการการประกาศต้องขอเวลาไปศึกษา เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการประกาศ เพื่อให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติตามคำสั่ง ซึ่งทุกวันนี้เราก็ทำงานเป็นทีมและทุกหน่วยงานก็ทำงานอย่างเต็มที่ การประกาศเร็วเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นต่าง ๆ ด้วย
เมื่อถามถึงการเตรียมแผนรับมือน้ำที่จะไหลมาจากเขื่อนภูมิพล น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า จะทำทุกทาง สิ่งแรกคือเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลทั้ง 2 ทาง ทั้งใช้เครื่องสูบน้ำ เครื่องผันน้ำ และเรือ ขณะเดียวกันก็จะมีบางพื้นที่ที่เราต้องขุดลอกคูคลอง รวมทั้งเร่งป้องกันในพื้นที่ และกำชับผู้ว่าให้ดูแลประชาชนอย่างเต็มที่ ส่วนพายุลูกใหม่นั้นเรายังไม่ทราบปริมาณที่แน่นอน ต้องขอประเมินก่อน วันนี้เราประเมินถึงช่วงกลางเดือน ต.ค.นี้ก่อน
รอลุ้นพายุอีก 2 ลูก
"น้ำเยอะจริง ๆ วันนี้เราเจอพายุมา 5 ลูกแล้ว จะมาอีก 2 ลูก ถือว่าบางพื้นที่น้ำสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา เป็นเรื่องที่ลำบากมากที่ว่าน้ำต่าง ๆ ไม่มีทางออก เราจึงอาศัยจังหวะที่ก่อนที่น้ำทะเลจะหนุนสูง เพื่อเร่งระบายน้ำออก" น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว
สำหรับพื้นที่ กทม. จะมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดน้ำท่วมหรือไม่ นายกฯ ตอบว่า อธิบดีกรมชลฯ ยืนยันว่ายังปลอดภัยอยู่ ส่วนความคืบหน้าการซ่อมแซมประตูระบายน้ำบางโฉมศรีนั้นคืบหน้าไปแล้วกว่า 40%
นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า น้ำจากเขื่อนภูมิพลที่จะปล่อยลงมาจะทำให้วันที่ 13-14 ต.ค.ประมาณน้ำใน จ.นครสวรรค์จะอยู่ที่ 5,500 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที จากเดิมที่อยู่ระดับ 4,500 ลบ.ม.ต่อวินาที จากนั้นวันที่ 14-15 ต.ค.ปริมาณน้ำจะเริ่มมาถึง จ.ชัยนาท และวันที่ 16-17 ต.ค.จะมาถึง อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา
นายธีระ กล่าวต่อว่า หากปริมาณน้ำไหลเข้ามามากกว่าที่คาดการณ์ไว้ จะทำให้ปริมาณน้ำอาจแผ่กระจายในพื้นที่ 3 ส่วน กลุ่มแรกคือสิงห์บุรี ขึ้นไปข้างบนพื้นที่อาจขยายวงน้ำท่วม กลุ่มสองพื้นที่จังหวัดที่น้ำท่วมอยู่แล้วจะดูแลอย่างไร และส่วนพื้นที่ที่สามคือพื้นที่ชายทะเล ส่วนพื้นที่รอบสนามบินสุวรรณภูมิไม่น่ามีปัญหา เพราะโครงการระบายน้ำรอบบริเวณสุวรรณภูมิเสร็จเรียบร้อยแล้ว
"ผมห่วง จ.พระนครศรีอยุธยา จ.ลพบุรี ที่เป็นปัญหาอยู่ เพราะอยุธยาเป็นจุดรวมของแม่น้ำหลายสาย ซึ่งเมื่อก่อนแม่น้ำลพบุรีไม่มากขนาดนี้ แต่ขณะนี้แม่น้ำลพบุรีมีมากขึ้น ส่วนประตูระบายน้ำบางโฉมศรีคาดว่าจะซ่อมให้เสร็จไม่เกิน 10 วัน แต่หากสถานการณ์ฝนไม่ตกอีกจะเสร็จเร็วขึ้น" นายธีระ กล่าว
สำหรับสถานการณ์ใน จ.พระนครศรีอยุธยานั้น ปริมาณน้ำยังคงไหลเข้าจังหวัดอย่างต่อเนื่อง โดยนายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข ยอมรับว่า วิกฤติหนัก โดยได้สั่งให้อพยพประชาชนในหลายพื้นที่แล้ว ในขณะที่นิคมอุตสาหกรรมก็ต้องเร่งเสริมแนวป้องกันให้มากที่สุด ส่วนโรงพยาบาลหลายแห่งก็มีการอพยพคนไข้แล้วทั้ง รพ.บางปะหัน, รพ.พระนครศรีอยุธยา และ รพ.ชุมชนต่าง ๆ
ขณะเดียวกัน ปภ.ได้ประกาศยกเลิกการอพยพประชาชนไปยังสนามกีฬาจังหวัด ที่ ต.คลองสวนพลู อ.พระนครศรีอยุธยาแล้ว เนื่องจากน้ำไหลทะลักเข้าท่วมบริเวณรอบนอก และจ่อทะลักเข้าท่วมภายในสนามกีฬา ซึ่งพื้นที่ทั้งจังหวัดถูกน้ำท่วมไปแล้วกว่า 80% ขณะเดียวกันน้ำได้เอ่อล้นทะลักเข้าท่วมตลาดน้ำอโยธยา และไหลเข้าท่วมถนนสายเอเชียช่วงบางปะหัน-อ่างทอง ทำให้รถติดยาวเหยียดกว่า 30 กิโลเมตรทั้งขาเข้าและออก จนต้องแนะให้ผู้ที่ต้องสัญจรไปทางเหนือเลี่ยงไปใช้เส้นทางวงแหวนตะวันตกผ่าน สุพรรณบุรีและอ่างทองแทน ในขณะที่เรือนจำกลางจังหวัดก็ต้องอพยพนักโทษเช่นกัน เนื่องจากมีระดับน้ำสูงถึง 1.50-2 เมตร
สภาพการจราจรบนถนนสายเอเชีย
สายเอเชียอัมพาตหนัก
