เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ครอบครัวข่าว 3
เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมา สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า จากงานวิจัยชิ้นล่าสุด พบว่า น้ำแข็งขั้นโลกได้ละลายลงอย่างรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน อ้างอิงจากข้อมูลเกี่ยวกับเเรงดึงดูดของโลก ที่เก็บสะสมมาตั้งแต่ปี 2002 โดยนายจอห์น วาห์ร ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยโคโลราโด ชี้ให้เห็นว่า แผ่นน้ำเเข็งกำลังแตก และโลกกำลังสูญเสียพื้นที่ในส่วนที่เป็นน้ำเเข็ง
ทั้งนี้ นายวาห์ร กล่าวว่า เราค้นพบว่า ในทุก ๆ ปี โลกได้ส่วนเสียพื้นผิวส่วนที่เป็นน้ำเเข็งไปเป็นจำนวนมาก ก่อนหน้านี้ มีน้ำแแข็งละลายลงสู่มหาสมุทรไปมากแล้ว จนเป็นเหตุให้น้ำทะเลสูงขึ้น แต่ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา มีปริมาณน้ำเเข็งที่ละลายรวมกันไปแล้วกว่า 4 ล้านล้านตัน ซึ่งหากลองคำนวณแล้ว จะพบว่า หากเปลี่ยนน้ำแข็งจำนวนมากขนาดนั้นให้กลายเป็นน้ำ แล้วเทไปทั่วสหรัฐอเมิรกา และก็จะทำให้ทุกพื้นที่ในอเมริกา มีน้ำท่วมสูงประมาณ 1 ฟุตครึ่ง
หากพื้นน้ำแข็งและธารน้ำเเข็งต้องละลายลงเรื่อย ๆ ก็จะทำให้เกิดผลกระทบตามมาอย่างมหาศาล โดยเฉพาะกับแรงดึงดูดของโลก ซึ่งจะสังเกตได้ว่า ดาวเทียมสอง 2 ดวงที่โคจรรอบโลก มีระยะห่างของดาวเทียมที่เปลี่ยนไป และการใช้ดาวเทียม ทำให้นายวาห์รและทีมงานสามารถติดตามความเคลื่อนไหวและบอกได้ว่า โลกเราได้สูญเสียพื้นที่น้ำเเข็งไปแล้วเท่าไหร่ และส่งผลต่อแรงดึงดูดของโลกแค่ไหน
หากสังเกตถึงความเปลี่ยนแปลงจากข้อมูลที่ได้จากดาวเทียม คุณก็จะสามารถรู้ได้ว่า ทวีปแอนตาร์กติกามีน้ำหนักเท่าไหร่ และมีมวลมากขนาดไหน จากนั้นใน 1 เดือนต่อมา ก็มาดูกันว่า มวลนั้นใหญ่ขึ้นหรือไม่ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว แทนที่มวลจะใหญ่ขึ้น แต่มวลเหล่านั้นกลับเล็กลงเรื่อย ๆ ทวีปแอนตาร์กติกาและน้ำแข็งที่ปกคลุมตามภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก ได้ละลายลงไปอย่างรวดเร็วขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี