21 มีนาคม 2562 เป็นวันวสันตวิษุวัต ช่วงเวลากลางวันยาวนานเท่ากับกลางคืน สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนร่วมกิจกรรมส่องกล้องชมจันทร์เต็มดวง
โดย นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ กล่าวว่า ในวันที่ 21 มีนาคม เป็น "วันวสันตวิษุวัต" เวลากลางวันกับกลางคืนยาวนานเท่ากัน จะเป็นคืนที่ดวงจันทร์เต็มดวง มีระยะทางใกล้โลกประมาณ 360,761 กิโลเมตร ทำให้คืนดังกล่าวดวงจันทร์จะมีขนาดใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติจะมีการจัดกิจกรรม "ชมดวงจันทร์เต็มดวงคืนวันวสันตวิษุวัต" ตั้งแต่เวลา 18.00-22.00 น. ณ จุดสังเกตการณ์หลัก 3 แห่ง ได้แก่ หอดูดาว อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่, หอดูดาว เฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา และหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา
โดยในหนึ่งปี โลกจะโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี
จึงมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน ช่วงใกล้ที่สุดประมาณต้นเดือนมกราคม
ระยะห่าง 147 ล้านกิโลเมตร และช่วงไกลที่สุดประมาณต้นเดือนกรกฎาคม
ระยะห่างเฉลี่ย 152 ล้านกิโลเมตร เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระยะทางใกล้-ไกล
ในการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ถือเป็นอัตราส่วนที่น้อยมาก
ไม่มีผลต่อการเกิดฤดูกาล แต่การที่แกนหมุนของโลกเอียงทำมุม 23.5 องศา
กับระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ พื้นที่ต่าง ๆ
ทั่วโลกจึงรับแสงอาทิตย์ได้ในปริมาณไม่เท่ากัน ส่งผลให้มีอุณหภูมิต่างกัน
รวมถึงมีระยะเวลากลางวันและกลางคืนที่ต่างกันด้วย
เป็นเหตุให้เกิดฤดูกาลขึ้นบนโลก จะสังเกตได้ว่าในฤดูร้อนเวลากลางวันจะยาวกว่ากลางคืน ดวงอาทิตย์จะขึ้นเร็วและตกช้า ส่วนในฤดูหนาว เวลากลางคืนจะยาวนานกว่ากลางวัน ดวงอาทิตย์จะขึ้นช้าและตกเร็ว
ในรอบ 1 ปี เกิดปรากฏการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการขึ้น-ตก ของดวงอาทิตย์ ดังนี้
1. วันวสันตวิษุวัต (วะ-สัน-ตะ-วิ-สุ-วัด) (Vernal Equinox) ในปี 2562 ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก และตกทางทิศตะวันตกพอดี ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันเท่ากับกลางคืนพอดี นับเป็นวันที่ประเทศทางซีกโลกเหนือย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ ส่วนซีกโลกใต้เข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง
3. วันศารทวิษุวัต
(สาด-ทะ-วิ-สุ-วัด) (Autumnal Equinox) ในปี 2562 ตรงกับวันที่ 23 กันยายน
เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก และตกทางทิศตะวันตกพอดี
ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันเท่ากับกลางคืนพอดี
นับเป็นวันที่ประเทศทางซีกโลกเหนือย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง
ส่วนซีกโลกใต้เข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ
ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ถือเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่น่าค้นหาอย่างไม่มีวันจบ
เพราะยิ่งสำรวจกลับยิ่งพบว่าเราเป็นเพียงเศษเสี้ยวเล็ก ๆ ของจักรวาล
ยังมีอีกหลายสิ่งที่รอการค้นพบอยู่
ซึ่งบางครั้งธรรมชาติก็โหดร้ายที่นำภัยพิบัติต่าง ๆ
ที่มนุษย์ไม่สามารถต้านทานได้มาให้
แต่บางครั้งธรรมชาติก็สวยงามอย่างไม่น่าเชื่อ เช่น
การได้เห็นแสงเหนือแสงใต้ที่งดงาม ฝนดาวตก หรือซูเปอร์มูน
ซึ่งการมาของสิ่งเหล่านี้ จักรวาลล้วนเป็นผู้กำหนดทั้งสิ้น
โดย นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ กล่าวว่า ในวันที่ 21 มีนาคม เป็น "วันวสันตวิษุวัต" เวลากลางวันกับกลางคืนยาวนานเท่ากัน จะเป็นคืนที่ดวงจันทร์เต็มดวง มีระยะทางใกล้โลกประมาณ 360,761 กิโลเมตร ทำให้คืนดังกล่าวดวงจันทร์จะมีขนาดใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติจะมีการจัดกิจกรรม "ชมดวงจันทร์เต็มดวงคืนวันวสันตวิษุวัต" ตั้งแต่เวลา 18.00-22.00 น. ณ จุดสังเกตการณ์หลัก 3 แห่ง ได้แก่ หอดูดาว อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่, หอดูดาว เฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา และหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา
นายศุภฤกษ์
กล่าวอีกว่า "วิษุวัต" ในภาษาสันสกฤต แปลเป็นภาษาไทยว่า "ราตรีเสมอภาค"
แต่ละวันดวงอาทิตย์จะปรากฏในตำแหน่งต่างกัน เปลี่ยนตำแหน่งไปประมาณวันละ 1
องศา เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนมา ณ ตำแหน่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลก
ทำให้ดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออก
และตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกพอดี จึงมีช่วงเวลากลางวันยาวเท่ากับกลางคืน
นับเป็นวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิของประเทศทางซีกโลกเหนือ
และเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงของประเทศในซีกโลกใต้ สำหรับประเทศไทย
วันดังกล่าวดวงอาทิตย์ขึ้นเวลาประมาณ 06.22 น. และจะตกลับขอบฟ้าเวลาประมาณ
18.28 น.
เป็นเหตุให้เกิดฤดูกาลขึ้นบนโลก จะสังเกตได้ว่าในฤดูร้อนเวลากลางวันจะยาวกว่ากลางคืน ดวงอาทิตย์จะขึ้นเร็วและตกช้า ส่วนในฤดูหนาว เวลากลางคืนจะยาวนานกว่ากลางวัน ดวงอาทิตย์จะขึ้นช้าและตกเร็ว
ในรอบ 1 ปี เกิดปรากฏการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการขึ้น-ตก ของดวงอาทิตย์ ดังนี้
1. วันวสันตวิษุวัต (วะ-สัน-ตะ-วิ-สุ-วัด) (Vernal Equinox) ในปี 2562 ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก และตกทางทิศตะวันตกพอดี ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันเท่ากับกลางคืนพอดี นับเป็นวันที่ประเทศทางซีกโลกเหนือย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ ส่วนซีกโลกใต้เข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง
2. วันครีษมายัน (ครีด-สะ-มา-ยัน)
(Summer Solstice) ในปี 2562 ตรงกับวันที่ 21 มิถุนายน
เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด
และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด
ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันยาวที่สุดในรอบปี สำหรับประเทศทางซีกโลกเหนือ
นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน
ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้ ช่วงกลางวันจะสั้นที่สุดในรอบปี
นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูหนาว
4. วันเหมายัน (เห-มา-ยัน) (Winter
Solstice) ในปี 2562 ตรงกับวันที่ 22 ธันวาคม
เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด
และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด
ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันสั้นที่สุด และกลางคืนยาวที่สุดในรอบปี
หรือที่คนไทยเรียกว่า "ตะวันอ้อมข้าว" สำหรับประเทศทางซีกโลกเหนือ
นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูหนาว ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้
ช่วงกลางวันจะยาวที่สุดในรอบปี นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก