เข้าใจผิดแล้ว ปลาตูหนา ไม่ใช่ งูเห่าบอน ต้มยำทำน้ำแดง ได้เมนูราคาแพง

            โซเชียลแชร์ข้อมูลเข้าใจผิด งูเห่าบอน ถูกกัดแล้วตาย มีพิษเท่าจงอาง แท้จริงแล้วคือ ปลาตูหนา ไม่มีพิษ นำมาต้มยำ ย่าง หรือทำน้ำแดง เป็นเมนูราคาแพง


            เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2562 อมรินทร์ ทีวี เผยรายงานเรื่องราวความเข้าใจผิดในโลกโซเชียล เมื่อหลายปีก่อนมีผู้แชร์ภาพเตือนภัยคนที่ชอบจับปลา ให้ระวังไม่ให้จับสัตว์ตัวยาวเฟื้อยตามภาพ ระบุว่า มันไม่ใช่ปลา แต่เป็น งูเห่าบอน ถูกกัดแล้วตาย มีพิษเท่าจงอาง

            อย่างไรก็ดี ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ผิด แท้จริงแล้ว สัตว์ที่ปรากฏตามภาพดังกล่าวไม่ใช่งูเห่าบอน แต่เป็น ปลาตูหนา หรือ ปลาไหลหูดำ (Shortfin eel) เป็นปลาน้ำจืด วงศ์และสกุลเดียวกันกับปลาสะแงะ แต่มีรูปร่างเล็กกว่า ลักษณะโดยทั่วไป ครีบมีสีคล้ำ ลำตัวสีน้ำตาลอ่อน ไม่มีลาย ใต้ท้องสีขาว



            เมื่อแรกเกิด ลูกปลาตูหนาจะมีลำตัวใสเหมือนวุ้นเส้น มีสีแดงเรื่อ สามารถโตเต็มได้มีขนาด 1.5 เมตร โดยเมื่อโตขึ้นจะอพยพว่ายทวนน้ำมาสู่แหล่งน้ำจืด บางครั้งอาจพบได้ไกลถึงลำธารน้ำตกบนภูเขา

            ในประเทศไทย พบได้บริเวณฝั่งตะวันตกแถบชายแดนที่ติดกับประเทศเมียนมา เช่น จังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน และแถบริมชายฝั่งอันดามัน เป็นที่นิยมอย่างมากโดยเฉพาะชาวไทยเชื้อสายจีน ในแถบจังหวัดระนองหรือตรัง ถือเป็นเมนูราคาแพง สามารถนำไปปรุงได้หลากหลาย เช่น ต้มยำ ย่าง หรือทำน้ำแดง


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก





เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เข้าใจผิดแล้ว ปลาตูหนา ไม่ใช่ งูเห่าบอน ต้มยำทำน้ำแดง ได้เมนูราคาแพง อัปเดตล่าสุด 22 มิถุนายน 2562 เวลา 13:58:47 41,529 อ่าน
TOP
x close