พ.ต.อ.ดิเรก ปลั่งดี ผู้กำกับการ 1 กองบังคับการตำรวจทางหลวงชี้ว่า ถ.สายเอเชีย ช่วง อ.บางปะหัน เป็นอัมพาตยาวกว่า 10 กิโลเมตร เนื่องจากการจราจรขาออกสามารถใช้ได้เพียง 1 ช่องจราจรเท่านั้น อีกทั้งมีปริมาณรถสะสมตั้งแต่เมื่อช่วงเช้า ส่วนกลับกันขาเข้ากรุงเทพฯ ยังใช้การไม่ได้ เนื่องจากถนนมีน้ำท่วมขังสูง จึงจำเป็นต้องปิดการจราจรเพื่อไม่ให้รถไปสะสมเพิ่ม จึงฝากไปยังประชาชนให้หลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว
บขส.เดินรถไปเหนือแล้ว ใช้สายบางบัวทองแทน
ในขณะที่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บ.ข.ส.) หลังจากได้ประกาศหยุดการเดินรถไปภาคเหนือทุกเส้นทางวานนี้ (6 ตุลาคม) ล่าสุดวันนี้ (7 ตุลาคม) ทาง บขส. ได้เปิดเดินรถโดยสาร เฉพาะ 99 เส้นทาง ไปสู่จังหวัดในภาคเหนือ ตามปกติแล้ว แต่จะไม่ใช้เส้นทางถนนสายเอเชีย เนื่องจากปัญหาน้ำท่วมสูง โดยจะเลี่ยงไปเดินรถในเส้นทางสายบางบัวทอง-สุพรรณบุรี-อ่างทอง แทน ทั้งนี้เพื่อการอำนวยความสะดวก และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ต้องการเดินทางระยะยาว
ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่หมายเลข 1490 เรียก บขส. ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าฯ พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ช่วงวิกฤติน้ำท่วมจริง ๆ ของจังหวัดจะมาถึงในอีก 3-7 วันข้างหน้า เพราะได้รับมวลน้ำหลักมาจากแม่น้ำลพบุรีที่ไหลเข้ามามากที่สุด นอกจากนี้ยังมีมวลน้ำรองที่มาจากแม่น้ำป่าสัก และมีน้ำจากเจ้าพระยาเข้ามาสบทบด้วย คาดว่าจะทำให้ระดับน้ำเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร
ส่วนผลกระทบต่อนิคมอุตสาหกรรมนั้น นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ยอมรับว่า เริ่มได้รับผลกระทบบ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะกรณีนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเป็นโรงงานชิ้นส่วนยานยนต์ที่ส่งป้อนให้ค่ายโตโยต้าและ ฮอนด้า ส่วนค่ายรถยนต์อื่นๆ อยู่ระหว่างตรวจสอบว่าจะได้รับผลหรือไม่
นายถาวร ชลัษเฐียร โฆษกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย กล่าวว่า กระทบต่อโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ราว 5-6 บริษัท หรือคิดเป็นสัดส่วน 10% ของผู้ผลิตชิ้นส่วนทั้งระบบ และคาดว่าจะกระทบต่อการผลิตชิ้นส่วนและรถยนต์ราว 1 สัปดาห์เท่านั้น เพราะเชื่อว่าโรงงานจะเร่งนำแม่พิมพ์ต่างๆ ไปให้โรงงานอื่นผลิตชิ้นส่วนแทน
ล่าสุด เขตประกอบการนิคมอุตสาหกรรมโรจนะได้ประกาศให้โรงงาน 198 แห่งปิดโรงงานชั่วคราว 2-3 วัน เพราะเกรงว่าน้ำจะทะลักเข้ามาในนิคมฯ จนทำให้โรงงานได้รับความเสียหายได้ ส่งผลให้ต้องอพยพแรงงานประมาณ 90,000 คนกลับบ้านไปก่อน ส่วนโรงงานชิ้นส่วนยานยนต์ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนะ 3 แห่งที่ส่งป้อนให้ค่ายฮอนด้าก็ปิดดำเนินการ 5 วัน ทำให้ยอดการผลิตรถยนต์ของฮอนด้าหายไป 5,000 คัน
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรมเผยว่า ความรุนแรงของเหตุการณ์น้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร การฟื้นฟูทั้งหมดอาจขยายเป็น 5 เดือน จากเดิมประเมินไว้ที่ 3 เดือน และมูลค่าความเสียหายน่าจะมากกว่า 3 หมื่นล้านบาทแน่นอน
นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า เบื้องต้นประเมินความเสียหายอยู่ที่ 25,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นความเสียหายทั้งโดยตรงและอ้อม
ส่วนที่สระบุรีนั้น น้ำจากแม่น้ำป่าสักได้เอ่อไหลทะลักเข้าท่วมเขตพื้นที่ อ.ดอนพุด โดยในบางหมู่บ้านสูงถึง 3 เมตรแล้ว ซึ่งผู้ว่าฯ ก็ได้สั่งหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินรีบอพยพประชาชนออกนอกพื้นที่ให้มาอาศัยที่ บริเวณอาคารของโรงเรียนเทพศิรินทร์ พุแค อ.เฉลิมพระเกียรติ และล่าสุดก็ได้สั่งปิดการจราจรในสะพานข้ามแม่น้ำป่าสักกลางจังหวัดแล้ว
เขตมีนฯ รับรู้รสน้ำท่วม
