แพรี่พาย พกเครื่องสำอางเข้าป่าแต่งหน้าให้ชาวมันนิ ซัดเปลี่ยนวิถีชีวิตชนเผ่า ทำเอาคอมเมนต์เสียงแตก เจ้าตัวตอบกลับเบา ๆ ถ้าคนกลุ่มนี้ไม่ปรับตัวให้เข้ากับปัจจุบัน จะให้พวกเขาไปอยู่ไหน
เป็นทั้งบิวตี้บล็อกเกอร์ และเมคอัพอาร์ทิสต์ชื่อดัง สำหรับสาวแพร แพรี่พาย หรือ แพร อมตา จิตตะเสนีย์ ที่ช่วงหลัง ๆ มานี้เจ้าตัวมักจะใช้เวลาไปกับการศึกษาธรรมชาติในป่า และนำสีจากธรรมชาติมาดัดแปลงเป็นเครื่องสำอาง หรือแม้กระทั่งการย้อมสีผ้าจากวัตถุดิบธรรมชาติ พักนี้จึงไม่ค่อยเห็นเจ้าตัวอยู่ในเมืองสักเท่าไหร่
ล่าสุด (10 กุมภาพันธ์ 2564) แพรี่พาย ก็ได้โพสต์คลิปวิดีโอผ่านเฟซบุ๊ก Pearypie: Make-up Artist/Theatrical Artist เป็นคลิปที่ตัวเธอเองเดินทางเข้าป่าในพื้นที่ จ.พัทลุง โดยการเดินทางไปครั้งนี้เธอได้พกกระเป๋าเครื่องสำอางไปด้วย เพราะเธอจะได้มีโอกาสเจอชาวบ้านมันนิ (คนพื้นที่อื่นชอบเรียกว่าซาไก หรือเงาะป่า) ชอบทาลิปสติกสีแดง ด้วยความที่เธอเป็นเมคอัพอาร์ทิสต์ ก็อยากจะถือโอกาสนี้แบ่งปันความสวย ความสนุกสนาน ให้กับสาว ๆ ในป่า
แพรี่พาย บอกว่า ผู้ใหญ่บ้านบอกว่าชาวมันนิมีนิสัยรักสวยรักงามเหมือนคนอื่น ๆ ทั่วไป แม้จะไม่ได้อยู่ในเมือง และสีที่ชอบมาก ๆ คือสีแดง แพรี่พายจึงลงมือทาปาก แต่งแก้มสีแดงลงบนแก้มให้กับหญิงชาวมันนิ ก่อนจะให้เธอดูกระจกและฉีกยิ้มออกมาอย่างชอบใจ ก่อนที่แพรี่พาย จะมอบลิปสติกให้เป็นของขวัญ
งานนี้หลายคนต่างก็เข้ามาคอมเมนต์ชื่นชมที่แพรี่พาย มอบความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กับชาวบ้าน และดูสีหน้าแววตาของหญิงชาวมันนิคนนี้เมื่อเห็นตัวเองผ่านกระจกแล้วต้องบอกเลยว่าน่ารักมาก ๆ
แต่ทว่าบางคอมเมนต์ ระบุว่าหมู่บ้านของชาวมันนิ ไม่เห็นจะต้องเข้าป่าลึกเลย แค่ขับรถไปก็สามารถจอดหน้าหมู่บ้านได้แล้ว จริง ๆ ไม่ควรเอาของพวกนี้ไปสอน หรือทำให้เขา เพราะมันจะเปลี่ยนวิถีชีวิตของเขา อีกทั้ง 2-3 ปีก่อน ชาวมันนิที่นี่ก็เสียชีวิตไปหลายคนเพราะโรคที่คนเมืองนำเข้ามาให้เขา แค่เอาเสื้อผ้าให้เขาใส่ก็เปลี่ยนวิถีชีวิตเขามากพอแล้ว
ด้านคอมเมนต์อื่น ๆ ที่ได้อ่านความเห็นนี้ต่างระบุว่า บางคนบอกทำแบบนี้คือการเปลี่ยนวิถีชีวิต แต่ตัวเองยังอยากมีน้ำ ไฟ อยากมีของสวย ๆ งาม หรืออยากแต่งหน้าเลย ทำไมคนอื่นจะต้องไม่มีแค่เพราะตัวเองอยากจะอนุรักษ์ไว้ แถมเสื้อผ้าก็ถือเป็นปัจจัย 4 แต่กลับมาบอกว่าการให้เสื้อผ้าเป็นการเปลี่ยนวิถีชีวิต
ต่อมา แพรี่พาย ก็ได้เข้ามาตอบคอมเมนต์ดังกล่าว หมู่บ้านที่ตนไปอยู่บริเวณเทือกเขาบรรทัด ลึกเข้าไปในป่า มีการแจ้งและขออนุญาตอย่างชัดเจน ตนเข้าใจที่เราไม่ควรไปเปลี่ยนวิถีชีวิตของชาวบ้าน แต่เราก็ต้องเข้าใจว่าโลกวิวัฒนาการ พวกเขาแต่งตัวเหมือนเราแล้ว กินเหมือนเราแล้ว มีลิปสติกสีแดงแล้วด้วย เราแค่เติมเต็มในส่วนที่เราคิดว่าดีที่สุดเพียงเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพ เมื่อก่อนป่าอาจจะเยอะ อาหารการกินมีเยอะ ปัจจุบันเมื่อเรื่องของการขยายพื้นที่ป่า มีเรื่องสิทธิ์การครอบครองพื้นที่ป่า แล้วกลุ่มคนเหล่านี้ หากไม่ปรับตัวให้เข้ากับปัจจุบัน พวกเขาจะไปอยู่ไหน
สุดท้ายแล้วเรื่องของการอยู่ในป่า หรือพื้นที่หากินก็ตาม มันไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว มันคือการอยู่ ร่วมกันของเราทุก ๆ คน ผู้นำชุมชมบางทีต้องเอาข้าวสารมาให้ เพราะบนป่า หานกไม่ค่อยได้ กลุ่มชนเผ่าบางส่วนต้องย้ายลงมาอยู่ใกล้เมืองมากขึ้น บางกลุ่มมีความเชื่อมโยงเชิงพาณิชย์มากขึ้น บางกลุ่มมีมือถือ ดูยูทูบ เข้าร้านสะดวกซื้อลิปสติก อยากให้มองว่า นี่คือเรื่องที่ดี
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Pearypie: Make-up Artist/Theatrical Artist
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Pearypie: Make-up Artist/Theatrical Artist
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Pearypie: Make-up Artist/Theatrical Artist
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Pearypie: Make-up Artist/Theatrical Artist
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก Pearypie: Make-up Artist/Theatrical Artist
เป็นทั้งบิวตี้บล็อกเกอร์ และเมคอัพอาร์ทิสต์ชื่อดัง สำหรับสาวแพร แพรี่พาย หรือ แพร อมตา จิตตะเสนีย์ ที่ช่วงหลัง ๆ มานี้เจ้าตัวมักจะใช้เวลาไปกับการศึกษาธรรมชาติในป่า และนำสีจากธรรมชาติมาดัดแปลงเป็นเครื่องสำอาง หรือแม้กระทั่งการย้อมสีผ้าจากวัตถุดิบธรรมชาติ พักนี้จึงไม่ค่อยเห็นเจ้าตัวอยู่ในเมืองสักเท่าไหร่
ล่าสุด (10 กุมภาพันธ์ 2564) แพรี่พาย ก็ได้โพสต์คลิปวิดีโอผ่านเฟซบุ๊ก Pearypie: Make-up Artist/Theatrical Artist เป็นคลิปที่ตัวเธอเองเดินทางเข้าป่าในพื้นที่ จ.พัทลุง โดยการเดินทางไปครั้งนี้เธอได้พกกระเป๋าเครื่องสำอางไปด้วย เพราะเธอจะได้มีโอกาสเจอชาวบ้านมันนิ (คนพื้นที่อื่นชอบเรียกว่าซาไก หรือเงาะป่า) ชอบทาลิปสติกสีแดง ด้วยความที่เธอเป็นเมคอัพอาร์ทิสต์ ก็อยากจะถือโอกาสนี้แบ่งปันความสวย ความสนุกสนาน ให้กับสาว ๆ ในป่า
แพรี่พาย บอกว่า ผู้ใหญ่บ้านบอกว่าชาวมันนิมีนิสัยรักสวยรักงามเหมือนคนอื่น ๆ ทั่วไป แม้จะไม่ได้อยู่ในเมือง และสีที่ชอบมาก ๆ คือสีแดง แพรี่พายจึงลงมือทาปาก แต่งแก้มสีแดงลงบนแก้มให้กับหญิงชาวมันนิ ก่อนจะให้เธอดูกระจกและฉีกยิ้มออกมาอย่างชอบใจ ก่อนที่แพรี่พาย จะมอบลิปสติกให้เป็นของขวัญ
งานนี้หลายคนต่างก็เข้ามาคอมเมนต์ชื่นชมที่แพรี่พาย มอบความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กับชาวบ้าน และดูสีหน้าแววตาของหญิงชาวมันนิคนนี้เมื่อเห็นตัวเองผ่านกระจกแล้วต้องบอกเลยว่าน่ารักมาก ๆ
แต่ทว่าบางคอมเมนต์ ระบุว่าหมู่บ้านของชาวมันนิ ไม่เห็นจะต้องเข้าป่าลึกเลย แค่ขับรถไปก็สามารถจอดหน้าหมู่บ้านได้แล้ว จริง ๆ ไม่ควรเอาของพวกนี้ไปสอน หรือทำให้เขา เพราะมันจะเปลี่ยนวิถีชีวิตของเขา อีกทั้ง 2-3 ปีก่อน ชาวมันนิที่นี่ก็เสียชีวิตไปหลายคนเพราะโรคที่คนเมืองนำเข้ามาให้เขา แค่เอาเสื้อผ้าให้เขาใส่ก็เปลี่ยนวิถีชีวิตเขามากพอแล้ว
ด้านคอมเมนต์อื่น ๆ ที่ได้อ่านความเห็นนี้ต่างระบุว่า บางคนบอกทำแบบนี้คือการเปลี่ยนวิถีชีวิต แต่ตัวเองยังอยากมีน้ำ ไฟ อยากมีของสวย ๆ งาม หรืออยากแต่งหน้าเลย ทำไมคนอื่นจะต้องไม่มีแค่เพราะตัวเองอยากจะอนุรักษ์ไว้ แถมเสื้อผ้าก็ถือเป็นปัจจัย 4 แต่กลับมาบอกว่าการให้เสื้อผ้าเป็นการเปลี่ยนวิถีชีวิต
ต่อมา แพรี่พาย ก็ได้เข้ามาตอบคอมเมนต์ดังกล่าว หมู่บ้านที่ตนไปอยู่บริเวณเทือกเขาบรรทัด ลึกเข้าไปในป่า มีการแจ้งและขออนุญาตอย่างชัดเจน ตนเข้าใจที่เราไม่ควรไปเปลี่ยนวิถีชีวิตของชาวบ้าน แต่เราก็ต้องเข้าใจว่าโลกวิวัฒนาการ พวกเขาแต่งตัวเหมือนเราแล้ว กินเหมือนเราแล้ว มีลิปสติกสีแดงแล้วด้วย เราแค่เติมเต็มในส่วนที่เราคิดว่าดีที่สุดเพียงเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพ เมื่อก่อนป่าอาจจะเยอะ อาหารการกินมีเยอะ ปัจจุบันเมื่อเรื่องของการขยายพื้นที่ป่า มีเรื่องสิทธิ์การครอบครองพื้นที่ป่า แล้วกลุ่มคนเหล่านี้ หากไม่ปรับตัวให้เข้ากับปัจจุบัน พวกเขาจะไปอยู่ไหน
สุดท้ายแล้วเรื่องของการอยู่ในป่า หรือพื้นที่หากินก็ตาม มันไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว มันคือการอยู่ ร่วมกันของเราทุก ๆ คน ผู้นำชุมชมบางทีต้องเอาข้าวสารมาให้ เพราะบนป่า หานกไม่ค่อยได้ กลุ่มชนเผ่าบางส่วนต้องย้ายลงมาอยู่ใกล้เมืองมากขึ้น บางกลุ่มมีความเชื่อมโยงเชิงพาณิชย์มากขึ้น บางกลุ่มมีมือถือ ดูยูทูบ เข้าร้านสะดวกซื้อลิปสติก อยากให้มองว่า นี่คือเรื่องที่ดี
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Pearypie: Make-up Artist/Theatrical Artist
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Pearypie: Make-up Artist/Theatrical Artist
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Pearypie: Make-up Artist/Theatrical Artist
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Pearypie: Make-up Artist/Theatrical Artist