ช็อก… ทลาย แล็บอินโดนีเซีย ใช้ชุดตรวจโควิดรีไซเคิล ล้างน้ำใช้ใหม่ รายได้เข้ากระเป๋าเพียบ ไม่สนชีวิตคนเคราะห์ร้าย
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 นิวยอร์กไทม์ส รายงานว่า ตำรวจอินโดนีเซียจับกุม เจ้าหน้าที่ห้องแล็บ 5 คน ที่แอบเอาชุดตรวจโควิด 19 มาใช้ซ้ำ เพื่อจะได้ตรวจมาก ๆ และได้เงินเยอะ โดยพวกเขาลักลอบทำมาครึ่งปี ได้เงินเข้ากระเป๋ากันเป็นจำนวนมาก
เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นที่ศูนย์ตรวจโควิด 19 ภายในสนามบินนานาชาติกูวาลานามู เมืองเมดัน จังหวัดสุมาตราเหนือ ซึ่งปฏิบัติการโดยบริษัทผลิตยาและเวชภัณฑ์ยักษ์ใหญ่ของอินโดนีเซีย โดยเจ้าหน้าที่ทั้ง 5 คน เริ่มใช้ชุดตรวจซ้ำ ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนธันวาคม 2563
ชุดตรวจโควิด 19 ที่ใช้คือ ชุดตรวจแบบแยงจมูก (nasal swab) หรือ
PCR ซึ่งมีลักษณะเป็นก้านสำลียาว ใช้แหย่จมูกเพื่อเก็บตัวอย่างไปตรวจ
โดยกลุ่มผู้ก่อเหตุเอาชุดตรวจที่ใช้แล้วไปล้างน้ำเปล่า
แล้วนำกลับมาบรรจุให้เหมือนใหม่ และใช้ปะปนกันไปในแต่ละวัน
ฮาดี วะห์ยูดี โฆษกตำรวจสุมาตราเหนือ เปิดเผยว่า หลังจากที่ทางตำรวจได้รับเบาะแส ก็ได้เร่งสืบสวนและส่งเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบปลอมตัวไปเข้ารับการตรวจที่แล็บดังกล่าว ซึ่งได้ผลตรวจปลอมออกมาเป็นบวก ต่อมาเจ้าหน้าที่นายดังกล่าวได้รับการตรวจหาเชื้ออีกครั้ง ผลออกมาเป็นลบ ไม่พบเชื้อ
รายงานระบุว่า เจ้าหน้าที่ห้องแล็บเหล่านี้จะใช้ชุดตรวจใหม่ที่ฆ่าเชื้อแล้ว ประมาณ 100 ชุด และใช้ ชุดตรวจแบบรีไซเคิล ประมาณ 150 ชุด ต่อวัน (ตัวเลขโดยประมาณ)
รวมแล้วมีประชาชนเคราะห์ร้ายเจอชุดตรวจปนเปื้อนกว่า 20,000 คน โดยประมาณ ขณะที่เจ้าหน้าที่ทั้ง 5 คน ได้เงินค่าตรวจเข้ากระเป๋า มากกว่าวันละ 2,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 62,280 บาท
ในวัน 27 เมษายน เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำกำลังเข้าตรวจค้นห้องแล็บดังกล่าว พบชุดตรวจที่ถูกนำมารีไซเคิลจำนวนหลายร้อยชุด คอมพิวเตอร์แล็บท็อปใช้ออกเอกสารยืนยันการตรวจหาเชื้อโคโรนาไวรัส และเงินสดกว่า 10,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 311,400 บาท
ส่วนเจ้าหน้าที่ห้องแล็บทั้ง 5 คน ถูกจับกุมในฐานละเมิดกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายโรคติดต่อ และกฎกมายว่าด้วยการจัดการขยะทางการแพทย์
ขณะนี้ทางตำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังเร่งสืบสวนว่ามีผู้ได้รับการตรวจโควิดจากชุดตรวจรีไซเคิลจำนวนทั้งหมดกี่ราย โดยประชาชนกลุ่มนี้ต่างมาตรวจก่อนเดินทาง และจะขึ้นเครื่องบินได้ต่อเมื่อมีใบยืนยันว่าผลตรวจเป็นลบ ซึ่งไม่รู้ว่ามีกี่รายที่ได้รับผลตรวจปลอม ๆ
ทั้งนี้ จะมีการสืบสวนอย่างละเอียดด้วยว่ามีผู้ติดเชื้อจากชุดตรวจรีไซเคิลทั้งหมดกี่ราย และจะมีการสืบสวนขยายผลไปทั่วประเทศมีว่าจุดตรวจใดที่ทำแบบนี้อีกหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องใหญ่ระดับชาติที่ไม่สามารถปล่อยปละละเลยได้ ผู้กระทำผิดทุกคนจะต้องได้รับโทษขั้นเด็ดขาด
ขอบคุณข้อมูลจาก The New York Times
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 นิวยอร์กไทม์ส รายงานว่า ตำรวจอินโดนีเซียจับกุม เจ้าหน้าที่ห้องแล็บ 5 คน ที่แอบเอาชุดตรวจโควิด 19 มาใช้ซ้ำ เพื่อจะได้ตรวจมาก ๆ และได้เงินเยอะ โดยพวกเขาลักลอบทำมาครึ่งปี ได้เงินเข้ากระเป๋ากันเป็นจำนวนมาก
เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นที่ศูนย์ตรวจโควิด 19 ภายในสนามบินนานาชาติกูวาลานามู เมืองเมดัน จังหวัดสุมาตราเหนือ ซึ่งปฏิบัติการโดยบริษัทผลิตยาและเวชภัณฑ์ยักษ์ใหญ่ของอินโดนีเซีย โดยเจ้าหน้าที่ทั้ง 5 คน เริ่มใช้ชุดตรวจซ้ำ ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนธันวาคม 2563
ฮาดี วะห์ยูดี โฆษกตำรวจสุมาตราเหนือ เปิดเผยว่า หลังจากที่ทางตำรวจได้รับเบาะแส ก็ได้เร่งสืบสวนและส่งเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบปลอมตัวไปเข้ารับการตรวจที่แล็บดังกล่าว ซึ่งได้ผลตรวจปลอมออกมาเป็นบวก ต่อมาเจ้าหน้าที่นายดังกล่าวได้รับการตรวจหาเชื้ออีกครั้ง ผลออกมาเป็นลบ ไม่พบเชื้อ
รายงานระบุว่า เจ้าหน้าที่ห้องแล็บเหล่านี้จะใช้ชุดตรวจใหม่ที่ฆ่าเชื้อแล้ว ประมาณ 100 ชุด และใช้ ชุดตรวจแบบรีไซเคิล ประมาณ 150 ชุด ต่อวัน (ตัวเลขโดยประมาณ)
รวมแล้วมีประชาชนเคราะห์ร้ายเจอชุดตรวจปนเปื้อนกว่า 20,000 คน โดยประมาณ ขณะที่เจ้าหน้าที่ทั้ง 5 คน ได้เงินค่าตรวจเข้ากระเป๋า มากกว่าวันละ 2,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 62,280 บาท
ในวัน 27 เมษายน เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำกำลังเข้าตรวจค้นห้องแล็บดังกล่าว พบชุดตรวจที่ถูกนำมารีไซเคิลจำนวนหลายร้อยชุด คอมพิวเตอร์แล็บท็อปใช้ออกเอกสารยืนยันการตรวจหาเชื้อโคโรนาไวรัส และเงินสดกว่า 10,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 311,400 บาท
ส่วนเจ้าหน้าที่ห้องแล็บทั้ง 5 คน ถูกจับกุมในฐานละเมิดกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายโรคติดต่อ และกฎกมายว่าด้วยการจัดการขยะทางการแพทย์
ขณะนี้ทางตำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังเร่งสืบสวนว่ามีผู้ได้รับการตรวจโควิดจากชุดตรวจรีไซเคิลจำนวนทั้งหมดกี่ราย โดยประชาชนกลุ่มนี้ต่างมาตรวจก่อนเดินทาง และจะขึ้นเครื่องบินได้ต่อเมื่อมีใบยืนยันว่าผลตรวจเป็นลบ ซึ่งไม่รู้ว่ามีกี่รายที่ได้รับผลตรวจปลอม ๆ
ทั้งนี้ จะมีการสืบสวนอย่างละเอียดด้วยว่ามีผู้ติดเชื้อจากชุดตรวจรีไซเคิลทั้งหมดกี่ราย และจะมีการสืบสวนขยายผลไปทั่วประเทศมีว่าจุดตรวจใดที่ทำแบบนี้อีกหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องใหญ่ระดับชาติที่ไม่สามารถปล่อยปละละเลยได้ ผู้กระทำผิดทุกคนจะต้องได้รับโทษขั้นเด็ดขาด
ขอบคุณข้อมูลจาก The New York Times