รัฐบาลเยอรมนี แถลงยืนยัน ไม่พบว่าพระมหากษัตริย์ไทย ทรงละเมิดข้อห้ามเกี่ยวกับการปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านการเมือง ขณะประทับอยู่ในเยอรมนี
วันที่ 29 ตุลาคม 2563 สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า รัฐบาลเยอรมนี ได้แถลงบรรยายสรุปในประเด็นเกี่ยวกับ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระชนมพรรษา 68 พรรษา ภายในที่ประชุมคณะกรรมาธิการต่างประเทศของรัฐสภาเยอรมนี โดยทางรัฐบาลเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ไทย ทรงได้รับอนุญาตให้ทรงตัดสินพระราชหฤทัยเป็นครั้งคราวได้ ตราบเท่าที่พระองค์มิได้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจอย่างต่อเนื่อง ภายในแผ่นดินเยอรมนี
จนถึงขณะนี้ รัฐบาลเยอรมนีมีความเห็นว่า พระองค์ยังทรงมิได้ประกอบพระราชกรณียกิจอย่างต่อเนื่องแต่อย่างใด
กล่าวคือรัฐบาลเยอรมนี ไม่เชื่อว่าพระองค์ทรงกระทำการใด ๆ
อันเป็นการละเมิดข้อห้ามเกี่ยวกับการปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านการเมือง
ขณะประทับอยู่ในเยอรมนี
และเมื่อถูกถามถึงพระราชสถานะของพระมหากษัตริย์ไทย รัฐบาลเยอรมนีให้คำชี้แจงต่อรัฐสภาว่า พระองค์ทรงถือวีซ่าที่อนุญาตให้ประทับอยู่ในเยอรมนีได้เป็นเวลาหลายปี ในฐานะบุคคลทั่วไป ขณะที่ทรงได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มครองทางการทูต ในฐานะประมุขของรัฐ
อนึ่ง การบรรยายสรุปดังกล่าวมีขึ้นในวันที่ 28 ตุลาคม ภายหลังเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (26 ตุลาคม) กลุ่มผู้ชุมนุมในไทยได้เดินขบวนเข้ายื่นหนังสือต่อสถานทูตเยอรมนี ประจำประเทศไทย เพื่อเรียกร้องให้มีการตรวจสอบว่าขณะที่พระมหากษัตริย์ประทับอยู่ในเยอรมนี ทรงมีการประกอบพระราชกรณียกิจในนามรัฐบาลไทย อาทิ การลงนามในพระบรมราชโองการ และพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือไม่
ขอบคุณข้อมูลจาก รอยเตอร์ส
จนถึงขณะนี้ รัฐบาลเยอรมนีมีความเห็นว่า พระองค์ยังทรงมิได้ประกอบพระราชกรณียกิจอย่างต่อเนื่องแต่อย่างใด
และเมื่อถูกถามถึงพระราชสถานะของพระมหากษัตริย์ไทย รัฐบาลเยอรมนีให้คำชี้แจงต่อรัฐสภาว่า พระองค์ทรงถือวีซ่าที่อนุญาตให้ประทับอยู่ในเยอรมนีได้เป็นเวลาหลายปี ในฐานะบุคคลทั่วไป ขณะที่ทรงได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มครองทางการทูต ในฐานะประมุขของรัฐ
อนึ่ง การบรรยายสรุปดังกล่าวมีขึ้นในวันที่ 28 ตุลาคม ภายหลังเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (26 ตุลาคม) กลุ่มผู้ชุมนุมในไทยได้เดินขบวนเข้ายื่นหนังสือต่อสถานทูตเยอรมนี ประจำประเทศไทย เพื่อเรียกร้องให้มีการตรวจสอบว่าขณะที่พระมหากษัตริย์ประทับอยู่ในเยอรมนี ทรงมีการประกอบพระราชกรณียกิจในนามรัฐบาลไทย อาทิ การลงนามในพระบรมราชโองการ และพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือไม่
ขอบคุณข้อมูลจาก รอยเตอร์ส