ด้านสถานการณ์น้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ นั้น นายสัญญา ชีนิมิตร ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กทม. กล่าวว่า เมื่อวันที่ 5 ต.ค.ร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านพื้นที่ กทม. ทำให้เกิดฝนตกลงมาอย่างหนักเมื่อช่วงค่ำ มีปริมาณฝนสูงสุดวัดได้ที่เขตมีนบุรี 143 มิลลิเมตร น้ำท่วมขังในบางพื้นที่ เจ้าหน้าที่ต้องเร่งสูบน้ำให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ และคาดว่าวันนี้จะยังคงมีฝนตกเช่นเดิม ส่วนน้ำทะลนั้นโดยรวมถือว่าปกติ ยังสามารถรับมือได้ แต่จากปริมาณน้ำที่สูงขึ้น จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในทุกจุดของพื้นที่
"กทม.ได้เตรียมการพัฒนาเรื่องน้ำมาตั้งแต่ปี 2526 โดยมีการทำโครงการและพัฒนาศึกษาวิจัยมาโดยตลอด ทำให้ปัจจุบัน กทม. สามารถรับมือสถานการณ์น้ำได้" นายสัญญา ยืนยัน
โดยเหตุการณ์น้ำท่วมที่ กทม.เมื่อวันที่ 5 ต.ค.ทำให้หลายพื้นที่เกิดน้ำท่วมฉบับพลัน โดยเฉพาะหมู่บ้านบัวขาว เขตมีนบุรี กทม. ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจากน้ำในคลองที่พาดผ่านหมู่บ้านล้นขึ้นมาบนถนน สูงกว่า 1 เมตร แม้ตลอดทั้งวันจะระบายน้ำลงได้ แต่ปริมาณน้ำก็ยังท่วมขังสูงอยู่
นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า ต้องดูสถานการณ์ก่อน เพราะน้ำจะลดหรือไม่ขึ้นอยู่กับฝน ถ้าฝนตกก็จะใช้เวลาเป็นเดือน แต่ต้องยอมรับว่าขณะนี้อยู่ในฤดูฝนและมรสุมเข้า ดังนั้นจึงยังไม่มีใครตอบได้ว่าฝนจะหนักขนาดไหน และนานเท่าไหร่
"เห็นใจคนที่อยู่ด้านนอก และขณะนี้ได้เปิดคันดินต่าง ๆ เพื่อให้น้ำเข้า กทม. จากนั้นจะดึงน้ำออกทางอุโมงค์ ในกรณีที่ด้านใน กทม.ไม่มีฝนตกสามารถดึงน้ำออกได้ 10 ล้าน ลบ.ม.ต่อชั่วโมง และก็จะทำแบบนี้ไปทุกวัน"
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
[6 ตุลาคม] อยุธยาวิกฤตหนัก! สูญแสนล้านเซ่น อุทกภัย
อยุธยาวิกฤตหนัก! สูญแสนล้านเซ่น อุทกภัย (ไทยโพสต์)
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ครอบครัวข่าว 3, ครอบครัวข่าว 3, ครอบครัวข่าว 3, ครอบครัวข่าว 3
อยุธยาวิกฤติหนัก น้ำทะลักท่วม 16 อำเภอ นิคมฯ 46 แห่งขนของไม่ทัน ชาวบ้านสุดทนรวมตัวแบกจอบเสียมพังคันดินเปิดทางน้ำไหล รมว.สธ.เผยเสียหายกว่า 1 แสนล้านบาท ทุกเขื่อนอั้นไม่อยู่ ปริมาณน้ำในอ่างมากถึง 92% เขื่อนภูมิพลปล่อยน้ำแล้ว เตือนพื้นที่ใต้เขื่อนอพยพ นครสวรรค์อ่วมอีก
สถานการณ์น้ำท่วมใน จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม เริ่มวิกฤติหนัก โดยกระแสน้ำจากแม่น้ำน้อย แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี และกระแสน้ำหลากตามทุ่งจาก จ.ลพบุรี ได้ไหลเข้าท่วมหลายพื้นที่ของ จ.พระนครศรีอยุธยา อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ชุมชนสองฝั่งแม่น้ำและเขตทุ่งนา ใน 16 อำเภอของจังหวัด
ทั้งนี้ ในจำนวนนี้มีถึง 14 อำเภอที่โดนน้ำท่วมอย่างหนัก และบางอำเภอถูกตัดขาดจากโลกภายนอกแล้ว เนื่องจากถนนถูกน้ำท่วมไม่สามารถสัญจรได้ เช่น อ.บ้านแพรก อ.มหาราช อ.ท่าเรือ อ.ผักไห่ ขณะที่ อ.พระนครศรีอยุธยา และ อ.นครหลวง เริ่มได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมอย่างหนัก โดยคันกั้นน้ำของนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนคร ต.บางพระครู อ.นครหลวง ไม่สามารถต้านทานกระแสน้ำได้และพังลงเมื่อกลางดึกที่ผ่านมา ส่งผลให้น้ำเอ่อเข้าท่วมโรงงานขนาดใหญ่และขนาดกลางในนิคมฯ กว่า 46 แห่ง โดยเกือบทุกโรงงานไม่สามารถที่จะขนย้ายสิ่งของได้ทัน
ในส่วนอุตสาหกรรมสหรัตนคร อ.นครหลวง ถูกน้ำท่วมสูงเกือบ 2 เมตร ทำให้โรงงานทั้ง 46 บริษัทต้องปิดกิจการ พนักงานทั้งชายหญิงกว่า 1 หมื่นคนต้องรีบออกจากโรงงานและที่พักออกมาทางเรือด้วยความยากลำบาก เนื่องจากระแสน้ำไหลเชี่ยวกราก และยังเหลืออีกกว่า 300 คนที่ออกไม่ได้ บางรายต้องอดอาหารและน้ำดื่มมาแล้ว 2 วัน หน่วยกู้ภัยอยุธยารวมใจ เจ้าหน้าที่ทหารบก จ.สระบุรี ได้นำเรือเข้าไปช่วยเหลือ
