เปิดบันทึกประวัติศาสตร์ โรคระบาดรุนแรงสมัยรัชกาลที่ 5
ที่มาจากประเทศจีน สยามเตรียมตัวอย่างไร
และวิธีการจัดการเมื่อโรคระบาดในกรุงเทพฯ กับผลที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น
สถานการณ์โควิด 19 ในช่วงกลางเดือนเมษายน
ยังถือว่าทรง ๆ ถึงแม้ยอดผู้ป่วยรายวันจะลดลงมากแล้วจากช่วงพีค ๆ
แต่ก็ยังอยู่ในสถานการณ์ที่ยังคงต้องเฝ้าระวังต่อไป
และขอความร่วมมือประชาชนในการป้องกันตัวเองด้วย
ขณะที่เฟซบุ๊ก สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ก็มีการโพสต์สถานการณ์กาฬโรคระบาดเป็นครั้งแรกเมื่อ 100 ปีก่อน พร้อมชำแหละประวัติศาสตร์ว่า ช่วงนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง และรัฐมีมาตรการจัดการอย่างไร ที่ทำให้ประชาชนเชื่อมั่นและไว้ใจ จนให้ความร่วมมือกับรัฐและจัดการกับโรคนี้ได้สำเร็จ
ขณะที่เฟซบุ๊ก สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ก็มีการโพสต์สถานการณ์กาฬโรคระบาดเป็นครั้งแรกเมื่อ 100 ปีก่อน พร้อมชำแหละประวัติศาสตร์ว่า ช่วงนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง และรัฐมีมาตรการจัดการอย่างไร ที่ทำให้ประชาชนเชื่อมั่นและไว้ใจ จนให้ความร่วมมือกับรัฐและจัดการกับโรคนี้ได้สำเร็จ
จุดเริ่มต้นของกาฬโรค
โดยจุดเริ่มต้นของกาฬโรค หรือเรียกอีกชื่อว่า ห่าดำ เริ่มต้นจากมณฑลยูนนานในจีน ก่อนแพร่ระบาดมายังเมืองฮ่องกงใน พ.ศ. 2437 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จากนั้นเริ่มแพร่ระบาดไปทั่วโลก
อาการของกาฬโรคและวิธีติดต่อ
อาการป่วยนั้นจะเกิดไข้สูงเฉียบพลัน มีรอยช้ำสีดำที่มาจากเลือดออกภายใน และต่อมน้ำเหลืองบวมบริเวณขาหนีบกับรักแร้ จนเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว การติดต่อมาจากการสัมผัสและการหายใจ อีกทั้งยังมีหนูและหมัดหนูเป็นพาหะนำโรค ทำให้ระบาดได้อย่างกว้างขวาง
มาตรการการจัดการของสยาม
ต่อมา พ.ศ. 2444 กาฬโรคได้เข้าสยามเป็นครั้งแรกที่ภูเก็ต จากนั้นค่อย ๆ รุกมาเรื่อย ๆ จนกระทั่ง พ.ศ. 2447 จึงเข้ามาที่กรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก ทาง นพ.ไฮเอต จึงได้ใช้มาตรการต่าง ๆ คอยจัดการกาฬโรค ดังนี้
- ปิดล้อมบริเวณที่เกิดการระบาด และทำความสะอาดอย่างถ้วนทั่ว
- รื้อถอน เผาบ้านที่สกปรก
- ตั้งกลุ่มจับหนู
- ตั้งโรงพยาบาลกาฬโรคที่คลองสาน เพื่อแยกกักกันผู้ป่วย และปัจจุบันคือโรงพยาบาลตากสิน
- ระดมแพทย์ชาวตะวันตกมาช่วยตรวจโรคในท้องที่ต่าง ๆ
อุปสรรคของการป้องกันกาฬโรค
สิ่งที่ลำบากที่สุดในการทำงานของเจ้าหน้าที่คือ ความหวาดกลัวของราษฎร ทั้งเรื่องความร้ายแรงของโรค และมาตรการที่เด็ดขาดของรัฐ ทำให้เกิดการปกปิด รวมถึงมีข่าวลือให้ร้ายการทำงานของเจ้าหน้าที่ จนแพทย์ถูกข่มขู่คุกคาม
ส่วนวิธีแก้ไขนั้น รัฐบาลออกประกาศที่มุ่งเน้นให้ความรู้ความเข้าใจแก่ราษฎร จนถึงบังคับให้แจ้งความเมื่อมีผู้ป่วยกาฬโรค ทำให้ราษฎรร่วมมือกับแพทย์มากขึ้น
ผลจากมาตรการป้องกันกาฬโรค
กาฬโรคยังคงระบาดไปถึงหัวเมืองต่าง ๆ และยังคงระบาดอีกหลายสิบปี แต่ก็ไม่ได้มีความรุนแรงนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ อาจจะเป็นเพราะว่า การมอบอำนาจให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญตัดสินใจอย่างมีเอกภาพ รวมถึงความสามารถในการจัดการกับโรคระบาดที่ร้ายแรงระดับโลกอย่างเด็ดขาด ฉับไว เทียบเท่ากับอารยประเทศ