งูทับสมิงคลา งูพิษฤทธิ์ร้ายแรง งูทับสมิงคลากัด ทำอย่างไร มารู้จัก ลักษณะงูทับสมิงคลา พร้อมวิธีปฐมพยาบาล
ถิ่นกำเนิดงูทับสมิงคลา
งูทับสมิงคลา หรืองูทับทางขาว หรืองูปล้องเงิน (Malayan Krait) มีชื่อวิทยาศาตร์ว่า Bungarus Candidus มีการแพร่กระจายพันธุ์ในประเทศเวียดนาม กัมพูชา มาเลย์เซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และในประเทศไทยทั่วทุกภาคของประเทศ ส่วนมากจะเจอในภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่จะพบบริเวณใกล้แหล่งน้ำ และในป่าที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 540-1,525 เมตร
ลักษณะงูทับสมิงคลา
มีลักษณะลำตัวค่อนข้างใหญ่และกลม ไม่เป็นสามเหลี่ยมชัดเจน ความยาวประมาณ 100-150 เซนติเมตร มีหัวยาวและแบน หางสั้นปลายหางเรียว ตลอดลำตัวมีเกล็ดปกคลุม โดยหัวมีสีดำหรือเท่าเข้ม ขอบปากบนสีขาว ลำตัวเป็นปล้องสีขาวสลับดำ และมีด้านท้องและใต้หางสีขาว
นิสัยของงูทับสมิงคลา
ในกลางวันงูทับสมิงคลาจะซ่อนตัวในโพรงหรือใต้ขอนไม้ และจะออกหากินในเวลากลางคืน อาหารของงูทับสมิลคลาจะเป็นสัตว์ขนาดเล็ก เช่น กบ จิ้งเหลน หรืองูขนาดเล็ก มีสัยดุและมีพิษร้ายแรง หากโดนกัดพิษของงูทับสมิงคลาจะเข้าไปทำลายระบบประสาทและระบบโลหิต เมื่อถูกกัดจะมีอาการชักกระตุก ปวดช่องท้อง มีเลือดออกเป็นจุด ๆ ใต้ผิวหนัง และมีเลือดออกตามไรฟัน รวมถึงไอเป็นเลือด
การปฐมพยาบาลเมื่อถูกงูทับสมิงคลากัด
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ที่ถูกงูกัดมากที่สุด จึงมีวิธีปฐมพยาบาล ดังนี้
- ให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวน้อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ถูกกัด ทั้งนี้ไม่ควรขันชะเนสะเพราะอาจทำให้เนื้อตายได้
- ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดและฟอกสบู่ ใช้ผ้าซับให้แห้ง เช็ดแผล และนำผู้ป่วยพบแพทย์โดยเร็วที่สุด โดยจดจำลักษณะงูหรือถ่ายภาพงูที่กัดไปด้วย อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่งูหนีไปแล้วนั้น แพทย์สามารถวินิจฉัยชนิดของงูได้โดยไม่ต้องเห็นงู
- ห้ามกรีดหรือดูดแผลงูกัด เพราะจะทำให้พิษงูกระจายเข้าสู่ร่างกายเร็วขึ้น อีกทั้งยังเป็นอันตรายต่อผู้ดูดได้ และที่สำคัญไม่ใช้เหล้า ยาสีฟัน หรือสิ่งอื่น ๆ ทาแผล เพราะจะทำให้แผลติดเขื้อ