ในช่วงบ่าย ถนนโรจนะซึ่งเป็นถนนสายหลักเข้า-ออกตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา พบว่า ช่วงขาออกตั้งแต่วงเวียนเจดีย์วัดสามปลื้ม ต.ไผ่ลิง ไปจนถึงแยกวัดพระญาติฯ ถนนช่องคู่ขนานน้ำท่วมสูงประมาณ 80 ซม. รถไม่สามารถวิ่งได้ จนเข้าท่วมในช่องทางด่วน ส่งผลให้การจราจรติดขัดยาวกว่า 5 กิโลเมตร และยังพบว่าบ้านเรือนในชุมชนการเคหะฯ ที่อยู่ริมถนนโรจนะขาออกถูกน้ำท่วมสูง 1.50 เมตร น้ำยังไหลบ่าเข้าท่วมชุมชนเจ้าพ่อจุ้ย ม.5 ต.ไผ่ลิง มีบ้านเรือนถูกน้ำท่วมไปกว่า 1,000 หลังคาเรือน แรงดันของน้ำทำให้มีบ้านเรือนที่สร้างพนังคอนกรีตกั้นน้ำเอาไว้ระเบิดพัง เสียหายไป 3 หลัง
ขณะที่ชาวบ้านเกิดความเครียดทนไม่ไหวเกือบร้อยคนต่างรวมตัวกันเดินลุยน้ำที่ท่วมถึงหน้าอกพร้อมจอบเสียมออกมาเรียกร้องให้เทศบาลเมืองอโยธยาเปิดคันกั้นน้ำที่ริมถนนหน้าวัดพระญาติฯ ช่วยกันใช้จอบเสียมมือเปล่าพังคันดิน กว้างกว่า 60 ซม.จนน้ำไหลข้ามฝั่งไปท่วมถนนอีกด้านหนึ่ง
ต่อมา นายทวีศักดิ์ เมธีดล รองนายกเทศมนตรีเมืองอโยธยา พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.พระนครศรีอยุธยา ได้เข้าเจรจากระทั่งมีปากเสียงกันจนเกือบจะมีการลงไม้ลงมือ แต่สถานการณ์คลี่คลายไปได้เมื่อทางเทศบาลยอมผ่อนคลายให้มีการเปิดทางน้ำได้
ช่วงค่ำ น้ำจากเจ้าพระยาและป่าสักไหลทะลักพังคันดินด้านวัดหันตราและบ้านเกาะ น้ำทะลักเข้าท่วมที่ทำการเทศบาลเมืองอโยธยา ตลาดน้ำอโยธยาที่มีชื่อเสียงจมบาดาล ขยายวงกว้างท่วมชุมชนวัดพระญาติการาม ชุมชนวัดกะสังข์ หมู่บ้านเคหะชุมชน ถนนสายโรจนะฝั่งขาออก-บริเวณวงเวียนเจดีย์วัดสามปลื้มสูง 50 ซม. การจราจรใช้ได้ช่วงทางเดียว และได้ทะลักเข้าท่วมเรือนจำกลางพระนครศรีอยุธยาบางส่วนเสียหายแสนล้าน
นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่น้ำท่วม จ.พระนครศรีอยุธยา ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหาย โดยเบื้องต้นประเมินว่ามูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท
วันเดียวกัน ที่สนามกีฬากระทรวงสาธารณสุข นายวิทยาเป็นประธานการปล่อยคาราวานลำเลียงยาและเวชภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือผู้ ประสบภัยน้ำท่วมทางเฮลิคอปเตอร์ ไปยัง จ.ลพบุรี นำร่อง 7 จุดแรกที่เข้าถึงยาก
นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยหลังลงพื้นที่วัดไชยวัฒนาราม อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่น้ำท่วม ว่า ได้นำทีมวิศวกรโยธาของสำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร เข้าหารือกับสำนักงานโยธาธิการและผังเมือง จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อที่จะนำแผ่นเหล็กชิพพลายสำหรับกันดินสไลด์ในงานก่อสร้าง นำมาใช้ในการปิดช่องที่กำแพงวัดไชยวัฒนารามทางด้านทิศใต้ เพื่อไม่ให้น้ำจากด้านนอกไหลเข้าไปสมทบอีก
"สำนักศิลปากรแต่ละพื้นที่เขตภูมิภาคได้รายงานสำรวจน้ำท่วมโบราณสถานมาให้ กรมศิลปากร โดยสรุปภาพรวมเบื้องต้นทั้งที่เสียหายมากและเล็กน้อยถึงวันที่ 3 ตุลาคม จำนวนกว่า 60 แห่ง โดยเฉพาะที่ จ.พระนครศรีอยุธยา มีจำนวนร่วม 20 แห่ง เบื้องต้นเสียหายกว่า 1,000 ล้านบาท" นางโสมสุดากล่าว
ส่วนความคืบหน้าการซ่อมแซมประตูระบายน้ำบางโฉมศรี อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า มีความคืบหน้าในการใช้กล่องลวดบรรจุหิน หรือ "เกเบี้ยน" เพื่ออุดช่องคันกั้นที่ขาดแล้วจำนวน 2,863 กล่อง คิดเป็น 39% จากจำนวนทั้งสิ้น 7,300 กล่อง รวมทั้งได้ทิ้งหินขนาดใหญ่จำนวน 200 ลูกบาศก์เมตรเข้าไปเสริมด้วยแล้ว คาดว่าแล้วเสร็จภายใน 10 วันอย่างแน่นอน
ส่วนที่ประตูระบายน้ำพระงาม อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ที่คันกั้นน้ำขาดจนส่งผลให้น้ำไหลเข้าท่วมหลายพื้นที่ของ จ.อ่างทอง ลงมาถึงระดับน้ำในแม่น้ำน้อยที่สูงขึ้นและส่งผลต่อเนื่องถึงหลายจังหวัดใน ลุ่มน้ำเจ้าพระยานั้น ขณะนี้ความคืบหน้าการดำเนินการแล้วเสร็จประมาณ 90% คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2-3 วันนี้ ทุกเขื่อนอั้นไม่ไหว
รมว.เกษตรฯ กล่าวถึงสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศในขณะนี้ว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำในทุกเขื่อนทั่วประเทศ มีร้อยละ 92 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 18,200 ลบ.ม. ซึ่งสามารถรับน้ำได้อีก 6,200 ลบ.ม.
ด้านนายสามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลได้เข้าขั้นวิกฤติในวันนี้ ทางเขื่อนได้เปิดประตูระบายน้ำล้นทั้งสองบาน ซึ่งจะมีน้ำลงสู่แม่น้ำปิงอีกประมาณ 100 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ เนื่องจากได้มีน้ำไหลเข้าเขื่อนเกิน 300 ล้านลูกบาศก์เมตร สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งเกินกว่าที่ทางเขื่อนภูมิพลจะรับไหว ซึ่งหากเขื่อนภูมิพลเปิดประตูระบายน้ำหมดทั้งสองบาน ระดับน้ำในลำน้ำปิงจะสูงขึ้นมาอีก 1 เมตร ซึ่งจะท่วมบ้านเรือนราษฎรที่อาศัยริมแม่น้ำปิง ตั้งแต่ อ.สามเงา อ.บ้านตาก อ.เมืองตาก และ อ.วังเจ้า รวมทั้งพื้นที่ของจังหวัดกำแพงเพชรด้วย จึงขอเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำปิงทั้ง จ.ตาก และ จ.กำแพงเพชร เตรียมรับมือน้ำท่วมสูง
เช่นเดียวกับระดับน้ำในอ่างกักเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น อยู่ในขั้นวิกฤติเช่นกัน ได้มีการสั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตือนชาวบ้านท้ายน้ำเร่งอพยพไปที่ปลอดภัย แล้ว
ขณะที่ชาวบ้าน 7 ตำบล 36 หมู่บ้าน 4,800 ครัวเรือน ที่อาศัยอยู่ติดริมลำน้ำมูล-น้ำชี อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ เร่งอพยพขนย้ายสิ่งของ สัตว์เลี้ยงขึ้นสู่ที่สูง เตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วม หลังน้ำเหนือจากโคราชได้ไหลลงสู่น้ำมูล ส่งผลให้ระดับน้ำหนุนสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
ที่กระทรวงมหาดไทย นายพระนาย สุวรรณรัฐ รักษาการปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์สนับสนุนการอำนวยการและการบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.) เป็นประธานในการประชุม ศอส. โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานสถานการณ์และรับทราบความคืบหน้าในการแก้ไข ปัญหาอุทกภัย ซึ่งจากรายงานทราบว่าขณะนี้ทางเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ได้ทยอยปล่อยน้ำมากขึ้นถึงวันละ 100 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) คิดเป็นความเร็วน้ำประมาณ 1,200 ลบ.ม./วินาที
โดยนายพระนาย กล่าวว่า ปัญหาปริมาณน้ำที่ถูกปล่อยจากเขื่อนภูมิพล และปริมาณน้ำจะไหลบ่าเข้าพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ในช่วง 1-2 วันนี้ ได้มีการกำชับให้เฝ้าระวังในพื้นที่เสี่ยงตรวจสอบคันกั้นน้ำ เนื่องจากจะทำให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นไม่ต่ำกว่า 30 เซนติเมตร จากรายงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจเป็นไปได้ว่าภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ สภาพอากาศจะเกิดการเปลี่ยนแปลง ลมหนาวจะเข้ามาเร็วขึ้น ในวันที่ 8-9 ต.ค. อาจได้เห็นฟ้าใส ทำให้ปริมาณฝนที่จะตกลงมาคงจะหมดไปเร็วด้วย ดังนั้นก็จะมุ่งเน้นไปในเรื่องของการเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเล
ขณะที่ นายวิรัตน์ ทำทอง เจ้าหน้าที่ศูนย์ป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า จากข้อมูลปริมาณน้ำจนถึงขณะนี้ ยังมั่นใจว่าพื้นที่กรุงเทพมหานครจะไม่มีปัญหา
ด้านนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รมว.มหาดไทย กล่าวว่า จะลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูแลในเรื่องของการผลักดันน้ำ รวม 5 ชุด แบ่งตามพื้นที่จังหวัด ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร โดยมีผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าคณะทำงานในแต่ละชุด และผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยเป็นรองหัวหน้าคณะทำงาน
อยุธยารอเรือนจำประสานช่วยย้ายนักโทษ
ผบก.ภ.จว.พระนครศรีอยุธยา รอเรือนจำอยุธยาประสานช่วยย้ายนักโทษ พร้อมจัดกำลังดูแลประชาชนเท่าที่ทำได้ ระบุสถานการณ์ยังวิกฤติพื้นที่ส่วนใหญ่ถูกน้ำท่วมเกือบหมด
พล.ต.ต.อนุรักษ์ แตงเกษม ผู้บังคับการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ขณะนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจยังอยู่ระหว่างการรอประสานกับทางเรือนจำจังหวัด และเรือนจำกลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถนนสายเอเชีย ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา หลังน้ำได้เอ่อล้นเข้าท่วมเรือนจำ สูงเกือบ 2 เมตร และเจ้าหน้าที่เตรียมอพยพ นักโทษ ทั้งสองเรือนจำ ที่มีทั้งหมดประมาณ 5,000 คน ไปยังพื้นที่ปลอดภัย โดยในส่วนของเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้น ทำได้เพียงรอการประสานจากทางเรือนจำว่า ต้องการให้เข้าไปช่วยดำเนินการอย่างไรได้บ้าง ส่วนการย้ายนักโทษนั้น ตนไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดอะไรได้ เนื่องจากเป็นความลับของทางกรมราชทัณฑ์
อย่างไรก็ตาม พล.ต.ต.อนุรักษ์ กล่าวว่า สถานการณ์น้ำในจังหวัดนั้น ถือว่า ยังอยู่ในขั้นวิกฤติ เนื่องจากน้ำได้ท่วมเกือบทุกพื้นที่ ขณะเจ้าหน้าที่ทุกหน่วย ก็มีการเตรียมความพร้อมและเร่งให้การช่วยเหลือ ประชาชนในพื้นที่แล้วแต่ก็ทำได้ยากลำบาก จึงขอความร่วมมือจากประชาชนให้ติดตามสถานการณ์ และวางแผนในการอพยพ และระมัดระวังภัยจากปัญหาน้ำท่วมด้วย
กรมราชทัณฑ์เตรียมย้ายนักโทษในอยุธยา
รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เตรียมย้ายนักโทษ 1,700 คน ไปคุมขังเรือนจำใกล้ในจังหวัดปทุมฯ และ กทม. หลังน้ำท่วมสูง มั่นใจไม่เกิดเหตุจลาจล ประสานตำรวจเจ้าหน้าที่รับมือ
นายฐานิส ศรียะพันธ์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยสำนักข่าว INN เกี่ยวกับความคืบหน้าการย้ายนักโทษจากเรือนจำกลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากเกิดน้ำท่วมขังในเรือนจำสูงกว่า 2 เมตร โดยระบุว่า ล่าสุด พันตำรวจเอกสุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชการทัณฑ์ ได้สั่งการให้ นายสมศักดิ์ รังสิโยภาส รองอธิบดี ลงพื้นที่ไปดูแลและควบคุมสั่งการให้เริ่มดำเนินการย้ายนักโทษทั้งหมดแล้ว โดยเจ้าหน้าที่จะดำเนินการย้ายนักโทษเฉพาะในเรือนจำกลางพระนครศรีอยุธยา ที่มีจำนวน 1,700 ราย ไปยังเรือนจำในพื้นที่ใกล้เคียงเป็นการชั่วคราว จนกว่าสถานการณ์น้ำจะคลี่คลาย อาทิ ทั้งในเรือนจำจังหวัดปทุมธานี และเรือนจำในกรุงเทพ โดยจะมีการระดมกำลังเจ้าหน้าที่จากกรมราชทัณฑ์ ทั้งในส่วนกลางและจังหวัด พร้อมประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจบางส่วน เข้าไปช่วยดำเนินการด้วย
ทั้งนี้ ยืนยัน ว่าในการย้ายนักโทษนั้น ไม่น่ามีอะไรเป็นกังวล เนื่องจากทางเจ้าหน้าที่มีแผนการปฏิบติที่ค่อนข้างรัดกุม ส่วนเรือนที่นักโทษจะย้ายเข้าไปอาศัยนั้น เนื่องจากมีการอาศัยชั่วคราว จึงมั่นใจว่า ไม่น่าจะเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงขึ้นอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ยังกล่าวด้วยว่า พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้สั่งการให้ทางกรมราชทัณฑ์ เฝ้าระวัง และเตรียมแผนสำหรับย้ายนักโทษในพื้นที่อื่นๆ อีก อาทิ จังหวัดปทุมธานีเป็นต้น
ถนนสายเอเชีย-บางปะหัน รถติดยาว 10 กม.
ตำรวจทางหลวงเผย ถนนสายเอเชีย ช่วง อ.บางปะหัน ติดขัดยาวกว่า 10 กม. ระดมเจ้าหน้าที่เร่งคลี่คลาย พร้อมแนะทางเลี่ยงประชาชน
พ.ต.อ.ดิเรก ปลั่งดี ผู้กำกับการ 1 กองบังคับการตำรวจทางหลวง เปิดเผยว่า ขณะนี้ถนนสายเอเชีย ช่วงอำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นอัมพาตยาวกว่า 10 กิโลเมตร เนื่องจากการจราจรขาออก สามารถใช้การได้เพียง 1 ช่องจราจรเท่านั้น อีกทั้ง ยังมีปริมาณรถสะสม ตั้งแต่เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ส่วนกลับกัน ขาเข้ากรุงเทพฯ ยังใช้การไม่ได้ ทั้งรถเล็กและรถใหญ่ เนื่องจากมีน้ำท่วมขังสูง จึงจำเป็นต้องปิดการจราจร เพื่อไม่ให้รถไปสะสมเพิ่ม
ทั้งนี้ ฝากประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชนให้หลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว โดยประชาชนที่จะเดินทางเข้ามายังกรุงเทพฯ ให้ใช้เส้นทาง ถนนเลี่ยงเมือง ตั้งแต่จังหวัดอ่างทอง ต่อไปยัง อำเภอวิเศษชัยชาญ และถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี ส่วนประชาชนที่จะเดินทางออกจากกรุงเทพฯ ไปทางภาคเหนือ ให้ใช้เส้นทาง ต่างระดับบางปะอิน ออกวงแหวนตะวันตก เพื่อบรรจบกับ ถนนตลิ่นชัน-สุพรรณบุรี
พร้อมกันนี้ พ.ต.อ.ดิเรก ยังกล่าวด้วยว่า ขณะนี้ ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวง ลงพื้นที่เพื่อควบคุม และจัดการจราจร รวมไปถึง แนะนำเส้นทางเลี่ยงให้แก่ประชาชนแล้ว
รพ.บางปะหัน ปิดให้บริการเหตุน้ำทะลัก
รมว.สาธารณสุข เผยโรงพยาบาลบางปะหัน ปิดให้บริการชั่วคราวแล้ว เหตุวิกฤติน้ำท่วมสูง สั่งแพทย์ฉุกเฉินเตรียม ฮ. พร้อม 24 ชั่วโมง
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาขณะนี้อยู่ในขั้นวิกฤติหนัก ซึ่งได้กำชับ ผู้ว่าฯ ให้มีมาตรการอพยพประชาชน ไปอยู่ในที่ ที่ปลอดภัยแล้ว โดยมีภาคเอกชน มอบอาคารพาณิชย์ประมาณ 100 คูหา ให้เป็นที่พักอาศัยชั่วคราว สำหรับผลกระทบต่อสถานพยาบาล ขณะนี้ ได้สั่งปิดโรงพยาบาลบางปะหันแล้ว เนื่องจากมีน้ำท่วมสูงจากพื้นที่ 30-40 ซม. และเพิ่มขึ้นชั่วโมงละ 1 ซม. จึงได้มีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ที่อาการทรงตัว ไปยังโรงพยาบาลใกล้เคียง อาทิ โรงพยาบาลอ่างทอง โรงพยาบาลอุทัย โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช และโรงพยาบาลวังน้อยแล้ว
ส่วนโรงพยาบาลอื่น ๆ เช่น บ้านแพรก มหาราช ท่าเรือ นครหลวง รวมทั้งที่โรงพยาบาลชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ที่กำลังประสบปัญหาหากน้ำท่วมสูงขึ้นอีก อาจจะต้องปรับการให้บริการ และวางแผนปรับระบบการส่งต่อผู้ป่วยหนัก เนื่องจากหลายเส้นทางถูกน้ำท่วมสูง รถไม่สามารถวิ่งได้ ซึ่งขณะนี้ก็ได้สั่งการให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ สำรองเฮลิคอปเตอร์ให้พร้อมใช้ตลอด 24 ชั่วโมงแล้ว
บขส.หยุดเดินรถสายเหนือทุกเส้นทางแล้ว
บริษัท ขนส่ง ประกาศหยุดเดินรถ สายที่มุ่งหน้าสู่ภาคเหนือทุกเส้นทาง เหตุน้ำท่วมถนนสายเอเชีย ช่วงอยุธยา รถไม่สามารถวิ่งผ่านได้
นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าจากสถานการณ์น้ำท่วมสูงในหลายพื้นที่ในภาคเหนือและภาคกลาง โดยเฉพาะล่าสุดที่น้ำได้ทะลักเข้าท่วมถนนสายเอเชีย ช่วง จ.พระนครศรีอยุธยา บริเวณหน้าเรือนจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และบริเวณหน้าโรงพยาบาลบางปะหัน ช่วงหลักกิโลเมตรที่ 36-37 ซึ่งรถทุกชนิดไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้ ทั้งขาขึ้นและขาล่อง ส่งผลกระทบต่อการเดินรถโดยสารของ บขส.สายที่มุ่งหน้าสู่ภาคเหนือในทุก ๆ เส้นทาง
ทาง บขส. จึงขอประกาศหยุดเดินรถ สายที่มุ่งหน้าไปยังภาคเหนือ ทุกเส้นทาง ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จนกระทั่งสถานการณ์จะกลับสู่ปกติ โดยประชาชนที่ซื้อตั๋วโดยสารแล้ว สามารถนำตั๋วดังกล่าวมาคืนได้ที่สถานีขนส่งทุกแห่ง และสอบถามข้อมูลได้ที่ Call Center 1490 ตลอด 24 ชม.
