รู้จัก วันวสันตวิษุวัต 20 มีนาคม นี้ ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรกลางวันยาวเท่ากับกลางคืน จุดราตรีเสมอภาค 1 ปี มีแค่ 2 ครั้ง
วันที่ 18 มีนาคม 2564 นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ (สดร.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 20 มีนาคม นี้ เป็นวัน "วสันตวิษุวัต" (วะ-สัน-ตะ-วิ-สุ-วัด) (Vernal Equinox) คือมีกลางวันยาวเท่ากับกลางคืน ซึ่งหนึ่งปีจะเกิดขึ้นเพียง 2 ครั้ง คือในช่วงเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ เรียกว่า วันวสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) และในช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วง เรียกว่า วันศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox)
ในวันปกตินั้นดวงอาทิตย์จะปรากฏในตำแหน่งต่างกัน เปลี่ยนตำแหน่งไปประมาณวันละ 1 องศา ตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นมา ดวงอาทิตย์ค่อย ๆ เคลื่อนจากจุดใต้สุดขึ้นมาทางเหนือ เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนมา ณ ตำแหน่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลก ดวงอาทิตย์จะขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออก และตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกพอดี
ระนาบโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทำให้พื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกได้รับแสงอาทิตย์ในปริมาณไม่เท่ากัน ส่งผลให้มีอุณหภูมิต่างกัน รวมถึงระยะเวลากลางวันและกลางคืนก็ต่างกันด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดฤดูกาลขึ้นบนโลกนั้นเอง จะสังเกตได้ว่าในฤดูร้อนเวลากลางวันจะยาวกว่ากลางคืน ดวงอาทิตย์จะขึ้นเร็วและตกช้า แตกต่างกับฤดูหนาวเวลากลางคืนจะยาวนานกว่ากลางวัน ดวงอาทิตย์จะขึ้นช้าและตกเร็ว
สำหรับประเทศไทยวันดังกล่าวดวงอาทิตย์ขึ้น เวลาประมาณ 06.22 น. และจะตกลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 18.28 น. นับเป็นวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิของประเทศทางซีกโลกเหนือและเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงของประเทศในซีกโลกใต้
ปรากฏการณ์ต่อไปที่เกี่ยวข้องกับการขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์ คือ "วันครีษมายัน" (Summer Solstice) ในวันที่ 21 มิถุนายน 2564 เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันยาวที่สุดและกลางคืนสั้นที่สุดในรอบปี สำหรับประเทศทางซีกโลกเหนือ นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้ นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูหนาว
ภาพจาก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
ภาพจาก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
ภาพจาก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
ขอบคุณข้อมูลจาก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
วันที่ 18 มีนาคม 2564 นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ (สดร.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 20 มีนาคม นี้ เป็นวัน "วสันตวิษุวัต" (วะ-สัน-ตะ-วิ-สุ-วัด) (Vernal Equinox) คือมีกลางวันยาวเท่ากับกลางคืน ซึ่งหนึ่งปีจะเกิดขึ้นเพียง 2 ครั้ง คือในช่วงเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ เรียกว่า วันวสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) และในช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วง เรียกว่า วันศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox)
ในวันปกตินั้นดวงอาทิตย์จะปรากฏในตำแหน่งต่างกัน เปลี่ยนตำแหน่งไปประมาณวันละ 1 องศา ตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นมา ดวงอาทิตย์ค่อย ๆ เคลื่อนจากจุดใต้สุดขึ้นมาทางเหนือ เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนมา ณ ตำแหน่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลก ดวงอาทิตย์จะขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออก และตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกพอดี
ระนาบโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทำให้พื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกได้รับแสงอาทิตย์ในปริมาณไม่เท่ากัน ส่งผลให้มีอุณหภูมิต่างกัน รวมถึงระยะเวลากลางวันและกลางคืนก็ต่างกันด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดฤดูกาลขึ้นบนโลกนั้นเอง จะสังเกตได้ว่าในฤดูร้อนเวลากลางวันจะยาวกว่ากลางคืน ดวงอาทิตย์จะขึ้นเร็วและตกช้า แตกต่างกับฤดูหนาวเวลากลางคืนจะยาวนานกว่ากลางวัน ดวงอาทิตย์จะขึ้นช้าและตกเร็ว
สำหรับประเทศไทยวันดังกล่าวดวงอาทิตย์ขึ้น เวลาประมาณ 06.22 น. และจะตกลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 18.28 น. นับเป็นวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิของประเทศทางซีกโลกเหนือและเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงของประเทศในซีกโลกใต้
ปรากฏการณ์ต่อไปที่เกี่ยวข้องกับการขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์ คือ "วันครีษมายัน" (Summer Solstice) ในวันที่ 21 มิถุนายน 2564 เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันยาวที่สุดและกลางคืนสั้นที่สุดในรอบปี สำหรับประเทศทางซีกโลกเหนือ นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้ นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูหนาว
ภาพจาก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
ภาพจาก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
ภาพจาก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