รัฐสภาโหวต 366 ต่อ 316 เห็นชอบส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความอำนาจแก้ รธน. ฝ่ายค้านเชื่อทำได้ตามกฎหมาย โวยเป็นวิธีเตะถ่วงให้ล่าช้า
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 กรุงเทพธุรกิจ รายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น. ที่ประชุมร่วมรัฐสภา ได้เข้าสู่การพิจารณาญัตติด่วนเพื่อขอมติจากรัฐสภา ให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 (2) ซึ่งนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ และนายสมชาย แสวงการ ส.ว. พร้อมคณะ เป็นผู้เสนอ
โดย นายไพบูลย์ ระบุว่า ญัตติว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ไม่ได้กำหนดให้รัฐสภาทำรัฐธรรมนูญใหม่ แต่ให้อำนาจเพียงการแก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ การตีความตามกฎหมายมหาชน หากรัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนจึงทำไม่ได้ ตนได้ตรวจสอบประเด็นข้อกฎหมายพบปัญหา แต่มีกรรมาธิการหลายคนมีความเห็นแตกต่างจึงจำเป็นต้องส่งตีความ
ทั้งนี้ หากรัฐสภาไม่ส่งตีความเกรงว่าจะมีปัญหาต่อสมาชิกรัฐสภา โดยเฉพาะ ส.ว. ต่อการลงมติวาระ 3 อาจจะงดออกเสียง ได้เสียงเห็นชอบผ่านร่างรัฐธรรมนูญไม่เพียงพอ ส่วนกรณีที่หลายฝ่ายมองว่าควรส่งศาลรัฐธรรมนูญหลังจากผ่านวาระ 3 แล้ว อาจทำให้สูญเสียเงินจำนวนมาก เพราะเมื่อทำร่างรัฐธรรมนูญและลงมติแล้วเสร็จจะต้องมีการทำประชามติ
หากศาลรัฐธรรมนูญระบุว่าทำได้ทาง ส.ว. จะมีความสบายใจ และไม่มีปัญหาในการลงมติวาระ 3 แต่หากรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ารัฐสภาไม่มีอำนาจจัดทำฉบับใหม่ และแก้ไขรายมาตราเท่านั้น ตนจะเสนอให้ตั้งกรรมาธิการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราของรัฐสภา ซึ่งจะแก้ไขกว่า 100 มาตราได้ โดยเชื่อว่าจะไม่เสียเวลาและงบประมาณจำนวนหมื่นล้านบาท
ขณะที่ นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า การเสนอญัตติดังกล่าวเป็นการย้อนแย้งต่อนโยบายของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ต้องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญล่าช้าเพื่อประโยชน์ของพวกพ้องตนเอง โดยตนเชื่อว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญของรัฐสภานั้นสามารถทำได้ตามมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 และเป็นการกระทำโดยชอบตามรัฐธรรมนูญ จึงขอถอนญัตติดังกล่าว
ล่าสุด เมื่อเวลา 14.20 น. ที่ประชุมรัฐสภาได้ลงมติว่าจะส่งญัตติเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เรื่องหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาต่อการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ด้วยกระบวนการให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ไปจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับหรือไม่
โดยผลการลงมติเสียงข้างมาก 366 เสียง "เห็นด้วย" ให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยมีเสียง "ไม่เห็นด้วย" 316 เสียง และงดออกเสียง 15 เสียง ทำให้ที่ประชุมรัฐสภามีมติส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ
โดย นายไพบูลย์ ระบุว่า ญัตติว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ไม่ได้กำหนดให้รัฐสภาทำรัฐธรรมนูญใหม่ แต่ให้อำนาจเพียงการแก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ การตีความตามกฎหมายมหาชน หากรัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนจึงทำไม่ได้ ตนได้ตรวจสอบประเด็นข้อกฎหมายพบปัญหา แต่มีกรรมาธิการหลายคนมีความเห็นแตกต่างจึงจำเป็นต้องส่งตีความ
ทั้งนี้ หากรัฐสภาไม่ส่งตีความเกรงว่าจะมีปัญหาต่อสมาชิกรัฐสภา โดยเฉพาะ ส.ว. ต่อการลงมติวาระ 3 อาจจะงดออกเสียง ได้เสียงเห็นชอบผ่านร่างรัฐธรรมนูญไม่เพียงพอ ส่วนกรณีที่หลายฝ่ายมองว่าควรส่งศาลรัฐธรรมนูญหลังจากผ่านวาระ 3 แล้ว อาจทำให้สูญเสียเงินจำนวนมาก เพราะเมื่อทำร่างรัฐธรรมนูญและลงมติแล้วเสร็จจะต้องมีการทำประชามติ
หากศาลรัฐธรรมนูญระบุว่าทำได้ทาง ส.ว. จะมีความสบายใจ และไม่มีปัญหาในการลงมติวาระ 3 แต่หากรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ารัฐสภาไม่มีอำนาจจัดทำฉบับใหม่ และแก้ไขรายมาตราเท่านั้น ตนจะเสนอให้ตั้งกรรมาธิการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราของรัฐสภา ซึ่งจะแก้ไขกว่า 100 มาตราได้ โดยเชื่อว่าจะไม่เสียเวลาและงบประมาณจำนวนหมื่นล้านบาท
ภาพจาก สำนักข่าวไทย
ขณะที่ นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า การเสนอญัตติดังกล่าวเป็นการย้อนแย้งต่อนโยบายของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ต้องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญล่าช้าเพื่อประโยชน์ของพวกพ้องตนเอง โดยตนเชื่อว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญของรัฐสภานั้นสามารถทำได้ตามมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 และเป็นการกระทำโดยชอบตามรัฐธรรมนูญ จึงขอถอนญัตติดังกล่าว
ล่าสุด เมื่อเวลา 14.20 น. ที่ประชุมรัฐสภาได้ลงมติว่าจะส่งญัตติเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เรื่องหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาต่อการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ด้วยกระบวนการให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ไปจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับหรือไม่
โดยผลการลงมติเสียงข้างมาก 366 เสียง "เห็นด้วย" ให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยมีเสียง "ไม่เห็นด้วย" 316 เสียง และงดออกเสียง 15 เสียง ทำให้ที่ประชุมรัฐสภามีมติส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญต่อไป