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
[5 ตุลาคม] อยุธยาวิกฤติทุกพื้นที่!! พบดับแล้ว 4 ราย
อยุธยาวิกฤติทุกพื้นที่!! พบดับแล้ว 4 ราย (ไอเอ็นเอ็น)
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ครอบครัวข่าว 3
อยุธยาวิกฤติหนัก ล่าสุด น้ำทะลักท่วมเข้าพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร อ.นครหลวง อพยพชาวไทยและชาวต่างชาติกว่า 600 คน ดับแล้ว 4 ราย
นายสิทธิพล เสงี่ยม หัวหน้าป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยกับ ไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงสถานการณ์น้ำท่วม ว่า ล่าสุด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วิกฤติทั้งจังหวัด 16 อำเภอ พบผู้เสียชีวิตแล้ว 4 ราย ในขณะเดียวกัน น้ำได้ทะลักเข้าท่วมนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร อ.นครหลวง ซึ่งมีโรงงานตั้งอยู่ 400 แห่ง ได้มีการอพยพประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ออกจากพื้นที่ประสบภัยแล้วกว่า 600 คน จนถึงขณะนี้ นับได้ว่าสถานการณ์อยู่ในขั้นวิกฤติแล้วทุกพื้นที่ รวมถึงโบราณสถาน วัดไชยวัฒนาราม
ส่วนทางด้านความช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่เร่งเข้าพื้นที่จัดส่งอุปกรณ์ไปยังพื้นที่ประสบภัยแล้ว แต่ยังคงขาดแคลนอยู่บางส่วน ทั้งนี้ ทางจังหวัดได้จัดตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือในทุกอำเภอแล้ว คาดว่าสถานการณ์อาจจะเลวร้ายลงไปอีก เนื่องจากมีข้อมูลว่า พายุนาลแก เตรียมเข้าประเทศไทยในวันนี้ อาจจะส่งผลให้มีฝนตกหนัก และระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ครอบครัวข่าว 3
อยุธยาวิกฤติหนัก ล่าสุด น้ำทะลักท่วมเข้าพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร อ.นครหลวง อพยพชาวไทยและชาวต่างชาติกว่า 600 คน ดับแล้ว 4 ราย
นายสิทธิพล เสงี่ยม หัวหน้าป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยกับ ไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงสถานการณ์น้ำท่วม ว่า ล่าสุด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วิกฤติทั้งจังหวัด 16 อำเภอ พบผู้เสียชีวิตแล้ว 4 ราย ในขณะเดียวกัน น้ำได้ทะลักเข้าท่วมนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร อ.นครหลวง ซึ่งมีโรงงานตั้งอยู่ 400 แห่ง ได้มีการอพยพประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ออกจากพื้นที่ประสบภัยแล้วกว่า 600 คน จนถึงขณะนี้ นับได้ว่าสถานการณ์อยู่ในขั้นวิกฤติแล้วทุกพื้นที่ รวมถึงโบราณสถาน วัดไชยวัฒนาราม
ส่วนทางด้านความช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่เร่งเข้าพื้นที่จัดส่งอุปกรณ์ไปยังพื้นที่ประสบภัยแล้ว แต่ยังคงขาดแคลนอยู่บางส่วน ทั้งนี้ ทางจังหวัดได้จัดตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือในทุกอำเภอแล้ว คาดว่าสถานการณ์อาจจะเลวร้ายลงไปอีก เนื่องจากมีข้อมูลว่า พายุนาลแก เตรียมเข้าประเทศไทยในวันนี้ อาจจะส่งผลให้มีฝนตกหนัก และระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น
[4 ตุลาคม] ผู้ว่าฯ อยุธยา ยัน น้ำท่วมอยุธยา ยังไม่สั่งอพยพ แค่ให้เตรียมพร้อม
น้ำท่วมวัดไชยวัฒนาราม
สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ครอบครัวข่าว 3
น้ำท่วมอยุธยาวิกฤตหนัก โรงพยาบาลบางปะหันสุดวุ่น อพยพผู้ป่วยด่วน ขณะที่โบราณสถานวัดไชยวัฒนารามโดนด้วย เร่งสูบน้ำออก ด้านพ่อเมืองอยุธยายืนยันยังไม่อพยพประชาชน แค่ให้เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์เต็มที่
ผู้ว่าฯ อยุธยา ยันยังไม่อพยพประชาชน แค่ให้เตรียมพร้อม
นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยันจ.พระนครศรีอยุธยา ยังไม่วิกฤติถึงขั้นต้องอพยพประชาชน เพียงแต่แจ้งให้เจ้าหน้าที่ปกครองทุกอำเภอให้เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำท่วม และขณะนี้ได้ตั้งศูนย์รอรับเพื่อช่วยเหลือประชาชนอยู่แล้ว ซึ่งหากประชาชนในบ้านไหนที่ไม่สามารถอยู่ในบ้านตัวเองได้ ให้ออกมาอยู่ในศูนย์ฯ รองรับดังกล่าวได้
เร่งกู้วัดไชยวัฒนาราม น้ำทะลักท่วมสูง
ผู้ว่าฯ พระนครศรีอยุธยา เผยแผนกู้โบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม หลังถูกน้ำท่วม โดยวางแนวกระสอบทรายกั้นกำแพงที่พังทลาย ก่อนสูบน้ำออก
นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า น้ำที่ทะลักเข้าท่วมโปราณสถาน วัดไชยวัฒนาราม ในขณะนี้ ได้วางแผนในเบื้องต้นกับ นายสุพจน์ พรหมมาโนช สำนักงานศิลปากรที่ 3 จ.พระนครศรีอยุธยา แนวทางกู้โบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม โดย วางแนวกระสอบทรายซ่อมกำแพงที่พังทลาย แล้วใช้เครื่องสูบน้ำออก แต่อย่างไรก็ตาม ต้องช่วยเหลือชาวบ้านที่อยู่รอบโบราณสถานก่อน เนื่องจากกระแสน้ำเจ้าพระยาที่พังทะลักเข้าวัดไชยวัฒนาราม ได้ไหลทะลักเข้าท่วมชุมชนกว่าร้อยหลังคาเรือน จึงเร่งสร้างแนวคันดินกั้นน้ำบนสายถนนชุมชนก่อนจึงค่อยกู้โบราณสถานวัดไชย วัฒนาราม
น้ำป่าสักทะลักบางปะหันแล้ว
จ.อยุธยา ยังวิกฤติหนัก ล่าสุด แม่น้ำป่าสัก ทะลักเข้าท่วมหลายพื้นที่ เจ้าหน้าที่การไฟฟ้า เร่งตัดกระแสไฟฟ้า ผู้ว่าฯ หวั่นรับมือไม่ได้
นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ขณะนี้ วิกฤติขนาดหนัก เพราะทุกพื้นที่เต็มไปด้วยน้ำ โดยเฉพาะแม่น้ำป่าสัก ทะลักเข้า อ.บางปะหัน โรงพยาบาลต้องย้ายคนไข้อย่างโกลาหล น้ำบริเวณรอบโรงพยาบาล ลึกถึง 1 เมตร น้ำยังได้ไหลบ่าเข้าซัดเสาไฟฟ้าแรงสูง ต.บางเพลิง อ.บางปะหัน กว่า 10 ต้น การไฟฟ้าฯ ต้องเร่งระดมตัดกระแสไฟฟ้า อย่างเร่งด่วนและน้ำยังได้ไหลทะลักเข้า อ.นครหลวง ท่วมย่านธุรกิจการค้า บ้านจัดสรรหลายแห่ง จมน้ำ และเสี่ยงเข้าท่วม นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร โดยไม่มั่นใจว่า จะป้องกันได้หรือไม่
น้ำทะลัก รพ.บางปะหัน วอนช่วยเหลือด่วน
น้ำทะลักท่วมโรงพยาบาลบางปะหัน จ.อยุธยา อย่างรวดเร็ว วอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าช่วยเหลือเคลื่อนย้ายคนไข้ด่วน ล่าสุด น้ำทะลักท่วมสูงกว่าครึ่งเมตร ผู้ป่วยหนักรอการอพยพกว่า 20 ราย รมว.สธ. สั่งระดมกำลังช่วยเหลือด่วน
น.ส.สุ ภัชชา โลหิตไทย พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลบางปะหัน อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ขณะนี้ น้ำได้ทะลักเข้าโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลโกลาหลกับการเร่งย้ายคนไข้ออกจากโรงพยาบาลด่วน น้ำได้ทะลักอย่างรวดเร็ว สูงผิดปกติ ทางโรงพยาบาลไม่มี เรือขนย้ายคนไข้ วอนขอความอนุเคราะห์จากหน่วยงานทุกหน่วยงานที่มีเรือท้องแบนติดเครื่อง ช่วยย้ายคนไข้หนีน้ำด้วย มีทั้งคนไข้หนัก จำนวนหลายราย น้ำไหลเชี่ยวมาก และสูงอย่างรวดเร็ว เกรงว่า คนไข้ จะไม่ได้รับความปลอดภัย
ล่าสุด ขณะนี้ ทหารได้เข้าพื้นที่ช่วยเหลือขนย้ายผู้ป่วยหนักออกไปแแล้ว 2 ราย และส่งต่อไปที่ ร.พ.พระนครศรีอยุธยา โดยจะมีแผนการอพยพผู้ป่วยเพิ่มอีก 2 ราย ซึ่งในอาคารผู้ป่วยใน มีผู้ป่วยที่รอการอพยพอีกกว่า 20 ราย ทาง รพ. ได้มีการออกจัดตั้งศูนย์บริการประชาชนบริเวณพื้นที่สูง ด้านนอกโรงพยาบาล จนถึงขณะนี้ ระดับน้ำท่วมสูง กว่า 50 ซม.แล้ว
ด้าน นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ผู้รับผิดชอบปัญหาน้ำท่วมใน จ.พระนครศรีอยุธยา ตามคำสั่งของ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยกับ ไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงกรณีแม่น้ำลพบุรี ทะลักน้ำท่วม รพ.บางปะหัน ว่า ขณะนี้ได้รับรายงานความเดือดร้อนจากเจ้าหน้าที่ในพื้นที่แล้ว ซึ่งได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน โดยการเร่งทำสะพานไม้ข้ามไปยัง รพ. เพื่อเข้าขนย้ายผู้ป่วย
อยุธยาประกาศเตือน 16 อำเภอ จ่ออพยพ
ผู้ว่าฯ พระนครศรีอยุธยา ลั่นรับมือน้ำท่วมไม่ไหวแล้ว ประกาศเตือนประชาชน ใน 16 อำเภอทั้งจังหวัด เตรียมอพยพภายใน 3 ชั่วโมง
เมื่อเวลาประมาณ 17.30 น. วันนี้ (4 ตุลาคม 2554) นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้กล่าวถึง สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ว่า ในขณะนี้ทางจังหวัด ไม่สามารถรับมือกับกระแสน้ำที่เพิ่มสูงอย่างต่อเนื่องได้แล้ว จึงได้ประกาศเตือนให้ประชาชนใน 16 อำเภอทั้งจังหวัด ให้เร่งเก็บสิ่งของขึ้นที่สูงโดยด่วน พร้อมให้เตรียมอพยพภายใน 3 ชั่วโมง โดยเฉพาะ อ.พระนครศรีอยุธยา อ.นครหลวง อ.มหาราช อ.บ้านแพรก อ.บางปะอิน และ อ.อุทัย ที่ประสบภาวะน้ำท่วมหนัก ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า พื้นที่ในจังหวัดที่ยังไม่ถูกน้ำท่วม และน่าจะเป็นที่รองรับประชาชนได้ ได้แก่ สนามกีฬากลางของจังหวัด ที่ได้จัดเตรียมสถานที่เอาไว้แล้ว
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก