น้องฮับ เด็กไทยชั้น ม.1 วัย 13 สร้างชื่อ คิดค้นโปรแกรมช่วยคนหูหนวก ผ่านเข้ารอบตัดสิน Google Science Fair 1 ใน 20 คน จากเด็กทั่วโลก เผยเป็นเด็กไทยที่อายุน้อยที่สุด
โดย น้องฮับ กล่าวว่า ความบกพร่องทางการได้ยิน ถือเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญ ในปัจจุบันมีผู้ได้รับผลกระทบกว่า 422 ล้านคน หลังทราบข่าวจากคุณครูที่โรงเรียนว่ามีโครงการ Google Science Fair จึงมีแนวคิดอยากช่วยเหลือผู้พิการทางการได้ยิน จึงจัดทำโครงงานนี้ขึ้น เพื่อส่งเข้าประกวด ก่อนหน้านี้ตนเคยเล่นกีตาร์ แล้วไม่ได้ต่อกับเครื่องขยายเสียง ทำให้ได้ยินเสียงกีตาร์เบา แต่เมื่อเอาคางไปแตะที่ตัวกีตาร์เพื่อจะฟังเสียง ปรากฏว่าเสียงดังขึ้น ชัดเจนขึ้น ทำให้เกิดแนวคิดประดิษฐ์เครื่องช่วยฟัง เพื่อนำไปใช้กับคนพิการทางหู ก่อนจะพัฒนาโปรเจกต์การทำเครื่องช่วยฟัง และพัฒนาโปรแกรมฝึกการออกเสียงขึ้น
ด้าน นางนิชาพร วาฤทธิ์ แม่ของน้องฮับ
กล่าวว่า คนไทยทุกคนเก่ง และทำได้เหมือนน้องฮับ
ตนจึงอยากให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เป็นแรงกระตุ้นให้เด็กเกิดพัฒนาการทางด้านการเรียนรู้
และด้านเทคโนโลยีที่มากขึ้น โดยส่งเสริมให้แก่เด็กตั้งแต่อายุยังน้อย
และควรเปิดเวทีให้เด็กได้กล้าแสดงออกมากขึ้น
ก็จะกลายเป็นแรงผลักดันในด้านความรู้ให้เด็กเข้าแข่งขันกับต่างประเทศ
อยากขอแรงเชียร์จากคนไทย ช่วยเชียร์น้องฮับในการแข่งรอบสุดท้าย
เพราะถือเป็นเด็กไทยคนแรกที่เคยเข้าแข่งในรอบตัดสินของ Google Science Fair
และมีอายุน้อยที่สุด
ภาพจาก ข่าวเวิร์คพอยท์
วันที่ 10 มิถุนายน 2562 ข่าวเวิร์คพอยท์ รายงานว่า ด.ช.เหมวิช วาฤทธิ์ หรือน้องฮับ วัย 13 ปี
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวารีเชียงใหม่อินเตอร์เนชั่นแนล
จังหวัดเชียงใหม่ ได้สร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียนและประเทศไทย
หลังผ่านเข้ารอบตัดสิน Google Science Fair ติด 1 ใน 20 คน จากเด็กทั่วโลก
ด้วยการสร้างโปรแกรมเเละประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยฟัง สำหรับผู้พิการทางการได้ยิน
โดย น้องฮับ กล่าวว่า ความบกพร่องทางการได้ยิน ถือเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญ ในปัจจุบันมีผู้ได้รับผลกระทบกว่า 422 ล้านคน หลังทราบข่าวจากคุณครูที่โรงเรียนว่ามีโครงการ Google Science Fair จึงมีแนวคิดอยากช่วยเหลือผู้พิการทางการได้ยิน จึงจัดทำโครงงานนี้ขึ้น เพื่อส่งเข้าประกวด ก่อนหน้านี้ตนเคยเล่นกีตาร์ แล้วไม่ได้ต่อกับเครื่องขยายเสียง ทำให้ได้ยินเสียงกีตาร์เบา แต่เมื่อเอาคางไปแตะที่ตัวกีตาร์เพื่อจะฟังเสียง ปรากฏว่าเสียงดังขึ้น ชัดเจนขึ้น ทำให้เกิดแนวคิดประดิษฐ์เครื่องช่วยฟัง เพื่อนำไปใช้กับคนพิการทางหู ก่อนจะพัฒนาโปรเจกต์การทำเครื่องช่วยฟัง และพัฒนาโปรแกรมฝึกการออกเสียงขึ้น
จากนั้นจึงได้เริ่มทดสอบและพัฒนาอุปกรณ์
ภายใต้ความร่วมมือกับโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่
โดยนำแนวทางการใช้กระบังลมจากการร้องเพลง
มาช่วยฝึกให้คนพิการทางหูได้ทดลองเปล่งเสียงพูดหลังจากใส่อุปกรณ์เครื่องช่วยฟัง
เมื่อผู้พิการได้ยินเสียงก็จะเกิดความกล้าที่จะเปล่งเสียงออกมามากขึ้น
ขณะนี้เทคโนโลยี และโลกออนไลน์เปิดให้มีการเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง
และไม่เป็นอุปสรรคสำหรับการเรียนรู้
ตนเชื่อว่าหลายคนก็มีแนวคิดและโครงการดี ๆ ตนจึงอยากให้เด็กไทยได้พัฒนา
และอยากให้รัฐบาลช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ทางเทคโนโลยีมากขึ้น
เพราะโลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงเร็วมาก
ตนอยากให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีในอนาคต
เชื่อว่าคนไทยและเด็กไทยทำได้
ภาพจาก ข่าวเวิร์คพอยท์
สำหรับการประกวดครั้งนี้
จำนวนเด็กไทยที่เข้าแข่งขันจนถึงรอบ 100 คนสุดท้าย มีเพียง 2 คน
ซึ่งน้องฮับเป็นเด็กที่อายุน้อยที่สุดเท่าที่เคยเข้าแข่งขันมา
และเป็นเด็กไทยคนแรกที่เข้าถึงรอบ 20 คนสุดท้าย
ไปสู่รอบตัดสินในเดือนกรกฎาคม 2562
ภาพจาก ข่าวเวิร์คพอยท์
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก